กีฬาเป็นอีกกิจกรรมและธุรกิจหนึ่งที่มีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์กีฬา (Sportwear) ซึ่งมีหลากหลายแบรนด์ในปัจจุบัน พยายามนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้งวัสดุศาสตร์ และเครื่อง 3D Printer ผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะกับกับนักกีฬา และการแข่งขันมากที่สุด บทความนี้รวบรวมอุปกรณ์ด้านกีฬาที่มีการผลิตขึ้นโดยใช้เครื่อง 3D Printer ในปัจจุบัน ซึ่งเราน่าจะได้เห็นมากขึ้นในช่วงโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลายแบรนด์คงโชว์เทคโนโลยีการกีฬาใหม่ๆ ผ่านทางพรีเซนเตอร์ หรือนักกีฬานั่นเอง
1. รถแข่ง
3D Printing race car ที่มีให้เห็นอย่างทีมวิศวกรชาวเบลเยียม ได้ผลิตรถแข่งที่เรียกว่า ‘Areion’ มีลักษณะคล้ายกับรถ Formula 1 ซึ่งเป็นรถที่นั่งเดี่ยวที่ทรงพลังมาก โครงรถยนต์ (chassis) ทำด้วยการพิมพ์โลหะ 3 มิติ และสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 140 กม./ชม. อีกทั้งเริ่มความเร็วที่ 0 ถึง 100 โดยใช้เวลาเพียง 3.2-4 วินาทีเท่านั้น
3D Printing Sports มีเทคโนโลยีล้ำสมัยได้รวมอยู่ในรถแข่งนี้ และยังเป็นรถแข่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-friendly race car) มีส่วนประกอบบางส่วนโดยใช้วัสดุผสมชีวภาพและการผลิตแบบ Additive Manufacturing
2. เฟรมจักรยาน
Bicycle frames เป็นเฟรมจักรยานที่ผลิตขึ้นมาจากวัสดุประเภทโลหะเป็นหลักใหญ่ แต่ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น นั่นก็คือการผลิต bike frames ด้วยกระบวนการพิมพ์ 3 มิติ ปัจจุบันทาง “Omer Sagiv” ได้ใช้ 3D Printer Metal ผลิตเฟรมจักรยานโลหะภายใต้ชื่อ Panther Bicycle นอกจากนี้ยังเฟรมจักรยานขายภายใต้ชื่อแบรนด์ Emery, Arevo และ Empire Cycles ที่เป็นบริษัทออกแบบและผลิตจักรยานสัญชาติอังกฤษที่โดดเด่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ โดยทั้งหมดนี้ล้วนใช้กระบวนการผลิตจาก 3D Printing sports ทั้งสิ้น อาจใช้วัสดุแตกต่างกันไป เช่น carbon fiber, titanium alloy เป็นต้น
Emery e-bike ใช้กระบวนการผลิต Additive Manufacturing (AM) สำหรับผลิตเฟรมจักรยานรุ่นล่าสุด โดยใช้วัสดุคอมโพสิต carbon fibre-reinforced ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในปัจจุบัน


(https://www.theengineer.co.uk/frame-3d-printed-bike/)
3. กอล์ฟ
3D Printing golf เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้นักกอล์ฟที่ต้องการอุปกรณ์ที่แตกต่างจากผู้อื่น ทำให้ทาง Grismont Paris ผลิตไม้กอล์ฟ 3 มิติผลิตขึ้นเอง ซึ่งสามารถพิมพ์ได้โดยใช้ 3D Printer จากวัสดุทอง ทองแดง หรือโลหะ ยังมีอีกหลายแบรนด์ดังที่ใช้กระบวน additive manufacturing เข้ามาผลิตอุปกรณ์กีฬากอล์ฟ ไม่ว่าจะเป็น Titomic หรือ Nike
4. รองเท้าวิ่ง
5. สกี
6. กระดานโต้คลื่น
7. หน้ากากป้องกันฟุตบอล
Protection mask เป็นหน้ากากที่มีจุดประสงค์เพื่อปกปิดและป้องกันการฉีกขาด หรือส่วนที่ไม่มั่นคงของใบหน้า โดยปกติแล้วจะใช้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อแผลที่คาง ริมฝีปาก การแตกหักที่จมูก หรือโหนกแก้ม หน้ากากที่มีขนาดใหญ่จะสามารถผลิตให้เข้ากับสรีระของแต่ละบุคคลได้อย่างพอดี สำหรับนักกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล แฮนด์บอล หรือรักบี้ โดยใช้เทคโนโลยี 3D Print Sports ในการผลิต เพื่อกนำไปใช้กับนักกีฬาจริง อย่างเช่น Lukasz Fabianski (Arsenal), John Heitinga (Fulham), Fernando Torres (Chelsea) และ Demba Ba (Chelsea)
8. สนับแข้ง
3D Printing Shin guards เป็นนวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบและสร้างโดยบริษัทของประเทศออสเตรีย ที่ชื่อว่า Zweikampf ซึ่งเป็นสนับแข้งให้กับนักกีฬา และเป็นอุปกรณ์กีฬาอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความต้านทานต่อแรงกระแทกได้ดี ลดการบาดเจ็บให้กับนักกีฬา ที่สำคัญคือการผลิตขึ้นจาก 3D Printer ด้วยวัสดุ flexible ที่มีความยืดหยุ่นและจะดูดซับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ยังมี sportswear จากแบรนด์ดัง New Balance, Adidas, Under Armour and Nike
9. หมวกกันน็อก
Headwear, Headgear หรือ Helmets เป็นอุปกรณ์ป้องกันศีรษะสำหรับนักกีฬาปั่นจักรยาน และอื่นๆ โดยหมวกกันน็อคภายใต้ชื่อแบรนด์ HEXR เป็นผลิตภัณฑ์ ECO bicycle helmet ตัวแรกของโลกที่ผลิตโดยใช้การพิมพ์ 3 มิติและวัสดุ bio-based ของ Rilsan® polyamide 11 เป็นวัสดุชีวภาพที่มีเอกลักษณ์มาก เพราะทำจากน้ำมันละหุ่ง (castor oil) และมีคุณสมบัติเชิงกลที่โดดเด่นจากการใช้เทคโนโลยี 3D Printing Sports ในการผลิตอุปกรณ์กีฬาต่างๆ
10. ฟันยาง
Mouthguard คือสิ่งกันฟันกระแทกหรือสนับฟันหรือฟันยาง เป็นอุปกรณ์ที่สวมเพื่อปกป้องฟัน ฟันยางเป็นอุปกรณ์กีฬาที่สำคัญสำหรับทุกคนที่เล่นกีฬาที่มีการตก กระทบ กระแทก หรือมีวัตถุที่ลอย เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เบสบอล ฮอคกี้ สเกตบอร์ด ยิมนาสติก จักรยานภูเขา และกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดความบาดเจ็บกับปาก แนวคิดนี้จึงได้รับการพัฒนาโดย Guardlab ซึ่งเป็นบริษัท ในนิวยอร์กที่เชี่ยวชาญในการปรับแต่งเครื่องป้องกันฟันผ่านการพิมพ์ 3 มิติ หรือ 3D Printing Mouthguard เพื่อการผลิตที่ตรงสรีระต่อนักกีฬาโดยเฉพาะคน ทำให้อุปกรณ์มีประสิทธิภาพในการปกป้องปากได้อย่างดี และมีความสะดวกสบายสำหรับการเปลี่ยนอุปกรณ์ให้กับนักกีฬาแต่ละคนอีกด้วย
ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่นำความก้าวหน้าจาก 3D Printer มาใช้ผลิตฟันยาง ไม่ว่าจะเป็น 3Dmouthguard ที่ใช้กระบวนการผลิตแบบ additive manufacturing (AM) ด้วยวัสดุ bio-based จาก DSM’s Arnitel®
11. ถุงมือ

