Chitubox Slicer ยอดนิยม
- Chitubox เป็นซอฟแวร์ทำหน้าที่แปลงไฟล์ 3D Model ให้กลายเป็น Slice File สำหรับสั่งพิมพ์ด้วยเครื่อง Resin 3D Printer พัฒนาโดยบริษัท CBD-Tech ที่เริ่มมาจากการทำ Hardware ของทั้งเครื่อง FDM และ LCD ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ดังๆ เช่น Anycubic Creality Phrozen หรือแบรนด์อื่นๆอีกนับสิบ ล้วนใช้ Hardware จากค่ายนี้เป็นส่วนประกอบหลัก เป็นสาเหตุให้ผู้ใช้โปรแกรม Chitubox เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิน 1 ล้าน user ในปี คศ 2020
- หลังจากมีฐานผู้ใช้จำนวนหนึ่งทางบริษัท ก็เปิดตัวรุ่น Pro ซึ่งมีฟีเจอร์การใช้งานที่เพิ่มเติมจากตัวธรรมดา พร้อมกับระบบเก็บเงินรายปี ปัจจุบันวันที่เขียนบทความอยู่ที่ 169 USD หรือราวๆ 5,500 บาท/ปี ซึ่งถือว่าราคาสูงพอสมควร แต่ก็เป็นการเซ็ทมาตรฐานการใช้งานให้เกิดขึ้น อบ่าง Lychee Slicer อีกตัวที่ได้รับความนิยม ก็ตั้งราคาตัว Pro ขึ้นมาที่ 65.99 USD หรือราวๆ 2,200 บาท/ปี
- ด้วยตัวเงินที่มากพอสมควรดังนั้นบทความนี้จะแนะนำตัวโปรแกรมเวอร์ชั่น Pro และข้อแตกต่างให้คนที่กำลังตัดสินใจได้เห็นข้อมูลการใช้งานจริงมากขึ้น
ฟีเจอร์เด่นของ Chitubox Pro ที่ได้ใช้งานจริง
1. สนับสนุนไฟล์ 3D กลุ่ม CAD มากขึ้น
- ฟีเจอร์นี้น่าจะเหมาะกับคน ทำงานมืออาชีพด้าน 3D ไม่ต้องแปลงไฟล์เป็นนามสกุลกลาง อย่าง .stl หรือ .obj ซึ่งทำให้ขนาดไฟล์ใหญ่ขึ้น และอาจจะรายละเอียดเล็กๆสูญหาย
- นามสกุลหลักๆ ที่ใช้งานได้คือ 3DS, 3MF, 3DM, STP, STEP, WRL, X3D, SAT, SAB, DAE, DXF, FBX, IFC, IGS, IGES, JT ซึ่งถ้าจะเพิ่มเติมอะไรก็ส่งอีเมลล์ เสนอทาง Chitubox ได้ อาจจะมีอัพเดดในภายหลัง
- ฟีเจอร์สำหรับคนใช้งานทั่วไป ที่ใช้ .stl กันมาหลายปี คงไม่ได้มีประโยชน์อะไรมาก
2. สามารถสร้าง Support ที่หลากหลาย ซับซ้อนดีขึ้น
- เป็นส่วนที่น่าจะใช้งานได้มากที่สุด คือฟีเจอร์สร้าง Support ที่เหมือนโปรแกรมมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
- ส่วนแรกคือสามารถสร้าง Support ได้หลายแบบตามภาพด้านล่าง ซึ่งแบบซ้ายมือสุดคือแบบที่ตัว Free ใช้งานอยู่ ส่วนแบบอื่นๆ ต้องเวอร์ชั่น Pro เท่านั้น ซึ่งหากใครมีงานรายละเอียดเยอะ ส่วนที่เพิ่มเข้ามาก็ช่วยได้พอสมควร โดยเฉพาะในกลุ่มของ Internal Support ภายในชิ้นงาน ที่ตัว Free แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
- ส่วนหลักการทำงาน คือสร้าง support ส่วนที่ต้องการ เชื่อมกับส่วนอื่นๆ ที่สะดวกมากขึ้น

- ฟีเจอร์ขาวมือสุดคือแบบ Tree Support ซึ่งทำได้สวยกว่าตัวฟรี ระดับหนึ่ง และการแก้ไขขนาดให้เหมาะสมทำได้ง่ายกว่า
- ตัว Pro สามารถแก้ไขตัว Node หรือส่วนกลมๆ ก่อนเป็นปลาย Support ได้อิสระ ทุกก้าน ในขณะที่ตัว Free ไม่สามารถทำได้

- การทำ Internal Support จะมี Support ชนิด Small Pillar ซึ่งเชื่อมระหว่างจุดของชิ้นงาน ทำให้สะดวกในการวางส่วนเล็กๆให้เชื่อมต่อการภายใน กรณีนี้เวอร์ชั่นฟรีทำได้ยากมาก และเสียเวลาพอสมควรในการสร้าง support ลักษณะนี้

- Contour Support ที่จะสร้าง Support อัตโนมัติบริเวณนั้น ทั้งระนาบในทันที โดย Support ที่สร้างขึ้นจะสร้างเฉพาะรอบนอกของชิ้นงาน ด้านในผู้ใช้มาสร้างเองอีกที


- ฟีเจอร์ส่วนของ Support อีกตัวหนึ่งที่สำคัญ และช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นคือ Support Profile แบบต่างที่ผู้ใช้สามารถสร้างขึ้นได้เอง
- ในเวอร์ชั่น Free จะมีให้เลือกแค่ 3 ตัว คือ Light Medium และ Heavy ซึ่ง สามารถแก้ไขได้ แต่ก็ไม่เกิน 3 Profile นี้
- เวอร์ชั่น Pro ผู้ใช้สามารถสร้างได้ไม่จำกัด พร้อมตั้งชื่อให้เหมาะกับส่วนที่ใช้
- ยกตัวอย่างงานจิวเวลรี ที่ทางผู้เขียนแบ่งเป็น สามารถแบ่งได้เป็นส่วนล่าง ที่รองรับตัวแหวน และตัวที่สัมผัสภายใน
- หากใครที่ต้องทำงานหลายๆแบบ ทั้งจิวเวลรี โมเดล วิศวกรรม จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาตั้ง Support ใหม่ตลอด


- ส่วนสุดท้ายน่าจะเป็นการทำ Base Support ที่มีให้เลือกมากขึ้น แต่หลายคนก็ไม่ได้ใช้เพราะทำ ขึ้นมาเอง

3. สามารถเลือกโปรไฟล์ให้แต่ละชิ้นได้
- ฟีเจอร์ตัวนี้ เหมาะกับคนที่วางงานหลายๆชิ้นในการปริ้นครั้งเดียว มีทั้งงานเล็ก งานใหญ่ ซึ่งใช้เวลาฉายแสงต่างกัน
- หรือบางคนที่ปริ้นงานโมเดล จะเน้น layer ส่วนที่มีรายละเอียดเยอะ เช่น หน้า ลำตัว 20 ไมครอน แล้วด้านล่าง ไม่มีรายละเอียด ก็ปริ้นหยาบ 100 ไมครอน (ได้เฉพาะปริ้น 1 ชิ้นงานเท่านั้น)
- ทั้งนี้ ในกรณีนี้จะยังไม่สามารถทำได้คือ ชิ้น A ความละเอียด20 ไมครอน ชิ้น B ความละเอียด 100 ไมครอน หากต่างชิ้นงานกัน สามารถเซ็ทได้แค่เวลาฉายแสงต่างกันเท่านั้น


4. ซ่อมไฟล์ในระดับมืออาชีพ
- เป็นอีกฟีเจอร์ที่ดี หลังจากทดลองใช้แล้วถือว่าซ่อมไฟล์ได้ดีกว่าหลายๆ โปรแกรมที่ฟรี เช่น Meshmixer Netfabb Basic 3DBuilder
- นอกจากการซ่อมแบบ Auto แล้ว ยังมีส่วนที่ผู้ใช้สามารถซ่อมเองแบบ Manual แต่ละจุดได้เองด้วย
- อย่างไรก็ตามการซ่อมด้วยวิธี Auto ก็อาจมีโอกาสทำให้งานบางส่วนผิดไปจากที่ดีไซน์ไว้ เนื่องจากการปิดผิวของตัวโปรแกรม


5. ความเร็วในการ Slice
- สำหรับคนที่ใช้เครื่อง Phrozen Mega 8K หรือเครื่องที่มีขนาดจอใหญ่ จะเห็นผลชัดเจน จากเวลาในการ Preview และ Slice ที่ลดลงได้ในระดับ 10 เท่า เลยทีเดียว โดยเฉพาะเวอร์ชัั่น 1.1 เป็นต้นไป
- สำหรับคนที่ขนาดไฟล์เล็กกว่า 200 mb อาจจะไม่เห็นผลแตกต่างมากเท่าไหร่ครับ ตัวอย่าง ไฟล์ขนาดเล็กๆ 21 mb
- การใช้ทรัพยากรของโปรแกรม ได้มีการเขียนเพิ่มเติม ให้ดึงประสิทธิภาพของเครื่อง ทั้ง CPU GPU มาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นใครที่มีเครื่องประสิทธิภาพสูง สำหรับทำงาน 3D อยู่แล้ว การเปลี่ยนมาใช้ Chitubox Pro ก็จะช่วยให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

- Free Preview 1 นาที 43 วินาที
- Pro Preview 58 วินาที
- Free Save File 12 นาที 4 วินาที
- Pro Save File 5 นาที 15 วินาที
6. Add Tag
- สำหรับคนที่ทำไฟล์ 3D เอง อาจจะไม่มีปัญหา กับการเพิ่มตัวอักษร หรือส่วนประกอบอื่นๆ แต่คนที่ดาวน์โหลดไฟล์มาอย่างเดียว หรือไม่มี Source File ต้นฉบับ การเพิ่มตัวอักษรให้กับชิ้นงานก็เป็นเรื่องลำบากแล้ว
- ฟีเจอร์ Add tag คือเพิ่มตัวอักษรลงไปบนชิ้นงาน ซึ่งเลือกได้ทั้งนูนขึ้นจากตัวงาน (Emboss) หรือเจาะให้กลายเป็นร่อง (Engrave)


Chitubox Pro เหมาะกับใคร ?
- Chitubox Pro ไม่เหมาะกับคนทั่วไป เพราะด้วยราคา ค่าใช้จ่ายที่สูงมากต่อปี
- ไม่เหมาะกับคนที่ใช้งานตัว Free แล้ว ยังใช้งานได้ดี ทำ support ได้ตามที่ต้องการ
- ไม่เหมาะกับคนที่คิดว่า โปรแกรมจะทำให้ปริ้นงานดีขึ้น เสียน้อยลง
- เหมาะกับคนที่มีงานขนาดใหญ่ ต้องมี Support แต่ละจุดที่แตกต่างกันเยอะ
- เหมาะกับคนที่มีเครื่องหลายรุ่น ทำงานสะดวก การตั้งค่า Support ง่ายขึ้น
- เหมาะกับคนที่มีเครื่องจอใหญ่ๆ 13 นิ้ว+ ไฟล์ระดับ 500 mb ขึ้นไป จะเห็นความต่างตอน Slice ชัดเจน
- งานสายจิวเวลรีที่ไม่ได้เขียนแบบขึ้นเอง หรือไม่ได้มี Licence โปรแกรมเขียนแบบหลายเครื่อง สามารถมาทำ Support ในตัว Pro ได้ดีไม่แพ้กัน
- ร้านรับพิมพ์ ที่มีงานหลากหลาย เครื่องต้องทำงานตลอด สามารถปรับแต่งการปริ้นให้เหมาะสมแต่ละ Application ลูกค้า