Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

เครื่อง 3D Printer ที่ต่อยอดจากความสำเร็จเดิม

จากความสำเร็จของเครื่อง Wanhao รุ่น Duplicator I3 ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ขายไปได้หลักแสนเครื่องทั่วโลก มีผู้ผลิตรายใหญ่นำไปเปลี่ยนชื่อเป็นของตัวเองมากมายเช่น Monoprice, Powerspec, Balco, Malyan หรือ Cocoon create เป็นการการันตีว่าในราคาระดับนี้ ผู้ใช้จะได้รับเครื่องที่พร้อมใช้งานมากที่สุด ปัจจุบันพัฒนามาจนถึงรุ่น 2.1 ซึ่งแก้ปัญหาต่างๆด้านอิเล็ดทรอนิกส์ การประกอบ การระบายความร้อน หมดแล้ว ซึ่งเกิดจากข้อมูลที่ทางผู้ใช้พบแล้วส่งไปยังผู้ผลิตเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น Wanhao จึงเป็นเครื่อง 3D Printer ราคาถูกที่มีกลุ่มผู้ใช้ใหญ่สุดในโลก เพื่อต่อยอดความสำเร็จผู้ผลิตจึงได้ออกรุ่น I3 PLUS เพิ่มเติมการใช้งานตามเสียงของลูกค้า โดยฟีเจอร์ที่เด่นแบบชัดเจนคือ หน้าจอสัมผัส และรวมชุดควบคุมเข้ากับตัวเครื่อง ทำให้สะดวกในการประกอบและขนย้าย

PRINTING TECHNOLOGY FFF Fused Filament Fabrication

Wanhao Duplicator I3 PLUS

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

Wanhao Duplicator I3 V2.1

ส่วนที่ปรับปรุงจากรุ่น V2.1

LCD DISPLAY 3.25″ Touchscreen Control Panel

หน้าจอสัมผัสแบบ LED ขนาด 3.25 นิ้ว เพื่อการใช้งานที่สะดวก

The entire frame is made from metal making it a strong and stable printer

โครงสร้างแบบชุดเดียว แข็งแรง พิมพ์ได้เร็วขึ้น

POSITION PRECISION Z 0.004mm,XY 0.012mm

เดินระบบสายไฟใหม่ ดูเรียบร้อยมากขึ้น

INTERFAC Print with SD Card

ใช้ SD Card ในการสั่งงานเครื่องแทน mini SD Card

RESUME PRINT YES, Print can be resumed after power loss

ใช้ระบบไฟ 24V แทน 12V แบบเดิม ลดความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน

EXTRUDERS 1 Single Extruder

กลับมาใช้แบริ่งแกน X 3 ชุดเหมือนสมัยก่อน แข็งแรงมากขึ้น

รายละเอียดของเครื่อง

รายละเอียดข้อมูล

ขนาดการพิมพ์

ระบบหัวฉีด

อุณหภูมิหัวฉีดสูงสุด

อุณหภูมิฐานสูงสุด

ขนาดเส้นพลาสติก

ความละเอียดในการพิมพ์สูงสุด

ความเร็วในการพิมพ์สูงสุด

รองรับวัสดุ

ระบบระบายความร้อน

โปรแกรมควบคุมเครื่อง

โปรแกรมควบคุมเครื่อง

20x20x18 cm

MK 10

240 องศาเซลเซียส (ตั้งค่าได้ถึง 260 องศาเซลเซียส)

110 องศาเซลเซียส

1.75 mm

0.1 mm

100 mm/s

PLA ABS PETG

พัดลมขนาด 40 mm

SD Card, USB

Cura Wanhao

แกะกล่อง เปิดเครื่อง

กล่องของ I3 PLUS ไม่แตกต่างกับตัว I3 ปกติเลย โชคร้ายเครื่องที่ส่งมาเจอปัญหาจากการขนส่ง ทำให้กล่องภายนอกเสียหายแต่ชิ้นส่วนข้างในแพ็คมาดี เลยไม่มีชิ้นส่วนใดเสียหาย

Import box
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

ด้านข้างของกล่องมีรายละเอียดและฟีเจอร์เด่นของเครื่อง ด้านในบุด้วยโฟมแน่นหน้าเพื่อป้องกันชิ้นส่วนเสียหายระหว่างการขนส่ง

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

สามารถยกโฟมออกมาได้ทั้งชุด ด้านล่างมีหนังสือคู่มือการใช้งาน และเส้นพลาสติกตัวอย่างให้

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

อุปกรณ์ที่แถมมาให้ พร้อมใช้งานเป็นที่สังเกตว่ารุ่น I3 PLUS ไม่แถมแผ่นรองพิมพ์สำรองมาให้แล้ว

การเอาเครื่องออกจากกล่องทำให้ง่ายกว่าเดิม จากแต่ก่อนมี 3 ชิ้น สายพันกัน

แต่รุ่นนี้เป็น 2 ชิ้นแบบแยกอิสระก่อกันได้เลย สะดวกทั้งการประกอบ ขนส่ง และซ่อมบำรุง

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

ขั้นตอนการประกอบเครื่องเข้าด้วยกัน

Wanhao Duplicator I3 เป็นเครื่องราคาถูกรุ่นแรกที่ออกแบบเครื่องให้ผู้ใช้ ประกอบเครื่องได้ง่ายที่สุด ซึ่ง I3 PLUS ที่ต่อยอดมา ง่ายขึ้นกว่าเดิม มี 4 ขั้นตอนหลักๆคือ

  • ประกอบฐานกับชุดหัวฉีดเข้าด้วยกัน
  • เสียบสายไฟเข้ากับมอเตอร์และตัวเครื่อง
  • ตั้งระดับของฐานให้เหมาะสม
  • ทดลองพิมพ์งานทดสอบ

1. การประกอบฐานและชุดหัวฉีดเริ่มต้นจากใช้กรรไกรหรือคีม ตัดพลาสติกรัดชุดหัวฉีดออกก่อน สังเกตว่าไม่สามารถใส่ฐานเข้ากับชุดหัวฉีดได้ เนื่องจากติดชุดหัวฉีดดังแสดงในภาพ

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

ใช้มือทั้ง 2 ข้าง “หมุนสกรูแกน Z ทั้ง 2 ข้าง อย่างช้าๆ พร้อมกันทั้ง 2 ด้าน” เพื่อให้แกน Z เคลื่อนที่ขึ้นและได้ระนาบตรง (ตรงจุดนี้ ถ้าไม่สะดวกสามารถมาตั้งระนาบทีหลังได้) หมุนขึ้นจนได้ระดับความสูงที่ฐานพิมพ์สามารถยกข้ามและวางได้ดังภาพ

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

สังเกตที่ด้านข้างจะเห็น รูยึดน๊อตข้างละ 2 ตำแหน่ง รวมทั้งสองด้านจำนวน 4 จุด จากนั้นใช้ประแจแอลกับน๊อตที่ให้มากับเครื่อง ขันให้พอดี เป็นอันเสร็จสิ้นการประกอบ

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
2. ต่อระบบไฟจุดต่อระบบไฟมีทั้งหมด 4 จุดA คือมอเตอร์สำหรับแกน XB,C มอเตอร์สำหรับแกน ZD Endstop แกน Zสายแพรสำหรับเชื่อมระบบทั้งหมดเข้ากับเมนเบอร์ด
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

3. ตั้งระนาบฐานการตั้งระนาบฐานค่อนข้างยากสำหรับผู้ใช้มือใหม่ เป็นเรื่องยากพอสมควร ซึ่งจุดนี้ขึ้นกับประสบการณ์ผู้ใช้เลย โดย I3 Plus มีคำสั่งช่วยตั้งฐานโดยไปที่คำสั่ง Tool แล้วเลือกที่ Level เครื่องจะให้เราหมุนน๊อตที่ฐานให้ได้ระนาบทั้ง 4 มุม โดยใช้กระดาษช่วยในการตั้ง หรือสามารถเปิดไปที่คู่มือหน้า 15 จะมีข้อแนะนำ

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

สำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือไม่ สามารถดูคลิบด้านล่างประกอบการตั้งฐานครับ

4. ทดลองพิมพ์หลังจากตั้งฐานได้ระดับแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือโหลดเส้นพลาสติกเข้าที่หัวฉีด โดยไปที่คำสั่ง Filament แล้วเลือกโหลด Load นำเส้นพลาสติกขนาด 1.75 mm สอดเข้าไปที่ชุดขับเส้นจนถึงเฟืองขับ จากนั้นรอจนเส้นพลาสติกไหลออกที่หัวฉีดดังภาพด้านล่าง ซึ่งง่ายกว่าเครื่องรุ่น V2.1 ที่ต้องใช้ระบบ Manual มาก วิธีการนำเส้นออกก็เช่นเดียวกัน คือกด Unload จนเส้นออกจากเฟืองขับ

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

ทดลองพิมพ์ชิ้นงานทดสอบ โดยใช้ SD Card ที่ให้มาเสียเข้าทางด้านขวา ไปที่คำสั่ง Print ใน SD Card ที่มากับเครื่องจะมีไฟล์ ok.gcode อยู่ สามารถสั่งพิมพ์ได้เลย

แต่ในรีวิวนี้จะเพิ่มขึ้นตอนการตั้งฐานเพิ่มเติมจากการพิมพ์งานจริง โดยสามารถโหลดไฟล์ 3D ได้ที่ http://www.thingiverse.com/thing:1278865 หรือโหลดเป็นไฟล์ .gcode ที่เราทำไว้ได้ที่ https://drive.google.com/open?id=0B75d34AF4x2bcE9HeWMwLVBoRzA โดยจะมีการวนเส้นรอบฐานพิมพ์ เพื่อช่วยตั้งระนาบฐานอีกครั้ง

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

ส่วนเพิ่มเติม

จากการทดลองใช้งานเบื้องต้น เครื่องสามารถพิมพ์ได้ง่าย เหมือนรุ่น V2.1 ซึ่งก็เหมาะสมกับผู้ใช้ที่ต้องการอัพเกรดเครื่อง หรือเปลี่ยนใหม่ แต่ไม่ต้องการเครื่องราคาแพง โดยปัญหาที่พบคือระบบระบายความร้อน ถ้าพิมพ์ชิ้นงานยากๆ ดังภาพ จะพบการย้อยของพลาสติก ซึ่งสามารแก้ไขได้โดยปรับปรุงระบบระบายความร้อน โดยพิมพ์ชิ้นส่วนเพิ่มเติม และใช้พัดลมหอยโข่งรหัส 5015 แทน ซึ่งผลที่ได้ก็คุ้มค่า

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

การปรับปรุงระบบระบายความร้อน เพื่อให้พิมพ์ได้สวยขึ้น (ภาพประกอบจาก http://www.thingiverse.com/thing:2155351)

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
cooling fan
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

ปัญหาที่พบ

1. การติดตั้ง End stop แกน Y ติดตั้งมาเอียง ทำให้หัวพิมพ์แตะน๊อตปรับฐานมุมซ้ายล่าง แทนที่จะแตะฐานพิมพ์ แก้ไขได้โดยการขันน๊อต ติดให้เอียงมาด้านหน้าแทน (แก้ไขแล้วในปี 2018)

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

2. ไม่สามารถใช้คำสั่ง Load Filament ของเครื่อง ที่อุณหภูมิอื่นได้เลย โดยเครื่องจะตั้งที่ 200 องศาเซลเซียสเสมอ ซึ่งเส้นบางชนิดต้องตั้งที่ 230 องศาเซลเซียส คาดว่าน่าจะออก Firmware มาแก้ในอนาคต (แก้ไขแล้วในปี 2018)

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

3. การปรับค่าการพิมพ์หน้างานมี Delay ซึ่งถ้าเป็นรุ่น 2.1 แทบจะทำงานทันทีเลย แต่รุ่นนี้จะใช้เวลา 1-2 วินาที ก่อนจะเปลี่ยนค่าให้ (แก้ไขแล้วในปี 2018)

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator I3 Plus

สรุปการใช้งาน

ข้อดี

  • ปรับปรุงระบบการควบคุมให้ง่ายขึ้น สามารถควบคุมผ่านหน้าจอระบบสัมผัสได้หมด
  • ประกอบง่าย ขนย้ายง่าย งานประกอบสายไฟทำได้เรียบร้อย ไม่แพ้เครื่องแพงๆ
  • ระบบไฟ 24V ทำให้เครื่องเย็น ทนทานมากขึ้น เหมาะกับบ้านเราที่อากาศร้อน
  • โครงสร้างแกน Z แข็งแรงมากขึ้นสามารถใช้ SD Cardได้แล้ว
  • คุ้มค่ากับการอัพเกรดเป็นรุ่น Plus สำหรับคนที่ยังไม่มีเครื่อง หรือต้องการเพิ่มเติม

ข้อเสีย

  • บอร์ดควบคุมยังเป็น Melzi ซึ่งค่อนข้างล้าสมัยไปมากแล้ว ทำให้ปรับปรุงฟังก์ชั่นใหม่ๆได้ยาก (ปัจจุบันปรับปรุงเป็น MEGA 2560 แล้ว)
  • ยังไม่มีการปรับปรุงระบบระบายความร้อนให้ชิ้นงาน
  • การปรับค่าในโหมด Advance ต้องทำผ่านคอมเท่านั้น
  • คู่มือการใช้งานไม่ปรับปรุง บางส่วนยกของ V2.1 มา
    ไม่มีการแถมเส้นพลาสติก 1 กก.
  • แผ่นรองฐานพิมพ์มีระบบพิมพ์ต่อเมื่อไฟดับ แต่ผู้ผลิตไม่ปล่อย Firmware  หรือตัวอัพเกรด !!

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก