ความต้องการของ Dental 3D Printer
สำหรับกลุ่มแลปทันตกรรมที่ต้องทำงานขึ้นรูปเกี่ยวกับฟันหรือส่วนอื่นๆของคนไข้ที่มีรูปร่าง ความซับซ้อน แตกต่างกันออกในแต่ละคน ดังนั้นเครื่องมือที่จะเห็นเป็นส่วนใหญ่คือ 3D Scanner 3D Printer และ CNC เพื่อผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆไปใช้งาน ในแลปขนาดใหญ่วันหนึ่งอาจจะต้องปริ้นหรือผลิตชิ้นงาน หลักร้อย หลักพันเฉพาะตลาดในประเทศ ซึ่งหากมีตลาดต่างประเทศก็ต้องเพิ่มเครื่องจักร เพิ่มคน เพื่อให้ทันกับความต้องการ ซึ่งปัจจุบันเครื่อง 3D Printer รุ่นใหม่มีราคาถูกลงมาก อัตราการผลิตสูง และความแม่นยำยอมรับได้
จึงเป็นตัวเลือกที่นาสนใจ โดยเฉพาะเครื่องแบบ MSLA ที่รองรับเรซินแบบ Opensource ใช้แบรนด์ดังๆอย่าง Nextdent DETAX ที่มีการรับรอง biocompatible ดังนั้นบทความนี้จะสรุปข้อดี-ข้อด้อย ที่ทำไม Phrozen Sonic จึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสุดในปัจจุบัน เหมาะกับแลปเริ่มต้นจนไปถึงขนาดกลางที่ต้องการเครื่องที่ราคาเหมาะสมกับประสิทธิภาพ
Phrozen Sonic Technical Data

1. ความเร็วและความแม่นยำของ Dental 3D Printer
โดยปกติ Sonic ใช้เวลาในการพิมพ์ 1-2 วินาที/ชั้น สำหรับเรซินต้นแบบทั่วๆไป ในขณะที่เรซินกลุ่มทันตกรรม เช่น Base Model จาก Nexntdent หรือ Teeth model จากจีน เรซินในกลุ่มนี้จะใช้เวลาราวๆ 3.5 วินาที/ชั้น คราวนี้ลองมาดูการเปรียบเทียบระหว่างเทคโนโลยี MSLA vs SLA กันว่าการผลิตแบบฟันที่สแกนมา 5 ชิ้น แต่ละเทคโนโลยีใช้เวลาเท่าไหร่
งานกลุ่มทันตกรรมที่มี Pattern การวางลักษณะที่เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิดฉายภาพ (image projection) จะได้เปรียบอยู่แล้ว และหากมีจำนวนมากขึ้น จะเห็นความต่างด้านอัตราการผลิตอย่างชัดเจน
ด้านความแม่นยำโดยปกติเครื่องชนิด LCD 3D Printer นั้น มีการบิดเบี้ยวของภาพ หรือขนาดที่ผิดเพี้ยนต่ำอยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยการตั้งค่าบ่อย ส่วนที่ต้องทำตอนแรกคือหา % การหดตัวที่เหมาะสมสำหรับเรซินนั้น เพื่อให้งานที่พิมพ์มาใกล้เคียงกับขนาดที่ต้องการมากที่สุด
ผลิตเร็ว = อัตราการผลิตสูง = โอกาสสร้างรายได้ที่มากขึ้น
2. ตัวเลือกของวัสดุที่ใช้งานกลุ่มทันตกรรม
ถึงแม้ว่า Phrozen จะไม่ใช่ผู้ผลิตเครื่องและเรซินในกลุ่มทันตกรรมโดยตรง แต่ด้วยความนิยมของเครื่องที่จำหน่ายทั่วโลกผ่าน Kickstarter Online หรือผ่าน Distributor ทำให้มีการนำไปใช้ในหลากหลายสายงาน โดย Dental Lab ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นำไปใช้งาน ดังนั้นจึงมีการทดลองใช้งานกับเรซินแบรนด์เนมหลากหลาย โดยเฉพาะ Nextdent ที่เป็นผู้นำตลาดด้านนี้จากเนเธอแลนด์ (ปัจจุบัน 3DSystem ถือหุ้นใหญ่)
ปัจจุบันเรซินกลุ่มทันตกรรมที่มีการทดลองใช้แล้วคือ Nextdent, DETAX, HARZ lab,Raydent ยังไม่รวมเรซินจากจีนและเกาหลีใต้ที่มักใช้กันในประเทศ โดยไม่ได้มีการลงข้อมูลไว้
ด้วยเรซินที่มีให้เลือกใช้หลากหลาย ดังนั้นจึงครอบคลุมทุกการใช้งานในแลปไม่ว่าจะเป็นงานโมเดล Ortho Crown Surgical หรือแม้กระทั่งงานที่ต้องไปผ่านการหล่อโลหะต่อก็เลือกใช้เรซินเกรดทันตกรรมแบบหล่อโดยเฉพาะ หรือเรซินหล่อจิวเวรี่ก็ได้

วัสดุหลากหลาย = ตอบโจทย์การใช้งาน = ธุรกิจขยายตัวได้
3. ราคาเครื่องและการซ่อมบำรุง
ปัจจุบัน Retail Price ของ Phrozen Sonic อยู่ที่ 1,699 USD ในขณะที่ Nextdent 5100 อยู่ที่ 10,000 USD ต่างกันเกือบ 6 เท่า ไม่รวมรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆที่จะตามมา หากพิจารณาแล้วทาง Nextdent ดีกว่าทุกประการทั้งความเร็ว (จากข้อมูลที่เรามี ยังเร็วกว่า Sonic 2-3 เท่า) ความน่าเชื่อถือ ความเข้ากันได้กับเรซิน ซอฟแวร์ บริการหลังการขาย รวมถึงข้อมูลเทคนิค แต่ด้วยราคาและค่าซ่อมบำรุง (Maintenance) ที่ต่ำมาก จึงเหมาะกับแลปเริ่มต้น หรือแลปที่ต้องการเครื่องสำรอง โดยราคาอะไหล่ในปัจจุบันยังไม่แน่นอน แต่สามารถประมาณได้คร่าวๆคือ
- ราคา FEP Film 500 บาท (อายุ 3-5 ลิตร)
- ราคา ParaLED 3.0 6-7,000 บาท
- ราคาจอ Full HD 4-5,000 บาท (อายุ 2,000 ชั่วโมง)
เงินลงทุนต่ำ = ต้นทุนต่ำ = กำไรที่มากขึ้น
4. Social Network Experience
โดยปกติแล้วแบรนด์ที่เกิดจาก Social Funding มักจะถูกผลักดันจากกลุ่มผู้ใช้มากกว่า ผู้ผลิตหรือดรงงานผลิตเสียส่วนใหญ่ Phrozen เองก็เช่นกัน โดยผู้ใช้หลายรายเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง บางส่วนก็เป็นกลุ่มทันตกรรมที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือเจรจาธุรกิจได้เลย

Social Network ใหญ่ = การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ = ความรู้ที่มากขึ้น
5. Phrozen Sonic กับ Workflow ที่ยังต้องแก้ไข
งาน Production ขั้นตอนแต่ละส่วนต้องทำงานได้สอดคล้องกัน โดยไม่มีสะดุด ซึ่งแบรนด์ระดับชั้นนำให้ความสำคัญกับจุดนี้มากเป็นอันดับแรกๆ ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเครื่อง 3D Printer ระดับอุตสาหกรรม เราจะเห็นซอฟแวร์ที่พร้อมใช้งานจริง เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ที่ต้องการพิมพ์ไป เลือกชนิดของวัสดุที่ต้องการพิมพ์ จากนั้นสามารถสั่งพิมพ์ได้ในทันที โดยตัวเครื่องก็จะมีระบบเซ็นเซอร์ตรวจเช็คและเตือนในจุดที่ยังไม่พร้อมใช้งานก่อนการพิมพ์ ดังนั้นเครื่องระดับนี้มักไม่พบปัญหางานเสีย และมือใหม่ก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก
ในขณะที่ Sonic นั้น ตัวซอฟแวร์ PZslicer เอง ก็ยังไม่มีตัวเครื่อง Sonic ให้เลือก หรือแม้กระทั่งการตั้งค่าการพิมพ์ ซึ่งในส่วนนี้หากมีตัวแทนจำหน่ายก็พอจะช่วยเหลือได้ แต่หากซื้อมาโดยตรงก็ต้องเสียเวลาสอบถามทางผู้ผลิต รวมถึงการตั้งค่าก็ต้องเข้าไปหาเองในจุดที่ ไม่มีทางที่คนทั่วไปจะค้นเจอง่ายๆ ดังนั้นปัจจุบันก็ต้องพึ่งพาโปรแกรมอื่นๆไปก่อน ยังไม่รวมถึงการสร้าง Support ที่ยังปรับแต่งได้น้อย และไม่หลากหลาย สุดท้ายคือการบอกปริมาณและเวลาการพิมพ์ก้ยังไม่มีระบุในตัวโปรแกรม ดังนั้นปัญหาที่ว่ามาก็ต้องรอผู้ผลิตแก้ไขต่อไป ซึ่งตอนนี้ให้ทาง Formware ทีมพัฒนาที่ชำนาญด้านโปรแกรม Slicer เข้ามาปรับปรุงให้อยู่
(หมายเหตุ หากชำนาญแล้วการสร้างโปรไฟล์ของเครื่องหรือวัสดุใหม่สามารถทำได้ โดยไม่ต้องรอการอัพเดด)
สรุป
หากใครที่มีงบประมาณไม่เกิน 1 แสนบาท Sonic ถือเป็นตัวเลือกที่ดีในด้านของความเร็ว คุณภาพงาน การรองรับวัสดุโดยเฉพาะกลุ่มทันตกรรมที่ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด
- อ่านรีวิว Phrozen Sonic (คลิ๊ก)
- สั่งซื้อ (คลิ๊ก)
- ขอข้อมูลเพิ่มเติม [email protected], 064-931-9191
อ่านเพิ่มเติม Phrozen 3D Printer มีเป็น 10 รุ่น จะเลือกรุ่นไหนดี ?