Search
Close this search box.

รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน

Phrozen Sonic Mini 8K S

เป็นอีก 1 รุ่น ที่ชื่อต่อท้ายตอนเปิดตัวจะทำให้หลายๆคนเข้าใจผิด รวมทั้งผู้รีวิวด้วยที่คิดว่า S=Speed ซึ่งปรับปรุงความเร็วจากเดิม ในขณะที่แนวคิดของ Phrozen คือ S=Story หรือเครื่องที่ทุกคนสามารถใช้ผลิตเพื่อสร้างเรื่องราวของตัวเองตามต้องการได้ (ความเป็นจริงคือปริ้นเร็วกว่ารุ่นเดิมเล็กน้อย) ดังนั้นราคาเปิดตัวจึงต่ำกว่า Mini 8K พอสมควร ในขณะที่สเปคหลักในด้านความละเอียด พื้นที่พิมพ์ หรือแม้กระทั่งโครงสร้างถ้านล่างและฝา ยังคงคุณภาพเดิมไว้หมด ชิ้นส่วนหรืออะไหล่ต่างๆ ภายนอกเช่น ฐานพิมพ์ ถาดเรซินก็สามารถใช้แทนกันได้เลย จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับคนที่เริ่มต้นเข้าสู่เทคโนโลยีนี้ หรือกำลังหาเครื่องที่ราคาไม่สูงมาก แต่ให้คุณภาพการพิมพ์งานที่ดี

รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
เปรียบเทียบกับรุ่นเดิม

1. แกะกล่อง Phrozen Sonic Mini 8K S

  • กล่องของ Mini 8K S ที่มาในแนวนอน ซึ่งสำหรับคนทำงานก็ดูจะแกะและยกเครื่องออกได้สะดวกกว่าแนวตั้ง
  • อุปกรณ์ต่างๆให้มาเหมือนทุกรุ่นของ Phrozen กลุ่ม Desktop จะมีแถมมาเพิ่มเติมก็คือ QR โหลดโมเดลฟรีของเวบไซต์ PIXUP
  • จะมี Flash Drive ตัวใหม่ ให้มาด้วย ตัวเก่าโดน IPA แล้วกรอบมักจะร้าวและเสียหายง่าย
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
  • มาดูที่ตัวเครื่องขนาด เรียกว่าภายนอกเท่าเดิมทั้งหมด รวมถึงส่วนที่เป็นฐานและฝาอะคริลิก
  • ชิ้นส่วนไม่ว่าจะเป็นฐานพิมพ์ ถาดเรซิน ใช้แทนกันได้ทั้งหมด 
  • ส่วนของฐานมีการเซาะร่องเพิ่มเติมมาเล็กน้อย เห็นทางผู้ผลิตแจ้งว่าเพื่อให้จับกระชับมากขึ้น ไม่ลื่นมือ
  • โครงสร้างภายในจากรุ่นเดิมที่ใช้แกนรางคู่ เปลี่ยนมาใช้เป็นรางเดียว ที่ใหญ่กว่าเดิมประมาณ 1.5 เท่า เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความมั่นคงมากนัก
  • ตัว T-Bar ที่ไว้สำหรับติดตั้งฐานพิมพ์ ก็เป็นอลูมิเนียมเซาะร่อง CNC อย่างดี ช่วยให้น้ำหนักเบา แต่ยังคงแข็งแรง เป็นดีไซน์แบบเดิม
  • ในส่วนของโครงสร้างด้านหลัง ผิวสัมผัสจะเป็นพลาสติก 100% จากเดิม ที่น่าจะเป็นโลหะ (ไม่ก็พลาสติกผสมโลหะที่หนักและแข็งแรงกว่า)
  • ด้านซ้ายจะมีช่อง USB Flash Drive ที่ย้ายมาจากด้านหน้า เป็นจุดที่หลายๆคนมีความเห็นเข้ามามากที่สุด เพราะด้านหน้าคือจุดที่สะดวกที่สุด (แต่ก็มีโอกาสเรซินหกใส่มากที่สุดเช่นเดียวกัน (ถ้าจะย้ายเองดูจาก layout board หัวข้อถัดไปก็ไม่น่ายาก)
  • ด้านขวาและด้านหลังโล่งๆ ทุกด้านไม่มีช่องระบายอากาศ รุ่นนี้ตามฉลากผลิตในประเทศจีน
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
ด้านซ้าย
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
ด้านขวา
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
ด้านหลัง
  • มาในส่วนของจอจะเป็น 7.1 นิ้วเหมือนเดิม รูปทรง Wide Screen ซึ่งพื้นที่ปริ้นจริง จะเล็กมากแนวลึกประมาณ 7.2 cm เท่านั้น
  • สำหรับความละเอียดหน้าจอ ส่วนนี้จะต่างไปจากเดิมเล็กน้อยอยู่ที่ 7536×3240 (ของเดิมคือ 7500×3240) 
  • ส่วนรอบๆจอ มีเจาะรูสำหรับวางถาดเรซิน เหมือนเดิม ดังนั้นตอนติดตั้งไม่มีผิดตำแหน่งแน่นอน
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
LCD
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
หน้าจอควบคุม
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
ถาดเรซิน
  • มาดูกันภายในให้เห็นกันชัดๆครับ โดนการแกะก็ง่ายมาก ขันน๊อต 4 ตัวใต้เครื่องก็จะเปิดฝาออกได้ พร้อมเห็นข้างในเกือบทั้งหมด
  • บอร์ดไม่ใช่ Chitusystem แล้ว เป็น Phrozen Original ผลิตขึ้นเอง ใช้ CPU ARM ไม่น่าจะมีปัญหาการรันงานความละเอียด 8K ที่สำคัญพอเป็น Origianl มักจะเสถียรมาก เพราะไม่ต้องรันอะไรหลังบ้านเยอะเกินไป
  • ถัดมาที่แผง COB LED ตัวฮีทซิงค์ระบายความร้อน บางกว่าเดิม แต่ติดตั้งพัดลมมาด้วย ดังนั้นที่คาดว่าจะมีปัญหาความร้อนสะสมน่าจะสบายใจได้ (ใน Mini 8K เดิม ไม่มีพัดลมที่บริเวณนี้)
  • อย่างไรก็ตาม ทางผู้เขียนก็ยังคิดว่าในไทย ควรจะเพิ่มพัดลมระบาย/ควบคุมอากาศอยู่ดี เนื่องจากความร้อนตอนปริ้นค่อนข้างสูง ที่บริเวณเรซินและ LED
  • ส่วนของหน้าจอสัมผัส อันนี้น่าจะเซอร์ไพรส์เลย เพราะเป็นของ Makerbase ซึ่งความรู้สึกคือยังช้ากว่าจอสัมผัสของ Mini 8K อยู่ และมีความหน่วงในการกด ไม่ตามนิ้วแบบรุ่นเดิม
  • รูปแบบภายในชัดๆสามารถดูได้ในส่วนของการซ่อมบำรุงของ Phrozen เอง (ลิ้ง)
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
บอร์ดควบคุม
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
ชุดฉายแสงยูวีและระบายความร้อน
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
หน้าจอสัมผัส

2. การเตรียมไฟล์สำหรับการพิมพ์งาน

  • วันที่เขียนรีวิวจะมีเพียงโปรแกรม Lychee 5.2 ตัวเดียวที่สนับสนุน Mini 8K S
  • ส่วน Chitubox วันทีเขียน จะมีเฉพาะบางกลุ่มที่ได้ใช้ 1.9.5 beta10 ซึ่งมีโปรไฟล์มาพร้อมแล้ว สำหรับคนทั่วไปยังไม่เปิดให้โหลดมาใช้งาน (31 พฤษภาคม 2566)
  • บทความนี้จะใช้ Lychee 5.2 และ Chitubox 1.9.5 Beta เป็นหลัก 
  • มีรายการจากทางผู้ใช้ ว่าฟีเจอร์ลบรอยหยักใน Lychee ยังมีปัญหาในการทำงาน (Dennys Wang, Ultimate Antialiasing Test For Lychee, Chitubox, Voxeldance Tango) ดังนั้นภาพในรีวิวจะเนียนขึ้นได้อีกเล็กน้อย ในอนาคต!
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
Lychee 5.2.0
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
Chitubox 1.9.5 Beta 10
  • สำหรับ Profile ของ Chitubox ทาง Phrozen จะเริ่มปรับมาเป็น 2 Step ความเร็วในการขึ้น-ลง ตามสมัยนิยมแล้ว 
  • สำหรับการทดสอบแรกเป็นการหาเวลาฉายแสงที่เหมาะสม เพราะทราบจากในกลุ่มมาว่า ตัว 8K S จะมีเวลาฉายแสงที่สั้นกว่า โดยใช้เรซิน Aqua Red Clay 8K ความละเอียดในการพิมพ์ 50 ไมครอน เป็นตัวตั้งต้น
  •  ค่าปกติที่อยู่ใน Mini 8K จะอยู่ที่ 2.5 วินาที ซึ่งจากการทดสอบในบทความ และจากกลุ่มผู้ใช้คาดว่าจะอยู่1-1.2 วินาทีเท่านั้น
  • ซึ่งจากผลการพิมพ์ ภาพซ้ายสุด เห็นได้ว่าตัวอักษร Phrozen มีการบวมจากปกติ จนขยายมาชิดตัวอักษรข้างๆ แสดงว่าฉายแสงมากเกินไป (Overexposure) จึงลดมา 30% เหลือ 1.75 วินาที และลดอีก 30% มาเป็น 1.25 วินาที ตามลำดับ 
  • ซึ่งคุณภาพของงาน 1.25 วินาที อยู่ในในมาตรฐานที่ยอมรับได้ (ทั้งนี้ในกลุ่มมีรายงานว่าเวลาจริงอาจต่ำกว่านี้ได้อีก)
  • Firmware ปัจจุบันยังไม่สามารถฉายแสงต่ำกว่า 1 วินาทีได้ ( set ได้ แต่ฉาย 1 วินาทีอยู่ดี)
รีวิว Phrozen Sonic Mini 8K S ปรับโฉมใหม่ คุ้มค่าทุกส่วน
  • เรซินอีกชนิดที่นำมาทดสอบคือ Bluecast X-One โดยวันที่เขียนบทความยังไม่มี Profile จากผู้ผลิตออกมา จึงใช้ค่าเดิมจาก Mini 8K แทน โดยไม่ได้คาริเบรตเวลาฉายแสง

3. ตัวอย่างงานพิมพ์ของ Phrozen Sonic Mini 8K S

  • งานแรกทดสอบงานประจำของเรา คือโมเดลรวมทั้งจิวเวลรี อาร์ตทอย และพุทธศิลป์ (คลิกเพื่อขยายดูได้) ความละเอียด 20 ไมครอน เรซิน Aqua Red Clay 8K 
  • คุณภาพงานเรียกได้ว่าไม่ต่างจาก Mini 8K ตัวเดิมเลย ถ้าพิมพ์ 2 อันมาเทียบกัน คงไม่สามารถแยกได้
  • ภาพเปรียบเทียบงานเดิมกับ Mini 8K ตัวเก่า เรซิน HD Orange ภาพจากรีวิวเดิม (Review Phrozen Sonic Mini 8K) กับ Mini 8K S มุมเดียวกัน ความละเอียด 20 ไมครอน
  • ทดสอบงานปริ้นโมเดลเต็มพื้นที่จากไฟล์ฟรีเวบ PIXUP ซึ่งทำ Support มาให้เสร็จสรรพ ใช้ความละเอียด 50 ไมครอน
  • งานปริ้นใช้เวลาราวๆ 10 ชั่วโมง ผิวงานออกมาดีเยี่ยม เนื่องจากไม่ได้เปิดฟีเจอร์ลบรอยหยัก บางจุดเลยอาจจะเห็นเป็นขั้นบันได หรือรอยก้นหอยบ้าง แต่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ไม่มีปัญหา (AA OFF)
  • อีกงานที่ทดลองพิมพ์เป็นงานกำไลจาก Bluecast ที่ออกแบบมาเป็นต้น พร้อมขึ้นเบ้าหล่อได้ เลย แต่ในรีวิวนี้ ใช้เรซินต้นแบบปริ้น เพื่อดูผิวงานเท่านั้น ใช้ความละเอียด 50 ไมครอน ปิดฟีเจอร์เกี่ยวกับลบรอยหยักทุกชนิด
  • งานคมกริบทุกส่วน หากปริ้น 20 ไมครอน หรือเปิดฟีเจอร์ลบรอยหยักน่าจะผิวเรียบสวยงาม (AA OFF)
  • มาต่อกับเรซินยอดนิยมในกลุ่มคนที่เอาไปหล่อเรซินแบบ Lost Wax คือ Bluecast X-One สำหรับงานจิวเวลรี
  • สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ตัว Bluecast X-One ไม่ได้มีสีฟ้าตามชื่อ แต่เป็นสีเขียวเข้ม พอล้างด้วย IPA ด้วยกระบวนการที่ถูกต้องจะเป็นสีขาว นำไปติดเทียนขึ้นหล่อได้เลย
  • ยังมีรีวิวอื่นที่โชว์ผลงานพิมพ์ เลื่อนลงไปดูลิ้ง Youtube หลังหัวข้อสรุปได้เลยครับ

4. สรุปการรีวิว

ข้อดีและจุดแข็งของ Phrozen Sonic Mini 8K S

  • เป็นเครื่องที่คุ้มค่ากับคุณภาพของงานที่ได้ และราคาของตัวเครื่องมากที่สุด โดยเฉพาะคนที่งบหมื่นกลางๆ ตอนที่เขียนบทความยังไม่มีตัวไหนที่คุณภาพงานพิมพ์ได้ระดับนี้
  • Resin Profile มาครบ พร้อมใช้งาน
  • เป็นครั้งแรกก่อนเครื่องออกที่คู่มือการใช้งาน/ซ่อมบำรุงบนเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อย (ลิ้ง)
  • อนาคตอาจจะมีการอัพเกรดเพิ่มความเร็วโดย Firmware ตัวใหม่ โดยวันที่เขียนบทความตัว Mighty 8K เร็วขึ้นถึง 6 เท่า (ในความเป็นจริง ปริ้นเร็วขึ้น 2-3 เท่า แบเสถียรก็ถือว่าเร็วมากแล้ว)
  • รองรับ Slicer หลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Lychee Tango และ Chitubox เนื่องจากเป็นบอร์ดเฉพาะตัวของ Phrozen การอัพเกรด แก้ไข หรือเพิ่มเติม น่าจะง่ายกว่าบอร์ดของ Chitusystem แบบที่ผ่านมา

ส่วนความเห็นอื่นที่อยากได้ หรือควรปรับปรุง

  • ประเทศไทยและแถบอาเซียนอากาศค่อนข้างร้อน โดยเฉพาะเดือนเมษายน ที่สูงระดับ 40 องศา ดังนั้น ควรมีพัดลมติดตั้งเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
  • บูชของแกน Z อยากได้เป็นวัสดุ POM หรือวัสดุที่ดีกว่าที่ติดเครื่องมา (ยกตัวอย่างเครื่องกลุ่ม Phrozen Dental จะใช้ POM ซึ่งลื่นไหล และทนทานกว่า)
  • ยุคนี้ฝั่งเครื่อง FDM มีระบบการทำงานไร้สาย ที่สมบูรณ์แบบมาก ทั้งการส่งไฟล์ การติดตามผ่าน Cloud หรือ Application ซึ่งจุดนี้ Phrozen ยังตามหลายแบรนด์ที่มีอยู่ ยังเน้นการเซฟไฟล์ลง Flash Drive สั่งปริ้น และยังไม่สามารถติดตามงานผ่านมือถือได้ (แม้แต่ Application ของ Mighty 8K ก็ยังไม่สมบูรณ์)
  • หน้าจอสัมผัสควรใหญ่ขนาด 5 นิ้วขึ้นไป เพื่อให้การทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น

รวมรีวิว Phrozen Sonic Mini 8K ที่แนะนำ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก