Search
Close this search box.

ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จากต่างประเทศ (3D Printer import)

ประกาศจากกระทรวงพาณิชย์

ขอยกเนื้อหาสาระและมติของคณะกรรมการที่ออกไว้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 มาไว้ด้วย เพื่อใช้ในการอ้างอิง 3d printer import และขั้นตอนการดำนเนินงาน

เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราอาณาจักร พ.ศ. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

พณ. เสนอว่าตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติ (29 กรกฎาคม 2557) ได้มอบหมายให้ พณ. รับไปพิจารณาเพิ่มเติมถึงความจำเป็นเหมาะสมในการออกประกาศควบคุมการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อป้องกันการนำมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมนั้น พณ. พิจารณาเห็นว่า เนื่องจากเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถนำไปใช้ได้ทั้งทางบวกและทางลบ โดยในทางบวกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วิศวกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในทางลบมีผู้นำไปผลิตวัตถุที่ผิดกฎหมายและวัตถุอันตราย เช่น อาวุธปืน ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสาธารณชน จากการนำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติไปใช้ในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย และเพื่อกำกับ ดูแล ติดตามปริมาณนำเข้าและป้องกันมิให้มีการนำเครื่องพิมพ์สามมิติไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมและขัดต่อกฎหมาย จนก่อให้เกิดปัญหาความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ สมควรกำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์

กำหนดคำนิยามของ “เครื่องพิมพ์สามมิติ” และกำหนดให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนี้
1. ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติไว้กับกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานอื่นที่กรมการค้าต่างประเทศมอบหมาย

2. จดแจ้งการนำเข้าก่อนวันที่นำเข้าก่อนวันที่นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติไว้กับกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานอื่นที่กรมการค้าต่างประเทศมอบหมาย และนำแบบรับจดแจ้งไปแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
3. รายงานการนำเข้า การครอบครอง และการจำหน่ายจ่ายโอนเครื่องพิมพ์สามมิติต่อกรมการค้าต่างประเทศ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/cabt/2368169

ขอบเขตการควบคุม

เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printing Machine) เครื่องสร้างต้นแบบรวดเร็ว (Rapid Prototyping Machine) เครื่องแอดดิทิฟแมนูแฟคเจอริ่ง (Additive Manufacturing Machine) และให้หมายความรวมถึงเครื่องที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นซึ่งมีคุณลักษณะในทำนองเดียวกันกับเครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องสร้างต้นแบบรวดเร็ว และเครื่องแอดดิทิฟแมนูแฟคเจอริ่ง ทั้งที่เป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์หรือมีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 8477.10.39 และ 8479.89.39

ขั้นตอนการปฏิบัติ

  1. ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ชั้น 4 เพื่อยื่นขอ “บัตรผู้นำเข้าก่อน
  2. ลงทะเบียนต่อเนื่องเป็น “ผู้นำเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ” (คพ.1)
  3. ก่อนการนำเข้าล่วงหน้า 15 วัน ต้องไปยื่นเอกสารขอนำเข้า คพ2. ที่ ชั้น 10 กองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป (คนละตึกกับที่ไปยื่นตอนแรก) ซึ่งจุดนี้ หากใครสั่งเครื่อง 3D Printer ที่ผู้จำหน่ายมีสต๊อกอยู่แล้ว และเลือกการจัดส่งเป็น fedex dhl ที่ใช้การจัดส่งไม่เกิน 2-3 วัน ต้องระวัง เนื่องจากกำลังกระทำการผิดข้อบังคับอยู่ จะโดนค่าปรับ 1500 บาท เนื่องจากไม่แจ้งล่วงหน้า รวมกับค่าธรรมเนียมจากผู้ขนสั่งที่ต้องแก้เอกสารอีก ดังนั้น จะเสียเงินเพิ่มไม่น้อยกว่า 2,000 บาท แน่นอน (บางครั้งจะมีการอนุโลม เนื่องจากทางกรมศุลกากรและกระทวงต่างประเทศ ทราบปัญหาและข้อจำกัดนี้แล้ว)
  4. หลังจากเครื่องเข้ามายังเมืองไทยแล้ว จะติดกรมศุลกากรแน่นอน เนื่องจากกล่องโชว์ชื่อสินค้าให้เห็นแบบไม่ต้องแกะตรวจ ทาง Shipping จะขอเอกสารนำเข้าเพื่อไปยื่นต่อกรมศุลกากรอีกที
  5. หลังจากทราบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ก็รออยู่ที่บ้านได้เลย ทาง Shipping ก็จะนำส่งตามปกติของการขนส่ง
  6. ทุกๆ 6 เดือน ต้องทำรายงานการครอบครองส่งต่อกรมการค้าต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่า 3D Printer import ค่อนข้างมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่พอทำไป 1-2 ครั้งก็จะคุ้นเคยไปเอง ซึ่งหากยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ก็จะง่ายยิ่งขึ้น

 

การกรองข้อมูลในใบ คพ.2

ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ขอแจ้ง

3d printer import document 1
1.1 กรอกข้อมูลผู้ขอแจ้ง ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคลทั่วไป ผู้รับมอบอำนาจ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ในกรณีที่เป็นบริษัท
1.2 กรอกหมายเลขผู้นำเข้าที่ได้จากกระทรวงพาณิชย์ ชั้น 4
1.3 สถานที่ตั้งบริษัทตามหนังสือรับรอง หรือที่อยู่ตามบัตรประชาชนในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
1.4 เบอร์ติดต่อ
1.5 โทรสาร หากไม่มีก็ไม่ต้องกรอกข้อมูล

ส่วนที่ 2 รายละเอียดการนำเข้า

3d printer import document 2
2.1 ชื่อสินค้า ใช้คำว่า เครื่องพิมพ์สามมิติ
2.2 พิกัดศุลกากร สำหรับเครื่องแบบ FDM ใช้ 8477.10.39 หากเป็นชนิดอื่น “อาจใช้ 8479.89.30 ได้” ส่วนนี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงก่อนกรอกข้อมูล
2.3 ปริมาณ/น้ำหนัก ในส่วนนี้ต้องระบุเฉพาะเครื่องพิมพ์สามมิติเท่านั้น บางครั้งจะมีส่วนประกอบอื่นๆใน invoice มาด้วย ไม่ต้องรวมมาในนี้ และต้องเอาน้ำหนักจากใบขนส่งเท่านั้น ไม่ควรใช้จากโรงงาน หรือผู้ผลิต เพราะมีโอกาสข้อมูลไม่ตรงกัน
2.4 มูลค่าให้ระบุโดยใช้เกณฑ์เหมือนข้อ 3 คือเฉพาะตัวเครื่องเท่านั้น ให้ระบุเป็นหน่วยตามใน invoice เช่น 500  USD/ 15,000 บาท
2.5 ชื่อผู้ส่ง ให้ยึดตามชื่อผู้ส่งในบนขน ซึ่งอาจไม่ใช้โรงงานที่เราสั่งเครื่องมาก็เป็นไปได้
2.6 ประเทศแหล่งกำเนิด ส่วนนี้ให้ดูข้อมูล Made in XXX ไม่ใช้ส่งจากประเทศใด
2.7 ประเทศต้นทาง ให้ระบุประเทศที่เครื่องของเราส่งมา
2.8 วัตถุประสงค์ ระบุให้ชัดเจนว่าเพื่อจำหน่าย ใช้เอง หรือการศึกษา
 
หมวดนี้มักจะผิดกันเรื่องตัวเลข โดยหลักการพิจารณาให้ยึดตามความจริง เช่น มูลค่าจากใน invoice น้ำหนักจากใบขน จำนวนทุกอย่างตาม shipping ที่จะเข้าในครั้งนั้น อย่างไรก็ตามยังมีเกณฑ์บางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ เช่น การสั่งซื้อจำนวนมาก หลายรุ่น แล้วทางผู้ผลิตทยอยส่งมาเป็นลอต อันนี้ให้ปรึกษาทั้งทางเจ้าหน้าที่นำเข้า และเจ้าหน้าที่ของทาง shipping ว่าควรระบุอย่างไรให้ถูกต้อง

ส่วนที่ 2 รายละเอียดการนำเข้า

3d printer import document 3
3.1 ชื่อ/หมายเลขเที่ยวบิน ส่วนนี้ทางผู้เขียนเคยสอบถามเจ้าหน้าที่แล้วว่า ไม่ต้องใส่เลข Tracking หากไม่ทราบให้เว้นไว้ เพราะบางครั้งสั่งวันนี้ พรุ่งนี้เลขเที่ยวบินยังไม่ออก แต่ของจะถึงแล้ว ก็ไม่สามารถจะระบุได้ แต่ให้เตรียมเอกสารเลข Tracking ให้เจ้าหน้าที่ประกอบการนำเข้าด้วย
3.2 วันที่สินค้าถึงไทย ให้ยึดข้อมูลจากเลข Tracking เป็นหลัก
3.3 เอกสารประกอบการนำเข้า อันนี้ค่อนข้างสำคัญ สิ่งที่ควรมีคือ สำเนาหนังสือรับรองบริษัท สำเนาผู้นำเข้า สำเนาสเปคเครื่องที่นำเข้า สำเนาหมายเลข Tracking สำเนา Invoice หากไม่แน่ใจควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ก่อนวันไปยื่น (เจ้าหน้าที่น่ารักมาก)

การชำระค่าปรับ

สำหรับใครที่นำเข้าโดยแจ้งล่วงหน้าไม่ถึง 15 วัน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ให้บริการนำเข้า จะให้กรอกเอกสาร “คำร้องขอให้เปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง” เพื่อชำระค่าปรับตามอัตรา โดยไม่ต้องดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย ในส่วนนี้สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการในการกรอกข้อมูลใหห้ถูกต้องได้ โดยเวลาดำเนินการจะใช้เวลา 3-5 วันทำงาน และต้องใช้เอกสารจริง ดังนั้นจะได้ของล่าช้าไปอีกประมาณ 1 อาทิตย์

ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จากต่างประเทศ (3D Printer import)

ตัวอย่างเครื่อง 3D Printer ที่นำเข้า

ใช้พิกัดศุลกากร 8477.10.39 เนื่องจากเป็นเครื่องใช้วัสดุแบบเส้นพลาสติก

ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จากต่างประเทศ (3D Printer import)
wanhao duplicator 6

ใช้พิกัดศุลกากร 8479.89.30 เนื่องจากเป็นเครื่องใช้วัสดุอื่นๆ (เป็นเครื่อง SLA 3D Printer)  ที่ไม่ใช้พลาสติกหรือยาง

phrozen shuffl 4k 31 micron resolution
Phrozen Shuffle 4K

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก