Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

เครื่อง 3D Printer Duplicator 6 เป็นเครื่องรุ่นล่าสุดของ Wanhao ที่นำเอาเครื่องที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาปรับปรุง ลดต้นทุน แต่งเติม จนเป็นเครื่องของตัวเอง โดยเครื่องที่นำเอาโครงสร้าง แกนเคลื่อนที่ การออกแบบหัวฉีด มาใช้ คือเครื่อง Zotrax M200 ที่ลอกมาทั้งหมดถึงขนาดส่วนเสริมอย่างชุดอะคริลิกปิดเครื่อง ฐานพิมพ์ ยังใช้ด้วยกันได้ ในส่วนของโปรแกรมควบคุมเครื่องและ Firmware เอาของ Ultimaker 2 มาทั้งหมด ทำให้เป็นเครื่องลูกผสมเหมือนเป็นเครื่อง Ultimaker 2 ที่ใช้หัวฉีดแบบ Direct Drive หรือขับเส้นโดยตรง

เปรียบเทียบหน้าตาของเครื่อง Zotrax M200 และ Duplicator 6

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

เปรียบเทียบหน้าตาก่อนใส่ Cover

หลังใส่ Cover ที่ออกแบบโดยผู้ผลิตเอง ซึ่งสามารถใช้ด้วยกันได้ด้วย

เปรียบเทียบหน้าตาของเครื่อง Ultimaker 2 และ Duplicator 6

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

ระบบแกนเคลื่อนที่แบบเดียวกัน โดยเจ้า D6 ใช้แบบ 2 แกนแบบ Zotrax แทน

หน้าจอควบคุม OLED แบบเดียวกัน Firmware เดียวกัน

รายละเอียดพื้นฐานของเครื่อง

แกะกล่องเครื่อง Duplicator 6

เครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6 มาในแพคเกจทั่วๆไปเป็นกล่องกระดาษ ข้างในบุด้วยโฟมกันกระแทก

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

ในกล่องจะมีคู่มือติดตั้งเครื่องครั้งแรก และคู่มือการใช้งานอย่างละเอียดอีกเล่ม ซึ่งเป็นมาตรฐานของเครื่องที่ขายในอเมริกาหรือยุโรปอยู่แล้ว ที่ต้องมี ถ้าทำหายสามารถไปดาวน์โหลดเป็นไฟล์ PDF ได้ที่เวบของผู้ผลิต http://wanhaousa.com/ หรือติดตามในเวบซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำเป็นภาษาไทย

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

ภายในกล่องมีอุปกรณ์สำหรับใช้งานกับเครื่อง 3D Printer เพียงพอต่อการใช้งาน โดยลอตที่ได้มามีอุปกรณ์ตามนี้ ส่วนที่ควรไปซื้อเพิ่มคือกาว UHU ไว้สำหรับช่วยให้ชิ้นงานติดฐานแน่นขึ้น ไฟเล็กๆ LED ไว้ส่องชิ้นงาน

  • ชุดประแจ L ข้างในมีท่อเทฟลอนหัวฉีด
  • Card reader และ SD card 8 gb
  • คีมหนีบชิ้นงานเล็กๆ
  • แท่งเหล็กยาวๆไว้แยงหัวฉีด
  • เกรียงแซะชิ้นงาน
  • ยางกันกระแทก
  • แผ่นรองพิมพ์สำรอง 1 ชิ้น
  • เส้นพลาสติก PLA 1 กิโลกรัม
  • สาย USB
  • สายไฟ
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

เริ่มต้นการใช้งาน

หลังจากแกะกล่องนำอุปกรณ์ออกมาหมดแล้ว สิ่งที่ต้องทำ คือ

  • ประกอบตัวควบคุมกับเครื่องโดยใช้ประแจแอลขันยึดน๊อต
  • ประกอบตัววางม้วนเส้นพลาสติกกับเครื่องด้านหลัง
  • เสียบสายแพควบคุมเครื่องกับชุดหัวฉีดด้านบน
  • เสียบปลั๊ก

หลังจากทำครบก็พร้อมการใช้งาน ซึ่งง่ายกว่าเครื่อง Duplicator I3 อยู่ ระดับหนึ่ง

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

การตั้งระดับของฐานพิมพ์

ด้วยความที่ตัวเครื่องรุ่นนี้เอา Firmware ของ Ultimaker 2 มาใช้เลย ดังนั้นการทำงานและควบคุมเครื่องทุกอย่าง เหมือนกันทั้งหมด

เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก จะโดนบังคับให้ตั้งฐานพิมพ์เลย โดยต้องปรับฐานเอง ไม่มีระบบอัตโนมัติให้ ปัจจุบันเครื่อง Ultimaker 3 ก็ยังใช้ระบบนี้อยู่คือปรับด้วยมือเป็นหลัก ซึ่งผู้ผลิตบอกว่ามันง่ายเกินกว่าจะทำระบบอัตโนมัติที่ยุ่งยากกับ firmware ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต รวมถึงตัว Hardware ที่อาจจะไม่ได้ alignment และเสียหายตามมา

มาต่อที่ส่วนของการตั้งฐาน ถ้าของใครไม่ขึ้นให้ไปที่คำสั่ง Maintenance -> Build-Plate ก็จะเข้าสู่กันตั้งฐานเหมือนกัน ซึ่งการตั้งฐานให้ได้ระนาบอาศัยสปริง 3 ตัว ที่อยู่ด้านหน้า 1 ตัว ด้านหลัง 2 ตัว ถ้าเป็นตัวเครื่อง Ultimaker จะสลับกันคือหน้า 2 หลัง 1

ตรงจุดนี้ถ้าใช้แบบ Ultimaker น่าจะดีกว่าเนื่องจากส่วนใหญ่ฐานจะโก่งด้านหน้าตามน้ำหนัก ถ้าใช้การปรับด้านหน้า 2 ตัวจะได้ระนาบที่ละเอียดกว่า

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

การป้อนเส้นพลาสติก

การป้อนหรือเปลี่ยนเส้นพลาสติกสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  1. ผ่านคำสั่ง Materials -> Change หลังจากเลือกแล้วเครื่องจะทำความร้อนที่หัวและดึงเส้นที่ค้างอยู่ออกก่อน จากนั้นจะมีคำสั่งให้ใส่เส้นใหม่ จากนั้นก็รอจนมีพลาสติกไหลออกมาที่หัวฉีด พอเสร็จสิ้นเครื่องจะให้เราเลือกชนิดวัสดุที่ใส่เข้าไป
  2. ใช้การป้อนหรือดึงเส้นกลับด้วยมือ ไปที่คำสั่ง Maintenece -> Move material เครื่องจะทำความร้อนตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ โดยคำสั่งนี้เราสามารถหมุนปุ่มควบคุมเพื่อดึงเส้นกลับ หรือป้อนเส้นได้
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

วัสดุที่รองรับ

เครื่อง 3D Printer รุ่น D6 ทำอุณหภูมิที่หัวฉีดได้ 260 ºC และฐานได้ 100 ºC ดังนั้นจึงสามารถใช้กับวัสดุส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด แต่ถ้าใช้กับวัสดุที่มีการหดตัวสูง เช่น ABS PC หรือ Nylon ควรหา Cover อะคริลิกปิดรอบด้านเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายใน ซึ่งจากการทดลองกับ PLA ABS PETG แล้วไม่พบปัญหา อย่างไรก็ตามวัสดุพวกยืดหยุ่นมากๆ เช่น TPU TPE จะป้อนเส้นยากพอสมควร

ทดลองคุณภาพการพิมพ์

ใน SD Card จะมีโปรแกรม Cura เวอร์ชั่น Wanhao มาให้แล้ว ซึ่งการทดลองพิมพ์ก็ใช้โปรไฟล์ที่ให้มาเลยสำหรับ PLA ไม่ได้ปรับค่าอะไรเลย ส่วนวัสดุอื่นๆก็ปรับค่าตามเครื่อง I3 ที่เคยใช้ โดยผลการทดลองพิมพ์งานจาก PLA  ABS และ PETG สามารถพิมพ์ได้ไม่มีปัญหา แต่พบอาการฉีดไม่ออกในเส้น PLA+Carbon ที่มี ซึ่งน่าจะเกิดจากการตั้งค่าอุณหภูมิที่ต่ำ และพิมพ์เร็วไป (ผมใช้ไฟล์ gcode เดียวกับ PLA โดยไม่ได้ปรับเลย)

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Duplicator 6

ตามเสปคจากผู้ผลิตสามารถใช้ความละเอียดแกน Z หรือความสูงชั้น (Layer height) ได้ละเอียดถึง 20 ไมครอน เนื่องจากใช้บอลสกรู (Ball screw) ซึ่งก็ไม่ได้ทดลองมากขณะนั้น เนื่องจากความละะเอียด 100 ไมครอนก็ได้คุณภาพงานพอรับได้แล้ว

ปัญหาอื่นๆที่พบ

Wanhao มีปัญหาเรื่องการ QC เครื่องก่อนส่งเป็นประจำอยู่แล้ว โดยเครื่องที่ได้รับมาก็พบเช่นเดียวกัน โดยสายเซนเซอร์วัดอุณหภูมิใช้ไปสักพักแล้วขาดบริเวณหัวเสียบ เนื่องจากประกอบมาไม่ได้มาตรฐาน ก็แก้ไขโดยการบัดกรี ซึ่งหลังจากใช้งานกว่า 200 ชั่วโมง ก็ยังไม่พบปัญหาอื่นๆอีก ซึ่งน่าจะถือว่าโชคดีกว่าคนอื่นๆ โดยปัญหาที่พบคือ

  • แกน XY ประกอบมาไม่ได้ alignment
  • ฐานพิมพ์เบี้ยว
  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์มีปัญหาเรื่องเซนเซอร์ ตัวจ่ายไฟ อื่น

สิ่งที่ผู้ผลิตควรให้มาเพิ่มเติมในรุ่นถัดไป โดย Wanhao ปรับปรุงเครื่องตัวเองอยู่ตลอด โดยดูจากเครื่อง I3 ที่มีของใหม่ ปรับปรุงให้ดีขึ้นมาตลอด ในส่วนของ D6 สิ่งที่ควรปรับปรุงซึ่งได้ข้อมูลจากผู้ใช้คือ

  • พัดลมเป่าชิ้นงาน 2 ตัว เพื่อเพิ่มความเร็วในการพิมพ์ และให้งานเนียนสวย
  • ท่อนำเส้นพลาสติกจากด้านหลังเครื่องมาที่หัวฉีด
  • ตัวยึดสายแพรอิเล็กทรอนิกส์ที่เสียบเข้าหัวฉีด
  • อะคริลิกปิดเครื่อง

สรุปผลหลังการใช้งาน

♣  โครงสร้างแข็งแรง เวลาพิมพ์ไม่มีการสั่นใช้
♣  Ball screw ทำให้ความละเอียดตั้งได้ถึง 100 ไมครอน แบบใช้งานจริง
♣  ระบบหัวฉีด MK 11 ที่ตัว heater block ตัวใหญ่เก็บความร้อนได้ดี
♣  ระบบแกน XY คู่ เคลื่อนที่ได้ไว แม่นยำ
ใช้วัสดุได้หลากหลาย
♣  หน้าจอควบคุมแบบ OLED ที่ใช้งานได้ง่าย

♦  QC ด้านอิเล็กทรอนิกส์ควรปรับปรุง
♦  ควรเพิ่มพัดลมเป็น 2 ตัว เพื่อพิมพ์งานได้ไว และสวยขึ้น
♦  อะคริลิคปิดรอบด้านควรให้มาเลย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม
♦  ใช้กับเส้น TPE TPU ยาก เนื่องจากป้อนไม่ลงที่หัวฉีด

เครื่องนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเครื่องที่เสถียรมากกว่าตัว Duplicator I3 ที่ใช้วัสดุ ระบบการควบคุมถูกกว่า นอกจากนี้ด้วยความที่ตัวเครื่องสามารถทำเป็นระบบปิดได้ไม่ยาก จึงทำให้พิมพ์งาน ABS ได้ดีกว่าตัว I3 ในด้านความเร็วในการพิมพ์ก็ทำได้ดีกว่า โดยยังคงคุณภาพการพิมพ์ได้ ถ้า I3 พิมพ์เฉลี่ย 50 mm/s ตัว D6 สามารถทำได้ 70 mm/s แบบใช้งานจริงได้ครับ เนื่องจากชุดทำความร้อน และโครงสร้างที่ดีกว่าตัว I3

ถ้าใครที่สนใจ หรือต้องการ Sample งานจากเครื่อง Duplicator 6 สามารถติดต่อได้ที่บริษัทครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก