Search
Close this search box.

คู่มือการใช้งาน Phrozen Sonic XL 4K

1. ตรวจสอบอุปกรณ์

เพื่อให้เข้าใจการทำงานของเครื่องได้ดีขึ้น ควรอ่านคู่มือการใช้งานให้ละเอียดก่อนลงมือใช้งานจริง หากพบปัญหาการใช้งานกรุณาติดต่อ [email protected] เพื่อรับคำแนะนำการแก้ไขที่ถูกวิธี

Phrozen sonic xl 4k

เมื่อเปิดกล่องออกมา จะประกอบไปด้วยตัวเครื่อง Phrozen Sonic XL และกล่องอุปกรณ์อยู่ภายในตัวเครื่องประกอบตามภาพ

กล่องอุปกรณ์เสริม
  • คู่มือการใช้งาน Phrozen Sonic XL 4K
  • เกรียงเหล็กสำหรับแซะชิ้นงานที่เสร็จแล้ว
  • เกรียงพลาสติกสำหรับใช้ในถาดเรซิน
  • กรวยใช้เทเรซิน
  • ถุงมือป้องกันสารเคมี
  • ประแจหกเหลี่ยมใช้ปรับตั้งศูนย์ฐาน
  • ตัวกรองอากาศสำหรับติดตั้งที่เครื่องพิมพ์

  • usb flash drive 

  • ตัวเชื่อมต่อ wifi

  • หูจับฝาครอบเครื่องพิมพ์

  • สาย AC Power

  • รหัส license สำหรับโปรแกรม Slicer อยู่ที่ตัวกล่อง (Phrozen 3D)

Table of Contents

2. ตรวจสอบการทำงาน

หลังจากได้รับเครื่องแล้ว ควรตรวจสอบการทำงานเบื้องต้นตามนี้

  • หน้าจอสามารถสัมผัสสามารถทำงานได้ปกติ จุดสัมผัสแม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อน

  • การฉายแสงโดยเช็คจากเมนู LCD TEST มีการฉายแสงได้ปกติ ไม่มี dead pixel (จุดที่ไม่ฉายแสง หรือจุดดำ) หรือภาพไม่ขึ้นกรณีเลือกเป็น Grid Test

  • การเคลื่อนที่ขึ้นลงของฐานพิมพ์ (แกน Z) ตรวจสอบจากเมนู Z-AXIS

  • Limit switch เซนเซอร์ที่ให้ฐานพิมพ์หยุดเมื่อมาถึงจอการฉายแสง

  • พัดลมระบายความร้อนมีการทำงานปกติ เมื่อมีการฉายแสง ทดสอบจากการเปิด LCD TEST พัดลมจะต้องทำงานด้วย

2.1 ก่อนเริ่มเปิดเครื่อง

  • ติดตั้งหูจับที่ฝาครอบเครื่องให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการเปิดปิด ใช้ประแจหกเหลี่ยมในการไข
  • เสียบสาย AC power
  • เสียบตัวรับ wifi ที่พอร์ต usb ใดก็ได้
ac power
usb wifi

2.2 เริ่มเปิดเครื่องพิมพ์

  • กดสวิตช์ด้านหลังเครื่องเพื่อเปิดเครื่อง

  • เครื่องจะใช้เวลารีบูทสักครู่ ครั้งแรกอาจะใช้เวลานานถึง 5 นาที

phrozen reboot

เมื่อเปิดเครื่องเสร็จแล้วจะพบหน้าจอหลัก เป็นคำสั่งต่างๆ ดังนี้

main menu

PLATES – ใช้เลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ โดยอัพโหลดจาก flash drive หรือทาง online ก็ได้

PROFILE – ใช้ปรับแต่งการตั้งค่า resin profile จากภายในเครื่อง

SETUP – ประกอบไปด้วยเมนูปิดเครื่อง รีบูทระบบ และตรวจสอบสถานะเครื่อง

Z-AXIS – ใช้ในการปรับเลื่อนฐานพิมพ์ ในแนวแกน z (แกนขึ้นลง)

LCD TEST – เพื่อทดสอบว่าหน้าจอการฉายแสง uv มีการทำงานปกติหรือไม่

WIFI – ใช้เชื่อมต่อ WIFI

2.3 ทดสอบจอฉายแสง

  • ที่เมนูหลักเลือกที่ LCD TEST จะพบรูปแบบภาพที่ให้ฉายแสง เลือกแล้วสังเกตแสงที่ฉายออกว่าตรงตามรูปแบบไหม

  • ตรวจสอบที่จอว่าไม่มีจุด dead pixels ที่แสงหายไป

  • ตรวจสอบว่าพัดลมระบายความร้อนจะทำงานด้วย เมื่อมีการฉายแสง 

LCD test รูปตาราง

หน้าจอการฉายแสงที่ปกติ ดังรูป ไม่มีจุดดำ หรือ dead pixels ปรากฏ

lcd test full plate

2.4 การ Calibration ฐานพิมพ์ Phrozen Sonic XL 4K

คือการตั้งค่าฐานพิมพ์ที่เคลื่อนที่ภายในแนวแกน Z ให้เริ่มต้นพิมพ์โดยแนบสนิทพอดีกับจอฉายแสงยูวี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เช่น ชิ้นงานพิมพ์ไม่ติดฐานพิมพ์

เมื่อไรที่ควรทำ Calibration

  • ครั้งแรกที่เปิดใช้เครื่องพิมพ์ ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งก่อนพิมพ์งาน

  • หลังจากเปลี่ยนหน้าจอการฉายแสงใหม่

  • เมื่อการตั้งค่าแกน Z ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้งานพิมพ์เสีย

  • หลังจากเมื่อมีการขนย้ายเครื่องระยะไกล ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนมากกับเครื่อง

วิธีการ calibration ฐานพิมพ์

  • นำถาดใส่เรซินออก และตรวจสอบให้ดีว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมใด ๆ อยู่บนจอ จากนั้นนำกระดาษมารองระหว่างฐานพิมพ์กับจอฉายแสง หรืออาจะใช้ A4 วางให้พอดีกับหน้าจอวางบนจอ LCD ดังรูป

calibration
  • คลายสกรูทั้ง 4 ตัวที่ด้านข้างของฐานพิมพ์ ให้หลวม แต่ไม่คลายจนหลุดออกมาจากฐานพิมพ์ โดยใช้ประแจหกเหลี่ยมที่มาในกล่องอุปกรณ์ไข

ใช้ประแจหกเหลี่ยมไข
  • ในหน้าจอเมนูหลักเลือกที่ Z-AXIS เมื่อต้องการทำ calibration

z-axis
  • จากนั้นเลือกที่ไอคอนรูปจุด เพื่อเข้าหน้าจอการ calibration

calibration
  • เริ่มการ calibration โดยการกด NEXT ( ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่าได้ทำการคลายสกรู ดังขั้นตอนก่อนหน้าเรียบร้อยแล้ว ) เมื่อกด NEXT ฐานพิมพ์จะเคลื่อนที่ลงมา

calibration
  • เมื่อฐานพิมพ์เคลื่อนที่ลงมาจนสุด และมีการปรับศูนย์จนหยุดนิ่งแล้ว ใช้มือกดที่ฐานพิมพ์เพื่อไม่ให้ฐานคลาดเคลื่อน และขันสกรูด้วยประแจหกเหลี่ยมให้แน่นดังเดิม

calibration
  • ที่หน้าจอสัมผัส กด DONE ฐานพิมพ์จะเคลื่อนที่กลับไปตำแหน่งบน เป็นอันเสร็จสิ้นการ calibration

calibration เสร็จสิ้น

3. การใช้งาน Phrozen Sonic XL 4K

3.1 การตั้งค่า Resin Profile / การเพิ่ม Resin Profile ให้กับเครื่องพิมพ์

คือ การตั้งค่าชุดคำสั่งในการพิมพ์ เช่น เวลาการฉายแสง ความหนาชิ้นงานแต่ละชั้น และความเร็วการเคลื่อนที่ของฐานพิมพ์ เป็นต้น ให้สอดคล้องกับเรซินที่ใช้ในการพิมพ์ หรือลักษณะชิ้นงานที่ทำ โดยเราจะเพิ่ม Resin Profile ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • เชื่อมต่อ wifi กับเครื่องพิมพ์ โดยเสียบตัวรับ wifi ที่เครื่องพิมพ์ และเลือก wifi ที่ต้องการเชื่อมต่อในเมนู WIFI

  • นำเลข IP address ที่ปรากฎมุมซ้ายไป ลงไปในเว็ปบราวเซอร์

resin profile
add resin profile
  • ในเว็ปบราวเซอร์ กดเลือกที่ Profile ในแถบด้านบน

profile
  • เพิ่ม resin profile ใหม่โดยใส่ชื่อ และตั้งค่าโปรไฟล์ตามที่เราต้องการ โดยชื่อโปรไฟล์ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

add resin profile

จากรูปด้านล่าง ในหน้าเว็ปจะประกอบไปด้วยสองส่วนคือ

1. ส่วนโปรไฟล์ใหม่ที่ต้องการเพิ่ม
เมื่อใส่ชื่อโปรไฟล์ และตั้งค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการเสร็จแล้ว กด ADD เพื่อเพิ่มเรซินโปรไฟล์เข้าเครื่อง

2. ส่วนโปรไฟล์เดิมที่มีอยู่ในเครื่องพิมพ์ของเราอยู่แล้ว
ถ้าต้องการแก้ไขชื่อ หรือค่าพารามิเตอร์ หลังการแก้ไขให้กด UPDATE ทุกครั้งเพื่อบันทึกค่า

adding profile
  • ค่าที่เหมาะสมสามารถสอบถามจากผู้จำหน่ายเรซินได้

  • เมื่อเพิ่มเรซินโปรไฟล์แล้ว ค่าเรซินโปรไฟล์นั้นจะบันทึกไว้อยู๋ในเครื่องพิมพ์นั้น

การใช้งานโปรแกรมสไลซ์ Phrozen 3D พื้นฐานเพื่อสร้างไฟล์พิมพ์ชิ้นงาน

  • เมื่อเปิดโปรแกรมครั้งแรกใส่ license code หาได้จากภายในอุปกรณ์เสริม โดยไปที่ Enter License > Load from file เลือกไฟล์ xxxyyy.lic

  • เลือกว่ากำลังใช้งานเครื่องพิมพ์รุ่น Phrozen Sonic XL 4K

phrozen 3d

หน้าจอการทำงานของโปรแกรม Phrozen 3D 

เลือกที่ File > Import file > เลือกไฟล์สามมิติที่ต้องการและกด Open

คู่มือการใช้งาน Phrozen Sonic XL 4K

การสร้าง support เพิ่มให้กับไฟล์ชิ้นงาน

เมื่อนำไฟล์สามมิติเข้ามาแล้ว จากนั้นเราต้อง สร้าง support ให้กับชิ้นงานโดยการกดที่ Support mode ในด้านขวาของหน้าต่างโปรแกรม โดยสามารถดูว่าเรากำลังเลือกชิ้นงานอะไร เพื่อทำการสร้าง support ให้กับไฟล์อะไร

คู่มือการใช้งาน Phrozen Sonic XL 4K

เมื่อกดเข้ามาใน Support mode  ท่านสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการวางของชิ้นงานได้โดย คลิ้กเมาส์ซ้าย ที่เส้นแกนที่ชิ้นงานได้เลย

ในส่วนของ support สามารถปรับตั้งค่าค่าต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมของชิ้นงาน

Support point จุดที่ต้องการให้ขึ้น suppot
density คือ ความหนาแน่นของ support ยิ่งเลขมาก support ยิ่งเยอะ
Tip diameter คือ ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางในจุดที่ support สัมผัสกับชิ้นงาน
Critical build angle คือ จุดวิกฤตของชิ้นงาน(สีแดง) ที่จะให้ความสำคัญที่ต้องสร้าง support ในจุดนั้น โดยยิ่งมากยิ่งให้พื้นที่วิกฤต มีมากขึ้น จุดที่จำเป็นที่ต้องสร้าง support ก็มากขึ้นไปด้วย
Sampling strategy คือ รูปแบบการสุ่มในการสร้างวาง support ให้กับชิ้นงาน
Surface sampling คือ การสุ่มการวาง support ให้กับผิวชิ้นงาน

Support generation รูปแบบของ support
Stratregy คือ รูปแบบโครงสร้างของ Support
Pole diameter คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ support ยิ่งมากยิ่งทำให้ support  ใหญ่ขึ้น
Pole widening factor คือ ค่าที่กำหนดความแตกต่างจาก support ส่วนบนไปถึง support ส่วนฐาน ยิ่งค่านี้มาก เส้นผ่านศูนย์กลางที่ส่วนฐานยิ่งมาก
Place above base at คือ ระยะที่ต้องการให้จุดต่ำสุดของชิ้นงานห่างจากฐาน
Internal supports enabled คือ ต้องการให้มี support ในส่วนที่กลวง หรือภายในชิ้นงานหรือไม่

Base plate ฐานของ support
Height of the foot คือ ความสูงของฐานรอง support
Use absolute foot sizes คือ โหมดที่เลือกเพื่อใช้ฐานรอง support แบบเต็มรูปแบบ
Diameter at the top of the foot คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของฐานรอง support ส่วนบน
Diameter at the bottom of the foot คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของฐานรอง support ส่วนล่าง
Add base plate support เลือกเพื่อสร้างแผ่นฐานรอง support

Support settings

เมื่อตั้งค่าตามที่ต้องการแล้ว สามารถดูการเปลี่ยนแปลงของ support ตามค่าที่เราปรับได้โดบการ กด Generate supports เพื่อดู support ที่เราสร้างได้ตลอดเวลาหลังปรับค่าใหม่

อีกทั้งเรายังสามารถเลือกจุดเพิ่ม หรือลบจุดที่จะสร้าง support ได้ด้วยการกดที่ Edit points จากนั้นไปเลือกเพิ่ม หรือลบที่ชิ้นงานได้

ถ้าต้องการลบ Supports ทั้งหมดออก กดที่ Clear supports

3.2 การ Slice ไฟล์ในโปรแกรม Phrozen 3D

เมื่อสร้าง support เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการสไลซ์ ให้เลือกที่ Start slicing 
จะมีหน้าต่างให้เลือกตำแหน่งไฟล์ที่เราต้องการวาง ให้เลือกตำแหน่งที่ท่านต้องการ

slicing file

จากนั้นจะมีหน้าต่างสรุปข้อมูลของไฟล์ที่จะสไลซ์ ให้ตรวจสอบให้เรียบร้อยว่า เป็นเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง และเป็นเรซินโปรไฟล์ที่เราต้องการ รวมทั้งยังบอกข้อมูลว่าเราต้องใช้จำนวนเรซินเท่าไรในส่วนของชิ้นงาน และ support  กด Ok, start slicing เพิ่มเริ่มทำการสไลซ์

slicing file

เมื่อสไลซ์เสร็จจะได้ไฟล์เป็น zip พร้อมสำหรับการนำไปพิมพ์ชิ้นงาน

3.3 การอัพโหลดไฟล์และพิมพ์ชิ้นงาน

มีวิธีการอัพโหลดไฟล์สองแบบคือ ผ่านทาง USB Flash Drive และ ผ่านทางอินเตอร์เนต

อัพโหลดผ่านทาง USB

  • ไฟล์ที่อัพโหลดต้องเป็นนามสกุล .zip  เสียบ usb flash drive ที่ด้านหลังของเครื่อง จากนั้นเลือกที่ PLATES

คู่มือการใช้งาน Phrozen Sonic XL 4K
  • จากนั้นเลือกที่ไอคอนรูป USB flash drive ที่มุมขวาบนของจอ เลือกไฟล์เพื่ออัพโหลดเข้าเครื่องพิมพ์ของเรา

upload file
upload file
  • เมื่ออัพโหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถถอด usb flash drive ออกได้ เนื่องจากไฟล์นั้นบันทึกลงในเครื่องพิมพ์ของเราแล้ว

อัพโหลดผ่านทางอินเตอร์เนต

  • ต่อเครื่องพิมพ์สามมิติกับอินเตอร์เนตผ่านทาง สายเชื่อมต่ออินเตอร์เนต(LAN) หรือ WIFI  และนำ IP address ที่อยู่บนหน้าจอเครื่องพิมพ์ไปค้นหาในเว็ปบราวเซอร์

  • เลือกที่แถบ PLATES จะแสดงไฟล์ที่พร้อมพิมพ์ที่มีอยู่ในเครื่องพิมพ์ของเรา รวมทั้งสามารถอัพโหลดไฟล์เพิ่มเติมได้

plates
  • กด select file เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดเข้าเครื่องพิมพ์ จากนั้นกด Upload เพื่อบันทึกไฟล์เข้าเครื่อง เมื่อไฟล์บันทึกเข้ามาแล้ว สามารถเลือกเรซินโปรไฟล์ที่ต้องการพิมพ์ให้กับไฟล์นั้นได้ แล้วกด update

การสั่งพิมพ์ชิ้นงานผ่านทาง USB Flash Drive

  • บันทึกไฟล์ที่สไลซ์แล้วใน flash drive นำไปเสียบที่เครื่องพิมพ์ ในหน้าจอเมนูหลัก กดที่ PLATES เพื่อเลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ และกดที่ชื่อไฟล์ที่ต้องการพิมพ์

  • เลือกไฟล์ที่ต้องการพิมพ์ เลือกเรซินโปรไฟล์ที่ต้องการพิมพ์

  • เราสามารถปรับเปลี่ยนโปรไฟล์การพิมพ์ได้โดยเลือกที่เครื่องหมาย + – กด  O เพื่อยืนยันการเลือก

  • เริ่มพิมพ์โดยกดที่เครื่องหมายถูก

print file

การสั่งพิมพ์ชิ้นงานผ่านทาง internet

  • พิมพ์ IP address ลงในเว็ปบราวเซอร์ แล้วเลือกที่เมนู PLATES

  • กด select file เพื่อเลือกไฟล์และกด PRINT เพื่อเริ่มกระบวณการพิมพ์ โดยกด UPDATE เสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเรซินโปรไฟล์

print file via internet

3.4 ข้อปฎิบัติ และข้อระวังในการพิมพ์แบบเรซิน

  • สวมถุงมือ  และหน้ากากกันสารเคมีเสมอ สวมเสื้อผ้ามิดชิด ระหว่างขั้นตอนการพิมพ์

  • เรซินเป็นสารเคมี ถ้ารู้สึกแพ้หรือระคายเคืองระหว่างการใช้ หรือเผลอรับประทานควรรีบไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

  • เมื่อมีการสัมผัสโดยตรงกับเรซินโปรดล้างออกให้สะอาด ถ้าการแพ้หรือระคายเคืองควรรีบไปพบแพทย์ที่ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

  • เก็บรักษาเรซินให้ห่างจากเด็ก

  • เขย่าขวดเรซินเสมอก่อนนำมาใช้งาน

  • เทเรซินไม่ควรเกินความสูงครึ่งหนึ่งของถาดเรซิน

  • คนเรซินให้สม่ำเสมอก่อนเริ่มกระบวณการพิมพ์ทุกครั้ง

  • ดูให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมอื่น หรือเรซินที่แข็งตัวค้างอยู่ในถาดเรซินก่อนเริ่มพิมพ์

  • ให้เครื่องพิมพ์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเท อุณหภูมิไม่ควรเกิน 25-30 องศาเซลเซียส

  • ถ้าต้องการเติมเรซินระหว่างกระบวณการพิมพ์ควรเติมเมื่อแสงยูวีดับ ขณะฐานพิมพ์กำลังยกขึ้น

  • ทำความสะอาดเรซินเสมอเมื่อหกใส่ส่วนอื่นของเครื่อง โดยปิดเครื่องก่อน

  • เนื่องจาก Phrozen Sonic XL 4K มีขนาดฐานพิมพ์ที่ใหญ่ทำให้พิมพ์ชิ้นงานได้เยอะ หรือขนาดใหญ่ ควรระวังการใส่ปริมาณเรซินให้พอดี เพื่อไม้ให้เกิดความเสียหายกับชิ้นงานที่จะพิมพ์

4. ขั้นตอนหลังพิมพ์งานเสร็จ ( Post-processing )

4.1 การทำความสะอาดชิ้นงาน

  • ใช้ที่ขูดแบบโลหะในการแซะชิ้นงานออกจากฐานพิมพ์ สวมใส่ถุงมือเสมอ และระมัดระวังระหว่างขั้นตอนการแกะชิ้นงานออกด้วยที่ขูดแบบโลหะ

  • ทำความสะอาดชิ้นงานด้วยแอลกอฮอล์ IPA อาจนำไปแกว่ง หรือ/และ แช่สักครู่ประมาณ 1 นาที จนไม่มีเรซินที่ยังไม่แข็งตัวเหลือติดชิ้นงาน

  • วางชิ้นงานทิ้งไว้ปล่อยให้แห้ง หรืออาจใช้เครื่องเป่าลมช่วยเพื่อขจัดคราบแอลกอฮอล์ หรือเรซินออกให้หมด

  • นำไปเข้าตู้อบยูวี ถ้าต้องการให้ชิ้นงานมีความแข็งแรงมากขึ้น รายละเอียดคมชัดขึ้น

วิดิโอแนะนำการพิมพ์แบบเรซิน และขั้นตอนการล้างชิ้นงาน

4.2 Maintenance ( การดูแลรักษา และป้องกันเครื่องพิมพ์สามมิติ )

  • การปิดเครื่องอย่างปลอดภัย กด Shutdown จากหน้าจอก่อนปิดสวิชต์ด้านหลังเสมอ

  • จัดหาแหล่งสำรองไฟฟ้าเพื่อป้องกันความเสียหายในวงจรเครื่องที่มาจากไฟฟ้าดับ กระตุก

  • ปิดเครื่องให้เรียบร้อยก่อนทำความสะอาด ฐานพิมพ์ ถาดเรซิน เสมอเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ที่อาจจะสร้างความเสียหายกับตัวเครื่องได้

  • ทำความสะอาดฐานพิมพ์โดยนำชิ้นงานที่เสร็จแล้วออกก่อน เช็ดให้สะอาดด้วยแอลกฮอล์จนกระทั่งไม่มีเรซินเหลือ

  • เก็บเรซินในขวดทึบแสง ปิดแน่นมิดชิด ในที่มืด และเย็น เทใส่ขวดโดยใช้กรวย และกระดาษกรองช่วยในการเทกลับใส่ขวด *เก็บเรซินเหลือ กับเรซินใหม่ ให้อยู่คนละขวดกัน*

  • ทำความสะอาดถาดใส่เรซิน โดยใช้กระดาษทิชชู่ซับแอลกอฮอล์ IPA เช็ดจนกระทั่งไม่มีเรซินเหลืออยู่

  • ตั้งเครื่องพิมพ์ ให้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเท อุณหภูมิไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน

5. เรซินโปรไฟล์

สำหรับ HD Resin ของ Sync Innovation (ทุกสีใช้โปรไฟล์เดียวกัน) สามารถตั้งค่าได้ดังรูป

HD Resin (Sync Innovation)

30 micron (HD Resin) งานกลุ่มจิวเวลลี่ หรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง

HD resin 30 micron

50 micron (HD Resin)

HD resin 50 micron

100 micron (HD Resin)

HD resin 100 micron

Wax Resin

คือเรซินที่นำไปหล่อต่อได้ เช่น Phrozen Wax-Like Violet Castable Resin (สีม่วง) หรือ BlueCast Cr3a (สีฟ้าน้ำเงิน)

30 micron (Wax Resin) งานกลุ่มจิวเวลลี่ หรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง

Wax resin 30 micron

Engineering Resin - เรซินกลุ่มวิศวกรรม

เช่น เรซิน Siraya Blu (สีฟ้า) หรือ Phrozen Rock-Black Stiff Resin (สีดำ)

50 micron (Engineering Resin)

Engineering resin 50 micron

สำหรับเรซินโปรไฟล์ของเรซินอื่นๆเพิ่มเติมสามารถดูได้ ที่นี่

6. ปัญหาที่อาจพบ

เปิดเครื่องแล้วค้างอยู่หน้าจอรีบูทระบบนาน

วิธีแก้ไข ปกติจะใช้เวลาโหลดก่อนเข้าหน้าจอการทำงานครั้งแรกเป็นปกติอยู่แล้วประมาณ 45 วินาที หรือมากกว่านั้นถึง 4-5 นาที โปรดรอสักครู่

เปิดเครื่องแล้วยังค้างอยู่หน้าจอบูทแม้รอแล้วมากกว่า 5 นาที

วิธีแก้ไข ตรวจสอบว่า  micro sd card ซึ่งเป็นที่เก็บระบบปฎิบัติการของเครื่องพิมพ์ เสียบแน่นดีหรือเปล่า และลองปิดแล้วเปิดสวิชต์ที่ด้านหลังเครื่องใหม่อีกครั้งแล้วจะกลับมาทำงานได้ปกติ 

ถ้ายังค้างที่หน้าจอรีบูทระบบแม้รอสักครู่แล้ว หรือเปิดแล้วปิดเครื่องใหม่หลายครั้ง

วิธีแก้ไข อาจจะต้องทำการ  Format ระบบใหม่โดยใช้ SD card โดยมีวิธีแก้ไขอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป

ปัญหาเกี่ยวกับการพิมพ์ชิ้นงาน เช่น ชิ้นงานไม่ติดฐาน ผิวไม่เรียบเนียน ชิ้นงานเบี้ยว แตกหัก

วิธีแก้ไข สามรถดูได้ที่แถบ support ในเว็ปไซต์ syn-innovation.com และเลือก ปัญหาที่พบบ่อยของเครื่อง SLA หรือ FAQ สำหรับ Resin 3D Printer หรือคลิ๊กที่ลิงค์ด้านล่าง

https://www.sync-innovation.com/troubleshooting/problem-lcd-3d-printer/

 

 กระแสไฟฟ้าที่เสียบให้พลังงานกับเครื่องพิมพ์ไม่เสถียร ตกบ่อย ทำให้เครื่องรีบูทนาน ไม่เข้าหน้าจอทำงาน

วิธีแก้ไข ควรจัดหาแหล่งให้ไฟฟ้าสำรองเพื่อป้องกันไฟตก ไฟกระตุกซึ่งอาจส่งผลให้เครื่องไม่สามารถทำงานได้

พิมพ์ออกมาแล้ว ชิ้นงานยืดออกผิดสัดส่วน

วิธีแก้ไข เกิดจากเลือก ความหนาต่อชั้น ( Layer Height ) ตอนที่สไลซ์ไฟล์ กับเรซินโปรไฟล์ที่เลือกใช้ที่เครื่องไม่ตรงกัน เช่นสไลซ์ด้วย 50 ไมครอน แต่เลือกพิมพ์เรซินโปรไฟล์หน้าเครื่อง 30 ไมครอน ต้องเลือกให้ตรงกันเท่านั้น

มีปัญหาเกี่ยวกับพิมพ์ชิ้นงานสามารถดูวิธีแก้ไขได้ คลิ้กที่ปุ่มด้านล่าง

ปัญหาการ เปิด/รีบูท เครื่องไม่ติด

เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยอาการคือจะค้างอยู่ที่หน้าจอรีบูท ไม่สามารถเข้าหน้าจอเมนูหลักได้ มีวิธีแก้ปัญหาดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟว่ามีกำลังไฟเพียงพอ เนื่องจากบางแหล่งจ่ายไฟของบางท่าน ไม่เสถียร มีการการกระตุกและอาจทำให้เครื่องพิมพ์เกิดการกระชากไฟ และเกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวตามมาได้ ควรเตรียมแหล่งจ่ายไฟที่เสถียร หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์อีกทีเพื่อการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในอนาคตเมื่อเกิดไฟดับหรือกระตุก ชิ้นงานที่อยู่ระหว่างการพิมพ์จะไม่เสียหายด้วย

  • เมื่อท่านมั่นใจแล้วว่ามีแหล่งจ่ายไฟที่เสถียร แต่ยังคงมีปัญหาเกิดขึ้นคือรีบูทเครื่องไม่ติด ไม่สามารถใช้เครื่องพิมพ์ได้ อาจจะลองเปิดปิดสวิทช์ที่หลังเครื่องพิมพ์และรอรีบูทอีกครั้งเป็นเวลาสักครู่

  • เมื่อท่านได้ลองแก้ไขด้วยสองวิธีที่กล่าวมาข้างต้น แต่ยังคงไม่สามารถรีบูทเครื่องและใช้งานเครื่องได้ การลงเฟิร์มแวร์ใหม่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมาได้ โดยมีขั้นตอนแรกคือ ให้ดาวน์โหลดไฟล์ SD Image ตามรุ่นของเครื่อง Phrozen ที่ท่านใช้ได้จากลิงค์นี้ http://fs1.phrozen3d.com/?fbclid=IwAR1B3rXA-Zson7sS1ukykcR8Ht8gMWg0ZhijeMAuyrswyBCvkSW1ilvGCog                      โดยนำไฟล์ที่ได้ ทำการ format นำใส่ micro SD card                                                  เพื่อนำ micro SD cardไปเสียบที่หลังเครื่องพิมพ์ และกดสวิทช์เปิดเครื่องเพื่อรีบูทเครื่องใหม่อีกครั้ง   โดยวีธีดังกล่าวสามารถปฎิบัติได้ตามวิดิโอด้านล่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก