คำศัพท์เกี่ยวกับการพิมพ์ที่ควรทราบเกี่ยวกับ Elegoo Mars 3
ถาดเรซิน = Resin Tank, VAT
ฐานพิมพ์ = Build Plate, Build Platform
จอ LCD = จอฉายภาพที่เป็นกระจกขนาดใหญ่
ParaLED = แหล่งกำเนิดแสง UV ที่มาพร้อมเลนส์ ลิขสิทธิ์ของ Phrozen
IPA = Isopropyl Alcohol, ไอโซโพรพานอล แอลกอฮอล์
เวลาฉายแสง = Explosure Time, Cure Time,
Post Cure = การฉายแสงยูวี หลังพิมพ์และล้างชิ้นงานเสร็จ เพื่อให้แข็งสมบูรณ์ ผิวไม่เหนียว
ความละเอียด = ความสูงของชั้นการพิมพ์, Layer Height, Layer Thickness (ไม่ใช่ความละเอียดจอ)
2K 4K 8K = ความละเอียดของหน้าจอ มักบอกพร้อมกับขนาดพิกเซล XY
Elegoo = แบรนด์ผู้ผลิตเครื่อง 3D Printer จากจีน มีช่องทางการขายผ่าน Amazon เป็นหลักในยุคเริ่มต้น
1. เริ่มต้นแกะกล่อง
- กล่องของ Elegoo Mars 3 จะเหมือนทุกรุ่นของ Elegoo คือเป็นแนวนอน สามารถกรีดซีลด้านบนและเปิดออกมาได้เลย
- เมื่อเปิดมาจะพบตัวเครื่อง และกล่องอุปกรณ์ และคู่มือ
- ใบรับประกันจากตัวแทนจำหน่าย หากไม่มีให้สอบถามร้านที่จำหน่ายการรับประกัน
- ตรวจสอบอุปกรณ์ในกล่องที่ได้รับว่าครบตามภาพ
- Chitubox Pro จะมาในรูปแบบบัตรที่สามารถขูดแถบด้านหลังเพื่อนำ Serial ไปลงทะเบียนได้ โดยมีอายุการใช้งาน 1 ปี หลังจากลอกอินครั้งแรก
- สามารถดาว์นโหลดโปรแกรม Chitubox Pro ได้ที่ https://www.chitubox.com/en/download/chitubox-pro
- เครื่องปัจจุบันสามารถใช้ Chitubox Pro ได้ โดยไม่ต้องอัพเดด Firmware ใดๆ ทั้งสิ้น
- 1 license สามารถลงได้ 1 เครื่องเท่านั้น การย้ายเครื่องปัจจุบันสามารถทำได้ ตามลิ้งนี้ https://manual.chitubox.com/user-manual-pro/setting-up/manage-your-account-and-license/https://forum.chitubox.com/?thread-936.htm


2. ตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
- ขั้นตอนนี้ ยังไม่ต้องติดตั้งฐานพิมพ์ (Buildplate) และถาดเรซิน (Resin Tank)
- ติดตั้ง Power Adaptor เข้ากับตัวด้านด้านหลัง
- ตรวจสอบการทำงานของแกนแนวตั้งโดยกดปุ่ม Tool จากเมนูหลัก แล้วไปที่ Manual
- ตรวจสอบการทำงานของ Limit Switch โดยกดปุ่ม Home
- ตรวจสอบการทำงานของแกนแนวตั้งโดยกด Manual ทดสอบขึ้นลง
- ตรวจสอบการทำงานของ Limit Switch โดยกดปุ่ม Home
- ทดสอบการฉายแสงและการทำงานของหลอด UV โดยไปที่ Explosure (ฉายภาพ Logo Elegoo) หรือ Tank-Clean ตามภาพด้านล่าง (ฉายแสงเต็มจอ)
3. เริ่มต้นการทำงาน
ในขั้นตอนนี้ให้ดูคลิบ VDO จากทาง Official ของ Elegoo โดยขั้นตอนที่ห้ามลืมในการทำงาน
- ลอกฟิล์มป้องกัน ทั้งที่ตัวฐานพิมพ์ ถาดเรซิน และหน้าจอ LCD
- ตั้งระนาบฐานให้ถูกวิธี
4. ขั้นตอนหลังการพิมพ์เสร็จ
ขั้นตอนการทำงานหลังพิมพ์เสร็จขึ้นอยู่กับชนิดเรซิน ซึ่งแตกต่างกันออกไป รวมถึงอุปกรณ์ที่ผู้ใช้มี โดยพื้นฐานการทำงาน
- ล้างด้วย IPA
- เป่าแห้ง
- อบด้วยแสง UV
- ควรสอบถามผู้จำหน่ายเรซิน ถึงกระบวนการทำงานให้ถูกต้อง
7. ปัญหาที่อาจจะพบ
มี 2 ปัญหาที่พบมากที่สุดในการพิมพ์เรซิน สามารถอ่านสาเหตุและการแก้ไขได้ที่บทความ “12 ปัญหางานพิมพ์เสียของเครื่อง LCD 3D Printer และวิธีแก้ไข“
- งานไม่ติดฐาน
- Support หลุดจากชิ้นงาน