Search
Close this search box.

Additive Manufacturing กับการพัฒนาอุตสาหกรรม Ship building

Additive manufacturing ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการต่อเรือ

ไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมเท่านั้น ยังคงรวมถึงห่วงโซ่อุปทานการต่อเรือที่ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการบูรณาการด้วยการพิมพ์ 3 มิติที่รู้จักกันในชื่อ “additive manufacturing” (AM) โครงสร้างที่ซับซ้อนและส่วนประกอบทำจากวัสดุพลาสติก โลหะ หรือเซรามิก สามารถพิมพ์ขึ้นรูปได้เร็วขึ้น คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ แทนที่จะทำการตัดหรือเชื่อมโลหะและโลหะผสมต่าง ๆ ชิ้นส่วนอะไหล่และส่วนประกอบต่างๆ จะผลิตเป็นชิ้นๆ ได้ตามความต้องการ 

สำหรับในอุตสาหกรรมการต่อเรือจะใช้เทคโนโลยการผลิต additive manufacturing เพื่อ

  • ผลิตตัวเรือ ตัวยึด อะไหล่สำรอง
  • ผลิตส่วนประกอบของเรือขนาดเล็ก และขนาดใหญ่
  • ผลิตเพลาขนาดใหญ่ที่ใช้ในเรือ เนื่องจากเกิดการสึกหรอได้อย่างง่ายดาย
  • ผลิตกระบอกสูบ
  • และอื่นๆ

วัสดุที่นิยมใช้กับอุตสาหกรรมการต่อเรือด้วยวิธีการนี้ ได้แก่ พอลิเมอร์ โลหะ เป็นต้น ซึ่งระบบ metal additive manufacturing system ถูกใช้กับชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบให้กับเครื่องจักรในการขับเคลื่อนของเรือ ส่วน polymer additive manufacturing นำมาสร้างเป็นองค์ประกอบภายนอกของเรือเป็นหลัก แต่อะไหล่เครื่องของเรือบางชิ้นก็ผลิตจากพอลิเมอร์ด้วยเหมือนกัน

3D Printing แบบนำมาประกอบต่อ

เมื่อก่อนการพิมพ์ชิ้นส่วนขนาดใหญ่จาก 3D Printer มักใช้การพิมพ์ออกมาเป็นส่วนๆ แล้วนำมาประกอบกันเป็นชิ้นเดียวกัน แต่ปัจจุบัน Additive manufacturing ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนมาถึงอุตสาหกรรม Ship building เป็นแอพพลิเคชั่นการพิมพ์ 3 มิติให้กับเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ คือการสร้างเรือเดินทะเลได้อย่างสมบูรณ์แบบสำหรับการสร้างเป็นต้นแบบอย่างรวดเร็ว ด้วยการพิมพ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ในอดีตบริษัท Thermwood ได้ใช้กระบวนการ Large Scale Additive Manufacturing (LSAM) ออกแบบและใช้ในอุตสาหกรรมการต่อเรือเป็นครั้งแรก เครื่องพิมพ์ 3 มิติมีความสามารถในการพิมพ์ที่ใหญ่มาก มีขนาดถึง 20 x 100 ฟุต ซึ่งทำให้เป็นหนึ่งในเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ใหญ่ที่สุดในการใช้งานนี้ นอกจากนี้เครื่องยังมีหัวพิมพ์ที่สามารถเปลี่ยนจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็น 5-axis CNC

การทำแบบ CNC ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างในด้านคุณภาพและความแม่นยำของตัวเรือต้นแบบ แต่การใช้เทคโนโลยี 3D Printing ช่วยให้สามารถพิมพ์ต้นแบบโดยใช้ ABS เสริมด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fiber reinforced ABS) รูปร่างสุดท้ายมีความแม่นยำในระดับที่สูงขึ้น เพราะการทำตัวเรือหรือลำเรือต้องอาศัยความแม่นยำจากต้นแบบเป็นแม่พิมพ์บวกกับการขึ้นรูปไฟเบอร์กลาสในภายหลังของการผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

ในการทำแม่พิมพ์ตัวเรือนั้มีขั้นตอนที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

  • การแบบและขึ้นรูปด้วย 3D Printing
  • CNC เพื่อสร้างรูปร่างของตัวเรือที่พิมพ์ 3 มิติให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น
  • ตกแต่งและทาเคลือบสีให้เรียบ
  • ขึ้นโครงและโมลไฟเบอร์กลาส

Thermwood ยังใช้เครื่องนี้ในการสร้างต้นแบบตัวเรือดำน้ำ, ปีกเฮลิคอปเตอร์ และ speed boat  ให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขนาด ความซับซ้อน และแอปพลิเคชั่นที่ไม่ซ้ำใครในอุตสาหกรรมการต่อเรือ ซึ่งผลิตภัณฑ์นั้นมีไว้สำหรับลูกค้าในโรงงานอุตสาหกรรม

3D Printer แบบเสร็จในครั้งเดียว

เครื่องพิมพ์พอลิเมอร์ 3 มิติที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถพิมพ์เรือ 3 มิติที่มีขนาดการพิมพ์ใหญ่ที่สุดในโลก ให้สำเร็จได้ โดยไม่ต้องใช้การเชื่อมต่อใดๆ เลย  โดยทีมผู้สร้างชื่อเสียงครั้งนี้ คือ University of Maine กำลังนำไปใช้เพื่อทำลายสถิติแล้ว ซึ่งทาง University’s Advanced Structures and Composites Center ได้สร้างเรือจากการพิมพ์ 3 มิติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดของ ship building ยาว 100 ฟุต กว้าง 22 ฟุต และสูง 10 ฟุต ด้วยการผสมผสานระหว่างเส้นใยเซลลูโลสระดับนาโนและไมโคร (cellulosic nano and micro fibers) กับวัสดุเทอร์โมพลาสติก

การออกแบบเรือและความร่วมมือของพันธมิตรทางอุตสาหกรรมของ UMaine Composites Center แสดงถึงการใช้พลาสติกที่ทำจากไม้ 50% แม่พิมพ์และส่วนประกอบของเรือนั้นผลิตได้รวดเร็ว ราคาประหยัด เมื่อเทียบกับวิธีการแบบดั้งเดิม

นวัตกรรมที่แตกต่างไปจากเดิมนี้ได้ทำลายสถิติ Guinness World Records หลายแห่งและเป็นที่ยอรับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิจัย และบุคลากรทางทหาร โดยทาง University’s Advanced Structures and Composites Center ได้ทำลายสถิติใน 3 เรื่องที่แตกจากของเดิมในวันที่ 10 ตุลาคม 2019 ได้แก่

  • การพิมพ์เพียงครั้งเดียว
  • เป็นเครื่องพิมพ์ 3D พอลิเมอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • วัตถุที่พิมพ์เป็นของแข็ง 3 มิติที่ใหญ่ที่สุด และเรือจากการพิมพ์ 3 มิติที่ใหญ่ที่สุด

ในอนาคตการวิจัยในเรื่องวัสดุอย่าง cellulose nano fiber (CNF) เพื่อการใช้งานและการผสมกับเทอร์โมพลาสติก และสร้างระบบวัสดุรีไซเคิลที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ สามารถพัฒนาได้ด้วยคุณสมบัติที่อาจเทียบเคียงกับวัสดุแบบดั้งเดิมซึ่งอาจรวมถึงโลหะด้วย

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก