Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

Wanhao Duplicator 9 เป็น 3D Printer เครื่องแรกที่คุ้มค่ามากที่สุด

ปัจจุบันเครื่องสไตล์ Prusa หรือเครื่องที่มีฐานพิมพ์ชิ้นงานเคลื่อนที่ไปข้างหน้า-หลัง (แกน Y) เป็นที่นิยมมากในเครื่องที่ราคาไม่แพง เนื่องจากใช้ชิ้นส่วนไม่เยอะ และปรับตั้งค่าได้ง่ายไม่ซับซ้อน เมื่อเปรียบเทียบกับพวกตระกูล Core XY หรือเครื่อง Delta โดย Wanhao Duplicator 9 เป็นเครื่องแบบ Prusa อีกหนึ่งเครื่องที่ออกมาสู่ท้องตลาดในปัจจุบัน โดยเน้นไปที่ ”ตลาดระดับเริ่มต้น” ที่ราคาไม่แพง ได้ขนาดและฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ด้อยกว่าเครื่องแพงๆ วันนี้เป็นการรีวิวเครื่อง Duplicator 9 รุ่นเล็กสุดที่มีขนาดการพิมพ์ 30x30x40 เซนติเมตร โดยรุ่นใหญ่สุดมีขนาดการพิมพ์ 50x50x50 เซนติเมตร
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

หน้าตาของ 3D Printer แบบ XYZ (Cartesian) และ Delta(ที่มา: ResearchGate)

รายละเอียดเครื่อง Duplicator 9 จากผู้ผลิต

Primary attributes of the technology
Software
Extruder system
Material support
Max printable area
Filament diameter
Max printing speed
Case Material
With Insulate cover or not
Extruder Quantity
Accuracy
Net Weight(kg)
Gross Weight(kg)
Bed leveling
Packing size(cm)
Plateform Holder
Rail locking system
Layer Thickness
Plateform
Resume printing
LCD display
Power supply unit

PLA printer, entrance level printer Full assembled.
CURA, host by Repitator, Simplify 3D
MK10 extruder with full metal hot end
PLA, PVA, PEVA, PLA, Nylon, Any material melting<=300’C
300x300x400mm
1.75mm
70mm/s
Aluminum Case
Insulate Tent Available
1
X 0.012mm Y 0.012mm Z 0.004mm
20kg
22kg
4 Points leveling and Auto level function
60*50*35cm
Steel frame holder
Steel bolt locking frame
100 micron- 400 micron
Aluminum platform W/ heating,
Can resume printing after power break
English/Chinese/ customized any language
Inside 110 AND 250V(optional), 50/60Hz, 4.0A (input), and takes standard IEC cable

ภาพรวมของตัวเครื่อง

โครงสร้างหลักๆของเครื่อง Duplicator 9 ใช้อลูมิเนียมโปรไฟล์ขนาดใหญ่ 40×40 มิลลิเมตร ซึ่งน่าจะใหญ่ที่สุดในท้องตลาดแล้ว ทำให้มีน้ำหนักเมื่อประกอบเสร็จถึง 20 กิโลกรัม ใช้รางเคลื่อนที่เป็น V-Slot มีล้อพลาสติกเป็นตัวหมุน ออกแบบมาเพื่อลดข้อด้อยของ T-Slot ที่มีความคลาดเคลื่อนและสึกหรอมากกว่า
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

เปรียบเทียบหน้าตาของ T-Slot และ V-Slot (ที่มา: https://www.diy-india.com)

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
ในขณะที่รุ่นพี่อย่าง Duplicator I3 และ 6 ที่ใช้เพลากลมและบล๊อกอลูมิเนียม ซึ่งในกรณีที่ไม่ได้รับแรงมาก ทั้งสองแบบไม่ได้แตกต่างกัน แต่เมื่อน้ำหนักมากขึ้นแบบเพลาและบล๊อกอลูมิเนียมจะรับน้ำหนักได้ดีกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า ซึ่งตามมาด้วยต้นทุนและการซ่อมบำรุงที่แพงขึ้น ในขณะที่ระบบ V-Slot การเปลี่ยนล้อหมุนมีราคาที่ถูกกว่าหลายเท่า หากมีการสึกหรอ หรือซ่อมบำรุง ทางผู้ผลิตหลายๆรายจึงใช้ระบบนี้ในเครื่องระดับเริ่มต้น ราคาไม่แพง
AYER RESOLUTION 0.1 mm – 0,4 mm
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
ตัวเครื่อง D9 เมื่อประกอบแล้วจะเป็นชิ้นเดียว ไม่มีกล่องควบคุมแยกออกมา ทำให้ไม่ต้องระวังเรื่องสายไฟ สามารถที่จะขนย้ายได้สะดวก (แต่ก็ยังหนักอยู่ดี) บริเวณด้านหน้ามีหน้าจอสีระบบสัมผัสขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งอินเตอร์เฟสใช้งานง่าย แต่ไม่เหมาะสำหรับคนชอบปรับเครื่องอิสระ โดยคำสั่งการใช้งานทั่วไปชัดเจนไม่ยุ่งยาก ปุ่มกดง่าย แต่ในคนที่ชอบปรับตั้งค่าเครื่องเอง หรือเพิ่มเติมคำสั่งเฉพาะตัว (Macro) คงต้องไปแก้ตัว Firmware ที่ผู้ผลิตกำลังจะปล่อยให้ผู้ใช้เข้าไปแก้ไขได้เองเหมือนกับรุ่นก่อนที่จะมี Non official firmware ออกมา
Secured locking system
หัวฉีดแบบ Direct Drive หรือขับเส้นตรง โดยเฟืองขับอยู่ใกล้กับหัวฉีด ทำให้มีแรงขับเส้นมากกว่าแบบ Bowden ที่อยู่ห่างออกไป ดังนั้นเส้นยืดหยุ่นและ Flexible อย่าง Ninjaflex TPU TPE หรือ PVA จึงสามารถใช้กับ D9 ได้ไม่ปัญหา ในขณะที่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไปชดเชยด้วยโครงสร้างเครื่องที่แข็งแรง ลดการสั่นสะเทือนแทน
temp max 280 C

บริเวณฐานพิมพ์เปลี่ยนเป็นแผ่นแม่เหล็กแทนที่จะเป็นแผ่น Buildtak แล้ว โดยเมื่อแกะชิ้นงาน แค่ลอกแผ่นออกก้สามารถเอาชิ้นงานออกได้ ส่วนนี้น่าจะได้แบบอย่างมาจากของ BuildTak FlexPlate ส่วนใครจะทำเองก็ไม่ยากอะไร ใช้แผ่นแม่เหล็กตามร้านเครื่องเขียนได้เลย

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

สรุปฟีเจอร์เด่นอื่นๆ ในปี 2018 ทาง Wanhao ได้ปรับปรุงเครื่องเกือบทุกรุ่นให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึง D9 ทำให้มีข้อแตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด ได้แก่

♣  ระบบหัวฉีดเป็นโลหะไม่มีท่อเทฟลอนสีขาวแล้ว (all metal hotend)
♣  ระบบปรับฐานอัตโนมัติ โดยขณะรีวิวใช้ inductive sensor ในการวัดระนาบฐาน
♣  ระบบพิมพ์ต่อเมื่อไฟดับ
♣  ระบบฐานแม่เหล็กเพื่อช่วยในการแกะชิ้นงานหลังพิมพ์เสร็จ

แกะกล่องใช้งานครั้งแรก

กลับมาที่ส่วนเครื่องหลังจากเปิดกล่องมาแล้วจะพบชิ้นส่วนแยกกันมาหลักๆประมาณ 5 ชิ้น ใช้เวลาประกอบไม่เกิน 30 นาที สำหรับมือใหม่ เนื่องจากเป็นการขันน๊อตยึดเป็นส่วนใหญ่ ตำแหน่งที่ต้องยึดโดนเจาะรูมาให้เรียบร้อยป้องกันประกอบไม่ตรงจุด ตรงจุดนี้ถ้ามีผิดพลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลับซ้าย-ขวาแค่นั้น ซึ่งทางผู้ผลิตได้ทำมาร์คจุด A-A B-B เพื่อป้องกันไว้แล้ว ดังนั้นคนที่ประกอบเครื่องเองสบายใจได้ ไม่น่าหลง ก่อนที่จะเปิดสวิตซ์เครื่องตามสไสล์ของเครื่อง Prusa ที่มีแกน Z 2 แกนซ้ายและขวา ดังนั้นต้องตั้งระดับของทั้ง 2 แกน ให้ได้ระนาบเท่ากันเสียก่อน ซึ่งปกติแล้วโรงงานจะตั้งมาให้แล้ว แต่จากการเคลื่อนย้ายจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น โดยใครสะดวกวิธีไหนจะใช้ไม้บรรทัด เวอร์เนีย หรือปริ้นชิ้นส่วนช่วยก็ตามความถนัด
Customized cooling fan for more accuracy
Customized cooling fan for more accuracy
Equipped with BLTouch auto smart leveling
ส่วนถ้าใครกังวลว่าประกอบไม่ถูก ทางผู้ผลิตจะให้คู่มือการประกอบมาอยู่แล้ว 1 แผ่น หรือเข้าไปดูเป็นคลิบวีดีโอเต็มๆได้ตามลิ้งด้านล่าง
หลังจากประกอบเสร็จแล้วขั้นตอนถัดมาคือการตั้งฐานให้ได้ระนาบ ซึ่งก็มีอยู่ 2 โหมดให้เลือกคือ Auto และ Manual ในส่วนนี้ถ้าใครใช้เครื่องมาตรฐานที่มาจากโรงงานสามารถกด Auto เพื่อให้เครื่องวัดระนาบฐาน 16 จุด ได้เลย ส่วนใครที่จะใช้กระจกรองต้องมานั่งปรับ Manual เองก่อน ซึ่งเดี๋ยวจะมีสรุปตอนท้ายอีกที หลังจากเสร็จแล้วเครื่องจะแจ้งค่าของระนาบทั้ง 16 จุด พร้อมสามารถตั้งค่า z-offset ได้ในส่วนนี้ (ปัจจุบันที่รีวิวเดือนมีนาคมยังไม่สามารถทำได้)
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าค่า Z-offset คืออะไร มาอ่านตรงนี้ได้เลยครับ โดยค่า offset คือค่าที่บอกระยะห่างระหว่างปลายหัวฉีด และเซนเซอร์วัดระยะ ในกรณีของ Duplicator 9 คือเจ้า Inductive sensor ที่ติดมากับเครื่องนี่เอง โดยปกติแล้วระยะ offset จากโรงงานแต่ละเครื่องจะไม่เท่ากัน เนื่องจากการประกอบ โดยอาจแตกต่างกันถึง 1-2 mm เลยก็ได้ แม้จะเป็นเครื่องรุ่นเดียวกัน ดังนั้นค่า Z offset จะเข้ามามีส่วนช่วยตรงจุดนี้

ยกตัวอย่างเช่น เครื่อง D9A Firmware S1 ตั้งค่าระยะห่างหัวกับเซ็นเซอร์วัดใน Firmware ไว้ 3 mm แต่ระยะห่างจริงๆ แค่ 2.9 mm (อยู่ชิดกันมากขึ้น) ดังนั้นเมื่อพิมพ์จริงแทนที่หัวพิมพ์จะอยู่ที่ตำแหน่ง Z=0 mm จะอยู่ที่ Z=0.1 mm แทน ทำให้ลอยจากฐานพิมพ์ หรือไม่ติดพื้นไปเลย

กรณีที่ 2 เครื่อง D9B Firmware S2 ตั้งค่าระยะห่างหัวกับเซ็นเซอร์วัดใน Firmware ไว้ 3 mm แต่ระยะห่างจริงห่างกัน 3.2 mm (เซ็นเซอร์อยู่สูงกว่าปกติ) ดังนั้นเมื่อพิมพ์จริงแทนที่หัวพิมพ์จะอยู่ที่ตำแหน่ง Z=0 mm จะอยู่ที่ Z= -0.2 mm แทน ซึ่งก็คือขูดฐานพิมพ์นั่นเอง จากทั้ง 2 กรณี จึงต้องมีค่า Z- Offset เข้ามาชดเชยในส่วนนี้ ซึ่งหลายๆเครื่องรุ่นใหม่จะมีฟังก์ชั่นนี้เข้ามาด้วยโดยอาจจะใช้ชื่ออื่นๆแทน

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

กลับมาที่ตัวเครื่องการใส่เส้นเข้าไปที่เมนู Ultility จากนั้น add filament ตัวเครื่องจะให้เลือกว่าจะใส่เส้นชนิดไหนซึ่งมีทั้ง PLA ABS หรือถ้าเป็นพวก PC Nylon ก็เลือกที่ other ซึ่งจะตั้งค่าไว้ที่ 260 องศาเซลเซียส รอจนอุณหภูมิถึงค่าที่เครื่องตั้งไว้แล้วจึงใส่เส้นที่ด้านบน รอจนเส้นออกที่หัวฉีด ซึ่งขั้นตอนนี้ถ้าใครถนัดก็สามารถดันเส้นออกที่หัวได้เลย ไม่ต้องรอเครื่องขับเส้นจนออกเอง ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก

material support PLA ABS PET PC Flexible

หลังจากใส่เส้น Filament สำหรับเครื่อง 3D Printer แล้ว ถัดมาก็คือการสร้างไฟล์ .gcode หรือภาษาที่ใช้ในการสั่งเครื่องให้ทำงาน โดยโปรแกรมที่มากับเครื่องจะเป็น Cura เวอร์ชั่น Wanhao 2.xx (ปัจจุบันเป็น Cura 3.x แล้ว) ซึ่งถึงแม้จะเก่าแต่โดยรวมก็ยังใช้งานได้ดี เนื่องจากเวอร์ชั่นใหม่ๆ เน้นเสริมการทำงานของเครื่อง Ultimaker รุ่นใหม่มากกว่า (Ultimaker เป็นคนสร้างโปรแกรม Cura)

หมายเหตุ: การตั้งค่า Cura ให้เหมาะกับเครื่อง Duplicator 9 ต้องทำด้วยตัวเองทั้งหมด ค่าเดิมที่มากับโปรแกรมไม่เหมาะสม

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
หลังจากได้ไฟล์ .gcode แล้วก็เซพลง SD Card สั่งพิมพ์จากหน้าจอตัวเครื่องได้เลย

คุณภาพการพิมพ์

มาในส่วนของคุณภาพการพิมพ์ เนื่องจาก Duplicator 9 เปลี่ยนมาใช้ชุดขับเส้นแบบ Duplicator 6 และหัวฉีดแบบโลหะทั้งชิ้น ทำให้ชิ้นงานที่แข็งแรง ทนทานเนื่องจากรับความร้อนจากตัวทำความร้อนได้เต็ม ทำให้งานเนียนสวย อย่างไรก็ตามด้วยโครงสร้างสไตล์ Prusa ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องที่มีฐานพิมพ์ขนาดใหญ่ เนื่องจากต้องเลื่อเข้า-ออก ตลอดเวลา ทำให้มีการสั่นสะเทือนเล็กๆ ส่งผลต่อผิวชิ้นงาน จะเห็นได้ชัดเจนเมื่องานมีความสูงมากขึ้น จึงต้องลดความเร็วในการพิมพ์เพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้ ซึ่งถ้าไม่ได้ซีเรียสผิวงานก้ยังออกมายอมรับได้ดังภาพ
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
อีกปัญหาที่สำคัญซึ่งทางผู้ผลิตหรือ Wanhao ทราบดี แต่ไม่แก้ไข เนื่องจากให้ผู้ใช้แก้ไขกันเองคือ ระบบระบายความร้อนให้กับชิ้นงาน ซึ่งจริงๆก็มีผลเฉพาะวัสดุเดียวคือ PLA โดยมีพัดลมขนาด 40 mm ตัวเดียว และเป่าชิ้นงานเพียงด้านเดียว ทำให้ผิวของชิ้นงานไม่สวย ซึ่งจะเห็นผลชัดเมื่อเป็นงานพิมพ์จาก PLA ขนาดเล็กๆ อย่างไรก็ตามในวัสดุวิศวกรรม หรือต้องการอุณหภูมิสูงๆในการพิมพ์ก็ตัดปัญหาที่กล่าวมาออกไปได้เลย เพราะพัดลมที่ให้มาเพียงพอแล้ว
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
ส่วนฟังก์ชั่นการทำงานต่อจากไฟดับเท่าที่ลองก็ทำงานได้ดี มีข้อตำหนิตรงที่หลังจากไฟมา ไม่ควรเข้าจุด home ตามแนวแกน Z เพราะอาจจะโดนชิ้นงานได้ ซึ่งจุดนี้ทางทีมงานได้ส่งข้อมูลไปให้ผู้ผลิตเพื่อปรับแก้ firmware แล้ว น่าจะออกมาไม่นานหลังจากรีวิวตัวนี้

ความทนทานของเครื่อง

ด้านโครงสร้างแข็งแรงมาก เป็นจุดเด่นของ Wanhao อยู่แล้ว น้ำหนักมากกว่าเครื่องคล้ายๆกัน 2 เท่า ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องนี้เลย กลับกันตัวฐานพิมพ์น่าจะเป็นจุดอ่อนสำคัญ ที่ไม่ค่อยแข็งแรง ซึ่งทางผู้ใช้ก็ออกแบบตัวแก้มาให้ในทันที โดยเป็นตัวล๊อกฐานพิมพ์กับเกลียวตามภาพ ทำให้ฐานพิมพ์ติดกับโครงสร้างแน่นมากขึ้น
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9
มาที่บอร์ดควบคุมดูแล้ว Wanhao ยังคงสามารถที่จะแอดฟังก์ชั่นเพิ่มเติมได้ เช่น ตัวตรวจจับเส้นขณะพิมพ์ หรือการใช้ Probe แบบอื่นๆในการตรวจจับ โดยบอร์ดตัวนี้พัฒนามาจากตัว I3 Plus ซึ่งดูจากการทนทานแล้วค่อนข้างที่จะเชื่อถือได้มากกว่าสมัย I3 V1 ที่ตอนนั้นบอร์ดไหม้กันเกิดครึ่ง ซึ่งหลังจากปรับระบบไฟเป็น 24V ในรุ่นใหม่ๆแล้ว อาการดังกล่าวก็ลดลงพอสมควร ส่วนใหญ่เครื่องจะตัดการทำงานก่อนทุกครั้ง (Thermal runaway)
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 9

สรุป

เป็นเครื่องในราคาที่ไม่แพง แต่ได้ไซส์ใหญ่และฟังก์ชั่นครบครัน ใช้วัสดุเกือบทุกชนิดในไทยได้หมด รวมทั้งคอมมูนิตี้ที่ใหญ่มากๆ ระดับโลก ทำให้ปัญหาต่างๆ สามารถแก้ไขได้ รวมทั้งชุดปรับปรุงที่จะออกมามากมาย ราคาเครื่อง 32000 บาท โดย ซิงค์ อินโนเวชั่น ได้ปรับปรุงเครื่องให้เหมาะสมกับการใช้งานมากกว่าออกจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้สบายใจได้ว่า ได้เครื่องที่คุณภาพสูงกว่าเครื่องที่ออกจากโรงงานทั่วไป
display Touch screen

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก