Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

ที่มาของ Peopoly Moai

ในสมัยยุคแรกเริ่มของเครื่อง Desktop SLA 3D Printer นั้น เครื่องในระดับอุตสาหกรรมที่ใช้งานมีราคาที่สูงมากๆ จนบริษัทแรกที่ริเริ่มทำราคาต่ำลงกับ Formlabs ในรุ่น Form 1 ปี 2012 ซึ่งระดมทุนผ่าน Kickstarters ไปได้มากกว่า 100 ล้านบาท (ที่มา: Kickstarters) อย่างไรก็ตามราคาในปัจจุบันยังคงสูงพอสมควรสำหรับคนทั่วๆไป หรือหน่วยงานที่ไม่ได้มีเงินลงทุนมากนัก ดังนั้นจึงเกิดเป็เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด SLA ราคาถูกจากค่าย Peopoly ในปี 2017 ชื่อรุ่น Moai ซึ่งระดมทุนผ่าน Kickstarters  เช่นเดียวกัน (Base อยู่ฮ่องกง แต่ที่ตั้งตอนนั้นระบุเป็น  Los Angeles อเมริกา) ได้รับเงินไปประมาณ 8 ล้านบาท สำหรับการเริ่มต้น (ที่มา: Kickstarters) ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าในช่วงแรกตั้งแต่ส่งมอบ เป็นเครื่องที่ใช้งานค่อนข้างยากมาก ทั้งด้าน Software ที่ต้องไปใช้โปรแกรม Cura ในการทำงาน และมีปัญหา profile ซ้อนทับ การสร้าง support ที่ Cura ไม่เหมาะกับ SLA หรือ หรือการตั้งระนาบฐาน ก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งปัจจุบันๆทุกปัญหาได้มีการแก้ไขไปหมดแล้ว จึงเรียกว่าเป็นเครื่องที่เสถียรมาก (เฉพาะเครื่องที่ประกอบจากโรงงาน หรือผู้ชำนาญการ)

  • มีโปรแกรม slicer ของตัวเองที่ชื่อ Asura ซึ่ง base on Cura Engine
  • ระบบปรับฐานแบบง่ายขึ้นด้วย Ezy Buildplate
  • ระบบถาดเรซิน (VAT) ชนิดพิเศษเฉพาะตัวของ Peopoly ซึ่งทนทาน ลดปัญหางานเสีย ราคา FEP ถูก ซึ่งหากใครต้องการคุณภาพสูงมากๆ ก็ใช้ถาดแบบ PDMS แบบเดิมได้
  • เรซินปัจจุบัน มีให้เลือกครบทุกการใช้งาน ตั้งแต่ เรซินทั่วไป เรซินทนร้อน (Nex resin)  เรซินวิศวกรรม (Siraya Blu) และเรซินงานหล่อ (Blucast SLA)
Moai 130
Laser Galvo
Moai Build Plate

สเปคของเครื่อง Peopoly Moai

รายละเอียดของ Moai 130 200 เปรียบเทียบกับเครื่องอื่นๆ ดูได้จากตารางด้านล่าง ซึ่งทางผู้ผลิตตั้งใจ ทำสเปคให้เป็นทางเลือกของคนที่อยากได้ Form 2 แต่งบประมาณไม่ถึง  หรืออยากได้ขนาดการพิมพ์ที่ใหญ่กว่า LCD 3D Printer (Wanhao Duplicator 7+) ที่มักเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามรูปแบบของจอ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำงานทั่วๆไป (เหมาะกับจิวเวรี หรือฟิกเกอร์)

แกะกล่อง Unbox Moai

Moai 130 หรือ 200 มีโครงสร้างและระบบการทำงานแทบจะเหมือนกัน 100% โดยตัวใหญ่ จะใช้แกน Z แนวตั้งที่ใหญ่ขึ้น พร้อมรางสไลด์คู่ของ THK (เกรดโรงงาน) พอนำมาเปรียบเทียบกับ Wanhao Duplicator 8 ที่ถือว่าใหญ่แล้ว ขนาดต่างกันในแนวสูง 2 เท่าได้เลย ในขณะที่ Moai 130 จะขนาดใกล้เคียงกัน ส่วนเครื่องที่เราได้มาจะประกอบและตั้งค่าทดสอบทุกอย่างจากโรงงานทั้งหมด ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องการประกอบ ส่วนใครที่สั่งเป็นชุด KIT มาประกอบเอง ต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ยังไม่รวมเวลาการปรับตั้งเครื่องอีก

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

ตัวเครื่องมีด้านหน้าที่เป็นจอแสดงผล สถานะการพิมพ์ ปุ่มเปิดเครื่อง ช่องใส่ SD Card และปุ่มกดสำหรับเลือกคำสั่งต่างๆ

สำหรับงานประกอบและโครงสร้างภายใน อาจจะไม่ได้ดี แข็งแรงเหมือนเครื่องอุตสาหกรรม แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานปกติ โครงสร้างหลักเป็นอลูมิเนียมโปรไฟล์ 2020 ปิดด้วยอะคริลิกรอบด้าน

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

หลังจากได้เครื่องมา สิ่งที่ต้องทำเพียงอย่างเดียวคือ ติดตั้งถาดเรซิน (VAT) และติดตั้งฐานพิมพ์ชิ้นงาน พร้อมตั้งระดับตามคู่มือ (ลิ้ง Peopoly Moai Leveling) ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ก็พร้อมใช้งาน ทั้งนี้ทุกครั้งที่เปิดเครื่องตัวระบบจะทดสอบการเอียงถาดเรซิน (VAT Tilt) ทุกครั้งซึ่งจะมีเสียง Servo motor ดังหน่อย ซึ่งเป็นปกติ

VAT เฉพาะตัวของ Moai มีหน้าตาไม่เหมือนใคร ทางโรงงานเคลมว่าช่วยลดโอกาสงานเสีย ลดปัญหาลอกไม่ขึ้น ด้านล่างเป็นอะคริลิกใส ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าเรซินจะรั่วซึมไปด้านล่าง

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

ฐานพิมพ์ชิ้นงาน เหมือนเครื่อง 3D Printer เรซินทั่วไป แต่คุณภาพการผลิตดี CNC มาได้สวยงาม เหมือนเครื่องราคาแพง

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

สำหรับคนที่อยู่เขตหนาว อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ทาง Peopoly แนะนำให้ซื้อตัวฮีทเตอร์ติดไว้ในเครื่อง เนื่องจากอุณหภูมิการปริ้นที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส ส่วนถ้าซื้อกับซิงค์ อินโนเวชั่น ก็มีให้ในเซ็ทอยู่แล้วครับ แต่ในไทยไม่แนะนำให้ใช้ครับ เพราะมีรายงานว่าทำให้ชิ้นงานเป็นคลื่นๆ

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

เริ่มต้นปริ้นชิ้นงานทดสอบ

การทำงานก็เหมือนเครื่อง 3D Printer ทั่วไป โดย Moai 130 และ 200 ทำงานเหมือนกันทุกอย่าง

  1. Import 3D Model ลงโปรแกรมของเครื่อง Moai (Asura)
  2. หมุนเอียง 30-45 องศากดสร้าง Auto Support
  3. ทำงานกลวง (Hollow) เจาะรูระบายเรซิน (Drain hole)
  4. เช็คความเรียบร้อย
  5. เลือกความละเอียดในการพิมพ์ (Moai 20-100 ไมครอน)
  6. Slice ชิ้นงานนำได้ไฟล์ gcode เหมือนเครื่องแบบ FDM
  7. เซฟใส่ SD Card เพื่อไปสั่งพิมพ์หน้าเครื่อง (ไม่มี wifi)

SD Card ที่มาพร้อมเครื่องจะมีไฟล์ตัวอย่างที่พร้อมใช้งานอยู่ใน Folder gcode ซึ่งโดยปกติ ทางซิงค์ อินโนเวชั่น จะใช้ไฟล์แหวนในการทดสอบเครื่องว่ารายละเอียดขนาดเล็กมากระดับ 100-200 ไมครอน (0.1-0.2 mm) ตัวเครื่องทำงานปกติมั้ย ถ้ารายละเอียดมากหรือน้อยเกินไปก็ใช้การปรับ Laser Power ที่ปรับได้จากหน้าจอโหมด Advance Setting ได้เลย ดังนั้นข้อดีของ Moai อย่างที่ดีสำหรับคนชอบลองคือ ใช้เรซินได้หลากหลายมากครอบคลุมทั้ง LCD DLP ซึ่งปกติเรซินของ LCD DLP และ SLA จะแยกกันใช้อย่างชัดเจน การนำมาใช้ปนกันจะสร้างความลำบากให้ผู้ใช้มาก เนื่องจากตั้งค่ายาก หรือทำถาด PDMS พังไปเลยก็มี

ส่วนที่ด้อยที่สุดเรื่องแรกของ Moai คือ หน้าจอคลาสสิคคือ เป็นแบบหมุนแล้วกดปุ่ม ไม่ใช่จอสัมผัสตามสมัยนิยม นอกจากนี้การกดปุ่มย้อนกลับคือต้องกดปุ่มเร็วๆ 2 ครั้ง เพื่อย้อนกลับไปเมนูก่อนหน้านั้น (Back) เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเจอสำหรับเครื่อง 3D Printer สมัยใหม่ (อีกเครื่องก็คือ Original Prusa) ก็ถือว่าเป็นระบบที่ค่อนข้างล้าสมัย แต่ตัวจอสีสดใสดีมาก การพิมพ์ของ Moai รองรับเฉพาะ SD Card เท่านั้น ซึ่งพอเลือกไฟล์เสร็จเครื่องก็จะทำงานได้เอง โดยเราไม่ต้องสั่งอะไรเพิ่มเติม

 

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

ตัวอย่างไฟล์ ring_gcode ใน SD card ที่ปรับความเข้มเลเซอร์ต่างกัน (48-51)

งานที่ออกมาถ้าทั่วๆไป ก็คงไม่แตกต่างจากเครื่อง SLA หรือ LCD 3D Printer ตามท้องตลาด แต่เราขยี้ด้านขีดความสามารถหนักมาก ด้วยการเอามาเปรียบเทียบกับเครื่องเกรดจิวเวรี ที่ระดับงานทำขาย ผลที่ได้ลองดูภาพกันก่อนครับใช้เลนส์มาโคร ส่องพระ ส่องแมลง ที่มองตาเปล่าไม่เห็น แต่เลนส์ตัวนี้ขุดขึ้นมาหมดครับ เครื่องใครที่ว่าพิมพ์สวย ลองเอามาส่องได้  (ชิ้นงานด้านซ้ายเครื่องจิวเวรี ชิ้นงานขวา Moai 200)

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

พอเอามาเทียบแบบนี้แล้วชัดเจนว่าเครื่อง SLA ระดับความละเอียด XY 70 ไมครอน ยังสู้เครื่อง LCD 3D Printer คุณภาพสูงไม่ได้ ดูจากรายละเอียดเล็กๆ ที่หายไปหรือไม่สวยตามแบบ (พวกตุ่มรอบๆรูเล็กขึ้นหมดนะครับ แต่มองออกยากเพราะสี) ในขณะที่แหวนวงสีเทาคมกริบทุกอย่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อดีตรงรายละเอียดที่เป็นชั้นๆ จะเห็นไม่ชัดเท่ากับเครื่องตระกูล DLP, LCD ดูจากตัวแหวนที่ไม่มีชั้นให้เห็นเลย

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เอามาทำงานจิวเวรี สบายใจได้ว่า Moai 130 หรือ Moai 200 ยังทำงานได้ดี  ถ้าไม่มานั่งส่องแบบภาพด้านบน แทบจะไม่เห็นความแตกต่างเลย ลองไปดูตัวอย่างภาพด้านล่างได้ครับ

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

โปรแกรม Asura สำหรับการสไลด์ 3D Model

หลังจากการพัฒนามาเป็นปีทางทีม Peopoly ก็ปล่อยโปรแกรมของตัวเองชื่อ Asura โดยเวลาที่เขียนเป็นเวอร์ชั่น 2.2.3 beta2 ซึ่งมีการทำงานที่ครบในระดับหนึ่ง ความฉลาดในการสร้าง Support แบบอัตโนมัติอยู่ในระดับดี การแก้ไขทำได้ไม่ยาก ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าจะใช้งานยาก ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ เช่น ทำกลวง (Hollow) ย่อ ขยาย เซฟโปรเจค พวกนี้มีครบหมดแล้วในปัจจุบัน

รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai
รีวิวการใช้งาน SLA 3D Printer ราคาย่อมเยา Peopoly Moai

ส่วนตัวโปรแกรมมี Profile ความละเอียดให้เลือกตั้งแต่ 20-100 ไมครอน โดยที่โปรแกรมนี้เราไม่สามารถปรับความเร็ว หรือรายละเอียดใดๆได้เลย ซึ่งก็เป็นผลดีกับคนใช้งาน เพราะแค่โยนไฟล์แล้ว สร้าง Support จากนั้นกด slice ก็พร้อมใช้งานเลย ส่วน Advance User ที่อยากปรับแต่งเอง ก็ไปโหลด Cura มาใช้ เลือก Printer เป็น Peopoly ก็จะมีรายละเอียดให้ปรับแต่งเยอะมากๆ ส่วนใครที่อยากมีทางเลือกอื่นๆ ก็จะมีโปรแกรม Formware ที่สนับสนุนการใช้งานอยู่ ซึ่งทางผู้เขียนแนะนำให้ใช้เลย เพราะดีจริง เป็น OEM ผลิตโปรแกรมให้เจ้าใหญ่ๆด้วย

สรุป

รีวิวนี้ไม่ค่อยได้ลงรายละเอียดแนะนำตัวเครื่องมาก เนื่องจากสามารถหาได้จาก Youtube ที่มีเยอะพอสมควร แต่นำข้อมูลการใช้งานจริง ผลงานจริงๆมาให้ดูเพื่อประเมินได้ว่าเหมาะสมกับการใช้งานจริงของทุกท่านมั้ย ถ้าทำงานต้นแบบทั่วๆไป โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ ที่ถ้าเครื่องแบรนด์ยุโรปน่าจะหลายแสนบาท ในขณะที่ Moai 200 ราคาไม่ถึง 2 แสนบาท และปัจจุบันก้ใช้งานได้ง่ายและดีมากขึ้น เมื่อเทียบกับตอนเปิดตัวและขายใหม่ๆ

  • Moai 130 และ 200 เหมาะกับคนที่ต้องการเครื่อง SLA 3D Printer ที่ปริ้นงานได้ใหญ่กว่าเครื่อง LCD และราคาไม่แพง
  • Moai 130 และ 200 เหมาะกับคนที่ชอบทดลองเรซิน หรือวัสดุใหม่ๆ เนื่องจากตัวเครื่องสามารถปรับค่าได้หลากหลาย
  • Moai 130 และ 200 เหมาะกับคนที่พิมพ์งานใหญ่ๆ แล้วไม่อยากเจอปัญหาลอกงานยาก เนื่องจาก Moai มีระบบ VAT Tilt และ VAT ที่พัฒนามาโดยเฉพาะ
  • Moai 130 และ 200 เหมาะกับคนเน้นพิมพ์งานทีละชิ้น เพราะระบบ SLA ถ้าปริ้นเยอะๆ จะช้ากว่า LCD DLP พอสมควร
  • Moai 130 และ 200 ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการปริ้นงานละเอียดมากๆ เช่น กลุ่มจิวเวรี (ทันตกรรมยังพอไหว แต่ช้าอยู่ดี)
  • Moai 130 และ 200 ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการเครื่อง Plug&Play ในวันแรกของการใช้งาน เนื่องจากต้องใช้เวลาเรียนรู้ระดับหนึ่ง
  • Moai 130 และ 200 ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการงานพิมพ์ไวๆ เนื่องจากเลเซอร์ที่ใช้ กำลังกลางๆไม่ได้สูงมาก ดังนั้นในบางกรณีจะช้ากว่าเครื่องแบบ LCD

มีข้อซักถาม-หรือ ติชมติดต่อได้ตามอีเมลล์ด้านล่างเลยครับ หรือสามารถเข้ามาดูตัวเครื่อง Demo ได้ที่บริษัท

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก