ชิ้นงานจาก 3D Print สามารถสร้างภาชนะใส่น้ำโดยไม่รั่วได้มั้ย ?
3D model ประเภทแจกัน แก้วน้ำ หรือกล่อง เป็นหนึ่งในชิ้นงานที่คนทั่วไปใช้เครื่อง 3D Printer พิมพ์ขึ้นรูปมามากที่สุด จากการสำรวจข้อมูลในเวบไซต์ชื่อดังอย่าง Thingiverse หรือ Myminifactory ซึ่งหลายๆคนก็ตั้งใจไว้ว่าจะใช้เป็นแจกันใส่ดอกไม้ หรือของตกแต่งจริงๆ แต่พบปัญหาการ “รั่วซึม” ของน้ำ เมื่อใช้ไปสักพัก หรือบางคนเจอหนักกว่านั้นคือเห็น “ช่องว่าง” ระหว่างชิ้นงานเลย ซึ่งวิธีการแก้ตำราก็มีหลายกระบวนท่ามาก แต่วันนี้จะเอาท่าที่ง่ายที่สุดไม่ต้องไปยุ่งกับ “ตัวเครื่องเลย” เพราะปรับไป-มา เวลาไปพิมพ์งานอื่นอาจจะพบปัญหาอื่นๆตามมาได้อีก

(ภาพจาก Thingiverse)

(ภาพจาก Thingiverse)
สาเหตุการรั่วซึมของน้ำจากงาน 3D Print
เครื่อง 3D Printer ส่วนใหญ่ที่มีการปรับแต่งมาอย่างดี โอกาสการรั่วซึมก็น้อยไปด้วยเนื่องจากเส้นพลาสติกที่ฉีดออกมาหลอมติด (bonding) กับเส้นก่อนหน้าได้อย่างสมบูรณ์ ปัญหาที่พบจะเป็นบริเวณชั้นแรกๆ เช่น ก้นแจกัน ซึ่งจากภาพชิ้นงานที่รั่ว (สีเทา) มีช่องว่างระหว่างเส้นการฉีดเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่ชิ้นงานสีดำเส้นติดกันเป็นระเบียบ




ซึ่งวิธีการแก้ไขให้เส้นติดกันมากขึ้นก็มีหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น
- ปรับหัวฉีดให้ชิดฐานมากขึ้น
- ปรับค่า Line width จนกว่าเส้นจะเชื่อมติดกัน
- ปรับอุณหภูมิหัวฉีดให้ไหลได้ง่ายขึ้น
- ปรับค่า Flow rate ของการฉีดให้มากขึ้น
จากการทดลองจริงการปรับ Flow rate เป็นอะไรที่ง่ายที่สุดแล้ว เพราะไม่ต้องไปยุ่งกับพารามิเตอร์หลัก และฮาร์ดแวร์ของเครื่อง ซึ่งเจ้าค่านี้สามารถปรับได้จากโปรแกรม Slicer เช่น Cura Simplify3D Repetier-Host ได้ทั้งหมด หรือสามารถปรับหน้าเครื่อง 3D Printer ก็ได้


เริ่มทดลองการปรับค่า
ชิ้นงานตัวอย่างตามภาพปรับค่า Flow rate ตั้งแต่ 85% จนไปถึง 98% ส่วนเครื่อง 3D Printer ของใครที่ปกใช้ 100% แล้วรั่วอยู่แล้ว ให้ไล่ปรับไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 25% ก็น่าจะได้ค่าที่เหมาะสม

ชิ้นงานตัวอย่างตามภาพปรับค่า Flow rate ตั้งแต่ 85% จนไปถึง 98% ส่วนเครื่อง 3D Printer ของใครที่ปกใช้ 100% แล้วรั่วอยู่แล้ว ให้ไล่ปรับไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 25% ก็น่าจะได้ค่าที่เหมาะสม

ในการทดสอบจริงจะเห็นเลยว่าค่าใดที่ชิ้นงานเริ่มจะหลอมติดกันเป็นเนื้อเดียว ไม่มีช่องว่างให้อากาศไหลผ่านได้เลย (ในการทดลองนี้อยู่ที่ 98% หรือ 0.98)

สำหรับคนทั่วไปคงไม่ต้องทำขนาดนี้แค่เอาน้ำเทตามคลิบด้านล่างก็เพียงพอแล้วครับ ทิ้งไว้ซัก 2 ชั่วโมง ถ้าไม่รั่วไม่ซึมก็ถือว่าใช้ได้ ส่วนใหญ่จะซึมชั้นที่ 1 และ รอยตะเข็บชั้นที่ 1 กับ 2
สรุป
เป็นวิธีง่ายไม่ต้องยุ่งกับตัวแปรอื่นๆเลย แถมได้งานจากเครื่อง 3D Printer มาใช้จริงมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีวิธีเสริมอื่นๆ เช่น ปรับฐานให้ชิดมากขึ้นช่วยให้เส้นบี้ติดกันมากขึ้น ซึ่งกระผมเองไม่อยากให้ไปปรับอะไรเกี่ยวกับตัวเครื่องมากนัก ถ้าเซ็ทไว้ดีอยู่แล้ว แล้วจากการทดลองจริงแค่ปริ้นกล่องเล็กๆ 30×30 mm มาทดสอบหาการรั่วซึมก็เพียงพอกับการไปใช้กับชิ้นงานใหญ่แล้ว
สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่