Search
Close this search box.

FDM VS SLA 3D Printer ควรเลือกใช้แบบไหน ในงบประมาณ 20,000 บาท

ในยุคที่เครื่อง 3D Printer ราคาถูกลงมากจน เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ของคนทั่วไปได้ โดยไม่ต้องลงทุนสูง มีเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ FDM 3D Printer คือใช้เส้นพลาสติก ซึ่งราคาเริ่มต้นมีไม่ถึง 1 หมื่นบาทแล้ว แต่ถ้าอยากได้เครื่องที่ตั้งค่ามาเรียบร้อย และโครงสร้างแข็งแรงจะอยู่ราวๆ 2 หมื่นบาท และอีกแบบคือ  SLA 3D Printer ที่ใช้วัสดุเป็นเรซิน (Photopolymer resin) ในระดับเริ่มต้นจะใช้จอ LCD เป็นแหล่งฉายภาพราคาประมาณ 2 หมื่นบาท ความละเอียดระดับ 2K (2560×1440 pixel) เช่นเดียวกัน

FDM 3D Printer Technology
FDM 3D Printing Technology
dlp printing
SLA 3D Printing Technology (LCD Type)

สำหรับคนที่ไม่ได้มีความรู้ด้าน 3D Printing มาก่อน คงสับสนทั้งเรื่องตัวเลข และข้อมูลจำนวนมหาศาล ดังนั้นทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลเป็นข้อๆ ให้ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยชิ้นงานที่นำทดสอบวันนี้เป็น 3D Model ยอดนิยมอย่าง Benchy ใช้เครื่อง 3D Printer แบบ FDM คือ Sync C200  และ SLA คือ Elegoo Mar เครื่องขายดีอันดับ 1 ในอเมซอน

  1. พื้นที่การพิมพ์
  2. ความเร็วในการขึ้นชิ้นงาน
  3. ความละเอียดของผิว
  4. ต้นทุนด้านวัสดุที่ใช้
  5. การนำไปใช้งานที่เหมาะสม
  6. อื่นๆ

จุดนี้ใช้สำหรับคนที่มีชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดในใจแล้ว โดยที่ราคาเท่ากันช่วง 20,000 บาท  FDM จะมีขนาดการพิมพ์ที่มากกว่าเยอะ โดยเฉพาะในช่วงไม่เกิน 500x500x500 mm บางเครื่องมีราคาไม่ถึง 50,000 บาท เท่านั้น ในขณะที่เรซิน 3D Printer ราคาจะกระโดดไปหลักหลายล้านบาท

  • Sync C200 ขนาดพื้นที่การพิมพ์ 200x200x200 mm
  • Elegoo Mar ขนาดพื้นที่การพิมพ์ 120x68x155 mm
FDM VS SLA 3D Printer size

ที่ราคาเท่ากันเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบเส้นพลาสติกจะให้พื้นที่การพิมพ์มากกว่าเสมอ

ปัจจัยข้อนี้ขึ้นอยู่กับความละเอียดในการพิมพ์ (layer height) และจำนวนที่พิมพ์ต่อครั้ง โดยปกติแล้วเครื่อง FDM จะใช้ความละเอียดที่ 200 ไมครอน และ SLA ที่ 50 ไมครอน ผลที่ได้เป็นดังนี้ โดย SLA 3D Printer จะคุ้มกว่าเมื่อพิมพ์ครั้งละหลายๆชิ้น หรือเรียกว่าพิมพ์เต็มพื้นที่นั่นเอง

คำนวนโดยโปรแกรม Simplify 3D

คำนวนโดยโปรแกรม Formware

เครื่องชนิด LCD 3D Printer เหมาะกับการผลิตชิ้นงานจำนวนมากๆ ในครั้งเดียว

ข้อนี้เป็นจุดเด่นของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบเรซินอยู่แล้ว ที่ให้ผิวคุณภาพสูง มองชั้นด้วยตาเปล่าไม่เห็น บทความนี้จับเอาเลนส์มาโครส่องพระ มาเทียบกันให้เห็นกันชัดๆ ใครที่ต้องการงานสวยๆ พร้อมลงสี เทคโนโลยีนี้ตอบโจทย์ได้ดีเลย ส่วนแบบเส้นพลาสติก จะเห็นรอยต่อระหว่างชั้นได้ค่อนข้างชัดเจน อย่างไรก็ตามหากมีการพ่นสีรองพื้นและขัดเก็บงาน ก็จะช่วยให้ผลงานออกมาดีได้ จะยากมากหากชิ้นงานมีขนาดเล็ก

ที่ความละเอียดเท่ากัน เครื่องแบบเรซินจะให้คุณภาพผิวดีกว่าเสมอ

  • ถ้าพิจารณาด้านราคาวัสดุ ปัจจุบันเส้น PLA Filament อยู่ราวๆ 600-1,000 บาท ขึ้นกับยี่ห้อและเกรดที่แตกต่างกัน ในขณะที่เรซินเริ่มต้น 3,000 กว่าบาท สำหรับเครื่องระดับเริ่มต้น ดังนั้น SLA 3D Printer จะมีต้นทุนที่มากกว่า 3-5 เท่า
  • ส่วนพลังงานที่ผู้เขียนวัดเองเครื่อง FDM พิมพ์ PLA จะเฉลี่ยกินไฟอยู่ที่ 120W ในขณะที่ SLA จะเฉลี่ยอยู่ที่ 50W เท่านั้น แต่พอคิดเป็นตัวเงินบาทออกมาแล้ว มีผลน้อยมากต่อให้พิมพ์ 24×7 ระยะเวลา 1 ปี เงินต่างกันหลักร้อยบาท

เรซินมีต้นทุนด้านวัสดุที่สูงกว่า แต่ใช้เวลาในการขัดและตกแต่งผิวงานน้อยกว่ามาก

FDM 3D Printing

  • งานต้นแบบทั่วๆไป
  • งานขนาดใหญ่ เกิน 15 cm
  •  งานที่ไม่ต้องเน้นคุณภาพผิวมากนัก
  • งานทางวิศวกรรม
ABS printing

SLA 3D Printing

  • งานสเกลโมเดลขนาดเล็ก
  • ฟิกเกอร์ ทอย ของเล่น
  • จิวเวรี ทันตกรรม
  • งานรายละเอียดสูง
Wanhao D7 Sample

สำหรับคนเริ่มต้น เครื่องแบบเส้นพลาสติก Filament เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

  • ขั้นตอนหลังพิมพ์เสร็จ เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบ FDM สามารถรอให้ชิ้นงานเย็น แล้วนำไปใช้งานได้ทันที โดยใช้เวลาไม่มาก และไม่ซับซ้อน ในขณะที่ เครื่องแบบเรซินต้องมีขั้นตอนการล้างด้วย IPA ตัด Support และอบด้วยเครื่อง Curing อีกขั้นตอน ถึงแม้ขั้นตอนที่กล่าวมา จะกินเวลาไม่มาก แต่ยุ่งยากและเสี่ยงกับสารเคมี (IPA) อีกขั้นตอน รวมถึงบางคนต้องการความรวดเร็ว ก็ต้องซื้อตู้อบ UV โดยเฉพาะมาอีก (ตากแดดด 30 นาที – 1 ชั่วโมง แต่อบใช้ 2-5 นาที) (รายละเอียดลิ้งนี้)
  • กลิ่นของวัสดุ PLA มีอันตรายน้อยมาก ในขณะที่เรซิน มีสารระเหยที่เป็นอันตราย แถมระบบกรองอากาศที่เครื่องจีนโฆษณาบางเครื่องแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย เป็นอีกข้อหนึ่งที่คนต้องการซื้อเครื่องต้องพิจาณาส่วนนี้ไว้
  • สำหรับคนที่ต้องการชิ้นงานใสๆ ส่วนเครื่องแบบเรซินตอบโจทย์ได้ดีกว่า สามารถขัดจนใสมองทะลุผ่านได้เลย โดยใช้การขัดด้วยกระดาษทราย และลงสีเคลือบอีกชั้น ทำซ้ำไปเรื่อยจนได้ชิ้นงานใสตามที่ต้องการ
  • สำหรับคนที่ต้องการทำตรายาง ตรงนี้เครื่องแบบเรซินให้การพิมพ์ตัวอักษรที่คมชัดมากกว่า สามารถนำไปใช้ได้เลย
Clear Resin
High resolution 3d printing
Prusa smaple MSLA

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก