การประมาณราคาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่ทำให้ทราบถึงราคาประเมินโดยคร่าวๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการผลิต และปรับแก้ต่างๆ อาศัยหลักการการคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่าแรง ค่าเครื่องจักร ค่าดำเนินการ และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งหมด อีกทั้งประสบการณ์ในสายงานนนั้นๆ ก็เป็นส่วนประกอบที่ดีสำหรับใช้ในการประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะผิดพลาดไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 10 % อย่างไรก็ตามการประมาณราคา Cost Estimate 3D Printing จะทำให้ทราบราคาที่แท้จริงได้อย่างแน่นอน สามารถประเมินราคาได้ทันที หากมีไฟล์ .STL ที่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นการประเมินค่าใช้จ่ายจึงต้องมีระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน ราคาที่เป็นปัจจุบัน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในงานนี้ด้วย
1. Material type
การคำนวณต้นทุนการพิมพ์ 3 มิตินั้นสำคัญมากสำหรับธุรกิจเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เนื่องจากวัสดุแต่ละชนิดจะใช้ช่วงของพารามิเตอร์เพื่อการพิมพ์แบบ 3 มิติที่แตกต่างกัน โดยมี Cost Estimate 3D Printing ในการคำนวณราคาที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตและผลกำไรที่ได้
ยกตัวอย่างเช่น Cost Estimate 3D Printing โดยใช้วัสดุเป็น PETG ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.75 มิลลิเมตร ราคา 1100 บาท, ขนาดบรรจุต่อม้วน 1 กิโลกรัม, ชิ้นงานใช้วัสดุในการขึ้นรูปจำนวน 400 กรัม ดังนั้นต้นทุนวัสดุงานพิมพ์ของชิ้นงานนี้คือ 440 บาท



2. Machines and Technology
เครื่องพิมพ์ 3 มิติมีหลายเทคโนโลยีในการพิมพ์ เช่น FDM, SLA, SLS เป็นต้น วิธีการบำรุงรักษาจึงแตกต่างกัน ส่งผลถึงค่าเสื่อมราคาเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นๆ เช่นกัน จึงต้องนำมาคิดเป็นเงินทุนภายในที่สำคัญประเภทหนึ่ง เพราะเครื่องจักรทุกประเภทต้องมีการสึกหรอตามการใช้งานจริง และตามระยะเวลาที่ผ่านไป ดังนั้นการวิเคราะห์ค่าเสื่อมราคานั้น ถือว่าเป็นต้นทุนพื้นฐานสำหรับ Cost Estimate 3D Printing เนื่องจากค่าเสื่อมราคามักเป็นค่าใช้จ่ายที่มีผลต่อกำไรค่อนข้างมาก
- Phrozen Transform เครื่อง LCD 3D Printer ราคา 72,000 บาท
- อายุการใช้งาน 365 วัน



3. Print Time
พารามิเตอร์อีกประการหนึ่งของ Cost Estimate 3D Printing ที่มีบทบาทสำคัญในการคำนวณราคาของการพิมพ์ 3 มิติก็คือระยะเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติจะเรียกเก็บเงินจำนวนหนึ่งต่อชั่วโมงที่เครื่องพิมพ์ใช้งานอยู่ เพื่อนำมาคำนวณรวมเป็นการประเมินค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ให้บริการธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติและผู้ผลิตสินค้า แต่ละแห่งจะกำหนดต้นทุนรายชั่วโมงของตัวเอง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ต้องนำมาประกอบกัน เช่น กระบวนการ, ความยากหรือง่ายของวัสดุในการขึ้นรูป เป็นต้น


4. Post-Processing
ชิ้นงานที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยการพิมพ์ 3 มิติแต่ละครั้งต้องมีการขัด ตกแต่ง หรือลงสีชิ้นงานภายหลัง Cost Estimate 3D Printing จึงต้องคิดค่าใช้จ่ายสำหรับขั้นตอน Post-Processing เข้าไปด้วย เนื่องจากเป็นการใช้แรงงานคน ประสบการณ์ และความชำนาญของแต่ละบุคคล


6. Advanced Parameters

