Search
Close this search box.

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

เครื่อง 3D Printer ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากบุคคลทั่วไป โรงงาน และภาคการศึกษา เนื่องจากสามารถสร้างสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงงานต้นแบบ (Rapid Prototype) ได้อย่างรวดเร็ว ลงทุนน้อย และไม่ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีความยุ่งยากเหมือนในอดีต หลักการทำงานของเครื่อง 3D Printer มี 4 ขั้นตอนตามภาพด้านล่างสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (3D Model) โดยใช้โปรแกรมเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ เช่น Solidworks Autocad Sketchup Rhinoนำแบบจำลองดังกล่าวเข้าสู่โปรแกรม Slice เฉือนชิ้นงานออกเป็นชั้นๆ ตามความละเอียดที่ทำได้เติ่มเนื้อ (Additive) ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทีละชั้น จนได้งานตามแบบขัด ตกแต่ง ประกอบ ทำสี ชิ้นงานตามต้องการเทคโนโลยีการเติมและวัสดุที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายมีข้อดี-ด้อยแตกต่างกันออกไป ดังนั้นบทความนี้ได้รวบรวม 6 เทคโนโลยีหลักที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลให้คนที่สนใจเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ

ส่วนใครต้องการข้อมูลพื้นฐานอ่านได้ในบทความนี้ “What is 3D Printing

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ในปัจจุบัน

Fused Deposition Modelling (FDM, FFF)

FDM เป็นเทคโนโลยีของเครื่อง 3D Printer ที่เกิดขึ้นอันดับแรกๆ โดยประดิษฐ์และคิดค้นขึ้นโดย Scott Crump ในปี 1989 ร่วมกับภรรยาของเขาคือ Lisa Crump ทั้งสองคนได้ก่อตั้งบริษัท Stratasys ที่เป็นบริษัทด้าน 3D Printing ที่ใหญ่ระดับโลกอยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ ของประเทศอเมริกา มีรายได้ต่อปีมากกว่า 20,000 ล้านบาท เทคโนโลยี FDM นั้นมีส่วนประกอบหลักคือ วัสดุที่เป็นเส้นลวดพลาสติก (Filament) ระบบดันเส้น (Extruder) ระบบการเคลื่อนที่ สุดท้ายคือระบบให้ ความร้อนและหัวฉีด (Nozzle) ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันทั้งหมด

FDM 3D Printer Technology
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

ข้อดีของ FDM

  • ระบบการทำงานง่ายไม่ซับซ้อน
  • ค่าบำรุงรักษาต่ำ
  • วัสดุให้ใช้หลากหลาย
  • หาซื้อได้ง่าย
  • ความแข็งแรงขึ้นกับชนิดของ Filament
  • เป็นเทคโนโลยีที่สะอาด ปลอดภัยกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ
  • ราคาเครื่องมีให้เลือกตั้งแต่ DIY จนไปถึงระดับเครื่องมาตรฐานอุตสาหกรรม
  • ตกแต่งชิ้นงานหลังการพิมพ์ด้วยเครื่องมือทั่วๆไปได้
  • ใช้ทักษะและเวลาในการเรียนรู้น้อยกว่ากระบวนการอื่นๆ

ข้อด้อยของ FDM

  • ความเร็วในการผลิตต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอื่น
  • คุณภาพของผิวต้องมีการตกแต่งเพิ่มเติม (post processing)
  • วัสดุที่ใช้ได้กับเครื่องทั่วไปคือ PLA เป็นหลัก ในขณะที่เครื่องรองรับวัสดุวิศวกรรมมีราคาสูง
  • ความแข็งแรงด้อยกว่ากระบวนการอื่นๆ เนื่องจากรอยประสานระหว่างชั้น (weld line)
  • มีชิ้นส่วนเคลื่อนที่เยอะ การบำรุงรักษาต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

จากข้อดี-ข้อด้อยที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีแบบ FDM เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ที่ไม่ใช้โรงงานผลิตขนาดใหญ่ มีให้เลือกใช้มากที่สุด โดยปัจจัยหลักในกระบวนการขึ้นรูป เพื่อให้งานออกมาดี มีอยู่ทั้งหมด 6 ข้อ

First Layer

ตั้งระยะห่างระหว่างหัวฉีดกับฐานพิมพ์ให้เหมาะสมตามข้อกำหนดหรือคำแนะนำแต่ละเครื่อง

Layer height

ตั้งความละเอียดในการพิมพ์ให้เหมาะสมกับเครื่อง โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 100-300 ไมครอน

Temp setting

เลือกใช้อุณหภูมิของหัวฉีดและฐานพิมพ์ให้เหมาะสมมากที่สุด พลาสติกแต่ละผู้ผลิตจะมีค่าที่แตกต่างกันออกไป

Print speed

ตั้งความในการพิมพ์ชั้นแรก ชั้นปกติ และส่วนที่มีความบางให้เหมาะสมกับเครื่องและวัสดุ

Cooling

เพิ่มประสิทธิภาพของส่วนที่เป็น Overhang โดยการปรับพัดลมระบายความร้อนชิ้นงานให้เหมาะสม

Post process

ใช้เครื่องมือขัดที่เหมาะสมกับความละเอียดและขนาดของชิ้นงาน และตัวประสาน (Glue) ให้ตรงกับชนิดของพลาสติกที่ใช้

ตัวอย่างการพิมพ์

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

การเลือกซื้อเครื่อง

การเลือกเครื่อง FDM 3D Printer มาใช้งาน ต้องเลือกจากความต้องการและงบประมาณเป็นหลัก หรือแบ่งเป็นข้อได้ดังนี้

  • ขนาดการพิมพ์ที่ต้องการ เครื่องเริ่มต้นแบบโครงสร้างเบาจะอยู่ที่ 20-30 cm
  • วัสดุที่ต้องการใช้งานจริง ส่วนใหญ่รองรับ PLA ทั้งหมด แต่ถ้าเป็น ABS หรือวัสดุวิศวกรรมอื่นๆ ที่ต้องการงานใหญ่ ต้องใช้เครื่องระดับอุตสาหกรรมที่มีราคาสูงขึ้นมาก
  • งานประกอบ และคุณภาพของวัสดุ จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนระหว่างจีนและยุโรป แต่คุณภาพงานที่ออกมาต้องจับมาเปรียบเทียบกันอีกที
  • การซ่อมบำรุงและบริการหลังการขาย  ส่วนใหญ่เครื่องที่ใช้งานตลอดเวลา จะเริ่มมีปัญหาเมื่อใช้ไปได้ 8-12 เดือน ซึ่งเกือบจะหมดประกันแล้ว ต้องสอบถามเรื่องอะไหล่ และค่าบำรุงรักษาเพื่อประเมินงบประมาณให้ดี
  • 3D Printer คือเครื่องที่เทคโนโลยีไปไวมาก เครื่องราคาถูกสมัยนี้ ทำงานได้ไม่แตกต่างจากเครื่องราคาแพงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ดังนั้นควรคำนวนการลงทุนให้ดี

Stereolithography (SLA, DLP)

SLA เป็นเทคโนโลยี 3D Printer แรกที่เกิดขึ้นบนโลก โดย Chuck Hull ในปี 1984 ผู้ก่อตั้งร่วมบริษัท 3D System โดยเทคนิคการฉายแสง UV ทำให้ของเหลวเรซิน เกิดปฏิกริยาทางเคมีกลายเป็นของแข็ง (Curing) ซึ่งพัฒนามาจากประสบการณ์ เป็นช่างเคลือบผิว (Coating) นั่นเอง บทความนี้เน้นไปที่เครื่องราคาไม่แพง ขนาดการพิมพ์ระดับเล็ก ดังนั้นจึงเป็นเครื่องชนิด Top-Down หรือฐานพิมพ์เลื่อนลงทั้งหมด

ส่วนประกอบหลักของเทคโนโลยีนี้คือ แหล่งกำเนิดแสง UV โดยเป็นได้ทั้งเลเซอร์ (Laser scan, Galvanometer หรือแหล่งกำเนิดภาพและแสงแบบดิจิตอล (Digital Light Processing, DLP) เช่น โปรเจคเตอร์ฉายภาพ สุดท้ายคือที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือจอ LCD+UV LED ชิ้นส่วนถัดมาคือภาชนะสำหรับใส่น้ำเรซิน (VAT) ที่มีทั้งเป็นเป็นอะคริลิก ซิลิโคน อลูมิเนียม บริเวณด้านล่างทำจากวัสดุที่ทำให้เรซินไม่ติดเช่น FEP หรือ PDMS บางผู้ผลิตใช้เป็นกระจกชนิดพิเศษ สุดท้ายคือฐานพิมพ์ (Build plate) ที่สำหรับขึ้นรูปเป็นชิ้นงานทีละชั้น

Laser scan SLA 3D Printer

sla 3d printer technique

DLP 3D Printer

dlp printing
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

ข้อดีของ SLA DLP

  • สามารถทำความละเอียดได้สูงมาก เนื่องจากมีการเคลื่อนที่แค่แกน Z (แนวตั้ง) เพียงแกนเดียว ดังนั้นความละเอียดสำหรับเครื่องทั่วๆไปจะอยูที่ 25-50 ไมครอน
  • การเชื่อมต่อของผิวแต่ละชั้นเนียนเรียบ สวยงามกว่า FDM ที่ความละเอียดเท่ากัน
  • คุณภาพใกล้เคียงกับเทคโนโลยี Polyjet ที่มีราคาสูงกว่ามาก
  • มีวัสดุให้เลือกใช้หลากหลายทั้ง เรซินทั่วไป เรซินหล่อ เรซินกดแม่พิมพ์ หรือเรซินโลหะ เซรามิกส์ ตามความต้องการ
  • ปัจจุบันราคาถูกลงมามากหลักหมื่นสามารถจัดหาได้แล้ว รวมทั้งวัสดุที่มีทางเลือกมากขึ้น
    ทำสีได้ง่ายมาก แค่ลงรองพื้น Tamiya ครั้งเดียว ก็ลงสีอื่นๆตามได้ โดยแทบไม่ต้องขัดเลย

ข้อด้อยของ SLA DLP

  • เป็นเทคโนโลยีที่มีสารเคมีอันตรายทั้งการสัมผัสและกลิ่น
  • หลังทำงานเสร็จต้องมีการ Post processing โดยการอบตู้ UV หรือตากแดดต่ออีกจึงสมบูรณ์ เรซินบางชนิดต้องใช้เวลาอบมากถึง 3 ชั่วโมง จึงจะแข็งตัวพร้อมใช้งาน
  • ความสำเร็จในการพิมพ์เกิน 80% ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ในการสร้าง Support ของชิ้นงาน และตำแหน่งการวางที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีหลายโปรแกรมช่วยเหลือส่วนนี้
  • วัสดุสิ้นเปลืองนอกจากตัวเรซินแล้วยังมีตัว FEP ฟิล์ม และ PDMS ที่มีอายุการใช้งานจำกัด
  • ความเลอะเทอะที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน

SLA VS DLP แบบไหนดีกว่ากัน

ด้วยเทคโนโลยีเรซิน 3D Printer มีแหล่งกำเนิดแสงและภาพคนละแบบ ดังนั้นจึงมีข้อเด่นและข้อด้วยแตกต่างกันออกไป เลยนำตารางเปรียบเทียบ สำหรับเป็นข้อมูล โดยเน้นไปที่เครื่องระดับคนทั่วไปสามารถจัดหาซื้อได้ ส่วนภาพรวมคือ

  • SLA ขนาดการพิมพ์เริ่มต้นจะใหญ่กว่าและมีขนาดใหญ่สุดเป็นเมตร ส่วน DLP จะเน้นความเร็วและความละเอียดในเครื่องระดับสูง โดยเฉพาะงานจิวเวรี ทันตกรรม และโมเดลย่อส่วน
  • ความเร็วในการพิมพ์เต็มถาด จะช้ากว่า DLP ส่วนถ้าชิ้นเล็กๆ ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเครื่องหาซื้อได้ยาก จะมีไม่กี่ยี่ห้อในไทย ขณะที่ DLP มีตัวเลือกเยอะมากหลักหมื่นต้นๆก็หาได้แล้ว
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

กุญแจแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ในการพิมพ์ขึ้นรูปของเทคโนโลยี SLA 3D Printer มีด้วยกันง่ายๆ เพียง 3 ข้อได้แก่

Right support

สร้าง Support รองรับชิ้นงานที่ตำแหน่งและขนาดที่เหมาะสม รวมถึงชนิดของ support แต่ผลิตภัณฑ์ก็แตกต่างกัน จุดนี้ต้องใช้ประสบการณ์มากที่สุด

Right exposure times

กำหนดเวลาฉายแสง ความเข้มแสง ความเร็วในการพิมพ์ หรือเวลาพักตัว ให้เหมาะสมกับชนิดของเรซิน

Right post processing

หลังจากพิมพ์ชิ้นงานเสร็จ เรซินแต่ละชนิด แต่ละชนิด มีเวลาและกระบวนการ Post processing ที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสูตรเรซินที่ใช้ ดังนั้นการทราบถึงกระบวนการที่ถูกต้องจะช่วยให้ได้งานออกมาตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด

ตัวอย่างการพิมพ์

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

การเลือกซื้อเครื่อง

SLA และ DLP 3D Printer เป็นเครื่องที่ต้องลงทุนสูงกว่าเครื่อง FDM ในภาพรวม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีเครื่องราคาถูกหลักหมื่นต้นๆออกมา แต่ด้านวัสดุที่ใช้ก็ยังมีราคาแพงกว่าเส้นพลาสติก Filament หลายเท่า รวมถึงขั้นตอนที่ยุ่งยากทั้ง ก่อนพิมพ์-หลังพิมพ์

เครื่องกลุ่มนี้เน้นสำหรับคนที่ต้องการคุณภาพการพิมพ์สูงที่สุด ในระดับที่ต้องการขายเป็นผลิตภัณฑ์จริง เนื่องจากการทำสี ตกแต่งทำได้ง่ายกว่า เหมาะกับผู้ใช้ในกลุ่ม Art toy, Scale model, Figture, Jewelry, Dentist ส่วนคนที่ยังไม่แน่ใจว่าต้องการชิ้นงานแบบไหน แนะนำเป็นเครื่อง FDM แทน เนื่องจากตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานทางด้านราคาและขนาดการพิมพ์ได้ดีกว่า ส่วนคนที่ต้องการซื้อนั้นขึ้นกับงบประมาณเป็นหลัก เครื่อง SLA 3D Printer ที่ขายในไทยเริ่มต้นอยู่เกือบๆ 1 แสนบาท พร้อมซอฟแวร์และระบบต่างๆพร้อมใช้งาน หากงบประมาณไม่ถึงแนะนำเป็นเครื่องแบบ LCD 3D Printer ซึ่งปัจจุบัน คุณภาพเรียกว่าชนกับเครื่องแพงๆได้เลย หากเรียนรู้การใช้งานไปซักระยะหนึ่ง

Selective Laser Sintering (SLS)

SLS เป็นเทคโนโลยี 3D Printer ที่คล้ายคลึงกับ SLA โดยมีการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุ (Powder) ให้เกิดการหลอมเหลวเพียงเสี้ยววินาทีแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียว ดังนั้น ด้วยระบบที่ซับซ้อนมากกว่า FDM และ SLA จึงไม่เห็นเครื่อง SLS แบบตั้งโต๊ะ หรือ Desktop SLS มากเท่าไหร่ เพราะความอันตรายทั้งตัวเลเซอร์พลังงานสูง อุณหภูมิในห้องพิมพ์มากกว่า 100 องศาเซลเซียส รวมถึงผงวัสดุที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรฟุ้งกระจายได้ง่าย และมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ จึงมีเฉพาะเครื่อง SLS ระดับอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากตัวเครื่องแล้ว จะมีระบบเติมวัสดุ (Materials dispenser) และระบบทำความสะอาด (Cleaning) รวมอยู่กันด้วยเป็น 1 System

sls printing
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

วัสดุสำหรับเครื่อง SLS 3D Printer ส่วนใหญ่แต่ละเครื่องจะใช้เพียงชนิดเดียว ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนไปมา เนื่องจากทำความสะอาดยาก ใช้เวลานาน คือพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) หรือชื่อทางการค้าที่เข้าใจกันง่ายๆว่า ไนลอน (Nylon) จะมี 2 เกรดคือ Nylon 11 และ Nylon 12 ส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัว 12 เนื่องจากความแข็งแรงโดยรวมที่มากกว่า เหมาะกับการผลิตชิ้นส่วนใช้งานจริง บางผู้ผลิตมีการใช้ผง TPU เป็นวัสดุ ซึ่งจะให้สมบัติยืดหยุ่นสูงมาก แต่ไม่เป็นที่นิยม ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกทั้งหมด แนะนำ Nylon 12 เป็นวัสดุหลัก

ข้อดีของ SLS

  • ได้ชิ้นงานที่มีความแข็งแรงสูงมาก ทนความร้อน และใกล้เคียงกับชิ้นงานจากการผลิตปกติ
  • ผิวของชิ้นงานมีลักษณะเหมือนพ่นทราย ดังนั้นจึงมีลักษณะเฉพาะ ไม่เห็นเป็น layer
  • ม่ต้องใช้ Support ในการขึ้นรูป เนื่องจากตัววัสดุผงทำหน้าที่ในตัว
  • พิมพ์ชิ้นงานได้เต็มถาดทั้งความกว้าง ยาว และสูง

ข้อด้อยของ SLS

  • ต้นทุนสูงทั้งด้านวัสดุ เครื่องจักร ทักษะของแรงงานที่ใช้เครื่อง
  • ทำสีด้วยกระบวนการปกติยาก ต้องใช้การอบสี หรือพ่นสีเฉพาะตัวเพื่อให้สีซึมเข้าไปในเนื้อ
  • วัสดุผงที่ใช้แล้วสามารถรีไซเคิลได้เพียง 20-50% เท่านั้น ที่เหลือต้องทิ้งอย่างเดียว
  • มีความอันตรายสูง ถึงแม้เครื่องจะมีระบบการป้องกันอย่างดี แต่ตอนเปิดเครื่องและเติมวัสดุต้องใช้ความระมัด ระวัง พร้อมอุปกรณ์เซฟตี้อย่างดี
  • ถึงแม้จะขึ้นรูปได้อย่างรวดเร็ว แต่เวลาที่ใช้ในการอุ่นห้องพิมพ์ให้ร้อน และปล่อยให้เย็นตัวใช้เวลานาน

ตัวอย่างชิ้นงานจากเครื่อง SLS

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

การเลือกซื้อเครื่อง

สำหรับในไทยปัจจุบัน ผู้จำหน่ายเครื่อง SLS 3D Printer ส่วนใหญ่ ไม่มีองค์ความรู้และเทคนิคเกี่ยวกับตัวเครื่องมากเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่มากในบ้านเรา ดังนั้นคงต้องพึ่งพาวิศวกรฝ่ายเทคนิคจากบริษัทแม่โดยตรง รวมทั้งเครื่อง Desktop SLS 3D Printer ที่คาดว่าจะวางจำหน่ายกันหลายเจ้าในปี 2018 ก็พากันเลื่อน หรือไม่ได้ทำการตลาดมากนัก เนื่องจากปัญหาการพิมพ์ที่แก้ได้ยาก เนื่องจากการลดต้นทุนด้านเครื่องจักรและอะไหล่ เพื่อให้เข้าถึงคนทั่วไปมากขึ้น คาดการณ์ว่าราคาเครื่องที่พอจะซื้อหาได้จะเริ่มต้นที่ราวๆ 4 แสนบาท รวมระบบต่างๆจะอยู่ราวๆ 1 ล้านบาท ในขณะที่เครื่องจากจีนระดับอุตสาหกรรมเริ่มต้นราวๆ 5 ล้าน และเครื่องจากยุโรปราวๆ 8 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้นหากยังไม่มีงานในมือคง”ไม่คุ้มค่าในการลงทุน” สำหรับเทคโนโลยีนี้ยี่ห้อผู้นำตลาด SLS คือ EOS 3D System และProdways

Polyjet

Polyjet เป็นเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมากเทคโนโลยีหนึ่ง คิดค้นโดยบริษัทชื่อ Objet Geometries ซึ่งปัจจุบันผนวกรวมเข้ากับบริษัท Stratasys ในปี 2011 หลักการคือใช้หัว Inkjet Printer ขนาดเล็กมากๆ พ่นวัสดุการพิมพ์ที่คล้ายๆเรซิน ทีละชั้นพร้อมฉายแสง UV เพื่อให้คงรูปในทันที ดังนั้นความละเอียดจึงสูงมากมาก เริ่มต้นที่ 600 DPI หรือ 23 ไมครอนตามแกนระนาบ (ปกติความละเอียด 300 DPI ก็เพียงพอสำหรับการปริ้นภาพถ่ายขนาดใหญ่แบบมืออาชีพแล้ว) ในเครื่องระดับอุตสาหกรรมระดับสูง สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Digital Part ได้ โดยแต่ละส่วนของการพิมพ์สามารถกำหนด “สมบัติ” แข็งแรงหรืออ่อนนุ่มได้ รวมทั้ง “เฉดสี” ที่สามารถกำหนดได้เหมือนกำลังระบายสีในโปรแกรมคอมพิวเตอร์  สุดท้ายคือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เร็วที่สุดสำหรับการพิมพ์งานใหญ่ โดยชั้นหนึ่ง ใช้เวลาไม่เกิน 3 วินาที และไม่ต้องรอหรือพักให้วัสดุเซ็ทตัวด้วย สามารถพิมพ์ต่อเนื่องได้ทันที

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันวัสดุสำหรับเครื่อง Polyjet จาก Stratasys มีหลากหลายมากทั้งแข็งแรง อ่อนนิ่ม ใสหรือขุ่น ตามความต้องการ แต่พื้นฐานยังเป็นวัสดุในกลุ่ม Polymer หรือพลาสติกอยู่ ดังนั้นความแข็งแรงจึงแตกต่างจากโลหะหลายเท่า โดยรุ่น J750 ซึ่งเป็นเครื่องเรือธง สามารถผสมสีได้มากกว่า 5 แสนสี รวมทั้งพื้นผิวที่แตกต่างกัน ทั้งหลาย ขรุขระ โปร่งใส หรือทีบแสง ซึ่งเหมาะกับบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจำนวนมาก ต้องขึ้นงานต้นแบบตลอดเวลา

ข้อดีของ Polyjet

  • คุณภาพผิวสวยงาม เหมือนผ่านการฉีดขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์
  • มีวัสดุให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการ
  • ขึ้นรูปชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว พิมพ์เสร็จสามารถล้างวัสดุ support ออก และพร้อมใช้งานได้เลย
  • ปลอดภัยและสะอาดกว่าเทคโนโลยีแบบผง (SLS, Binder) และน้ำเรซิน SLA
  • สมบัติของวัสดุเท่ากันตลอดทั้งชิ้นงาน (Isotropic properties)

ข้อด้อยของ Polyjet

  • ต้นทุนสูงทั้งด้านวัสดุ เครื่องจักร ทักษะของแรงงานที่ใช้เครื่อง
  • หัวฉีดหากมีการเสียหาย หรือต้องซ่อมบำรุงจะมีราคาที่สูงมาก
  • เครื่องระดับล่าง วัสดุค่อนข้างมีจำกัด
  • ปัญหาการหดตัวของชิ้นงาน (warpage) ยังมีให้เห็นอยู่ ในงานขนาดใหญ่

ความแข็งแรงของชิ้นงานไม่ได้แตกต่างจากเครื่อง SLA หรือ SLS

ตัวอย่างชิ้นงานจากเครื่อง Polyjet

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

การเลือกซื้อเครื่อง

Polyjet เป็นเครื่องหนึ่งที่พิมพ์ได้ง่าย ใช้ประสบการณ์น้อย เหมาะกับบริษัทที่มีงานต้นแบบขึ้นรูปจำนวนมาก และต้องการคุณภาพสูงสุด เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ สำหรับในไทยควรซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการรับรองจากทาง Stratasys จะได้รับคำแนะนำด้านเทคนิค การใช้งาน และการซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง (ตัวแทนในไทยติดต่อ Applicad

Binder Jetting

           Binder Jet เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งของเครื่อง 3D Printer ที่มีความทันสมัยและซับซ้อนมากที่สุด คิดค้นโดยนักศึกษา MIT เมื่อปี 1993 และโดนซื้อลิขสิทธิ์ในการผลิตโดย Z-Corp ในปี 1995 (ปัจจุบันอยู่กับ 3D System) หลักการเป็นการรวมกันของหลายเทคโนโลยี ตั้งแต่วัสดุที่มีลักษณะเป็นผง (Powder) หัวฉีดแบบ Inkjet ที่บรรจุกาวประสาน (Binder) ไว้ โดยชุดหัวฉีดจะเคลื่อนที่เพื่อหยอดกาวประสานตามตำแหน่งต่างๆ ผงวัสดุที่ได้รับก็จะยึดติดเข้าด้วยกัน “โดยไม่ต้องใช้ความร้อน” ดังนั้นปัญหาเรื่องงานบิดเบี้ยว (Warpage) หรือการหดตัว (Shrinkage) จึงแทบจะไม่มี ความละเอียดขึ้นกับขนาดของหัวฉีดกาวประสาน ซึ่งอยู่ในระดับไมโครเมตร หลังการขึ้นรูปแล้วนำไปทำความสะอาดล้างผงแผ้งส่วนที่ไม่ได้ใช้ออก ก็จะได้ชิ้นงานทันที เช่น ผงยิบซัม ไนลอน หรือวัสดุบางกลุ่มที่ต้องนำไปเผาต่อเช่น ผงเซรามิกส์ (Ceramic) หรือผงโลหะ (Metal)

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

วัสดุสำหรับเทคโนโลยี Binder Jet นี้ มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น

  • ผงยิบซัม สำหรับขึ้นโมเดลต้นแบบ พร้อมลงสีขณะพิมพ์ ( 3D system ตระกูล Projet)
  • ผงไนลอน 12 สำหรับงานทางวิศวกรรม (HP Fusion Jet)
  • ผงเซรามิกส์ (ExOne, CeramoOne)
  • ผงโลหะ (Exone, HP Metal Jet)

ข้อดีของ Binder jetting

  • รวดเร็ว ความคลาดเคลื่อนต่ำ
  • มีวัสดุให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการ
  • สามารถพิมพ์ขึ้นรูปแบบสีได้เลย
  • สมบัติของวัสดุเท่ากันตลอดทั้งชิ้นงาน (Isotropic properties)

ข้อด้อยของ Binder jetting

  • ต้นทุนสูงทั้งด้านวัสดุ เครื่องจักร ทักษะของแรงงานที่ใช้เครื่อง
  • หัวฉีดหากมีการเสียหาย หรือต้องซ่อมบำรุงจะมีราคาที่สูงมาก
  • ในกรณีที่เป็นกลุ่มพอลิเมอร์ (พลาสติก) ความแข็งแรงไม่ได้แตกต่างกับเทคโนโลยีอื่นๆมาก
  • เนื่องจากวัสดุหลักเป็นผง จึงต้องระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ
  • ชนิดของวัสดุ (พลาสติก โลหะ เซรามิกส์) ขึ้นอยู่กับเครื่อง ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

ตัวอย่างชิ้นงานจากเครื่อง Binder Jetting

บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร
บทความแนะนำเทคโนโลยี 3D Printing มีกี่แบบ อะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

การเลือกซื้อเครื่อง

 สำหรับในไทย ก็เหมือนเครื่อง Polyjet ควรซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิตโดยตรงจะเหมาะสมมากที่สุด แต่ก็ต้องตรวจสอบเรื่องความรู้ทางเทคนิคการพิมพ์และการซ่อมบำรุงด้วย หรืออีก 1-2 ปี เทคโนโลยีจะมีราคาที่ถูกลงมาก เนื่องจากบริษัทใหม่ๆ จากจีนและไตหวัน มีเทคโนโลยีพอที่จะผลิตเครื่องของตัวเองได้แล้ว

Metal Printing

การใช้เครื่อง 3D Printer ผลิตชิ้นงานโลหะ เป็นที่สนใจมากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นยอดปิรามิดของเทคโนโลยีนี้ได้เลย ดังนั้นหลายบริษัทจึงนำเสนอวิธีการใหม่ ที่สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โลหะแบบ 3D ได้โดยตรงจากแบบ เนื่องจากกระบวนการขึ้นรูปโลหะแบบปกติ มีต้นทุนที่สูงมากๆ สูงกว่าพลาสติกหลายเท่าตัว ทั้งเครื่องจักรที่ใช้ พลังงาน ทักษะของช่าง การเก็บและตกแต่งงาน ดังนั้นหากมีเครื่องที่สามารถเนรมิตชิ้นงานออกมาได้เลย ย่อมเป็นที่สนใจมาก

ปัจจุบันการขึ้นรูปด้วยเครื่อง 3D Printer มีด้วยกัน 2 แบบ 

  • Single Step หรือขั้นเดียวได้ชิ้นงานเลย เป็นเทคโนโลยีที่เหมือนกับ SLS แต่เปลี่ยนเป็นผงโลหะชนิดต่างๆแทน กำลังของเลเซอร์ก็มากกว่ากันเป็น 10-100 เท่า ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะขึ้นรูป ราคาของเครื่องแบบนี้จะสูงมาก โครงสร้างต้องแข็งแรง มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย
  • Two Step แบบ 2 ขั้นจะขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็น Green Product ออกมาก่อน จากนั้นนำชิ้นงานไปเข้าเตาเผาเพื่อละลายตัว Binder หรือ Coupling agent ออกมาอีกที ซึ่งการขึ้นรูป Green Product นั้นปัจจุบัน มีทั้งเทคโนโลยีแบบ FDM (Markforge, Desktop Metal) และเทคโนโลยีแบบ Binder (ExOne, HP) ซึ่งในกลุ่มนี้โดยรวมจะมีราคาเครื่องที่ถูกกว่าแบบที่ 1 แต่ก็ต้องเจอปัญหาการหดตัวหลังเข้าเตาเผา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ซอฟแวร์ช่วยในการคำนวนก่อนพิมพ์

ความคุ้มค่าในการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยเครื่อง 3D Printer

การซื้อเครื่อง 3D Printer โลหะมาเพื่อขึ้นรูปในปัจจุบัน หากไม่ใช่อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ทันตกรรม หรืออากาศยานต์ ที่มีมูลค่าสูงมาก ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะคุ้มการลงทุน เนื่องจากปัจจุบันเครื่อง CNC พัฒนาไปมาก ทั้งความเร็ว ความสามารถในการทำงานที่ Free form มากขึ้น ดังนั้นปัจจุบันการใช้งานจะอยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้

  1. Implant การปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ หรือช่วยในการสมานกันของกระดูก
  2. รากฟันเทียม ที่เป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดไม่เกินเล็บคน แต่ราคาหลายหมื่นบาท
  3. ใบพัด เทอร์ไบน์ ชิ้นส่วนเครื่องบิน ที่ผลิตมาน้อย ไม่มีการสต๊อก ราคาหลายแสนบาท แม้จะชิ้นเล็กๆแค่ฝ่ามือ

การเลือกซื้อเครื่อง

ปัจจุบันผู้จำหน่ายเครื่อง 3D Printer ในไทย ยังมีประสบการณ์ด้านนี้น้อยมากๆ แนะนำให้ซื้อจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงหรือมีสาขาในไทย เนื่องจากจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งเชิงเทคนิค และการใช้งานจริง หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมแนะนำให้ติดต่อกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เพื่อขอข้อมูลได้เช่นเดียวกัน (เวบไซต์ สวทช)

แหล่งอ้างอิง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก