Additive manufacturing ในภาคการผลิตรองเท้ากีฬานั้นได้นำออกมาให้ได้ใช้งานจริงๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากรองเท้าเป็นสิ่งที่ซับซ้อนในการผลิต ต้องใช้เวลานานและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่กำหนดเองให้พอดีกับสรีระเท้าของแต่ละบุคคล จึงทำให้การพิมพ์ 3 มิติเป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสม เพื่อทำให้กระบวนการการสร้างต้นแบบไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและรายละเอียดของรองเท้าง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตใช้ 3D Printing Sport Shoes ร่วมกับการผลิตแบบเดิม อีกทั้งยังเป็นการผลักดันเทคโนโลยีนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าสำหรับการผลิตรองเท้ากีฬาเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในอนาคต
1. Reebok
ปัจจุบัน Reebox ได้พัฒนารองเท้ากีฬาโดยนำนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสร้างจุดเด่นกับแบรนด์ ซึ่งทางผู้ผลิตได้เลือกใช้ 3D Printing Sport Shoes เข้ามาใช้ผลิตรองเท้าวิ่ง และเปิดตัวรองเท้าผ้าใบจากการพิมพ์ 3 มิติแบบ additive manufacturing ในปี 2016 ได้พัฒนากระบวนการพิมพ์ 3 มิติจากวัสดุที่ใช้ก็คือโพลียูรีเทนเหลว (liquid polyurethane) หรือที่นิยมใช้ในตัวย่อว่า PU เพราะมีความคงทนต่อแรงอัดและแรงดึง ที่สำคัญมีความคงตัวสูงและเปลี่ยนรูปจากเดิมได้ยาก ทำให้การรองรับน้ำหนักได้ดี และประสิทธิภาพในการรับแรงกระแทกของวัสดุรองฝ่าเท้าด้วย ข้อดี 3D Printing Sport Shoes คือช่วยให้สามารถลดน้ำหนักของรองเท้าผ้าใบลงได้ 20% มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ และมีการยึดเกาะสูง รองเท้าวิ่งจะมีความกระชับพอดีกับส้นเท้า ซึ่งจะส่งผลให้คุณวิ่งแล้วทรงตัวได้ดีและปลอดภัยต่อข้อเท้าด้วย
2. Adidas
ถ้าหากกล่าวถึงรองเท้าวิ่งที่ใช้เทคโนโลยี 3D Printing Sport Shoes คงต้องยกให้กับ “Aarish Netarwala” เป็นผู้ออกแบบรองเท้าวิ่งคู่หนึ่งให้สำหรับแบรนด์ Adidas ที่จำลองประสบการณ์การวิ่งบนผืนทรายที่อ่อนนุ่ม เพื่อการออกกำลังกายที่เข้มข้นยิ่งขึ้น รองเท้ากีฬาต้องการความต้องการพิเศษ เพราะมีผลต่อการควบคุมการเดินเท้าที่ดี ให้ความมั่นคงและความทนทาน สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการออกแบบที่ซับซ้อนและวัสดุที่นำมาใช้ผลิต ซึ่งเป็นจุดแข็งหลักของการพิมพ์ 3 มิติ
นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง 3D Scanner ช่วยให้การผลิตรองเท้าสามารถปรับได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสมบูรณ์ และผลิตรองเท้าที่เหมาะสำหรับนักกีฬามืออาชีพ เพื่อความเข้ากันได้กับสรีระเท้าของแต่ละบุคคล

3. New Balance
New Balance ได้มีความร่วมมือกับ Formlabs ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติรายใหญ่ เพื่อพัฒนาวัสดุฮาร์ดแวร์และกระบวนการผลิตสำหรับรองเท้ากีฬา โดยใช้วัสดุ “Rebound Resin” ด้วยกระบวนการ Photopolymer สำหรับการผลิตรองเท้าวิ่ง ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้มีลักษณะโครงสร้างตาข่าย มีความยืดหยุ่น ทนทาน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเทอร์โมพลาสติกแบบฉีดขึ้นรูป ทำให้ทางผูผลิตของ New Balance เลือกใช้ 3D Printing Sport Shoes เพราะสามารถทำรองเท้าที่ดีและให้ตรงกับสรีระของแต่ละบุคคลได้ง่าย โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปเข้ามาใช้บริการได้
4. Nike
รองเท้ากีฬาจาก 3D Printing ในปัจจุบันมีออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และหลายแบรนด์ดัง Nike ก็เป็นหนึ่งในการใช้ 3D Printing Shoes ผลิตส่วนบนของเท้าวิ่ง เพื่อความกระชับกับเท้ามากที่สุด วัสดุหลักในการผลิตด้วยเครื่อง 3D Printer คือ Flexible Rubber ซึ่งวัสดุ TPU จะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ผู้ผลิตนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์รองเท้ากีฬา
Nike ออกแบบการทอให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต การพัฒนาและส่งเสริมให้นักกีฬาใช้งานเวลาวิ่ง รองเท้าก็มีส่วนช่วยอย่างมากตอนที่แรงลงเท้าแล้วเกิดการสะท้อนแรงกลับ ทำให้วิ่งได้เร็วขึ้น ไกลขึ้น ช่วยให้สูญเสียแรงน้อยลง
5. Under Armour
กระบวนการ Additive Manufacturing (AM) ได้รับความนิยมเป็นพิเศษสำหรับการผลิตรองเท้าที่มีความยืดหยุ่น รวมถึงแบรนด์ดังอย่าง Under Armour ที่นำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติพิมพ์ส่วนของส้นรองเท้าด้านนอก เลือกใช้โครงสร้างแบบ “Dynamic lattice network” ซึ่งมีลักษณะเหมือนโครงถักเชื่อมต่อเนื่องกัน ทำให้สามารถรองรับรองกระแทกได้เป็นอย่างดี รวมถึงการเลือกใช้วัสดุ flexible ยิ่งทำให้มีความยึดเกาะได้มากขึ้น และมีอีกรุ่นหนึ่งสำหรับใส่เดินทั่วๆ ไป จะใช้วัสดุ TPU ในการผลิตบริเวณส่วนท้ายรองเท้า โดยทางบริษัทผู้ผลิตมีความต้องการในการทำรองเท้าที่ใช้เวลาน้อย แก้ไขได้ง่าย จึงทำให้การพิมพ์ 3 มิติเป็นทางเลือกแทนวิธีการผลิตเดิมๆ ในบางส่วนของกระบวนการผลิตนั่นเอง
6. Columbia Montrail
Columbia Montrail หนึ่งใน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ