เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วถึงภาวะการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในปัจจุบัน ได้สร้างความวิตกกังวลและส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชากรทั่วโลก ซึ่งแนวโน้มผู้ติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ในหลายประเทศเองก็อยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้วัสดุ และอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายอย่างถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว เกิดการขาดแคลนขึ้นอย่างกระทันหัน ทำให้ 3D Printing เข้ามามีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้การแพทย์ และอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่ง และ social distancing
สถานการณ์ Covid-19 ในปัจจุบัน
การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลให้คนทั่วโลก มีวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากๆ เพื่อป้องกันโคโรนาไวรัส ด้วยวิธีที่ง่าย เพียงอาศัยความรับผิดชอบต่อเองและส่วนรวม เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก, สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ, ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจับหรือใช้ของสาธารณะ หลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร, รับประทานอาหารปรุงร้อน สดใหม่ และงดรับประทานอาหารร่วมกัน งดใช้ช้อนกลาง เป็นต้น ข้อปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยลดและหยุดการระบาดของ Covid-19 อย่างได้ผลจริง ซึ่งประเทศไทย ณ ปัจจุบันไม่พบผู้ติดเชื้อติดต่อกันเป็นระยะเวลา 30 วัน ถือว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้ดีและรวดเร็วกว่าหลายประเทศ


(https://www.thebangkokinsight.com/384368/)
การขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์
เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO มีหน้าที่คือการดูแลการสาธารณสุขของโลก ได้ออกมาเตือนว่าโลกกำลังตกอยู่ในระยะอันตราย หลังพบผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 180,000 คน ภายในวันเดียว กลายเป็นสถิติสูงสุดต่อวันครั้งใหม่ นับตั้งแต่การระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ส่งผลให้เกิดการแพร่จายของ Covid-19 ไปทั่วโลก ทำให้หลายเดือนที่ผ่านมาขาดแคลนหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนัก จึงแก้ปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย ด้วยการใช้เทคโนโลยี 3D Printing มากขึ้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตชิ้นส่วน Face Shields และ Bellus Mask Fitter จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบ FDM และ SLA เพื่อต่อสู้กับ Covid-19 และให้เหล่าบุคคลาการทางการแพทย์ได้ใช้อย่างเพียงพอตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา


3D Printing สู้กับ Covid-19 อย่างไร
ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับต่อสู้กับการระบาด Covid-19 จาก 3D Printing ที่สำคัญ ได้แก่
- Face Shield และ Face Mask
- Bellus Mask Fitter
- อุปกรณ์สำหรับเปิดประตู
- อุปกรณ์ช่วยกดหัวปั๊มขวดแอลกอฮอล์
- เครื่องช่วยหายใจภาคสนาม
การนำเทคโนโลยี 3D Printing เข้ามาช่วยในการผลิตนั้นอย่างน้อยให้บุคคลการทางการแพทย์ได้มีใช้อย่างพอเพียง เพื่อความปลอดภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้หลายองค์กร และหลายบริษัท รวมถึงคนทั่วไป ร่วมมือกันผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และจัดส่งไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ตัวอย่างเช่น
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกันผลิตหน้ากากป้องกันใบหน้า หรือ Face Shield จากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยการขึ้นรูปโครง Face Shield ที่ได้ปรับจากต้นแบบของทาง PRUSA RC3 จากบริษัท PRUSAPRINTER.ORG เพื่อให้ลดเวลาในการพิมพ์ชิ้นงานจากเวลาเดิมคือ 5.30 ชั่วโมง เหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
FDM 3D Printing

(https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=58854)
บริษัทที่มีชื่อด้าน 3D Printing อย่าง HP ได้ร่วมมือกับนักวิจัยชั้นนำที่ Harvard University และ Beth Israel Deaconess Medical Center เพื่อช่วยในการรวบรวมข้อมูล ทดสอบ และการปรับแต่งการพิมพ์อุปกรณ์หาเชื้อในโพรงจมูก 3 มิติ สำหรับตรวจหาเชื้อ Covid-19 โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ SLS เครื่อง HP Multi Jet Fusion เพื่อมอบให้ทางคลินิกและโรงพยาบาล ซึ่งตั้งเป้าหมายที่จะขยายการผลิตจาก 100,000 เป็น 1,000,000 ชิ้น วัสดุที่ใช้จะเป็น HP 3D High Reusability PA 11, HP 3D High Reusability PA 12, ULTRASINT® TPU01, ESTANE® 3D TPU M95A นอกจากนี้ทาง HP ยังผลิตอุปกรณ์ที่สำคัญอีกหลายอย่าง ได้แก่
- CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ใช้
สำหรับรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ - Face Shields
- Masks
- เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Components)





HP 3D High Reusability PA 12




Personal Door Opener

(https://enable.hp.com/us-en-3dprint-COVID-19-containment-applications/)
สรุป
บทบาทของเทคโนโลยี 3D Printing ในสถานการณ์ Covid-19 ที่สำคัญและคงปฏิเสธไม่ได้ ก็คือการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนการรักษาแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งการพิมพ์ 3 มิติช่วยให้การให้บริการทางระบบสาธารณสุขนั้นสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว แม้ว่าจะอยู่ในภาวะที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลนอย่างหนัก รวมถึงอุปสรรคด้านการขนส่งที่ถูกตัดขาด หรือมีการปิดประเทศ ทำให้ต้องมีการพึ่งพาตนเองในระยะเวลาเร่งรีบเช่นนี้ ทั้งนี้ขณะควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม หรือยืนตามจุดที่กำหนด จะช่วยหยุดการแพร่เชื้อของ Covid-19 และลดภาระงานให้กับคุณหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ได้อย่างมาก

(https://www.opsmoac.go.th/phetchabun-news-preview-421191792361)