Search
Close this search box.

In-ear Monitor Manufacturing Process

ไอเท็มที่สำคัญและขาดไม่ได้เลยของเหล่าบรรดาสายบันเทิง พิธีกร ศิลปิน หรือนักร้องเวลาขึ้นแสดงคอนเสิร์ต เพราะ in-ear monitor เป็นตัวช่วยที่จะทำให้ศิลปินได้ยินเสียงร้อง เสียงดนตรี หรือเสียงพูดของตัวเองได้ชัดมากขึ้น เนื่องจาก in-ear monitor จะเก็บรายละเอียดเสียงได้ดีกว่าหูฟังทั่วไปมาก สามารถฟังเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดออกได้อย่างชัดเจน

in-ear monitor คืออะไร ?

in-ear monitor ก็คือ หูฟัง แต่มีความพิเศษกว่าหูฟังธรรมดาทั่วๆ ไป นิยมใช้กับสายอาชีพนักร้อง ศิลปิน โดยหูฟังแบบ in-ear monitor นั้นจะสามารถเก็บรายละเอียดเสียงได้ดีกว่าหูฟังทั่วไปมาก สามารถฟังเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดออกได้อย่างชัดเจน ฟังเสียงร้องตัวเอง เนื่องจากเวลาอยู่บนเวทีเสียงจะดังมาก ถ้าไม่ใส่ก็จะไม่ยินเสียงตัวเอง ทำให้ร้องตรงกับจังหวะดนตรียากมาก

ปัจจุบัน in-ear monitor ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลง ดูหนังหรือเล่นเกมส์ ซึ่งได้อรรถรสตามที่ตนเองต้องการ โดยลักษณะของหูฟังก็จะมีตั้งแต่หูฟังแบบสอดหู หรือ In-Ear ไปจนถึงหูฟังแบบครอบหู (Over-Ear Headphone) เหมือนกับหูฟังทั่วไป ซึ่งในส่วนของรูปทรงนั้นจะอาศัยความทันสมัยจากเทคโนโลยีด้านต่างๆ  สร้างหูฟังมอนิเตอร์แบบ In-Ear ที่มีลักษณะเฉพาะและโดดเด่นต่างจากหูฟังทั่วไป ดังนี้หลายๆ คนอาจจะเคยได้เห็น ได้ลอง หรือสัมผัสหูฟังแบบ in-ear monitor กันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่พึ่งจะเคยได้ยินชื่อหูฟังประเภทนี้ คงต้องหาโอกาสไปสัมผัสและทดลองฟังด้วยตัวเองสักครั้ง

In-Ear Monitor มีหน้าที่หลักๆ คือใส่เพื่อฟังเสียงดนตรีกับเสียงร้อง อธิบายง่ายๆ คือให้ได้ยินเสียงแบบเดียวกับคนฟัง เพราะเวลาอยู่บนเวที ทิศทางของเสียงจะหันออกไปหาผู้ชม ทำให้ตัวนักร้องจะไม่ค่อยได้ยินเสียงดนตรีหรือเสียงร้องของตัวเองที่ออกผ่านไมค์ไป ซึ่งเป็นเรื่องยากในการร้องเพลงให้ตรงจังหวะหรือคุมเสียงร้องของตัวเอง ก็เลยมีหูฟังสำหรับฟังเสียงเหล่านี้ให้กับนักร้องเวลาขึ้นเวทีนั่นเอง
In-Ear Monitor

วิธีการทำ in-ear monitor

แนวเพลงร็อกอย่างวง Van Halen ที่ประสบปัญหามอนิเตอร์ก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินของสมาชิกในวงชื่อว่า Alex Van Halen ดังนั้น Jerry Harvey หนึ่งในกลุ่ม monitor engineer ที่มีแนวคิดในการผลิต in-ear monitor และในที่สุด บริษัท Ultimate Ears ก็เข้ามาร่วมทดสอบเสียงและเริ่มทำ in-ear monitor แบบกำหนดเอง ทำให้ in-ear monitor ดีกว่ากระบวนการเดิมที่ผ่านมาด้วยการปรับแต่งและขึ้นรูปการพิมพ์แบบ 3 มิติ

วิธีการทำ in-ear monitor โดยทั่วไป ได้แก่

  • ฉีดซิลิโคนเข้าช่องหู
  • ขึ้นรูปและตกแต่งชิ้นงานตัวอย่าง

สรีระช่องหูที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิมพ์แบบพิมพ์ช่องหู หรือที่เรียกว่า  Ear Impression จะประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ คือ ใบหู (Outer Ear) และช่องหู (Ear canal) และลึกเข้าไปอีกคือ เยื่อบุแก้วหู (Ear Drum) ซึ่งการพิมพ์ช่องหู ตามมาตราฐานจะเข้าไปถึงแค่ส่วนของเยื่อบุแก้วหูเท่านั้น ไม่ได้ลึกไปถึงส่วนหูชั้นใน ทำให้เวลาที่ฉีดซิลิโคนเข้าไปอาจจะรู้สึกตึงๆในช่องหู เล็กน้อย แต่ไม่มีอันตรายต่อแก้วหู และไม่มีผลต่อการได้ยินหลังจากดึงแบบพิมพ์ช่องหูออก แต่วิธีการนี้ก็ทำให้หลายคนคิดหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยในการได้ยินหรือหูดับ

In-ear Monitor Manufacturing Process

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนจากการผลิตแบบดั้งเดิมของแบบพิมพ์ช่องหู เพื่อการทำหูฟังที่ปรับให้พอดีด้วยการถ่ายภาพช่องหูเป็น 3D จากนั้นจึงนำมาเข้าโปรแกรมการออกแบบเพื่อตกแต่งและพิมพ์ 3 มิติออกมาเป็นตัวอย่าง จากนั้นก็นำไปตกแต่ง ทำสี สร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ฉบับตัวเองได้ง่ายๆ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท

in-ear monitor จาก 3D Printing

in-ear monitor จากผู้ผลิตเจ้าดังอย่าง Ultimate Ears ที่มียอดขายมากกว่า 50,000 ชิ้นทั่วโลกและฐานลูกค้าส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ซึ่งได้ขยายจากกลุ่มดังกล่าวไปสู่กลุ่ม audiophiles ตอนนี้บริษัท Ultimate Ears Pro มีส่วนร่วมกับเทคโนโลยี 3D เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตสำหรับการผลิตหูฟังชนิดใส่ในหูที่ทำขึ้นเองให้กับเฉพาะบุคลนั้นๆซึ่งตรงกับสรีระของช่องหู

ขั้นตอนการผลิต in-ear monitor ที่ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว คือการใช้เทคโนโลยี 3D printing เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ดังนี้

  • ถ่ายภาพหรือสแกนช่องหู
  • นำไฟล์ที่ได้เข้าโปรแกรมออกแบบ ตกแต่ง
  • ขึ้นรูปหูฟังตัวอย่าง

ซึ่งการขึ้นรูปหูฟังแบบ in-ear monitor นั้นมักใช้ 3D Printer ระบบ stereolithographic (SLA) หรือที่หลายคนคุ้นชินในชื่อ “เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบเรซิน” นั่นเอง

เนื่องจากการออกแบบวิธีการมาตรฐานของการผลิตเดิมๆ เช่น การฉีดวัสดุเพื่อขึ้นรูปเป็นไปได้ลำบาก แต่สามารถแก้ไขได้โดยใช้การพิมพ์แบบ 3 มิติ ให้มีลักษณะก้นหอยหรือเปลือกหอย ซึ่งเป็นที่เก็บ armature drivers ที่สมดุลเช่นเดียวกับหูฟัง in-ear monitor แบบกำหนดเอง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก