เทคโนโลยี Additive Manufacturing จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ในอีกไม่กี่ปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการผลิตที่จะนำหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ หรือการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ที่จะเข้ามาแทนที่การผลิตแบบเดิม รวมถึงคนทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก ดังนั้นผลิตภัณฑ์สมัยใหม่จะผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างทันท่วงที โดยไม่ได้ใช้เวลาและแรงงานคนมากเหมือนในอดีต ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้อาชีพที่มีอยู่เดิมมีความต้องการลดลง ในขณะที่สายอาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้อง ย่อมมีความต้องการมากขึ้น บทความนี้จะแนะนำอาชีพในกลุ่มการผลิตและวิศวกรรม พร้อมทักษะที่จำเป็น อ้างอิงจากการรับสมัครงานของบริษัทชั้นนำทั่วโลก
หมายเหตุ: ฐานเงินเดือนที่ระบุในบทความนี้ไม่ใช่ฐานเงินเดือนในประเทศไทย
1. Production Engineer
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบหลักอยู่ที่วางแผนการผลิตให้ทันตามกำหนด โดยต้องมีความรู้ทั้งเครื่อง CNC เครื่องจักรในการผลิตทั่วไป รวมถึงเครื่อง 3D Printer ในระดับสูง โดยเฉพาะวัสดุโลหะ หน้าที่รองคือปรับปรุงกระบวนการผลิตให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ลดปัญหาของเสียจากเครื่อง 3D Printer รวมถึงมีความร้อนด้านการออกแบบ (GD&T)
- ความรู้ด้าน CAD/CAM เครื่องจักรในการผลิต
- ซอฟแวร์วิศวกรรม NX Cartia Pro-Engineer
- ความรู้ด้าน GD&T
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี Additive Manufacturing
- ประสบการณ์ด้านการวางแผนและปรับปรุงการผลิต (sig sigma, Black belt, Lean)
ฐานเงินเดือน 48,000-79,000 USD/ปี (ข้อมูลจาก Glassdoor กับตำแหน่งในบริษัท Boeing)
2. Design Engineer
ดูแลในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดยเครื่อง 3D Printer โดยเฉพาะ หรือมีทักษะการ Optimization จากแบบเดิมให้เหมาะกับการผลิตสมัยใหม่ ดังนั้นนอกจากมีทักษะด้านการออกแบบแล้ว หากมีประสบการณ์ด้านการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางวิศวกรรม (Computer Aided Engineering, CAE) ด้วยจะ เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น
- ซอฟแวร์ CAD/CAM ตามที่บริษัทใช้
- ความรู้ดานการดีไซน์เชิงวิศวกรรม
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AM
- Product Benchmark Report
ฐานเงินเดือน 3,000-5,000 SGD/ปี (Jobstreet)

3. Application Engineer
หน้าที่คล้าย Sales Engineer แต่ไม่ได้ดูแลด้านการขายโดยตรง ความรับผิดชอบหลักคือการนำเสนอเครื่องจักร เทคโนโลยี หรือกระบวนการที่เหมาะสมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หรือเรียกได้ว่าเป็น Technical Engineer ที่ประกบไปกับฝ่ายขาย รวมถึงแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไป ทั้งนี้เทคโนโลยี AM เป็นเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญในส่วนนี้โดยเฉพาะในไทยยังน้อยอยู่มาก ซึ่งหากใครสนใจแนะนำว่าเน้นไปที่การผลิตระดับสูง เช่น โลหะ เซรามิกส์ วัสดุการแพทย์ไปเลย เพราะวัสดุทั่วๆไปสามารถหาข้อมูลได้ตามอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี Additive Manufacturing ทั้งด้านเครื่องและวัสดุ
- ความรู้ด้าน CAD/CAM เครื่องจักรในการผลิต
- นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า
- สนับสนุนฝ่ายขาย โดยการอบรม ให้ความรู้ สอนการใช้งานให้กับลูกค้า
ฐานเงินเดือน 59,000-103,000 USD/ปี (อ้างอิงจาก Glassdoor กับตำแหน่งในบริษัท Fisher Unitech)

4. Research Engineer
ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปเพียงใด แต่ทุกบริษัทก็ยังต้องพัฒนาไปข้างหน้าเสมอ แม้กระทั่งบริษัทอันดับ 1 อย่าง Stratasys ก็ต้องการ R&D มาพัฒนาระบบ GrabCAD Print platform ของตัวเอง ให้กลายเป็นเครื่องในการวางแผนการผลิต และการจัดการให้กับลูกค้าที่ซื้อเครื่องไป ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้ด้านเครื่อง ดีไซน์ ยังต้องมีความรู้ด้านกลศาสตร์ และการใช้โปรแกรมทางวิศวกรรมวิเคราะห์อีกด้วย ส่วนบริษัทอื่นๆ หน้าที่นี้คงดูเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการออกแบบใหม่ๆ บางตำแหน่งอาจจะต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์เป็นหลักก็เป็นไปได้ โดยทักษะด้านล่างอ้างอิงจากของ Stratasys
- ความรู้ด้าน Finite Element Analysis (FEA) หรือ CAE นั่นเอง เน้นไปที่ด้านโครงสร้างและความร้อน
- ความรู้ด้านโปรแกรม CAD เช่น Solidworks NX ANSYS
- ความรู้ด้าน Shape Otimization
ฐานเงินเดือน 63,000-105,000 USD/ปี (อ้างอิงจาก Glassdoor กับตำแหน่งในบริษัท Stratasys)

5. AM Construction Engineer
ที่แยกออกมาเนื่องจากในอนาคต อาคารบ้านเรือนขนาดเล็ก โดยเฉพาะประเทศในเขตตะวันตกที่ค่าแรงสูงมาก แรงงานน้อย การก่อสร้างมีแนวโน้มที่จะใช้เครื่องปริ้นอาคารแบบเคลื่อนที่มากขึ้น ดังนั้นตำแหน่งนี้ก็ต้องทำหน้าที่เป็น Project Manager รวมไปถึง Field Man ทำหน้าที่สำรวจสถานที่ โครงสร้างฐาน เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะเอาเครื่องลงไปหน้างาน
- ความรู้ด้านการก่อสร้าง โยธา วิเคราะห์โครงสร้าง
- การบริหารโครงการ ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี 3D Printing อาคาร และข้อจำกัด
ฐานเงินเดือน ไม่มีข้อมูล

สรุป
ตำแหน่งวิศวกรด้านนี้ในประเทศไทยคงยังอยู่ในส่วนของตำแหน่งทั่วไป ไม่ได้เฉพาะเจาะจงด้าน Additive Manufacturing โดยตรง เพราะกระบวนการผลิตบ้านเรายังใช้เครื่องจักรทั่วไป เน้นการผลิตจำนวนมาก ในขณะที่ต่างประเทศเน้นไปที่ชิ้นส่วนน้ำหนักเบา มีการดีไซน์ที่แตกต่างจากเดิม ส่วนหากมีข้อมูลเพิ่มเติมด้านตำแหน่งจะมาอีพเดดกันอีกที
บทความที่น่าสนใจ