Search
Close this search box.

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

Formlabs เป็นแบรนด์หนึ่งที่มีเรซินหลายชนิดให้เลือกใช้กันตามสายงานและความต้องการ โดยการจําแนกประเภทของเรซินในปัจจุบันมีการจําแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. เรซินงานทั่วไป
2. เรซินวิศวกรรม
3. เรซินทันตกรรม
4. เรซินจิวเวลรี่
5. เรซินการแพทย์
ในแต่ละประเภทก็จะมีเรซินให้เลือกใช้แยกย่อยลงไปอีก ปัจจุบันทาง Formlabs มีวัสดุที่เป็นผงสำหรับ SLS ที่ใช้กับเครื่อง FUSE 1 เพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งประเภท ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงวัสดุเรซินเพียงอย่างเดียวก่อน ทีนี้มาดูกันว่าเรซินในแต่ละประเภท มีอะไรกันบ้าง

Standard Resin

มาเริ่มด้วย เรซินสำหรับงานทั่วไป เป็นเรซินกลุ่มเริ่มต้นของ Formlabs เน้นใช้งานง่าย ให้รายละเอียดคมชัด ความแข็งแรงอยู่ในระดับกลางๆ เหมาะสำหรับการทำงานต้นแบบ งานโมเดล ที่ไม่ต้องรับแรง

Prototypes resin

Draft Resin

formlabs
Source: Formlabs

เป็นเรซินตัวใหม่ของทาง Formlabs ปัจจุบันเป็นรุ่น V2 มีสีเทา เหมาะกับงานขนาดใหญ่ ที่ต้องการความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกความละเอียดได้ 100 และ 200 ไมครอน ช่วยให้งานรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  • ปกติเทคโนโลยีในการพิมพ์แบบเส้นพลาสติก FDM อยู่ที่ 50 mm/s ในขณะที่ Laser base จะอยู่ที่ 50- 300 mm/s ดังนั้นใครที่ประสบปัญหาผลิตด้วยเครื่องแบบเส้นไม่ทัน เรซินชนิดนี้สามารถตอบโจทย์ได้ดี
  • การใช้ความละเอียดที่น้อยลง ทำให้รายละเอียดและความเรียบของผิวลดลงมากด้วย เป็นข้อด้อยที่ต้องพิจารณา

Greyscale Resins

formlabs
Source: Formlabs

เป็นเรซินมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากพิมพ์ง่าย รายละเอียดคมชัด มี 3 สีหลักให้เลือกใช้คือ ดำ ขาว และเทา (นิยมมากที่สุด) เหมาะสำหรับงานต้นแบบทั่วไป

Technical Data Sheet (คลิก)
Safety Data Sheet (คลิก)

Clear Resin

sla 3d printer
Source: Formlabs

เป็นเรซินแบบ Standard ที่ไม่ได้ผสมเม็ดสีลงไปจึงมีสีใสขาว (ต่างจากเครื่องแบบ LCD ที่จะมีสีใสเหลือง) เหมาะกับงานต้นแบบที่ต้องการความใส มองทะลุผ่านเห็นรายละเอียดด้านใน สามารถใช้กระดาษทรายขัดจนใสเหมือนกระจกได้

Grey Pro

formlabs
Source: Formlabs

เป็นเรซินที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับงานต้นแบบทั่วไปป จนไปถึงงานที่ต้องมีการรับแรง ซึ่งเรซินสูตรนี้มีความแข็งแรงมากกว่า Standard Resin พอสมควร ทั้งการยืดหยุ่น และรับแรงดึง ดัด

Color Kit

formlabs
Source: Formlabs

ปิดท้ายด้วยชุดแม่สี ที่มีไว้ผสมสีเองตามต้องการ ช่วยให้สามารถพิมพ์ชิ้นงานออกมาในสีต่างๆ ได้โดยไม่ต้องผ่านการตกแต่งและระบายสีด้วยตนเองอีก

Engineering Resin

เรซินวิศวกรรม เป็นกลุ่มเรซินสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรงมากขึ้นจากปกติ หรือมีสมบัติพิเศษเฉพาะทาง การเลือกใช้เรซินกลุ่มนี้ ควรมีข้อมูลทางเทคนิค ทางวิศวกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

Rigid

เป็นเกรดเรซินที่แข็งแรงมากที่สุดของ Formlabs โดยมี สารเสริมแรงตระกูลแก้วเติมเข้าไป เป็นคอมโพสิตเรซิน ซึ่งเห็นได้น้อยในเครื่อง 3D Printer แบบเรซิน แต่ถ้าเป็นแบบเส้นจะมีใช้กันทั่วไป (อ่านบทความ รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน) ผู้ที่ใช้เรซินกลุ่มนี้ควรมีเครื่องอบ UV ที่ทำความร้อนได้ เพื่อให้ชิ้นงานที่ผ่านการอบ (Post Cure) มีความแข็งแรงสูงสุด
sla 3d printing

Rigid 10K  เป็นเกรดที่แข็งแรงมากที่สุด เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการควาททนทานสุงสุด ไม่มีกดยุบตัว หรือดัดงอ สามารถใช้งานหนักได้ในอุณหภูมิสูงในระดับ 110 องศาเซลเซียส หรืองานทั่วไปในระดับ 218 องศาเซลเซียส หรือเอาไปผลิตเป็น Insert Molded ก็สามารถใช้ได้

formlabs

Rigid 4000  เป็นเกรดที่แข็งแรงรองลงมา สามารถดัดงอได้เล็กน้อย เหมาะกับงานทางวิศวกรรมที่เรซินในกลุ่ม Tough&Durable เสียหาย

Download Data Sheet

Tough & Durable

บทความนี้รวม เรซินกลุ่มนี้เข้ามาอยู่ในหมวดเดียวกัน เพราะการเอาไปใช้งานเหมือนกันแตกต่างที่ สมบัติทางกล ที่แต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ต้องการแรงดึงสูง ต้องการสมบัติแรงเฉือน หรือต้องการความแข็งเกร็งสูง ข้อด้อยของเรซินกลุ่มนี้คือไม่ทนต่อความร้อน
Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

Tough 2000 เป็นเกรดที่แข็งมากที่สุด ดัดงอได้ยาก เหมากับงานที่ต้องการความ Rigid สูง ไม่งอไปมา พฤติกรรมคล้าย   Polycarbonate (PC)

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

Tough 1500 เป็นเกรดที่อ่อนนุ่ม มีค่าการกระเด้งกระดอนสูง มีลักษณะทางกลคล้าย พอลิโพรไพลีน (PP)

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

Durable เป็นเกรดที่ยืดดึงได้มากที่สุด มีลักษณะคล้ายพอลิเอธีลีน (PE)

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Flexible and Elastic Resin

เรซินสำหรับงานที่ต้องการความยืดหยุ่น ดูดซับแรงได้ เหมาะกับการใช้งานพวก ซีล ประเก็น ข้อต่อ ด้ามจับ โดยปกติมักบอกเป็นค่าความแข็ง (Hardness) ที่เข้าใจง่าย และมองความแตกต่างออกในระดับหนึ่ง  บอกเป็นค่า Shore A (วัสดุอ่อนนุ่ม) หรือ Shore D (วัสดุแข็ง) ในกรณีของ Formlabs บอกเป็นค่า Shore A
sla 3d printing
Source: Formlabs

Shore 80A เป็นเรซินยืดหยุ่นที่ควรเริ่มต้นใช้ เพราะปริ้นไม่ยาก มีการห้อยตัวที่ดี ยืดตัวได้ประมาณ 100% สามารถใช้งานใน Application ที่ต้องการผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม ดัดงอได้ดี โดยไม่หัก ทั้งนี้
Download Data Sheet
Safety Data Sheet

sla 3d printing
Source: Formlabs

Shore 50A เป็นเรซินที่พัฒนาขึ้นให้มีลักษณะคล้ายซิลิโคน มีความหยืดหยุ่นสูงมาก รับแรงกด แรงกระแทก ได้หลายรอบการทำงานโดยไม่เสียหาย ซึ่งเริ่มต้นอาจจะทดลองจากตัว 80A ก่อน แล้วค่อยทดลองกับตัว 50A
Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Specialty Resins

เรซินชนิดพิเศษและเฉพาะทางมากขึ้น ใช้สำหรับงานที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง ทำให้ครอบคลุมงานหลายด้านมากยิ่งขึ้น
formlabs

High Temp เป็นเรซินเฉพาะทาง มีสมบัติเด่นเรื่องการทนความร้อนสูง เหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องรับแรงมาก แต่ต้องทนร้อนสูง โดยตามการทดสอบอยู่ที่ราวๆ  238 องศาเซลเซียส ก่อนที่ความแข็งแรงจะเริ่มลดลง (การทดสอบ Heat Defection Temperature)

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

sla 3d printing

ESD เป็นเรซินเฉพาะทางมากๆ ใช้เพื่อปกป้องส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญจากไฟฟ้าสถิตย์

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง
Rebound เป็นเรซินที่ยืดหยุ่นได้ดีมาก ฉีกขาดยาก จึงเหมาะกับชิ้นส่วนที่ยืดหยุ่นและสปริงตัวได้ เช่น ซีลยาง ปะเก็น ที่จับ
formlabs
Ceramic เป็นเรซินคล้ายวัสดุเซรามิก จึงเหมาะสำหรับงานศิลปะและการออกแบบเรขาคณิตที่ซับซ้อน งานวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนเซรามิกแท้ๆ หลังการเผา

Dental Resin

เรซินเฉพาะทางในกลุ่มทันตกรรม บางชนิดได้รับการรับรองทางการแพทย์สามารถใช้กับงานที่สัมผัสกับคนได้ (Biocompatible)

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

Draft Resin

sla 3d printer

เป็นเรซินที่สามารถพิมพ์ต้นแบบจำลองทางทันตกรรมได้ภายใน 20 นาที และมีความแม่นยำสูงพร้อมพื้นผิวเรียบ เหมาะสำหรับใช้ดูเบื้องต้นในการรักษา การไปทำต่อเป็นเครื่องมือจัดฟัน และรีเทนเนอร์

Draft Resin is ideal for:

  • Thermoforming models
  • Orthodontic appliance models
  • Diagnostic models
  • Crown and bridge models

Model Resin

3d printer

เป็นเรซินใช้พิมพ์แบบจำลอง เพื่อผลิตเครื่องมือในส่วนอื่นต่อไป เป็นวัสดุที่มีความแม่นยำ หน้าสัมผัสที่คมชัด

 Model Resin is ideal for:

  • Crown and bridge models
  • Implant analog models
  • Orthodontic models
  • Diagnostic models

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Surgical Guide

biocompatible resin

เป็นวัสดุ biocompatible resin สำหรับการใช้งานเป็นคู่มือการผ่าตัดทันตกรรม และการจัดวางรากฟันเทียม

Surgical Guide Resin is ideal for:

  • Surgical guides
  • Drilling templates
  • Pilot drill guides
  • Device sizing templates

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

LT Clear และ LT Clear V2

formlab

อีกหนึ่งเรซินที่ได้รับความนิยมทำเป็นเครื่องมือที่ใส่ในช่องปาก ที่เรียกว่าเฝือกสบฟัน หรือ ฟันยางกันกระแทก (Occlusal Splint) เป็นวัสดุนิ่มมีลักษณะคั่นอยู่ระหว่างขากรรไกรบนและล่าง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และยังป้องกันฟันสึกจากอาการนอนกัดฟันด้วย

Dental LT Clear Resin is ideal for:

  • Splints
  • Occlusal guards

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Castable Wax

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

เป็นเรซินที่มี wax หรือขี้ผึ้ง 20% การหล่อจึงเผาไม้จนหมด ทำให้ขอบแนบสนิท ลวดลายที่พิมพ์ออกมานั้นก็มีความคมชัด และแข็งแรงพอโดยไม่ต้อง post-cure

Castable Wax Resin is ideal for:

  • Casting copings and substructures
  • Pressing and casting full contour crowns
  • Casting removable partial denture frameworks

Download Data Sheet
Safety Data Sheet

Custom Tray

dental resin

เป็นอีกหนึ่งในเรซิน biocompatible material ที่ใช้ทำถาดพิมพ์โดยตรงสำหรับงานรากฟันเทียม ฟันปลอม ครอบฟัน และสะพานฟัน รวมถึงแบบครอบฟันอื่นๆ

Custom Tray Resin is ideal for:
Custom Impression Trays

Temporary CB

Formlabs Temporary CB Resin

เป็นเรซินให้สำหรับใช้การฟื้นฟู ซ่อมแซมและบูรณะแบบชั่วคราว เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับตัว ให้ความแข็งแรง และความสวยงามคล้ายสีฟันจริง อยู่ในปากได้นานถึง 12 เดือน

Temporary CB Resin is ideal for:
Crowns
Bridges
Inlays
Onlays
Veneers

Permanent Crown

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

Permanent Crown Resin เป็นเรซินที่เหมาะสำหรับการบูรณะ ซ่อมแซมฟัน และครอบฟันถาวร เพราะมีความแข็งแรงสูง ขนาดแม่นยำ ที่สำคัญคือมีการดูดซึมน้ำต่ำ และผิวเคลือบเรียบเนียน มีแนวโน้มต่ำที่จะเสื่อมสภาพ เปลี่ยนสี หรือสะสมคราบจุลินทรีย์

Permanent Crown Resin is ideal for:
Single crowns
อุดฝัง (Inlays)
อุดครอบ (Onlays)
เคลือบผิวฟัน (Veneers)

Soft Tissue Starter Pack

Dental Resins

เป็นเรซินสำหรับทำเหงือกเทียม หรือ gingiva masks โดยมีเฉดสีชมพูเข้ม กลาง และชมพูอ่อนที่ปรับแต่งได้ตามสีเหงือกจริงของแต่ละคน โดยจะใช้เรซิน Soft Tissue Starter Pack ในการพิมพ์ 3 มิติเป็นเหงือกที่ยืดหยุ่นได้ เพื่อใช้ร่วมกับแบบจำลองทางทันตกรรมแบบแข็ง โดยทำเป็นฟันเทียมที่มีฐานเป็นฟันปลอมวางบนสันเหงือก

Soft Tissue Starter Pack is ideal for:
Soft tissue for implant models
Gingiva masks

Jewelry Resin

เรซินจิวเวลรี่ ที่มีการใช้กันหลักๆ ได้แก่ เรซินต้นแบบ เรซินหล่อ และเรซินทำแม่พิมพ์ยาง โดยจะเริ่มด้วยการทำต้นแบบ ดูฟิตติ้งต่างๆ ก่อนขึ้นด้วยเรซินตัวอื่นๆ เพื่อทำแม่พิมพ์ยาง และหล่อเป็นโลหะ

Grey Resin

sla 3d printer
เรซินนี้ให้พื้นผิวด้าน และเรซินสีเทาจึงเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน เหมาะสำหรับสร้างต้นแบบเครื่องประดับวัสดุนี้แข็งแรงพอที่จะหยิบจับ และลองสวมใส่ เพื่อให้ลูกค้าและนักออกแบบมีความมั่นใจก่อนทำการหล่อเป็นโลหะ

Castable Wax 40

Formlabs Materials มีกี่ชนิด เลือกใช้ยังไง

เป็นเรซินหล่อที่เหมาะกับเครื่องประดับที่มีลวดลายหนา และละเอียดไม่มาก เพราะมีส่วนผสมของแวกซ์ถึง 40% จึงทำให้ลายเอียดที่เล็กมากๆ ไม่คมชัด แต่ช่วยการเผาไหม้ในขั้นตอนการหล่อสมบูรณ์ ไม่มีเขม่า ฟองอากาศ หรือรูพรุนบนผิวชิ้นงานหลังการหล่อ

Castable Wax

formlabs
เรซิน Castable Wax ตัวนี้ใช้ได้กับงานทันตกรรมและงานจิวเวลรี่ มีความแข็งแรง ทำให้สามารถพิมพ์เครื่องประดับที่มีลวดลายบางๆ และละเอียดมากๆ ได้ และคงรูปร่างไว้ได้ดี

High Temp

formlabs

เรซิน High Temp ตัวนี้ใช้ได้ทั้งในกลุ่มงานวิศวกรรมและงานจิวเวลรี่ เป็นวัสดุที่ทนทานและทนต่ออุณหภูมิสูงสำหรับการขึ้นรูปยาง เพื่อทำเป็นแม่พิมพ์ยาง เพราะเรซินมีความแข็งแรงพอที่จะทนต่ออุณหภูมิสูงและแรงดันปานกลางของการขึ้นรูปยางได้ดี

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก