ASA คือวัสดุอะไร
สำหรับวงการ 3D Printer จะคุ้นกับวัสดุทั่วไปอย่าง PLA ABS และ PETG ส่วนวิศวกรรมจะเป็น PC Nylon TPU พวกนี้ในขณะที่ ASA พึ่งจะเริ่มได้ยินชื่อ และจำหน่าย 1-2 ปีที่ผ่านมา บทความนี้จะช่วยแนะนำว่าเมื่อไหร่ หรือการใช้งานแบบใดเหมาะที่จะใช้วัสดุนี้
ASA ย่อมาจาก Acrylonitrile Styrene Acrylate ซึ่งใกล้เคียงกับตัว ABS ที่ย่อมาจาก Acrylonitrile Butadiene Styrene ดังนั้นจากที่เห็นส่วนประกอบส่วนที่ต่างกันมีแค่ Acrylate กับ Butadiene ทำให้สมบัติรวมๆ ทางกลเลยใกล้เคียงกันมาก โดยตัว ASA อาจจะแข็งกว่าเล็กน้อย ในขณะที่ ABS จะรับแรงดัดได้ดีกว่า แต่จุดเด่นเลยคือการลบข้อด้อยของ ABS ที่ไม่ทนแดด ทนฝน หากนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใช้งานจริงกลางแจ้ง ตัววัสดุจะเริ่มกรอบและแตกหัก เสียหายภายในไม่กี่เดือน ในขณะที่ ASA สามารถใช้งานได้ โดยไม่มีผลต่อความแข็งแรง

การประยุกต์ใช้งานของ ASA มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ฝาครอบกระจก ไฟหน้า กระจังหน้า ชิ้นส่วนรถจักรยานรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แผงไฟฟ้า ข้อต่อต่างๆ บล็อกขั้วปลายสายไฟ ปุ่มบนเครื่องสำหรับทำอาหาร อุปกรณ์สูญญากาศ แผงควบคุมและเครื่องใช้ในอาคาร สุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์สนามหญ้าและสวนอุปกรณ์กีฬา หมวกนิรภัย แผ่นระบายอากาศภายนอก และอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

การนำ ASA Filament ไปใช้งาน
ASA (Acrylonitrile Styrene Acrylate) เป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกและแก้ไขข้อบกพร่องสำหรับ ABS (Acrylonitrile-Butadiene Styrene) ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือ ความต้านทานต่อรังสี UV และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร หลังคาอาคารที่พักอาศัย เฟอร์นิเจอร์ คุณสมบัติเชิงกลและความต้านทานต่อรังสี UV ของ ASA ทำให้เป็นวัสดุชนิดพิเศษที่จะใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ระบบ FDM เป็นหลักในการขึ้นชิ้นงาน
ASA จัดว่าอยู่ในมาตรฐานเดียวกับ ABS ดังนั้นหากใครที่เคยใช้พลาสติก ABS แล้วอยากเป็นมาใช้ ASA ถือว่าคุ้มค่ากับการใช้งานกลางแจ้งในระยะยาว ด้วยความแข็งแกร่งของวัสดุและการพิมพ์ 3 มิติที่ใช้เวลาอันสั้นในการผลิตผลิตภัณฑ์
ข้อดี
- ทนต่อแสง UV แสงแดดดีมาก โดยสีไม่เหลือง
- ทนต่อการขัดถู ดัดงอ กระแทกดี
- ทนอุณหภูมิสูง ใช้งานทั่วๆไปได้สบาย
- ราคามีแนวโน้มถูกลงจนใกล้เคียง ABS
ข้อเสีย
- มีกลิ่นที่อันตราย ฝุ่นผงขนาดเล็ก ไม่ต่างจาก ABS
- ราคายังสูง มีตัวเลือกน้อย
- ใช้อุณหภูมิสูงกว่า ABS เล็กน้อย เพื่อให้การยึดเกาะระหว่างชั้นดีขึ้น
ในอนาคตการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการใช้งานมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่ความต้านทานต่อรังสียูวีเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ใช้เคลือบซ้ำแล้ว ทำให้ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในอุตสาหกรรม


การตั้งค่าสำหรับเครื่อง 3D Printer
ASA สามารถพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติในราคาประหยัด ปัจจุบันเส้นพลาสติก ASA นั้นมีให้สำหรับเครื่องพิมพ์ระบบ FDM ในชนิดต่างๆ และ ASA ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะกับ 3D Printer และสภาพการใช้งานกลางแจ้ง ซึ่งการตั้งค่าสำหรับเส้นพลาสติก ASA นั้นจะใช้อุณหภูมิสูงไม่มากนัก แม้ว่า ASA Filament จะมีหลายแบรด์ที่ออกมาจำหน่าย แต่การตั้งค่าโดยรวมทั้งหัวฉีดและฐานพิมพ์ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ทำให้เส้นพลาสติกนี้สามารถใช้กับเครื่องการพิมพ์ 3 มิติได้หลากหลายเช่นกัน



แบรนด์ที่จำหน่าย ASA Filament มีมากมาย ได้แก่
- 3D4MAKERS
- 3DXMAX®
- eSun®
- AzureFilm
- MakeShaper
- Magma
- Hello3d
นอกจากนี้ ASA ยังผสมอยู่ในอันอื่น หรือทำออกมาในลักษณะวัสดุคอมโพสิต เช่น 3DXMAX® PC/ASA เป็นต้น เมื่อช่วงปีที่ผ่านมาทาง Stratasys ได้ทำการทดสอบ ASA filament เป็นวัสดุพอลิเมอร์อย่างหนึ่งในวัสดุสำหรับใช้ในการพิมพ์ 3 มิติแบบ FDM ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นและความต้านทานต่อรังสี UV สูง ชิ้นส่วนที่ผลิตจากวัสดุนี้จึงสามารถติดตั้งในยานพาหนะหรือสิ่งอำนวยความสะดวกกลางแจ้งทุกประเภทนั่นเอง
ABS vs ASA vs PETG
วัสดุเทอร์โมพลาสติกยอดนิยม 3 ชนิดที่ใช้สำหรับการพิมพ์แบบ FDM ต้องยกให้กับ ASA, PETG และ ABS โดย ASA กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเปรียบเทียบ ASA, ABS และ PETG นั้นมีทั้งความแตกต่างและความคล้ายคลึงกัน ดังแสดงในตาราง

ที่มา;
https://filament2print.com/gb/blog/52_petg-abs-asa.html
https://amfg.ai/2019/02/12/fdm-3d-printing-asa-petg-pc-filaments-compared/

ที่มา; https://filament2print.com/gb/blog/52_petg-abs-asa.html