Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งาน Phrozen Shuffle XL 3D Printer ไซส์ใหญ่

Phrozen Shuffle XL เครื่อง LCD 3D Printer หน้าจอ 8.9"

มาถึงรีวิวพี่รองของค่าย Phrozen คือ Shuffle XL ซึ่งอัพขนาดจอมาใหญ่เกือบ 2 เท่าจากน้อง Shuffle และ Shuffle 4K ที่ใช้จอ LCD ขนาด 8.9 นิ้วความละเอียด 2K ทำให้ได้ความละเอียดในแนวแกน XY 75 ไมครอน ในขณะที่แกน Z ตามสเปคได้ 10-100 ไมครอน ส่วนการใช้งานจริงตามมาตรฐานจะอยู่ 50-150 ไมครอน เป็นหลัก ในอนาคตมีข่าวว่าจะออก Draft Resin ที่พิมพ์ด้วยความละเอียด 300 ไมครอนออกมา เหมาะกับการขึ้นงานต้นแบบมาก เรียกว่าเร็วทิ้งห่างเครื่อง FDM 3D Printer ที่ช้ากว่ากันหลายเท่าเลย ใครที่กำลังสนใจเทคโนโลยีนี้ ลองอ่านรีวิวการใช้งานตั้งแต่มีไฟล์ สั่งพิมพ์ จนถึงการใช้งานจริงจะเป็นอย่างไร  เหมาะหรือตรงกับความต้องการปัจจุบันแค่ไหน และสุดท้ายจะเป็นการเปรียบเทียบความละเอียด 31 ไมครอน (4K 5.5 นิ้ว) VS 47 ไมครอน (2K 5.5 นิ้ว) และ 75 ไมครอน (2K 8.9 นิ้ว)

ข้อมูลเบื้องต้นของตัวเครื่อง

  • Printer Size: 33 * 29 * 47 cm
  • Printer Weight: 21.5 Kg
  • Printing Volume: 19 * 12 * 20 cm
  • XY Resolution: 75 µm
  • Z Resolution: 10 µm
  • Printing Speed: 30 mm per hour
  • Recommended Layer Height: 10 – 100 µm

แกะกล่อง (Unboxing)

  • Shuffle XL มาในกล่องสีน้ำตาลแพ็คเกจธรรมดาไม่ได้ดีเหมือนเครื่องฝั่งยุโรป พร้อมกระดาษ 1 แผ่น ที่มีลิ้งโหลด Manual การใช้งาน
  • หากเปิดฝาเครื่องจะมีกล่องใส่อุปกรณ์อยู่ 1 กล่อง มีทุกอย่างเกือบครบการใช้งาน ส่วนที่ขาดซึ่งผู้เขียนคิดว่าจำเป็นคือ wifi dongle และ USB Flash Drive สำหรับคนที่ต้องการอัพโหลดไฟล์ สั่งพิมพ์หน้าเครื่อง
  • ตัวเครื่องมีพัดลมหลักๆ 3 จุด คือด้านหลัง ด้านข้าง และใต้เครื่อง ซึ่งเสียงดังมากที่สุดในยี่ห้อนี้
  • โครงสร้างแกน Z ที่เป็นมาตรฐานให้ทุกๆแบรนด์คือ Ball Screw+Linear rail คู่ จากไต้หวัน
  • ด้านหน้าเป็นหน้าจอสัมผัสสีขนาด 3.5 นิ้ว ดูเล็กไปหน่อย ขนาดที่เหมาะสมควร 5-7 นิ้ว (เหมือน Phrozen 4K)
  • ตัวถาดเรซิน (VAT) มาพร้อมฝาปิดที่ใช้วัสดุคล้ายยาง ปิดได้สนิทดีมาก ดีกว่าแผ่นจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มักใช้เป็น PLA ซึ่งแข็งไม่สะดวก ด้านหน้ามีตรา Phrozen ชัดเจน
  • ตัวฐานพิมพ์ชิ้นงาน (Build plate) เป็นอลูมิเนียม CNC อย่างดี ไม่มีส่วนคม ตัวฐานด้านล่างเหมือนมีการปาดผิวให้มีความสากเล็กน้อย เพิ่มพื้นที่สัมผัส

ตั้งค่าการเชื่อมต่อกับ NanoDLP

  • สำหรับคนที่ไม่เคยใช้โปรแกรม NanoDLP เลยขออธิบายว่า NanoDLP เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งลงบนบอร์ด Raspberri Pi เหมือนเช่น Octprint Astroprint ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สามารถทำงานผ่าน web brower เช่น Chrome Firefox หรือ Safari ได้
  • สมาร์ทโฟนก็สามารถใช้ควบคุมเครื่องได้เช่นเดียวกัน มีข้อแม้ว่าต้องอยู่ใน Network เดียวกันถึงจะเห็นเครื่องของเรา
  • ส่วนการ Access เข้ามานอก Network ต้องไปตั้ง Key Password ก่อน แล้วเข้าทาง Cloud Dashboard
  • าย Lan ที่แถมมาใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ในครั้งแรก
  • ส่วนสาย USB ที่แถมมาใช้เชื่อมต่อระหว่าง Pi กับ Shuffle โดยเสียบที่ด้านหลังเครื่อง
  • จากนั้นเข้าไปเปลี่ยน Password wifi ให้ตามระบบเน็ทเวิร์คของเราเป็นอันเสร็จ
  • หน้าจอ NanoDLP ที่ขึ้นเคยตั้งแต่สมัย Wanhao Duplicator 7 หรือ 3 ปีที่แล้ว

หน้าจอ NanoDLP จะมีเมนูดังนี้ (คลิ๊กเพื่อขยายภาพ)

  • Phrozen เป็นเมนูหลัก แสดงสถานะของเครื่องในปัจจุบัน และสามารถสั่งปิดบอร์ด Pi จากตัวนี้ได้ (แต่สั่งปิดเครื่องไม่ได้นะ)
  • Plate สำหรับบริหารจัดการไฟล์พิมพ์ แสดงสถานะที่ใช้ ชนิดเรซิน ระยะเวลา และปริมาณ
  • Resin Profile รายชื่อเรซินที่มีข้อมูลสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้
  • Set Up การตั้งค่าของเครื่อง

การเตรียมไฟล์สั่งพิมพ์

การสั่งพิมพ์งานแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี

  1. อัพโหลดไฟล์ stl ผ่านหน้าจอ Nanodlp เมนู Plate
  2. ใช้โปรแกรม Chitubox สไลด์ชิ้นงานออกมาเป็นไฟล์ zip แล้วเซพลง Flash drive ไปปริ้นหน้าเครื่อง

1.อัพโหลดไฟล์ .stl โดยตรง ผ่าน wifi

เข้าสู่หน้าจอการทำงานของ Nanodlp ที่หน้าจอ Plate คำสั่ง add สามารถอัพโหลดไฟล์ .stl พร้อมเลือกเรซินโปรไฟล์ใช้งานได้เลย ตัวโปรแกรมจะ slice งานให้อัตโนมัติ ทั้งนี้ไฟล์ stl ควรสร้าง support ชิ้นงานมาให้เรียบร้อย

วิธีนี้เหมาะกับงานที่ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่ เพราะบางครั้งอาจอัพโหลดไฟล์ไม่ผ่าน หรือใช้เวลาในการสไลด์นานมาก เนื่องจากประสิทธิภาพของบอร์ด PI สู้ PC หรือ Laptop ไม่ได้

2. ปริ้นผ่าน USB Flashdrive

  • วิธีนี้ต้องไปโหลดโปรแกรม Chitubox มาก่อน (Chitubox Download) จากนั้นเลือกโปรไฟล์ของ Shuffle XL
  • import 3D model ให้เรียบร้อย
  • สร้าง Support
รีวิวการใช้งาน Phrozen Shuffle XL 3D Printer ไซส์ใหญ่
รีวิวการใช้งาน Phrozen Shuffle XL 3D Printer ไซส์ใหญ่
  • จากนั้น slice เป็นไฟล์ zip
  • เซพใส่ Flash drive ไปสั่งพิมพ์หน้าเครื่องจากคำสั่ง Plate เลือกโหลดจาก USB files วิธีนี้จะไวกว่าเยอะ
รีวิวการใช้งาน Phrozen Shuffle XL 3D Printer ไซส์ใหญ่
รีวิวการใช้งาน Phrozen Shuffle XL 3D Printer ไซส์ใหญ่

การ Post Processing หลังพิมพ์เสร็จ

  • หลังจากพิมพ์เสร็จก็เหมือนการทำงานกับเครื่อง Resin 3D Printer ทั่วๆไป (อ่านบทความประเภทของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบเรซิน) คือแกะชิ้นงานจากฐานพิมพ์ก่อน
  • ล้างด้วย  IPA จากนั้นเป่าให้แห้ง
  • อบด้วยตู้อบ UV เวลาขึ้นกับความเข้มแสงของตู้อบและชนิดของเรซิน
  • หากไม่มีก็ใช้วิธีตากแดด 30 นาที – 1 ชั่วโมง  หรือทิ้งไว้ 2-3 วันก็จะแข็งสมบูรณ์ไปเอง แต่ความแข็งแรงอาจจะด้อยกว่า
  • ตัด Support ออก ในหลายๆครั้งผู้เขียนตัด Support ออกก่อนที่จะเข้าเครื่องอบ เนื่องจากชิ้นงานยังนิ่ม ตัดแล้วไม่เป็นรอย
  • สำหรับคนที่ใช้เครื่องล้าง Ultrasonic ควรระวังอันตรายจากการใช้งานตามบทความนี้ (ลิ้ง)

เปรียบเทียบคุณภาพงาน

  • Phrozen Shuffle XL มีความละเอียดแกน XY 75 ไมครอน ซึ่งหากมองงานทั่วๆไป ผู้เขียนถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะเครื่องนี้เหมาะกับงานใหญ่ๆ เป็นหลัก ถ้ามองงานละเอียดควรเลือกเครื่องจอเล็กๆ หรือ 4K ไปเลย ตัวอย่างที่เอามาให้ชมเป็นฟิกเกอร์โมเดลความสูง 6 cm ใช้เวลาพิมพ์ราวๆ 5 ชั่วโมง ที่ความละเอียด 50 ไมครอน
  • อย่างไรก็ตามความละเอียดดังกล่าวหากขยายก็จะเห็นความต่างได้ชัดเจน ซึ่งตัว Phrozen ต่อให้เป็นขนาดใหญ่ ก็ได้ผิวที่สวยระดับหนึ่งเลย ไปขัด หรือลงรองพื้นต่อได้ไม่ยาก

สรุปการใช้งานและข้อแนะนำ

ข้อดี

  • เป็นเครื่อง Made in Taiwan คุณภาพ งานประกอบดีทีเดียว
  • ใช้งานได้ทั้ง wifi usb Lan ครบครัน
  • คุณภาพงานที่ออกมาใช้ได้ ผู้เขียนให้ความเรียบของผิวดีกว่า Wanhao Duplicator 8
  • รองรับเรซินหลากหลาย ยิ่งถ้าใช้ของ Phrozen เอง มีโปรไฟล์มาครบ

ข้อเสีย

  • การติดตั้งครั้งแรกดูวุ่นวาย ต้องเสียบทั้งสาย Lan สาย USB  และ Wifi dongle
  • ไม่มีโปรไฟล์เรซินติดตั้งมาในเครื่องเลย ต้อง Import ผ่าน NanoDLP เข้าไปเอง ไม่สามารถสร้างจากหน้าเครื่องได้
  • หน้าจอเล็กใช้งานไม่ถนัด
  • ผิวงานสู้เครื่องจอ 5.5 นิ้วไม่ได้

เหมาะกับใคร ?

  • สำหรับเครื่องนี้คงเหมาะกับคนที่อยากได้เครื่องผลิตชิ้นงานที่ผิวดีกว่า FDM 3D Printer
  • เครื่องขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับ FDM ในราคาไม่สูงจนเกินไป ซื้อทีเดียวแล้วจบ เพราะใหญ่กว่านี้ก็ราคากระโดดไปอีก 2 เท่า
  • คนที่ทำงานเล็กๆ แต่จำนวนมาก เพราะจะ 1 ชิ้น หรือ 100 ชิ้น ก็ใช้เวลาเท่ากันสำหรับเทคโนโลยีนี้
  • ใครสนใจดูข้อมูลเครื่องและสั่งซื้อผ่านช่องทางหน้าเวบ หรือ  Lazada (มีผ่อน 10 เดือน) ได้เลยครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก