Search
Close this search box.

การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

เครื่อง FDM 3D Printer

เครื่องแบบเส้นพลาสติก หรือ FDM นั้น จะมีส่วนเคลื่อนที่หลายส่วน ประสานงานเข้าด้วยกัน ดังนั้นเป็นส่วนแรกที่ควรสังเกตหากมีอาการผิดปกติ หรือเสียงดังขึ้นเมื่อมีการใช้งานระดับหนึ่ง รวมทั้งระบบทำความร้อนของหัวฉีด ดังนั้นการซ่อมบำรุง หรือตรวจเช็คที่แนะนำมีดังนี้

1. สายพานขับเคลื่อน

  • ตรวจสอบสภาพภายนอก ไม่ขาด เปื่อย หย่อน
  • ใช้มือจับ หรือดีดสายพานเพื่อตรวจสอบความตึง ในเครื่องบางรุ่นผู้ผลิตกำหนดมาตรฐานความตึงตามเสียง  ซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์ที่ลง application ไว้ ช่วยตรวจสอบได้ทันทีว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือต้องปรับอย่างไร
  • วิธีการถัดมาคือทดลองปริ้นชิ้นงานทดสอบอย่างง่าย เช่นลูกบาศก์สี่เหลี่ยม ควรมีขนาดความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1-2%
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

2. ระบบรางลื่น ลูกปืน

  • ปกติแล้วถ้าเป็นเครื่องจากจีน ราคาเริ่มต้นมักจะมาพร้อมเสียง เสียดสี เป็นปกติอยู่แล้วในระดับหนึ่ง ยกเว้นแต่ดังขึ้นจนผิดสังเกต เป็นไปได้ว่าลูกปืนแตก ล้อเบี้ยว ซึ่งกรณีหลังควรเปลี่ยนให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไปกระทบส่วนอื่นตามมา
  • การใส่สารหล่อลื่นเช่น จารบี ช่วยยืดอายุการใช้งานและป้องกันสนิม ดังควรควรตรวจสอบทุกๆ 3-4 เดือน ครั้ง อย่าให้จารบีแห้ง
  • โดยปกติลูกปืนมาตรฐานจากแบรนด์อุตสาหกรรมระดับโลก เช่น THK Hiwin Misumi SKF Igus NB มันจะมีเสียงเงียบ  แรงเสียดทานต่ำกว่าของไม่มียี่ห้อหรือจีนแบบเห็นได้ชัด
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

3. สปริงสำหรับปรับระนาบฐาน

  • สปริงเป็นชิ้นส่วนที่มีอายุการใช้งานนาน (ตามข้อมูลคือ 1 ล้านครั้งการยุบตัว) ดังนั้นมักไม่เจอปัญหาสปริงยุบตัว หรือความแข็งเปลี่ยน อย่างไรก็ตามเครื่องจากจีนส่วนใหญ่ใช้สปริงคุณภาพต่ำ ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นหากพบปัญหาต้องตั้งระนาบฐานอยู่บ่อยๆ ควรเปลี่ยนมาใช้สปริงอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานชัดเจน ซึ่งแพงกว่าพพอสมควร (อยู่ในระดับสิบบาท ในขณะที่สปริงเกรดต่ำอาจจะตัวละ 25-50 สตางค์)
  • โดยปกติแล้ว สปริงที่ดี ต้องมีค่าความแข็งระดับหนึ่ง  ซึ่งหลายยี่ห้อแทนความแข็งด้วยสี ยกตัวอย่างของผู้เขียนที่ใช้ จะเป็นสีเหลือง ซึ่งเหมาะสมกับการใช้ตั้งระนาบฐานเครื่อง 3D Printer 
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

4. ระบบทำความร้อน

  • 1 ในส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบการพิมพ์แบบ FDM ทำหน้าที่หลอมเหลวเส้นพลาสติก มี 2 ส่วนหลักคือ เซ็นเซอร์วัดความร้อน (Heater Seneor) และแท่งให้ความร้อน (Heater Rod)  ซึ่งทำงานควบคู่กัน โดยปกติแล้วหากไม่มีการเสียหายภายนอก ระบบทำความร้อนนี้มักไม่พบปัญหาอะไร สิ่งที่ควรสังเกตคือ
  • ความเสถียรของอุณหภูมิไม่ควรเกิน 10 องศา บางเครื่องจะขึ้น Erro หากเกินค่าดังกล่าว
  • สามารถแก้ไขได้โดยการจูนค่า PID ซึ่งขึ้นกับผู้ผลิตเครื่องว่าสามารถทำได้จากในตัวเครื่อง หรือต้องอาศัยโปรแกรมภายนอก ใครที่ใช้ Marlin Firmware สามารถศึกษาได้จากเวบไซต์นี้ครับ 3DAddict
  • การใช้ฉนวนหุ้มที่บริเวณชุดทำความร้อน (Silicone socket) หรือฉนวนบุที่ฐานความร้อน สามารถช่วยให้อุณหภูมิคงที่มากขึ้น ประหยัดทั้งพลังงาน และแบ่งเบาภาระตัวระบบทำความร้อน
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

5. ผิวการพิมพ์ (Build Surface)

  • เป็นส่วนที่มีสึกหรอตามการใช้งานตลอดเวลา ส่วนที่ควรตรวจสอบดูแลคือ ระนาบฐานพิมพ์ ไม่ชิดและไม่ห่างเกินไป โดยใช้ PLA ในการคาริเบรตเป็นหลัก
  • วัสดุแต่ละชนิดจะมีระยะการตั้งฐานแตกต่างกัน เช่น
  • ABS ควรต่ำกว่า PLA 50-60 ไมครอน
  • PETG ควรสูงกว่า PLA 50 ไมครอน
  • หรือชนิดของวัสดุที่ใช้ทำผิวสัมผัสก็มีผลแตกต่างกัน (PEI Buildtak Glass) ซึ่งควรสอบถามจากผู้ผลิตช่วยเรื่องการตั้งฐานให้ดู เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายกับฐานพิมพ์

6. ระบบระบายความร้อนอิเล็กทรอนิกส์

  • บอร์ดควบคุมเป็นหัวใจหลักของเครื่อง 3D Printer ซึ่ง มักมีความร้อนสะสมสูง และเมื่อใช้งานไปนานๆ พัดลมที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนก็มีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ดังนั้นควรเปลี่ยนพัดลมทุกๆ 1 ปี 
  • อีกเรื่องคือฝุ่นสะสม ซึ่งตามมาถึงความชื้นอาจทำให้บอร์ดเสียหายได้
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ
Source: https://www.instructables.com/

7. Firmware ของเครื่อง

สำหรับบางยี่ห้อที่เป็น Global Brand ผู้ผลิตมักมีการอัพเดด Firmware ของเครื่อง โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆที่พึ่งวางจำหน่าย ซึ่งมักแก้ไขปัญหาที่พบ หรือมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบการอัพเดดก่อนทุกครั้งว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง การใช้ Firmware ใหม่ อาจจะไม่ส่งผลด้านคุณภาพเลยก็เป็นไปได้ หรืออาจะส่งผลต่อไฟล์เก่าๆที่ทำไว้มีปัญหาในการพิมพ์เพิ่มขึ้นมาอีก

เครื่อง Resin 3D Printer

เครื่องแบบเรซินเป็นเทคโนโลยีที่จุกจิก ต้องใช้การดูแลมากกว่าเครื่องแบบเส้นพลาสติก (Filament) พอสมควร ซึ่งทุกๆปัจจัยมีผลต่ออัตราการพิมพ์สำเร็จ และคุณภาพของชิ้นงานทั้งหมด ดังนั้นการดูแลเครื่องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากของเครื่องพิมพ์เทคโนโลยีนี้

1. จอ LCD สำหรับฉายภาพ

  • จอ LCD ต้องใสสะอาด ไม่มีคราบเรซินติดอยู่ หากติดอยู่อาจะใช้เทปกาวช่วยในการลอก หรือใช้ IPA ช่วยในการแกะเเศษเรซินออก ไม่ควรใช้คัตเตอร์หรือของมีคม เพื่อป้องกันจอ LCD เป็นรอย
  • การที่เรซินติดที่จอมาจากการรั่วซึมของ FEP หรือ เช็ดด้านล่างของถาดเรซินไม่สะอาด
  • จอ LCD ของบางผู้ผลิตจะมีฟิล์มกันรอยติดอยู่  ซึ่งสามารถลอกออก และติดอันใหม่ได้ได้ อย่างไรก็หากไม่มีความชำนาญไม่แนะนำให้ทำเนื่องจากอาจเกิดฟองอากาศขณะติดฟิล์มได้ รวมไปถึงปริมาณแสงส่องผ่านอาจมีความผิดเพี้ยนจากฟิล์มดั้งเดิมของโรงงาน
  • ในกรณีที่จอ LCD มี Dead (จุดดำ) หรือ Bright (จุดสว่าง) Pixel สามารถแก้ได้ได้ทางเดียวคือเปลี่ยนจอใหม่
  • อายุการใช้งานจอจะอยู่ที่ 3-12 เดือน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่มีผล สิ่งที่ควรดูแลควบคุมเป็นหลักคือ ระบบไฟและอุณหภูมิของเครื่อง หากมีการจัดการที่เหมาะสมจะยืดอายุการใช้งานได้นานกว่าปกติพอสมควร ตัวอย่างเครื่องของผู้เขียนบทความอายุราวๆ    16 เดือน ยังสามารถใช้งานได้ปกติอยู่ แนะนำให้ติดตั้งเครื่องสำรองไฟ เพื่อป้องกันไฟตก ไฟกระชาก ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ
คราบเรซินติดที่จอ
Resin tank leak
คราบเรซินติดที่จอ

2. Resin Tank + FEP Film

  • FEP Film เป็นส่วนของวัสดุที่ต้องเปลี่ยนมากที่สุดในการใช้งาน ความถี่ในการเปลี่ยนขึ้นกับหลายปัจจัย แต่สามารถพิจารณาจากสภาพภายนอกได้
  • หากมีรอยขีดข่วน หรือเป็นฝ้า ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพผิวของชิ้นงาน รวมถึงค่าเวลาในการฉายแสงที่เปลี่ยนไปเมื่อแสงส่องผ่านได้น้อยลง ดังนั้นควรเปลี่ยนทันที
  • รอยฟองอากาศ ที่เกิดจากการใช้งาน รวมทั้งการแกะงานที่พิมพ์เสียติดออก ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากทำความเสียหายให้ตัวฟิล์มได้ง่ายที่สุด ควรเปลี่ยนทันทีเมื่อมีโอกาส
  • การทำความสะอาด FEP Film ที่สภาพยังดี ควรใช้ ผ้าซับ IPA หมาดๆ เช็ดไปที่ฟิล์มเบาก็เพียงพอ ไม่ควรใช้ IPA พ่นไปที่ตัวฟิล์มโดยตรง
  • Resin Tank ที่ไม่ได้ใช้งานควรเทเรซินออกให้หมด ทำความสะอาดและเก็บไว้อย่างมิดชิด ป้องกันฝุ่นและความร้อน  รวมถึงการขีดข่วน
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

3. LED Unit

  • เป็นส่วนที่ฉายไฟ UV อยู่ด้านล่าง สิ่งที่ควรดูแลคือฝุ่นละออกที่มักไปเกาะที่ตัวเลนส์ รวมถึงแมลงที่มักเข้าไปเกาะภายในทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหายเป็นประจำ
  • หากใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer ไปนานๆ ควรมีการคริเบรตเวลาฉายแสงใหม่ เนื่องจากความเข้มของ LED จะลดลงเรื่อยๆตามอายุการใช้งาน
  • ส่วนของระบบระบายความร้อนตรวจสอบการทำงานของพัดลมว่า ยังคงทำงานปกติ และไม่มีส่วนไหนเสียหาย หรือเสียงการทำงานที่ผิดปกติ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

4. ระบบการคเลื่อนที่

  • โดยปกติแล้วเครื่อง LCD Resin จะมีการเคลื่อนที่แกนเดียวคือแนวตั้ง จึงพบปัญหาน้อยมาก ดังนั้นการดูแลรักษา แค่หยอดน้ำมันหล่อลื่นเพื่อป้องกันสนิม และลดแรงเสียดทานในการเคลื่อนที่ก็เพียงพอ
การดูแล 3D Printer ให้อยู่ในสภาพใหม่อยู่เสมอ

5. อัพเดด Firmware ตามคำแนะนำผู้ผลิต

เช่นเดียวกับเครื่องแแบบ FDM  หากมีการอัพเดด ควรตรวจสอบการแก้ไขจากผู้ผลิตก่อนทำการอัพเดดทุกครั้ง

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ทั่วไปไแ้นวคิดการดูแลเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ให้มีอายุการใช้งานที่มากขึ้น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก