การหาเวลาฉายแสง UV สำหรับเครื่อง DLP 3D Printer
ปัจจุบันเครื่อง DLP 3D Printer ที่ใช้หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงและใช้จอ LCD สำหรับฉายภาพ เป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้ใช้เครื่องเริ่มต้น เนื่องจากมีราคาลดต่ำลงกว่าเมื่อหลายปีก่อนหลายเท่า รวมไปถึงเรซินนานาชนิด หลากหลายผู้ผลิต ได้ทำตลาดในส่วนนี้ บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้เครื่องได้ calibrate resin หรือ เวลาในการฉายแสงให้เหมาะสมมากที่สุด เพื่อให้ชิ้นงานที่ได้มีรายละเอียด ความชัด และขนาด ตามแบบ 3D Model ที่ได้ออกแบบไว้
อุปกรณ์ที่ใช้ในบทความนี้ resin calibration
⇒ Wanhao Dupplicator 7+
⇒ UV LED 405 nm 30W
⇒ Creation workshop 1.2.4
⇒ Sync ultra clear resin

1. Resin calibration ขั้นที่ 1
สำหรับคนที่ใช้เครื่อง DLP 3D Printer ที่ไม่มีหน้าจอสั่งงานด้านหน้า เช่น Wanhao D7 V1.1-1.5 KLD หรือรุ่นอื่นๆ ให้เสียบสาย HDMI USB ระหว่างเครื่อง Printer และ PC ให้เรียบร้อย จากนั้นเปิดโปรแกรม Creation Workshop ขึ้นมา

2. Resin calibration ขั้นที่ 2
ไปที่คำสั่งเซฟไฟล์ตามภาพ ตั้งชื่อว่า “Calibration” จากนั้นกด save

3. Resin calibration ขั้นที่ 3
ไปที่คำสั่ง Configure และ Configure slicing profile เลือกความสูงชั้น (layer thickness) ที่ต้องการหาค่าเวลาฉายแสงปกติ
Wanhao Duplicator 7 จะอยู่ที่ 25 50 และ 100 ไมครอน ในตัวอย่างใช้ 50 ไมครอน (0.050)

4. Resin calibration ขั้นที่ 4
จากนั้นไปที่คำสั่ง Calibrate ด้านล่าง เป็นการกำหนดระยะเวลาการฉายน้อย จนถึงมากสุด โดยตัวอย่างคือ 5-14 วินาที โดยสามารถเซ็ทขั้นการเพิ่มได้ที่ Exposure step จากนั้นกด Generate จะเป็นการเซฟข้อมูลลงไฟล์ .cws ที่ได้เซพไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
สำหรับคนที่ใช้เครื่อง DLP 3D Printer ที่เชื่อมต่อตรงระหว่าง PC และเครื่อง สามารถเทเรซินแล้วสั่งพิมพ์ได้เลย
สำหรับคนที่ใช้เครื่อง D7+ ก็เซพไฟล์ CWS สั่งพิมพ์หน้าเครื่องอีกที


5. Resin calibration ขั้นที่ 5
หลังพิมพ์ชิ้นงาน Calibrate เสร็จ ยังไม่ต้องแกะออกจากฐานพิมพ์ เพราะชิ้นงานบางมาก อาจจะมีการแตกหัก หรือเสียหายได้ ให้ล้างด้วย IPA หรือน้ำเปล่าตามชนิดของเรซิน จากนั้นรอให้แห้ง หรือใช้ blower เป่าช่วยอีกทางหนึ่ง

การวิเคราะห์ชิ้นงานส่วนที่มีเสาเล็กขึ้นที่มุม คือส่วนที่ใช้เวลาฉายแสงนานมากที่สุด จุดที่ีเยื้องขาวงกันคือใช้เวลาน้อยที่สุด โดยเวลาที่เหมาะสมพิจารณาจาก
- ต้องมีส่วนประกอบครบถ้วนทั้งตัวฐาน เสารองรับ และส่วนบน
- ส่วนบนต้องมีความแข็งแรง ไม่อ่อนย้อยลงมา ถ้ามีอะไรกด ต้องไม่ยุบหรือขาดง่าย
- ส่วนขอบด้านในเสาต้องตั้งฉาก ไม่เป็นมุมโค้งเนื่องจากการฉายแสงนานเกินไป (ดูภาพประกอบจาก slice view)
ตัวอย่างชิ้นงานที่ตั้งเวลาการฉายแสงน้อยเกินไป ถึงแม้จะฉายแสงนานที่สุด ก็ได้ชิ้นงานที่ไม่สมบูรณ์


6. Resin calibration ขั้นที่ 6
ปรับเปลี่ยนความสูงของชั้น slice thickness ให้ครบทั้ง 3 ความละเอียดได้แก่ 25 (0.025) 50(0.050) และ 100 ไมครอน (0.100) เพื่อเก็บเป็นข้อมูล
จากประสบการณ์แต่ละเครื่อง แต่ละรุ่นมีพลังงานการฉายแสงที่แตกต่างกัน ดังนั้นการ Calibrate ให้เหมาะสม มีความสำคัญอย่างยิ่ง
หวังว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้ผู้ใช้เรซิน 3D Printer ได้การตั้งค่าที่เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น

ผลทดสอบจากเครื่อง Wanhao D7 (บน) V1.3 (ล่าง) V1.4