เวลาฉายแสงของเรซินแต่ละชนิด
Phrozen Sonic Mini เป็นเครื่องพิมพ์สามมิติแอลซีดี แบบ open materials ดังนั้นผู้ใช้สามารถเลือกใช้เรซินของบริษัท หรือแบรนด์ใดก็ได้ตามต้องการ แต่ปัญหาที่เจอคือ ไม่ทราบเวลาฉายแสงที่แน่นอนของเรซินแต่ละชนิด หรือแต่ละยี่ห้อ ซึ่งผู้ผลิตก็ไม่ได้มีข้อมูลไว้ให้กับผู้ใช้
ดังนั้นบทความนี้ จะแนะนำวิธีการหาเวลาฉายแสงที่เหมาะสม ให้ผู้อ่านได้นำไปใช้งานในการหาค่ากับเรซินที่กำลังใช้งาน โดยนอกจากเครื่อง Phrozen Sonic Mini แล้วยังสามารถใช้งานได้กับเครื่องพิมพ์อื่นๆ ที่ใช้บอร์ดควบคุมเดียวกันได้ เช่น Anycubic / Photon / Creativity / Elegoo Mars เป็นต้น
ข้อมูลเบื้องต้น
ข้อมูลของบทความนี้ได้มาจาก Photonsters ที่พัฒนาโปรแกรมและแกะข้อมูลต่างๆของ Chitu Board เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้มาโดยตลอด ท่านใดสนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากลิ้งของกลุ่มใน Github ในส่วนของการ Calibration จะใช้ชื่อว่า Resin-exposure-finder-v2 รายละเอียดเบื้องต้นคือ
BINARY FILES ที่ Support
- CBDDL/PHOTON, CTB, PHZ
ZIP/GCODE FILES ที่ Support
- PHZ, CWS
BRANDS / MODELS
- EPAX – X1, X1N/ X1K, X10/ x8.9, X133, X156
- PEOPOLY – Phenom, Noir(K), L
- NOVA3D – Elfin, Bene
- PHROZEN – Transform, Sonic(K), Sonic Mini(K)
- ANYCUBIC – PhotonClassic, PhotonS/Fauxton, Zero
ขั้นตอนการ Calibration
- Download File จากลิ้งนี้ (คลิก)
- ไฟล์ที่ใช้งานของ Sonic Mini สามารถเลือกได้ตามความต้องการ โดยความหมายแต่ละไฟล์คือ
BETA-xp2_sonic_mini_050um_0.5-5s.zip (50 ไมครอน เวลาฉาย 0.5 – 5 วินาที)
BETA-xp2_sonic_mini_050um_1-10s.phz (50 ไมครอน เวลาฉาย 1- 10 วินาที)
BETA3-xp2_sonic_mini_050um_0.5-5s.zip (50 ไมครอน เวลาฉาย 0.5- 10 วินาที)
รูปร่างของชิ้นงานทดสอบ


การวิเคราะห์ผลชิ้นงานที่ได้
หลังจากดาว์นโหลดไฟล์ด้านบนแล้ว เซฟไฟล์ดังกล่าวลงใน Flashdrive แล้วสั่งพิมพ์ที่หน้าเครื่อง ที่ผ่านการตั้งระนาบฐาน และใส่เรซินเรียบร้อยแล้ว

ที่ตัวเลข 20
ถ้าฉายแสงนานเกินไป (Overexposure)
ด้านซ้าย ในช่องจะถูกเติมด้วยเรซินมากไปจะยิ่งแคบจะไม่เป็นช่องว่างได้ดีเท่าไฟล์ต้นแบบ
ด้านขวา เลขจะมีลักษณะหนากว่าปกติกว่าไฟล์ต้นแบบ
ถ้าฉายแสงน้อยเกินไป (Underexposure)
ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา จะพิมพ์ไม่ติด หรือรายละเอียดหายไป
ที่เส้น
ถ้าฉายแสงนานเกินไป (Overexposure)
ด้านซ้าย ในช่องจะถูกเติมด้วยเรซินมากไปจะยิ่งแคบจะไม่เป็นช่องว่างได้ดีเท่าไฟล์ต้นแบบ
ด้านขวา เส้นอาจจะหนากว่าปกติ
ถ้าฉายแสงน้อยเกินไป (Underexposure)
ด้านซ้าย พิมพ์ไม่ติด หรือรายละเอียดหายไป รูปร่างเส้นไม่ตรง
ด้านขวา
ภาพรวมของชิ้นงานหากเครื่องอยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติ ควรพิมพ์ชิ้นงานติดสมบูรณ์ ไม่มีส่วนไหนแหว่ง หรือขาดหาย แต่ละแถบของการปริ้นแสดงเวลาฉายแสงตั้งแต่ 0.5-5 วินาที ตามลำดับ ดูจากภามรวม ค่าที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ X4-X6 หรือ 2-3 วินาที
- X1 = 0.5 วินาที
- X2 = 1 วินาที
- X3 = 1.5 วินาที
- X4 = 2 วินาที
- X5 = 2.5 วินาที
- X6 = 3 วินาที
- X7= 3.5 วินาที
- X8= 5 วินาที
- X9= 4.5 วินาที
- X10= 5 วินาที

ที่ 0.5-1 วินาที ส่วนรายละเอียดเล็ก หายเกือบหมด เนื่องจากเวลาฉายแสงน้อยเกินไป
ที่ 2-3 (X4-X6) วินาที ให้รายละเอียดทั้งส่วนลึก (วงกลมซ้้าย) และส่วนนูน (วงกลมขวา) ชัดเจน และเส้นขีดบริเวณด้านล่างก็พิมพ์ขึ้นเกือบทั้งหมด

ส่วนของ 4.5-5 วินาที รายละเอียดเบลอ และบวมหายกันหมด จึงไม่เหมาะกับเรซินชนิดที่นำมาทดสอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เปรียบเทียบความละเอียดของ Sonic Mini/ Sonic XL / Mars Pro