เวลาฉายแสงสำคัญอย่างไร
เครื่อง 3D Printer แบบเรซินนั้นอาศัยการฉายแสงช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะ (365-425 nm) เพื่อให้เรซินเกิดปฏิริยาทางเคมีเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็ง ดังนั้นกำลังไฟ และเวลาในการฉายจึงจำเป็นที่ต้องการค่าที่เหมาะสมสำหรับเครื่องและวัสดุที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เน้นไปที่แบบ LCD 3D Printer เช่น Anycubic Photon, Phrozen Sonic XL 4K หรือ Wanhao Duplicator 7 8 เป็นต้น
- จอแบบ RGB LCD เวลาการฉายอยู่ที่ 6-7 วินาที/ชั้น ที่ความละเอียด 50 ไมครอน (กำลังไฟ 40W)
- จอแบบ Monochrome วลาการฉายอยู่ที่ 1-2 วินาที/ชั้น ที่ความละเอียด 50 ไมครอน (กำลังไฟ 50W)
- ฉายแสงน้อยไป ชิ้นงานอาจจะเสีย ส่วนเล็กๆขาดหาย support ขึ้นไม่ได้ มีรอยแยกของชิ้นงาน
- ฉายแสงนานไป รายละเอียดชิ้นงานลดลง ขนาดใหญ่ขึ้น หรือแข็งจนติด fep film
ทดสอบ Phrozen Sonic XL เวลา 1.5-3.5 วินาที
บทความนี้ทดสอบโดบใช้เครื่อง Phrozrn Sonic XL ความละเอียดระดับ 4K สเปคดังนี้
- พื้นที่การพิมพ์ 19x12x20 cm
- ความละเอียด XY 50 ไมครอน
- ความละเอียดในการทดสอบ 50 ไมครอน
- เวลาในการฉายแสง 1.5 2.5 และ 3.5 วินาที
- วัสดุ HD Resin สีเทา
- Post Processing ล้างด้วย IPA 3 นาที แล้วเป่าแห้ง
- ชิ้นงาน Totoro 3 ตัว


สรุปจะเลือกแบบไหนดี
สำหรับคนที่ต้องการความคมชัด แนะนำให้ใช้เวลาฉายแสงน้อยที่สุด ที่สามารถขึ้นชิ้นงานได้ เนื่องจากรายละเอียด texture ส่วนฟีเจอร์ขนาด และขนาด จะเหมาะสมตรงตามไฟล์มากที่สุด ในขณะที่การฉายแสงแบบมากเกินไป (over explosure) เหมาะกับคนทำฟิกเกอร์ที่ต้องการลงรองพื้น ไม่อยากขัดมาก ได้ผิวเนียน ตั้งแต่ปริ้นเสร็จในทันที แถมรอยต่อยังบางกว่าแบบเห็นได้ชัด