ในยุคที่เครื่อง 3D Printer แบบใช้เส้นพลาสติกหรือ FDM มีขายอยู่เต็มตลาดตั้งแต่ชุด KIT หลักพันบาท จนไปถึงเครื่องอุตสาหกรรมหลักแสนถึงล้านบาท แต่อีกตลาดอย่างเครื่อง SLA ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากราคาตัวเครื่องค่อนข้างแพง วัสดุเรซินที่แพงกว่าเส้นพลาสติก 5-10 เท่า การใช้งานที่ยุ่งยาก จนปัจจุบันระบบจอภาพ LCD และ LED ถูกลงมาก ดูได้จากแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ทีวี LED ขนาด 50 นิ้วราคาหมื่นต้นๆ พร้อมฟังก์ชั่นครบครัน Wanhao จึงนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสง UV เพื่อฉายให้เรซินแข็งตัว โดยตั้งราคาเน้นตลาดล่าง กลายเป็นรุ่น Duplicator 7 ออกมา

เครื่อง 3D Printer แบบใช้แสงเลเซอร์ (SLA)

เครื่อง 3D Printer แบบใช้แสงจากเครื่องโปรเจคเตอร์ (DLP)

เครื่อง 3D Printer แบบใช้แสงจากจอ LCD
ที่มา: www.3dprint.com, www.3der.org
สเปคเครื่อง Duplicator 7
♣ ขนาดการพิมพ์ 12x6x20 เซนติเมตร
♣ ความละเอียดแกน XY 47 ไมครอน
♣ ความละเอียดจอ LCD 2560×1440 (2K)
♣ ความละเอียดแกน Z 35 ไมครอน (0.35 mm)
♣ ความเร็วในการพิมพ์สูงสุด Z 3mm/ชั่วโมง
♣ ความเข็มแสง LED 30W 405 นาโนเมตร
เนื่องจากตัว Duplicator 7 ไม่มีหน้าจอควบคุมใดๆบนเครื่องทั้งสิ้น ดังนั้นเวลาใช้งานต้องต่อคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หรือใช้ NanoDLP ควบคุมผ่านระบบเครือข่ายอีกที โดยในรีวิวนี้จะมีการทดลองใช้งานด้วยครับ
ภาพเครื่องจากผู้ผลิต

ด้านหน้าเครื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน สวิตช์จะถูกย้ายไปด้านหลังแล้ว

ด้านหลังมี HDMI USB และตัวต่อไฟ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจะเปลี่ยนเป็นเต้าเสียบไฟบ้านทั่วๆไป พร้อมย้ายสวิตช์ปิด-เปิด มาด้านหลัง ครับ

หน้าตาของเครื่องหลังจากถอดฝาครอบด้านบนออก

แกน Z ใช้เป็น lead screw ความละเอียด 35 ไมครอน

ฐานพิมพ์เวอร์ชั่น V1.1-V1.2 เป็นเหล็กพับราคาถูก

ฐานพิมพ์เวอร์ชั่น V1.3 ขึ้นไป เป็นอลูมิเนียมหนา 2 นิ้ว เคลือบสีดำ
เริ่มต้นแกะกล่อง
เครื่องที่นำมารีวิวนี้เป็นรุ่น V1.35 ซึ่งปรับปรุงข้อเสียหลายๆอย่างไปเกือบหมดแล้ว โดยปัจจุบันเป็นรุ่น 1.4 ที่เปลี่ยนอีกหลายอย่าง เพื่อให้เครื่องมีความสเถียรในการใช้งานมากขึ้น ลิ้งเปรียบเทียบ 1.35 กับ 1.4 ดูได้ที่ ภาพเปรียบเทียบเครื่อง D7 1.3 กับ 1.4 ตอนนี้ได้รับกล่องมาครั้งแรก รู้สึกเป็นเครื่อง 3D Printer ที่เบามากๆ ปกติเครื่องของ Wanhao จะค่อนข้างหนักกว่าเครื่องในท้องตลาด เนื่องจากเป็นเหล็กพับเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างซะส่วนใหญ่ ตัว Duplicator 7 นี่รวมกล่องแล้วน่าจะไม่เกิน 12 กิโลกรัม


แกะกล่องออกมาหมดจะมีอุปกรณ์ตามนี้ครับ
- ตัวเครื่อง D7
- ฐานพิมพ์
- น๊อตสำหรับการขนย้าย 2 ตัว (ที่ติดมากับเครื่องสีเงิน)
- น๊อตสำหรับยึดฐานพิมพ์ 2 ตัว
- เกรียงพลาสติก
- สาย USB
- อแดปเตอร์+สายไฟ
- ประแจไว้ขันน๊อต
- ถุงมือยาง 2 คู่
- กระปุกอเนกประสงค์สีดำ
- ยางกันกระแทกไว้ติดที่ฝาบน
- สุดท้ายคือน้ำเรซิน 250 ml ไว้ทดลองพิมพ์ แนะนำว่าถ้าสั่งให้ซื้อ 1 ลิตรไปเลย

ส่วนประกอบของเครื่อง
โครงสร้างของเครื่องไม่ต้องเป็นห่วงเลย แข็งแรง แน่นหน้า ตามสไตล์ Wanhao ถ้าสังเกตดีๆในท้องตลาดจะมีแฝดคนละฝาที่ใช้โครงสร้างนี้คือ KLD ที่ OEM ให้อีกหลายเจ้าเช่นกัน ดูความเหมือนได้ตามภาพเลยครับ สามารถใช้อะไหล่ด้วยกันได้เลย จุดเด่นของอย่างหนึ่งที่ Wanhao เหนือกว่าเจ้าอื่นๆ คือการ Support ลูกค้าแบบทันท่วงที ตอนที่ D7 ออกมาช่วงแรก มีปัญหาเยอะมาก Gary Chen เจ้าของ Wanhao ส่งชิ้นส่วนใหม่ไปให้ฟรีๆเลย ก็ถือว่าได้ใจลูกค้าไป (อีกด้านเหมือนให้ลูกค้าใช้ตัว Beta แทนที่จะทำให้ดีก่อนขาย) นอกจากนี้ Community wanhao ก็ติด 1-3 ของโลกสไตล์เครื่องราคาถูกที่มีผู้ใช้ทั่วโลก


♣ ส่วนระบบควบคุมเป็นเมนบอร์ดเฉพาะที่ผลิตขึ้นมาเอง โดยชิพควบคุมเป็น AT mega 2560 เหมือนเครื่องทั่วๆไป
♣ แกน Z เป็น lead screw พร้อมรางสไลด์ช่วยประคองให้ตรงศูนย์
♣ ใช้ optical limit switch เป็นตัวกำหนดระยะแกน Z
♣ กำลังไฟของหลอด UV LED แค่ 30W เท่านั้น






เริ่มต้นการใช้งาน
หลังจากจัดของเข้าที่ เข้าทางแล้ว ได้เวลาทดลองเปิดการใช้งานจริงแล้ว
♣ เสียบสาย USB หลังเครื่องเข้ากับคอมพิวเตอร์
♣ เสียบสาย HDMI เครื่อง D7 เข้ากับคอมพิวเตอร์
♣ เสียบอแดปเตอร์จ่ายไฟให้กับเครื่อง D7

หลังจากนั้นสำหรับคนที่ไม่เคยใช้เครื่อง SLA 3D Printer มาก่อน ก็จะเริ่มสงสัยแล้วว่าให้ทำอะไรต่อ เพราะคู่มือก็ไม่ได้ให้มา ต้องไปโหลดเองที่เวบผู้ผลิต โดยลำดับถัดไปถือว่ามีความสำคัญกับการพิมพ์ 3 มิติมาก นั่นคือ “การตั้งฐานให้ได้ระนาบครับ” สำหรับเครื่อง D7 คือทำดังนี้
♣ ติดตั้งฐานพิมพ์เข้ากับตัวเครื่อง
♣ คลายสกรู 4 ด้านที่ยึดแผ่นอลูมิเนียมออก



ไปที่คำสั่ง Control กด connect กับเครื่อง D7 แล้วสั่ง Z-Home ตามภาพ


การตั้งค่าโปรแกรม Creation Workshop


จากนั้นไปที่คำสั่ง Slice ที่มีไอคอนเป็นเค้กด้านบน โปรแกรมจะคำนวนเวลาที่ใช้มาให้เลย ซึ่งแม่นยำกว่าพวกโปรแกรม Slicing เครื่อง FDM จากนั้นถ้ากดปุ่ม Start เครื่องก็เริ่มพิมพ์ทันที เป็นอันเสร็จ จากนั้นก็รอเครื่องขึ้นๆลงๆ สลับกันจนเสร็จดังคลิบด้านล่าง
หลังจากพิมพ์เสร็จแล้วก็ถอดฐานออก ตรงนี้มีข้อควรระวังคือ ห้ามใช้เกรียงพลาสติกที่แถมมาในการแซะชิ้นงานเด็ดขาด ให้ใช้เกรียงเหล็กแทน โดยเกรียงพลาสติกใช้ในการทำความสะอาดตัว VAT ถ้าไปแซะๆแล้วเกรียงบิ่น มีคมเวลาไปใช้กับ VAT จะทำให้เป็นรอยหรือเสียหายไปด้วย ซึ่งตรงนี้ผู้ผลิตไม่ได้บอกมา
จากนั้นก็นำชิ้นงานไปจุ่มแอลกอฮอร์ IPA ซัก 1-3 นาที เพื่อล้างเรซินที่ติดอยู่ตรงตามซอกมุมออก ถ้าใครมีเครื่องเขย่า Ultrasonic จะดีมาก ล้างงานได้สะอาด ถ้าแช่นานเกินไปเรซินจะโดนแอลกอฮอร์กัด เมื่อนำไปอบจะมีผิวแตกลายงาครับ รวมไปถึงความแข็งแรงจะลดลงด้ว

เกรียงเหล็กที่ใช้แซะชิ้นงานออกจากฐานพิมพ์

เกรียงพลาสติกที่ไว้แซะเรซินที่ติดอยู่กับฟิล์มในอ่างเรซิน











สรุปการใช้งานและประสิทธิภาพ
ข้อดี
♣ ราคาถูกเมื่อเทียบกับ SLA เครื่องอื่นๆ
♣ งานประกอบดีขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าถ้าแก้จนถึงเวอร์ชั่น V2.0 คงสมบูรณ์
♣ โครงสร้างแข็งแรงได้มาตรฐาน ตัว VAT หรือถาดใส่น้ำเรซิน ทำมาได้แข็งแรง
♣ จอมี LCD การ Distrotion หรือบวม บิดเบี้ยว น้อยมาก เมื่อเทียบกับโปรเจคเตอร์ รวมถึงไม่ต้องมานั่งปรับโฟกัสอะไรมาก
♣ Community ที่ใหญ่มาก เรียกว่าถ้ามีปัญหาอะไร ไปโพสในกลุ่มผู้ใช้ เดี๋ยวมีคนช่วยแน่นอน
♣ ถึงแม้ Wanhao จะมีปัญหาเรื่อง QC แต่เรื่องการ Support ลูกค้าทำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นรายย่อย หรือ Reseller
ข้อเสีย
♦ จอ LCD อายุการใช้งานสั้น ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีข้อมูลออกมาระบุว่าใช้ได้กี่ชั่วโมง โดยเฉลี่ยโปรเจคเตอร์จะอยู่ที่ 2,000 ชั่วโมง LCD น่าจะนานกว่านั้นครับ
♦ กำลังไฟของหลอด LED เพียง 30W ทำให้ต้องใช้เวลานานมากในการฉายแสงต่อ 1 ชั้น ซึ่งถ้าเป็น Kudo Titan 1 ที่ใช้โปรเจตเตอร์เร็วกว่านี้อีก 3 เท่า
♦ D7 ไม่มีคู่มือการใช้งานมาให้ คู่มือที่ให้ดาวน์โหลดไม่ละเอียด
♦ โปรแกรม Creation Workshopw สะดวกในการ slice ชิ้นงาน ตั้งค่า แต่ไม่เหมาะในการมอนิเตอร์การพิมพ์ครับ เพราะตัวโปรแกรมไม่แสดงสถานะอะไรเลย นอกจากเวลาในการพิมพ์ และเวลาทั้งหมด รวมไปถึงการสร้าง Support ทางที่ดีอาจใช้โปรแกรมอื่นๆช่วย เช่น Meshmixer B9 Flashprint
♦ ขนาดการพิมพ์เล็กมากแค่ 12x6x20 cm
การแก้ปัญหาด้านโปแกรมโดยใช้ NaoDLP
สาเหตุที่ต้องใช้ NanoDLP
♣ กลิ่นเรซิน แอลกอฮอร์ เหม็นมาก ไม่สามารถนั่งทำงานในห้องเดียวกับเครื่อง SLA 3D Printer ได้
♣ ไม่ต้องต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่อง D7 ตลอดเวลา
♣ สามารถดูสถานะได้ว่าตอนนี้พิมพ์ได้ถึงไหนแล้ว กี่ชั่วโมงเสร็จ
♣ การปรับตั้งค่าการทำงาน ที่ละเอียดกว่าโปรแกรม Creation Workshop
รายละเอียดสามารถดูได้ที่ https://www.nanodlp.com
วันหลังจะมารีวิวให้เห็นข้อดี-ข้อเสียของระบบนี้ครับ

