Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน

Elegoo เป็นบริษัทจากประเทศจีนที่ตั้งขึ้นในปี 2011 โดยแรกเริ่มเน้นไปที่การจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พวก Arduino Robot kit สำหรับการศึกษา ส่วนหนึ่งก็รับจ้าง OEM ผลิตและประกอบให้กับผู้ผลิตอื่นๆ โดย  Elegoo Mars ถือว่าเป็นเครื่อง LCD 3D Printer เครื่องแรกที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้น โดยเน้นให้เป็นเครื่องราคาสำหรับคนเริ่มต้น และใช้ชิ้นส่วนคุณภาพดี เน้น Open source ทั้งวัสดุและโปรแกรมที่ใช้

โดย Mars เน้นการวางจำหน่ายผ่าน Amazon ทั่วโลก และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีผู้ใช้จำนวนมาก สิ่งที่แตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆจากจีนคือ งานบริการ และข้อมูลที่ให้กับผู้ใช้งาน Elegoo Mars มีทั้งคู่มือภาษาอังกฤษที่เน้นภาพ เข้าใจง่าย มีขั้นตอนชัดเจน ที่สำคัญคือไม่มี reseller ในขณะที่เขียนบทความนี้ นอกจากนี้ใน Channel Youtube ของบริษัท ก็มีวิธีการใช้งาน ซ่อมบำรุงส่วนต่างๆ ให้ดูและศึกษาได้อย่างชัดเจน ช่วยให้ทั้งมือใหม่ มือเก่าใช้งานๆด้สะดวกมากขึ้น ดังนั้นจึงกลายเป็นเครื่องขายดีอันดับ 1 ในอเมซอน และผู้ใช้มากกว่า 80% ประเมินว่าดีมาก (4.75/5) ณ วันที่รีวิว สินค้าขาดสต๊อกไปถึงเดือนกันยายน (มีหลุดมาบ้างทีละ 5-10 เครื่อง) (บทความการนำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ)

รายละเอียดและฟีเจอร์หลัก

Elegoo Mars

  • พื้นที่การพิมพ์ 120x68x155 มิลลิเมตร
  • ความละเอียดในการพิมพ์สูงถึง 47 ไมครอน
  • หน้าจอสัมผัสสีขนาด 3.5 นิ้ว ดีไซน์ใช้งานง่าย
  • โครงสร้างโลหะทั้งหมด มีฝาอะคริลิกอย่างดี
  • ฐานพิมพ์อลูมิเนียมระบบ Ball-Joint
  • มาพร้อมโปรแกรม Chitubox ใช้งานง่าย ฟรี และอัพเดดได้ตลอด

ตัวเครื่องมาพร้อมแพ๊กเกจดูดี ขนาดไม่หนักมากประมาณ 8-9 กิโลกรัม สามารถยกคนเดียวได้สบายๆ (ส่วนเฉพาะตัวเครื่องหนัก 5 กิโลกรัมเท่านั้น) เมื่อแกะกล่องมาแล้ว จะเจอเครื่อง พร้อมคู่การใช้งาน (ไม่มีเรซินแถมมาด้วย)  อุปกรณ์ที่มาพร้อมกล่องก็ครบการใช้งาน (ลองดูคลิบ Unbox ใน youtube ได้) ที่ควรหาเพิ่มก็มีดังนี้

  • เกรียงเหล็ก หรือคัทเตอร์ไว้แกะชิ้นงานจากฐานพิมพ์ (buildplate)
  • IPA สำหรับทำความสะอาดชิ้นงาน
  • ตู้อบ UV ความยาวคลื่น 405 nm ความเข้มแสง 30 วัตต์ขึ้นไป สำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว
  • ขวดเปล่าทึบแสง สำหรับเก็บเรซินที่ใช้แล้ว (homepro ไทวัสดุมีจำหน่าย)
Elegoo mar package
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
Elegoo Mars ด้านข้าง
Elegoo Mars ด้านข้าง

การตั้งเครื่องเพียงอย่างเดียวคือ Buildplate หรือฐานพิมพ์ ซึ่งเป็นระบบ Ball-Joint คลายน๊อต 2 ตัว คลิ๊กหน้าจอให้ฐานพิมพ์เลื่อนมาด้านล่างสุด จากนั้นขันให้แน่น หรือใครไม่แน่ใจดูวีดีโอจากผู้ผลิตตามคลิบด้านล่างได้เลย

คุณภาพชิ้นส่วนพูดได้ว่า ดูดีกว่า Wanhao Duplicator 7 Plus (คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียด) ที่เราจำหน่ายซะอีก โดยเฉพาะโครงสร้างที่ผลิตและประกอบมาอย่างดี ใช้ Lineal Rail เดี่ยวรางใหญ่ ส่วนใครที่สงสัยว่าทำไม่มีลูกปืนคอยประคองด้านบน อันนี้ต้องบอกว่าปกติ  Leadscrew จะไม่มีอยู่แล้วครับหากใช้ Flexible Coupling เพื่อไม่เกิดการ Over constraint เกิน (ขออภัยที่มีแต่ภาษาอังกฤษ) ส่วนใครที่ได้รับเวอร์ชั่นที่มีลูกปืนด้านบนแสดงว่าเป็นล๊อตเก่าตั้งแต่ปี 2018 ครับ

Elegoo Mars Buildplate
Elegoo Mars Z-Axis

ใครที่กังวลเรื่องความร้อนสบายใจได้ เพราะพัดลมที่ติดตั้งมาเสียงดังมากๆ ไม่ควรวางไว้ใกล้ๆโต๊ะทำงานเลย ลองฟังเสียงหลังจากเปิดเครื่องดูครับ สำหรับผู้เขียนให้เสียงดังพอๆกับ Wanhao Duplicator 8 เลย (คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียด) ด้านล่างก็มีพัดลมที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้ชุดฉายแสงโดยตรงเป็นพัดลมตัวใหญ่ ดังนั้นไม่ต้องกลัวเรื่อง Overheat หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อายุสั้น

Rear
Bottom Fan

หลังจากเปิดเครื่องก็เช็คการทำงานของแกน Z จากหน้าจอ LCD ทดสอบการฉายแสง ให้เรียบร้อย

  • หน้าจอการทำงานค่อนข้างสะอาด แล้วมีปุ่มกดเพียงพอ ไม่ดูเยอะแบบ NanoDLP หรือน้อยไปแบบของ Wanhao Duplicator 7 Plus
  • การเช็คหน้าจอ LCD ค่าปกติที่โรงงานเซ็ทมาคือ 200 วินาที จริงตั้งแค่ 10 วินาทีก็เพียงพอแล้ว
Elegoo Mats Main Display
Elegoo Mats Display Tool

ส่วนใครที่จะเช็ค Firmware เครื่องก็ไปที่ System > Information เครื่องที่รีวิวเป็นเวอร์ชั่น V4.2.19_LCDM ปัจจุบันตามท้องตลาดจะยังเป็น V4.2.18 อยู่ หน้าจอนี้สามารถปิดเสียงการทำงานได้ ส่วนตัวเครื่อวหากพบปัญหาอะไร จะติดต่อโรงงานที่หน้าจอก็มีแจ้งช่องทางอยู่ (หากซื้อกับ ซิงค์ อินโนเวชั่น ก็ติดต่อฝ่าย Support ได้เลย)

Elegoo Mats Display info
Elegoo Mats Display help

ติดตั้งโปรแกรม Chitubox ที่อยู่ใน Flashdrive หรือใครจะโหลดเวอร์ชั่นใหม่ก็ไปตามลิ้งนี้ครับ โดยจะมีโปรไฟล์ของเครื่อง Mars อยู่แล้วในโปรแกรม หน้าตาตามรูปด้านล่าง ซึ่งก็เหมาะกับชิ้นงานทั่วๆไป ไม่ได้มีความยาก หรือรายละเอียดมาก

Select Mars profile
Resin config

ตัวโปรแกรม Chitubox สามารถย่อ-ขยาย หมุน เจาะ ได้หมด สามารถดู Manual ได้มากมายบน Youtube เมื่อเรา Import ตัวอย่างงานเข้ามาแล้ว กด Slice โปรแกรมจะแจ้งเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ และจำนวนเรซินโดยประมาณให้ทราบ

Slice Preview

เซฟไฟล์ดังกล่าวใส่ใน Flash Drive เพื่อไปสั่งพิมพ์หน้าเครื่อง ก่อนสั่งพิมพ์ก็ติดตั้งถาดพิมพ์ ถาดเรซิน เทเรซินให้พร้อม กด Z0 เพื่อให้ฐานพิมพ์เลื่อนลงมาสุดก่อน จากนั้นไปที่คำสั่งปริ้น ใช้ลูกศรเลื่อน ขึ้น-ลง เพื่อหาไฟล์ที่เซฟไว้ ซึ่งจะมีหน้าจอเล็กๆ ช่วยให้เห็นภาพตัวอย่างการพิมพ์ จะได้เลือกไม่ผิด จากนั้นกดพิมพ์ (Print)

Start Printing
select printed sile

ระหว่างการพิมพ์ามารถกดหยุดชั่วคราว (pause) เพื่อเติมเรซินหรือเช็คว่าชิ้นงานติดฐานพิมพ์มั้ย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาจนพิมพ์เสร็จถึงทราบว่าพิมพ์เสีย โดยการหยุดมักทำให้เกิดเส้นตำหนิบนชิ้นงานชั้นนั้นๆ (โอกาสเกิดไม่แน่นอน)

LCD 3D Printer high suction force

ส่วนเจ้าอุปกรณ์แถมสีขาวซึ่งผลิตมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในกล่อง ไว้สำหรับยึดฐานพิมพ์หลังปริ้นเสร็จ เพื่อให้เรซินที่ค้างอยู่ไหลลง Resin VAT ให้หมด

Drip residual resin

จากความละเอียดของจอ LCD 2K ทำให้ผลงานออกมาดี คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย ส่วนประกอบเล็กๆ น้อยๆ มาครบหมด เรียกว่าเอาเครื่องหลักแสน 2 แสน มาเทียบ ก็ไม่ได้ต่างกันมากนัก ใครจะซื้อไปปริ้นงาน Toy Figure เรียกว่าคุ้มค่า ปริ้นเสร็จพร้อมลงสีได้เลย ดูตัวอย่างงานจาก Prusa SL1 Calibration งาน Figure ต่างๆ ได้เลยครับ

หลังใช้งานทุกครั้งควรเทเรซินที่ใช้แล้วแยกไว้ต่างหาก ไม่ควรผสมกบของใหม่ ตรวจสอบว่าไม่มีเศษเรซินที่แข็งค้างอยู่ในถาด เพราะหากพิมพืครั้งต่อไปถาดพิมพ์จะกดเศษดังกล่าวจนทำให้จอ LCD เสียหาย เกิด Dead Pixel ได้ จากนั้นก็ปิดฝาป้องกันฝุ่น กันความชื้น เพื่อถนอมฟิล์มได้เลย

  • รซินที่เหลือใช้จากการพิมพ์ สามารถใช้ต่อได้ แต่คุณภาพจะด้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผ่านความร้อนขณะพิมพ์ ความชื้นในอากาศ
  • หากต้องการคุณภาพสูงสุดทุกครั้ง ควรใช้เรซินใหม่จากขวด แต่ถ้ากลัวเปลืองก็ใช้การผสม 50/50% หลายๆครั้งผู้เขียนใช้เรซินเก่าซ้ำๆก็ไม่พบความแตกต่าง
  • เรซินควรเก็บในที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ไม่โดนแดดโดยตรง และความชื้น ผู้เขียนเคยเอาเรซินเก่า 2 ปี มาใช้งาน ก็ยังพอใช้ได้อยู่ มีพิมพ์เสียบ้าง แต่ก็ยังใช้งานเล่นๆได้
VAT Cover by Sync Innovation

สำหรับหลายคนที่กังวลว่า Elegoo Mars ที่ไม่ได้ใช้ UV Array หรือ Matrix UV จะมีผลแค่ไหน ซึ่งจากการทดลองการพิมพ์จำนวนมาก เต็มพื้นที่พิมพ์ พบว่าทางโรงงานตั้งค่าแสงมาดี สม่ำเสมอทั้งพื้นที่การพิมพ์ ทำให้งานพิมพ์เต็มถาดไม่เจอปัญหา ซึ่งแตกต่างจาก Duplicator 7+ ที่ทางเราใช้มาหลายปี ที่บริเวณขอบรอบนอกจะเจอปัญความเข้มแสงลดลงไป ทำได้พื้นที่พิมพ์เหลือราวๆ 85% ในขณะที่ Mars พิมพ์ได้เต็มพื้นที่โดยไม่มีปัญหา ส่วนนี้ขึ้นกับว่า วางชิ้นงานเหมาะสมด้วยรึเปล่า

ผู้เขียนให้เป็นข้อมูลไว้ว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบ LCD คุณภาพสูงอย่าง Prusa SL1 หรือ Zotrax Inspire ไม่ได้ใช้ UV Array หรือ Matrix UV เลย ในอีกด้านหากต่อให้ผู้ผลิตใช้ระบบดังกล่าวหากใช้เลนส์หรือเม็ด LED คุณภาพต่ำ ยิ่งส่งผลให้แสงออกมาแย่กว่าปกติเสียอีก แถมมีโอกาสเสียเป็นจุด ซึ่งซ่อมยากกว่า หรือหากเปลี่ยนใหม่ก็มีราคาสูงกว่ามาก

Prusa SL1 Disassembly
Prusa SL1 Disassembly Source: Prusa Official Website
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
Zortrax Inspire Change LCD Source: Zotrax Official Website
Elegoo Mars print full size 1
วางงานเต็มพื้นที่
Elegoo Mars print full size 3
พิมพ์ได้สมบูรณ์

Light Source Distribution อยู่ในระดับ 85%+

รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน

ส่วนการวางชิ้นงานขนาดใหญ่แบบนี้ ไม่ว่าเครื่องไหนก็คงพิมพ์สำเร็จยากครับ (ลองอ่านวิธีแก้ไขใน “12 ปัญหางานพิมพ์เสียของเครื่อง LCD 3D Printer และวิธีแก้ไข”)

elegoo mars bad support create

ถ้าใครมีงบประมาณซื้อเครื่อง Resin 3D Printer  ไม่เกิน 20,000 Elegoo Mars เป็น 1 ในตัวเลือกที่น่าสนใจมากที่สุด ถึงแม้ตัวเลขหรืออะไรต่างๆ จะเหมือนกันหลายๆแบรนด์ แต่งานประกอบ คุณภาพชิ้นส่วน ผลงานพิมพ์จริงจากผู้ใช้ ทำให้กลายเป็นเครื่องติดตลาดด้วยตัวเอง

ข้อดี

  1. แพ็กเกจ คู่มือ ตัวเครื่องสวยงาม
  2. ชิ้นส่วนคุณภาพดี
  3. ใช้งานง่าย โปรไฟล์พื้นฐานมาพร้อม แถมเซ็ทมาพิมพ์ไวพอสมควร
  4. บริการหลังการขาย ข้อมูลจาก Official และกลุ่มผู้ใช้มีเยอะมาก
  5. ไม่ต้องเสียเวลา Calibration มาก พร้อมใช้งานใน 5 นาที จริงๆ
  6. คุณภาพงานพิมพ์ ดีอย่างไม่น่าเชื่อ

ข้อด้อย

  1. ขาดระบบพิมพ์ผ่าน wifi โดยทางผู้ผลิตกำลังพัฒนา
  2. ควรมีเรซินโปรไฟล์ชนิดอื่นๆด้วย เช่น Engineering Resin, Casting Resin รวมไปถึงความละเอียดอื่นๆ เช่น 25, 100 ไมครอน
  3. ขนาดการพิมพ์เล็ก อาจไม่เหมาะกับหลายๆคน
  4. ไม่มีเรซินแถมมาในกล่อง
  5. ผลงาน Print ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ยังมีรายละเอียดเล็กๆน้อยที่ขาดหาย
  1. เรซิน 3D Printer จะเลอะเทอะ และอันตรายกว่าเครื่องแบบเส้นพลาสติก ทั้งกลิ่นของตัวเรซินเอง หรือ IPA ที่ไว้ล้างชิ้นงาน
  2. ขั้นตอนเยอะกว่า ปริ้นเสร็จต้องล้าง IPA ต่อให้สะอาด หากอยากได้งานเซ็ทตัวไวๆ ก็ต้องมีเครื่องอบ UV ต่างหาก
  3. งานกลุ่มวิศวกรรม ที่ต้องการความแม่นยำ ต้องมีการ Calibrate ทดลองใช้ เนื่องจากเรซินมีการหดตัวที่สูงกว่า PLA หรือ ABS ที่ใช้งานกัน
  4. ราคาด้านวัสดุที่ยังสูงกว่าแบบเส้นพลาสติก 3-5 เท่า
  5. ศึกษาข้อมูลจากบทความด้านล่าง เพื่อให้มั่นใจว่างานที่ใช้เหมาะกับเครื่องพิมพ์แบบเรซิน และยอมรับกับข้อด้อยของเทคโนโลยีประเภทนี้
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
3D Printer Review

ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?

ความสำคัญของฟิล์มในเครื่อง Resin 3D Printer หลักการทำงานของเครื่อง Resin 3D Printer ที่ใช้เทคโนโลยี LCD คือการฉายแสงยูวีตามภาพ เพื่อให้เรซินเกิดปฏิกริยาทางเคมีเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็งทีละชั้น การเคลื่อนที่ของฐานพิมพ์ส่วนใหญ่เป็น ระบบ

อ่านต่อ
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
3D Printing Technology

รวมบทความน่าสนใจ

เลือกกลุ่มบทความที่สนใจ 3D Printer Beginner แนะนำเทคโนโลยีและการใช้งาน 3D Printer Beginner สำหรับมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้ หรือซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดูบทความ 3D Model

อ่านต่อ
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
3D Design

14 โปรแกรมออกแบบ 3D Model ฟรี ใช้ได้ตั้งเริ่มต้นจนถึงมืออาชีพ

การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ หรือ 3D model อาจดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น ผู้ที่ไม่คุ้นเคย ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ หรือเป็นมือใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้ซอฟต์แวร์ 3D หรือโปรแกรม CAD

อ่านต่อ
รีวิวการใช้งาน Elegoo Mars 3D Printer ราคาถูก ขายดีจากอเมซอน
3D Printing Technology

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือ 3D Printer คืออะไร

3D Printer นวัตกรรมการผลิตสมัยใหม่ เครื่อง 3D Printer คือเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลดิจิติล หรือแบบจำลอง 3 มิติ ที่สร้างขึ้น ให้กลายเป็นชิ้นงานจริงที่สามารถจับต้องได้ โดยหลักการของเครื่องคือการเติมเนื้อวัสดุ (additive)

อ่านต่อ
FDM VS SLA 3D Printer
3D Printing Technology

FDM VS SLA 3D Printer ควรเลือกใช้แบบไหน ในงบประมาณ 20,000 บาท

งบประมาณ 20,000 เลือก 3D Printer แบบไหนดี ? ในยุคที่เครื่อง 3D Printer ราคาถูกลงมากจน เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ของคนทั่วไปได้ โดยไม่ต้องลงทุนสูง

อ่านต่อ
Resin 3D Printer Sample
3D Printing Technology

Resin 3D Printer มีกี่แบบแตกต่างกันอย่างไร ?

Resin 3D Printer มีข้อดีอย่างไร เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยมีวัสดุเป็น Resin (เรซิน) นั้น เป็นเทคโนโลยีแรกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1984 โดยมีชื่อเรียกตามสิทธิบัตรว่า

อ่านต่อ

รวมผลงานพิมพ์จาก Mars

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก