Search
Close this search box.

การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer

เครื่อง 3D Printer สามารถปรับค่าการพิมพ์ได้หลากหลายทั้งปัจจัยที่มาจากวัสดุ เช่น อุณหภูมิหัวพิมพ์  อุณหภูมิฐาน หรือความเร็วในการพิมพ์ เป้นต้น แต่ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความแข็งแรงนอกจากเรื่องชนิดของวัสดุแล้ว คือปริมาณเนื้อพลาสติกที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งคือค่า %infill ที่เราต้องป้อนค่าเข้าไปในโปรแกรม Slicer นั่นเอง

ความรู้พื้นฐานของ %infill ในการใช้เครื่อง 3D Printer

ในการใช้เครื่อง 3D Printer ค่า% Infill คือปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ ตัวแปรดังกล่าวคือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อพลาสติกที่เติมลงในช่องว่างเมื่อเราพิมพ์โดย 3D Printer จากแบบ 3 มิติ ที่เราสร้างขึ้น สามารถปรับได้ค่าตั้งแต่ 0% คือชิ้นงานกลวงจนไปถึง 100% คือชิ้นงานตัน ปริมาณที่แตกต่างกันมีผลต่อ ความแข็งแรงของชิ้นงานที่พิมพ์ เวลาและปริมาณเส้นพลาสติกที่ใช้ รวมไปถึงค่าพลังงานที่เราต้องใช้ในการทำงาน

infill
การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer

 นอกจาก %infill ที่มีความสำคัญแล้ว ในโปรแกรมที่ใช้ในการ slice แบบจำลอง 3 มิติ ส่วนใหญ่ยังสามารถปรับรูปแบบของ infill (pattern) ได้ ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของชิ้นงานหลังพิมพ์ทั้งหมด

 คำถามของคนที่ใช้เครื่อง 3D Printer คือ เราควรใช้ปริมาณ Infill เท่าไหร่ และรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมมากที่สุด ทางเราจึงได้ทดสอบสมบัติความแข็งแรงโดยใช้มาตรฐานสากล คือ ASTM D638 ซึ่งใช้สำหรับทดสอบความต้านทานต่อแรงดึงของชิ้นงานพลาสติกรูปทรงคล้ายกระดูกสุนัข (dog bone)


  • วัสดุทดสอบเป็น PLA

  • พิมพ์ขึ้นรูปชิ้นงานทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D639

  • ปริมาณ infill ที่ใช้ทดสอบ 20-100%

  • infill pattern ที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ Grid, Rectangular 45, Honeycomb, Moroccan stars และ Catfill

  • ใช้โปรแกรม Simplify 3D ในการ slice
การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer
การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer
การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer
การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer

ผลการทดสอบพบว่าที่ปริมาณ infill 20-40% มีความแตกต่างกันน้อยกว่า 5% ซึ่งเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้แล้ว คงไม่คุ้มค่าในการพิมพ์ แต่เมื่อเพิ่ม infill ไปที่ 60-80% ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งคนที่ต้องการนำชิ้นงานจากเครื่อง 3D Printer ไปใช้งานวรที่จะใช้ค่า infill ในช่วงนี้ เพื่อความคุ้มค่าสูงสุด เนื่องจากเมื่อเพิ่ม infill เป็น 100% หรือชิ้นงานตัน ความแข็งแรงไม่ได้เพิ่มขึ้นมากแล้ว แต่เวลาที่ใช้ เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เลยทีเดียว  รวมไปถึงเนื้อวัสดุที่ต้องใช้เพิ่มขึ้นถึง 20% จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้งาน

การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer

ผลการทดสอบรูปแบบของ infill พบว่าแบบ Grid ให้ความแข็งแรงที่มากที่สุดตามด้วยแบบ Honeycomp และ Rectangular 45 ตามลำดับ

 
การปรับค่า Infill สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer

จากผลทดสอบระยะที่ชิ้นงานสามารถยืดตัวได้หรือ Elongation พบว่าแบบ Rectangular 45 สามารถยืดตัวได้ดีที่สุด ดังนั้นควรพิจารณารูปแบบของ infill เพื่อนำไปใช้งานให้ดี ซึ่งค่าปกติของโปรแกรม slicer ทุกตัวเป็นแบบ  Rectangular 45 อยู่แล้ว ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานอยู่แล้ว เราจึงไม่จำเป็นต้องปรับค่าในส่วนนี้เลยก็ได้

ที่มาและแหล่งอ้างอิง: 3Dprinting.com

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก