รู้จัก Elegoo Jupiter
- Elegoo Jupiter เปิดตัวด้วยการระดมทุนในเวบ Kickstarters ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะขณะนั้นมีมีแค่ Phrozen Transform และ Flashforge Foto ที่เป็นจอขนาดเกิน 10 นิ้ว ชนิด Mono ความละเอียดอยู่ที่ 4K ในท้องตลาด และราคาสูงระดับแสนบาท ในขณะที่ Jupiter ไม่ถึง 5 หมื่นบาท ดังนั้นจึงมีผู้สนใจระดมทุน มากกว่า 5000 ครั้ง คิดเป็นเงินเกือบ 200 ล้านบาท สร้างปรากฎการณ์ใหม่ จากตัวรุ่น Saturn ของตัวเอง
- นอกจากเรื่องสเปคที่เหนือกว่าในยุคนั้นแล้ว การออกแบบและดีไซน์เครื่อง ยังมีมาตรฐานสูงในระดับแบรนด์ยุโรปอย่าง Satori นำไป OEM ปรับปรุงเป็นของตัวเอง (ดูข้อมูล Satori VL2800) จำหน่ายในราคาเกือบ 2 แสนบาทเลยทีเดียว แต่สุดท้ายติดที่ระบบควบคุมของ Chitu System ยังไม่ตอบโจทย์ของผู้พัฒนา เลยมีการยกเลิกการระดมทุนไป (ได้ทุนมาเกือบ 6 ล้านบาท)
- ทั้งนี้ Elegoo เลยจับเอาโมเดลนี้มาขายเอง ซึ่งไปเจอวิกฤต Covid-19 พอดี ทำให้การส่งมอบล่าช้าไปเกือบ 1 ปี โดยผู้เขียนสั่งจองไปช่วงเดือนตุลาคม 2021 กว่าจะได้เครื่องมารีวิวก็ ปลายตุลาคม 2022 พอดี
1. โครงสร้างของ Elegoo Jupiter
- เริ่มต้นก่อนจะเริ่มรีวิว ถือว่าเป็นโชคดีของทางผู้ใช้งาน ที่ตอนเริ่มต้นทาง Elegoo แจ้งใน Kickstarter ว่าผู้ใช้จะต้องประกอบเครื่องเอง การขายจะเป็นในลักษณะชุด KIT ซึ่งก็น่าหนักใจสำหรับคนทั่วไปพอสมควร แต่ปัจจุบันเครื่องที่จำหน่ายจะประกอบสำเร็จมาจากโรงงานแล้ว คาดว่าเป็นการลดปัญหาด้านการบริการหลังการขาย จากชิ้นส่วนไม่ได้คุณภาพ/เสียหาย ระหว่างขนส่ง

- Jupiter ที่ได้รับมาในกล่องสีน้ำตาลมาตรฐาน เป็นครั้งแรกที่ทาง Elegoo มีบรรจุภัณฑ์แนวตั้งจำหน่าย ปกติรุ่นก่อนหน้าจะนอนมาตลอด
- หลังดึงกล่องลังหุ้มขึ้น โดยจะมีโฟมบุบน-ล่างกันกระแทกขณะขนส่ง ซึ่งแน่นหนาพอสมควร Elegoo เน้นส่งไปยุโรป อเมริกาอยู่แล้ว จุดนี้ไว้ใจได้
- อุปกรณ์ที่มาพร้อมเครื่องตามสมัยนิยมเครื่องผลิตจากโรงงานจีน คือมาเป็นกล่องพลาสติกสวยงาม โดยจากแคมเปญ KS ได้ FEP มาเป็นของแถมด้วย (ปกติจะไม่มี)
- อุปกรณ์หลักๆก็ตามภาพด้านล่าง มีเกรียงแกะชิ้นงาน และ Adaptor จ่ายไฟที่ใหญ่ขึ้น


- ขนาดเครื่องเทียบกับ Saturn 2 ที่ใหญ่แล้ว ตัว Jupiter ใหญ่เป็น 3 เท่าตัวได้
- เปรียบเทียบกับ Mega 8K เครื่องขวาสุดภาพที่ 2 ก็ยังใหญ่กว่าเล็กน้อยในด้านกว้าง แต่ด้านสูงชัดเจนว่าใหญ่กว่า
- Jupiter เป็นเครื่องพิมพ์จอ 12.8 นิ้ว ในขณะที่ Mega 8K เป็นเครื่องพิมพ์จอ 15 นิ้ว
- ฐานพิมพ์ (Buildplate) หน้าตาส่วนที่ติดชิ้นงานเหมือนเดิม แต่ส่วนการคาริเบรตดูซับซ้อนมากขึ้น
- ขนาดฐานพิมพ์เทียบกับ Mega 8K แล้ว ยังดูเล็กกว่ามาก
- ตอนแรกแค่เอาประกอบใส่กับตัว T-Plate เพื่อทดลองปริ้นยังดูงงเลยว่าใส่อย่างไร
- มาที่ตัวถาดเรซินจะหน้าตาแปลกหน่อย เพราะมุมขวาบนจะมีที่สำหรับระบบเติมเรซินอัตโนมัติ ใครนึกไม่ออกให้นึกถึงตู้แท้งกดน้ำครับ ระบบเดียวกันเลย คือเรซินค่อยๆไหลลงมาให้ได้ระดับเดียวกับเรซินในถาด เป็นระบบที่เรียบง่ายแต่ใช้งานได้ดี ด้านล่างมีฟิล์มกันรอยจากโรงงานติดมาให้ ต้องแกะออกก่อนการปริ้น
- อย่างไรก็ตามตัวจุก CAP ที่ให้มา จะใช้ได้เฉพาะกับขวดเรซินของ Elegoo เอง และหรือเรซินยี่ห้ออื่นที่ขวดหน้าตาคล้ายกันใส่ CAP ได้เท่านั้น หลายๆยี่ห้อหมดสิทธิ์ใช้ระบบนี้
- มาดูที่ภายในบ้างระบบแกน Z เป็นบอลสกรูพร้อม linear รางคู่มาตรฐานเครื่องผลิตจากจีนในเจนนี้
- ตัว T-Plate ที่ยื่นออกมาเป็น 2 ชิ้น และตัวยึดกับฐานพิมพ์อีก 1 ชิ้น ซึ่งเป็นดีไซน์ของเครื่องขนาดใหญ่ ถ้าเล็กลงไปกว่านี้จะเริ่มเห็นเป็นงาน CNC ชิ้นเดียวทั้งแขนแล้ว
- Cupling เป็นรแบบ Dual-Disk รองรับแรงบิดและน้ำหนักได้ดี ไม่มี backlash ดังนั้นเรื่อง precision น่าจะแม่นยำ
- มาดูที่ตัวจอ LCD เรียกว่า Jupiter ดีไซน์มาพรีเมี่ยมเลย ไม่เห็นที่เป็นโมดูลเป็นจอและกรอบอลูมิเนียมมานานแล้วตั้งแต่สมัย Phrozen Sonic 1K/ Shuffle 4K ดังนั้นเวลาเปลี่ยนก็แค่ไขน๊อตกรอบด้านนอก พร้อมถอดสายแพร สะดวกมากยิ่งขึ้น
- ตัวจอรอบนี้ไม่แปลกใจที่มาเป็นโมดูล เพราะลงทุนใช้โรงงานผลิตจอรายใหญ่จากไต้หวัน ถึงแม้จะความละเอียดต่ำกว่าหลายๆรุ่นในปัจจุบัน ที่ไปถึง 7K 8K แล้ว แต่คุณภาพดี ทนทาน
- การดีไซน์ระบบติดตั้งจอแบบนี้ปัจจุบันในเครื่อง LCD 13 นิ้วขึ้นไป ยังไม่มีใครกล้าลงทุนในระดับนี้ เพราะต้นทุนจะสูงขึ้นพอสมควร แต่ผู้ใช้ หรือ user จะเปลี่ยนจอก็ง่ายขึ้น
- หน้าจอสัมผัสขยายใหญ่เป็น 5 นิ้ว ดูพรีเมี่ยมมากขึ้น จอมีความ Responsive ดีกว่าเดิมมาก ไหนๆจะเป็นจอตัวเดียวกับ Mighty 8K แล้ว หน้าจะทำ User Interface ใหม่ ให้สวยขึ้น
- เมนูเหมือนเดิมทั้งหมด ใครคุ้นเคยกับโมเดลอื่นๆเช่น Mars Saturn ตัว Jupiter ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
2. เริ่มต้นการใช้งาน
- Jupiter ถือว่าเป็นเครื่องในระดับเกิน 12 นิ้ว ดังนั้นการตั้งระนาบฐานจะมีซับซ้อนกว่าเครื่องเล็กๆ ที่มักขันน๊อตแค่ 2-4 ตัวก็เสร็จแล้ว มีหลายรีวิวบ่นเรื่องนี้เหมือนกัน
- วิธีการตั้งระนาบฐานพิมพ์ดูได้จากคลิบจากทาง Elegoo แนะนำให้ดูอย่างละเอียดก่อนลงมือทำ
- จากนั้นเตรียมไฟล์ทดสอบโดยใช้ Chitubox ใน การ slice ชิ้นงาน ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.9 ขึ้นไป จะมีโปรไฟล์ของ Jupiter มาให้แล้ว
- เรซินที่ใช้ ต้องการทดสอบความละเอียดให้มากที่สุด โดยเลือก Phrozen Aqua Red Clay 8K ในการทดสอบเนื่องจากความคมของงาน และสีสันที่เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน ใช้เวลาฉายแสง 50 ไมครอน ที่ 2 วินาที
- จากนั้นเตรียมไฟล์ทดสอบโดยใช้ Chitubox ใน การ slice ชิ้นงาน ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.9 ขึ้นไป จะมีโปรไฟล์ของ Jupiter มาให้แล้ว
- เรซินที่ใช้ ต้องการทดสอบความละเอียดให้มากที่สุด โดยเลือก Phrozen Aqua Red Clay 8K ในการทดสอบเนื่องจากความคมของงาน และสีสันที่เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน ใช้เวลาฉายแสง 50 ไมครอน ที่ 2 วินาที
- งานทดสอบแรกเป็น RP Test ของ Phrozen ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงในการปริ้น
- สำหรับคนที่กังวลว่าระบบฉายแสงเปลี่ยนจาก Array Marix เป็น COB แสงข้างๆจะสม่ำเสมอ ความเข้มเท่ากันมั้ย ทดสอบมาให้ดูแล้วครับ ว่าใกล้เคียงกันทั้งหมด ด้วยเทคโนโลยีเลนส์ใหญ่ๆ ที่ดีกว่ายุคแรกเริ่มของ LCD ที่ไม่มีอะไรเลย มีแค่กรวยอลูมิเนียมสะท้อนแสง มากแบบเห็นได้ชัด
- งาน RP Test ที่ได้ ถือว่าคุณภาพดีมาก รายละเอียดเล็กๆ ขึ้นได้หมดไม่ต่างจากเครื่องความละเอียด ต่ำกว่า 30 ไมครอน XY ขนาดที่ปริ้นมาก็แม่นยำตามแบบ ส่วนหนึ่งมาจากตัว Aqua 8K ด้วย ที่เป็นเรซินเกรดพรีเมี่ยมจริงๆ
- มาถึงงานหลักๆคือโมเดลที่คนส่วนใหญ่มักนำไปใช้งาน โดยเป็นโมเดลโปเกมอนหลานชิ้น ขึ้นงานครั้งเดียว ใช้เวลาราวๆ 9 ชั่วโมง ที่ 50 ไมครอน ประกอบกันแล้วสูงราวๆ 20 cm
- ตัวงานภาพรวมถือว่า XY Resolution 50 ไมครอน ทำงานได้ดี รายละเอียดต่างๆคมชัดตามแบบ ส่วนรอยวงกลมๆ ก็ตามความสามารถเครื่อง ส่วนนี้ถ้างานใหญ่ ก็โป้ว ขัด เก็บได้ง่ายหน่อย งานเล็กๆ ดูผลงานพิมพ์ตามภาพชุดถัดไป
- ส่วนไซส์การพิมพ์ 30 cm ช่วยได้เยอะ กรณีงานแนวสูง เช่น โมเดลคน พุทธศิลป์
- มาในส่วนงานเล็กๆ ความสูงไม่เกิน 30 mm ขนาดลองดูเทียบกับฝ่ามือ หรือปลายปากกา โดยงานปริ้นทำได้ดี รายละเอียดขึ้นครบทั้งหมด แต่ความคมหรือความเนียน ยังเทียบกับพวกเครื่องระดับ 20 ไมครอน ไม่ได้ กลุ่มนั้นงานดีกว่าพอสมควร
- สำหรับคนทั่วไปอาจจะไม่มีผลมากนัก แต่สำหรับคนที่ทำงานสเกลระดับนี้ น่าจะยังไม่พอใจ หากเทียบกับงานเครื่องเล็กระดับ 8K
- สำหรับคนที่เทียบกับ Mega 8K ก็ต้องบอกแบบตรงไป ตรงมาว่าตัว Mega 8K รายละเอียด ความคมยังดีกว่านี้เล็กน้อย
- ภาพจากงาน Mighty 8K 28 ไมครอน เรซิน Aqua Grey 8K สังเกตว่าไม่มีวงๆที่ท้องเลย
บทสรุปแบบตรงไปตรงมา สำหรับ Elegoo Jupiter
- เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเครื่องพิมพ์จอ 12-13 ที่งานประกอบดีสุดในปัจจุบันในงบราวๆ 4-5 หมื่นบาท
- เครื่องแข็งแรง แน่นหนา ขนาดและน้ำหนักมากกว่า Mega 8K ที่จอ 15 นิ้วเสียอีก
- การซ่อมบำรุงทำได้ง่าย เนื่องจากออกแบบมาให้ user ประกอบเองในตอนแรก จึงแทบจะแกะออกได้ทุกส่วน (น๊อตเยอะมาก)
- ระบบจอแบบโมดูล ถือว่าลงทุนมาก ส่วนนี้ช่วย user ในการเปลี่ยนจอได้ดี
- ระบบเติมเรซินอัตโนมัติเป็นจุดดี ดีไซน์แบบง่าย แต่ใช้งานได้จริง ไม่มียุ่งยาก แต่ควรดีไซน์ให้เข้ากับขวดเรซินหลายๆแบบ
- จุดด้อยที่สุดคือความละเอียดในยุคปัจจุบันที่ไปกัน 7-10K แล้ว Jupiter ยังอยู่ที่ 6K เข้าใจได้ว่าไปจ้างโรงงานที่ไต้หวันผลิตเป็นลอตกับปัญหาชิบขาดแคลน กว่าจะเสร็จก็เป็นช่วงเปลี่ยนเทคโนโลยีพอดี แต่สำหรับงานโมเดลที่ทำสี มองข้ามไปได้เลยครับ ความละเอียดเพียงพอแล้ว
- ควรมีฟิล์มกันเรซินหก ติดหน้าจอได้แล้วกับเครื่องราคาหลายหมื่น ซึ่งหากเสียหาย ล้างไม่ออก เปลี่ยนจอทีแทบจะ 25% ของตัวเครื่อง
- ดีไซน์การใส่ฐานพิมพ์เข้ากับเครื่องดูลำบาก รวมถึงการคาริเบรตระนาบก็ดูยุ่งยาก บางจุดต้องอาศัยความรู้สึกของผู้ใช้เป็นเกณฑ์ความเหมาะสม
- ฐานพิมพ์ขนาดใหญ่ ควรเจาะรูเพื่อลดแรงกดที่เกิดขึ้น ขณะฐานพิมพ์เคลื่อนที่ลงไปยังจอ ส่วนนี้ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถปรับแก้ไขให้ขึ้น-ลง ได้เร็วมากขึ้น ลดความหน่วงการไหลของเรซิน