Phrozen Sonic Mighty 8K รุ่นสุดท้ายในซี่รีย์ 8K
- มาถึงรีวิว Model ที่คาดว่าน่าจะเป็นรุ่นสุดท้ายของซี่รีย์จอ 8K จาก Phrozen หลังจากที่เปิดตัว Mega 8K (พ.ค. 2021) และ Mini 8K (พ.ย. 2021) ส่วน Mighty 8K เปิดตัว (พ.ค. 2022)
- Mighty 8K เป็นรุ่นที่ปรับโฉมจากตัวเดิม 4K มาก อย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าแทบไม่มีชิ้นไหนใช้แบบเดิมเลย ตั้งแต่ระบบควบคุมและ User Interface ที่ปรับโฉมใหม่หมด ให้ดูหรูหราเหมือนเครื่องราคาแพง
- อีกระบบที่เติมเข้ามาดูกล้องวงจรปิดติดตามการพิมพ์ พร้อม Application สั่งงานผ่านมือถือ ยกระดับการทำงานให้ง่ายขึ้นไปอีก
- สุดท้ายที่ชัดเจนคือระบบฉายแสงที่เลิกใช้ ParaLED มาใช้เป็นแบบ COB หรือที่มีเรียกเฉพาะตัวว่า Linear Projection LED Module (LPM) ทำให้ทนทาน การกระจายตัวของแสงดียิ่งขึ้น ไม่เป็นรอยต่อจากการใช้เลนส์แยกแต่ละชุด
- ใครอยากดูรายละเอียดแบบชัดๆ ดูได้ในคลิบเปรียบเทียบ Mighty 4K และ 8K ด้านล่างได้เลยครับ
1. แกะกล่อง (Unbox)
- กล่องของ Mighty 8K ขนาดใหญ่กว่ารุ่นเดิมพอสมควร โดยบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เหมือนกับ Phrozen ทุกรุ่น คือมีโฟมกันกระแทกมาทุกด้าน (ขออนุญาตเอารูปของ Dennys Wang มาให้เห็นภาพ เนื่องจากไม่ได้ถ่ายภาพให้เห็น)
- กล่องอุปกรณ์ต่างๆอยู่ภายในตัวเครื่อง เหมือนกันทุกรุ่น จะมีเพิ่มมาคือตัว Wifi Dongle สำหรับคนที่จะปริ้นผ่าน wifi
- ขนาดตัวเครื่องใกล้เคียง Mini 8K เล็กกว่า Mega 8K แบบเห็นได้ชัด
- น้ำหนักของตัวเครื่องเพิ่มมากจากเดิมเกือบ 2 เท่า นอกจากขนาดหน้าจอ และอุปกรณ์ต่างๆจะใหญ่จากเดิมแล้ว ตัวโครงสร้างก็เป็นโลหะทั้งหมด ไม่ได้เป็นพลาสติกด้านข้างแบบ Mighty 4K
- อีกส่วนที่เพิ่มเติมมา คือกล้องติดตามการพิมพ์ ซึ่งรอบรับ Chitubox เวอร์ชั่น 2 ขึ้นไป ในขณะที่ปัจจุบันอยู่ที่ 1.9.3 ดังนั้น ยังไม่สามารถใช้งานได้ ตัวกล้อง สามารถขยับไปมาได้ค่อนข้างอิสระ จากแกนเคลื่อนที่ 2 แกน สามารถปรับสูง-ต่ำ เอียง ได้ตามใจ
- ส่วนของหน้าจอ LCD และถาดเรซิน (Resin Tank) ในเครื่องเดโม มีที่กันรอยสำหรับขนส่งติดมาให้ด้วย ช่วยให้มั่นใจว่าไม่เกิดรอยขีดข่วนขณะการขนส่ง
- ตัวถาดเรซิน มีน๊อต ยื่นออกมาก ช่วยให้เวลาวางราบกับพื้น ตัวฟิล์มจะมีระยะห่างจากพื้น ลดโอกาสเกิดรอบขูด
- บริเวณตำแหน่งที่ติดตั้งถาดเรซินจะมีการเซาะร่องลงไป และบริเวณน๊อตทั้ง 4 มุม จะเจาะรู ดังนั้น ไม่มีทางใส่ถาดเรซินผิดตำแหน่งแน่นอน
- ด้านหลังมีพัดลมระบายอากาศขนาดใหญ่ 1 ตัว ซึ่งน่าจะพอเพียงกับปัจจุบัน
- ข้างๆเป็นช่องเสียบ Wifi Dongle และสายแลน สังเกตว่าเป็น USB 3.0 น่าจะไม่มีปัญหาเรื่องส่งข้อมูล
- ที่ฉลากระบุเลขซีเรียลของเครื่อง และเครื่องรุ่นนี้ ผลิตที่ประเทศจีน ! ไม่ใช่ไต้หวันเหมือนรุ่นก่อนๆ จากการสอบถามไปยัง Phrozen ในอนาคตจะมีเฉพาะบางรุ่นที่ผลิตในไต้หวัน ที่ทราบมาคือ Mega 8K, Sonic และ Sonic XL
- สิ่งที่ดูแปลกตามากที่สุด เทียบกับรุ่นที่ผ่านๆมา คือจอเป็น IPS Touch Screen แบบคมชัดดีมาก พร้อม User interface ใหม่ ที่เวลากดไม่มีการหน่วงเลย ลื่นติดมือดีมาก
- ส่วนลำดับเมนูต่างๆ ใครที่คุ้นกับระบบ Chitu อยู่แล้ว ก็ไม่ได้ลำบากอะไร คำสั่งหลักๆเหมือนเดิม แค่ต้องหาตัวปุ่มให้เจอ
- ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาอย่าง Export Error Log ที่หากพบปัญหา เสียบตัว Flash Drive กด Export แล้วส่งไปที่ผู้ผลิต น่าจะช่วยให้คนพัฒนา Chitu แก้ไขระบบให้สเถียรขึ้นได้สะดวกมากขึ้น
- ทดสอบการทำงานของระบบ ตัวกล้องและระบบ Wifi ทำงานปกติ รอแค่การ Support จาก Chitubox
- [Update 29 ธันวาคม] ระบบกล้องและ Application ใช้งานได้แล้วระดับหนึ่ง สามารถติดตามจากโทรศัพท์ มือถือได้แล้ว ตามลิ้งนี้ (คลิก)
- ส่วนของฐานพิมพ์มีการเจาะร่องเป็นลวดลาย ช่วยเพิ่มพื้นที่สัมผัสกับชิ้นงาน ซึ่งคราวนี้ยิงลึกขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสมัย Mini 8K ซึ่งใช้งานไม่เท่าไหร่ ร่องที่ยิงเลเซอร์มาก็เรียบหมดแล้ว ไม่ได้ช่วยในการยึดเกาะ
- ส่วนของพื้นที่การปริ้น ต้องบอกว่า Mighty 8K ใหญ่กว่า Mini 8K พอสมควร โดยเฉพาะฝั่งโมเดล แบบจำลองน่าจะถูกใจกับพื้นที่ขนาดนี้มากกว่าตัว Mini 8K
- มาดูที่ภายในกันต่อว่า ในเครื่องมีอะไรบ้าง โดยสามารถแกะน๊อต 4 ตัว ด้านขวาและซ้ายอย่างละ 2 ตัว (โปรดระวังเกลียวเสียหาย) ก็สามารถเห็นภายในได้ทั้งหมด ถือว่าสะดวกกว่ารุ่นก่อน ที่ต้องขันจากด้านล่าง
- บอร์ดควบคุมที่แทบจะเป็นมาตรฐานของเครื่อง 8K ในปัจจุบัน คือ Chitu System E10 (จะมีเวอร์ชั่น lite สำหรับเครื่องเล็กๆ ด้วย)
- ส่วนที่ปรับปรุงแล้วดีขึ้นคือ จอ LCD มีต่อสายกราวด์ (สายสีเขียว-เหลือง)เข้ากับตัวบอร์ดควบคุมแล้ว (สมัย Mighty 4K ยังไม่มี)
- ส่วนที่ยังต้องปรับปรุง เข้าใจว่าเป็นดีไซน์มาจากทาง Chitu คือ หน้าจอสัมผัสสวยๆที่เห็น ใช้การทากาวยึดกับโครงสร้าง โดยมีน๊อตยึดเพียง2 ตัวด้านซ้ายตามภาพ ซึ่งหากวันหนึ่ง กาวเสื่อมสภาพหลุดหมดแล้ว จอก็แทบจะหลุดจากโครงสร้างเลย
- สำหรับระบบฉายแสงก็เป็นระบบ Linear Projection LED Module ตามเครื่องรุ่นใหม่ของ Phrozen ที่ต้องการลดความร้อน และความสม่ำเสมอของแสงมากยิ่งขึ้น
- ตัวมอเตอร์แกน Z ใหญ่กว่าแบรนด์ทั่วไป ซึ่งเป็นแบบนี้มาตลอดทุกรุ่น พร้อมติดตัวยางกันสะเทือนมาเรียบร้อย จุดเล็กๆน้อยตรงนี้ ที่บางยี่ห้อมองข้าม ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ Phrozen ราคามักสูงกว่าแบรนด์อื่นๆ
- คลิบแนะนำหน้าจอการทำงานใหม่ ว่ามีอะไรบ้าง
2. เริ่มต้นใช้งาน Mighty 8K
- การเริ่มต้นใช้งานก็เหมือนเครื่อง Resin 3D Printer ทั่วไป คือต้องตั้งระนาบของฐานพิมพ์ก่อน
- ก่อนตั้งต้องแกะฟิล์มกันรอยออกทั้งที่ฐานพิมพ์ และหน้าจอ LCD
- อีกฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Z-Offset สำหรับคนที่พิมพ์แล้วชิ้นงานติดแน่น หรือกดจอมากเกินไป ก็สามารถ Offset ขึ้นมาอีก 50-100 ไมครอน (0.05-0.1 mm) ได้ ไม่ต้องมานั่งใช้กระดาษ 2 แผ่น 3 แผ่น วางซ้อนช่วยในการตั้งระนาบแล้ว
- ตั้งระนาบเสร็จ ขันน๊อตยึดฐานพิมพ์ทั้ง 4 จุด เป็นอันเรียบร้อย พร้อมใช้งาน
- มาที่ Chutubox เวอร์ชั่นที่มี Profile Mighty 8K คือ 1.9.3 ขึ้นไป ปัจจุบัน ยังไม่นสนับสนุนระบบกล้อง ต้องรอ เวอร์ชั่น 2 ขึ้นไป
- โมเดลทดสอบเป็น RP Test ของ Phrozen ตัวใหม่ล่าสุด (คลิกเพื่อ Download) ซึ่งครอบคลุมทุกการใช้งาน
- เรซินที่ใช้เป็น Phrozen Aqua Grey 8K ปริ้นที่ความละเอียด 50 ไมครอน ค่าที่มาพร้อมโปรแกรม ใช้เวลาราวๆ 1 ชั่วโมง
3. ผลการปริ้น
- ค่ามาตรฐานโรงงานที่เวลาฉายแสง 2 วินาทีความละเอียด 50 ไมครอน ค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับงานที่มีรายละเอียดเยอะ (สามารถปรับลดให้อยู่ในช่วง 1.2-1.5 วินาที)
- สำหรับงานไซส์เต็มพื้นที่การพิมพ์ เวลาที่โรงงานตั้งมา น่าจะไม่พบปัญหางานหลุด งานฉีกขาด
- ค่ามาตรฐานโรงงานที่เวลาฉายแสง 2 วินาทีความละเอียด 50 ไมครอน ค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับงานที่มีรายละเอียดเยอะ (สามารถปรับลดให้อยู่ในช่วง 1.2-1.5 วินาที)
- สำหรับงานไซส์เต็มพื้นที่การพิมพ์ เวลาที่โรงงานตั้งมา น่าจะไม่พบปัญหางานหลุด งานฉีกขาด
- งานตัวนี้น่าจะพอให้เห็นภาพของ Mighty 8K ว่าทำงานละเอียด ได้มาก น้อยเพียงใด
เทียบกับ Mighty 4K และ Mini 8K เป็นอย่างไร 4
- ความละเอียด XY แต่ละเครื่องคือ Mighty 4K = 52 ไมครอน Mighty 8K = 28 ไมครอน และ Mini 8K = 22 ไมครอน
- ไฟล์ทดสอบ เป็นโมเดลความสูง 40 mm รายละเอียดกลางๆ
- สำหรับงานทั่วไป ฟิกเกอร์โมเดล คนที่ไม่ได้ซีเรียส ว่าต้องไม่มีรอยก้นหอย รอยต่อของชั้น ทั้ง 3 เครื่องแทบจะมองความต่างได้ยาก สำหรับการใช้ตามองตามปกติ
- ทั้งนี้ ถ้าจะให้เห็นความต่างก็ต้องซูมไปที่ส่วนผิวโค้งต่างๆ จึงจะพอมองเห็นความต่างอยู่บ้าง
22 vs 28 vs 52 micron ในงาน 40 mm มองความแตกต่างด้วยตาได้ยากมาก
- รีวิวนี้เลยใช้ไฟล์ขนาดใหญ่ 3 เท่า ความสูงราวๆ 140 mm เพื่อดูความต่างระหว่าง Mighty 4K กับ Mighty 8K
- ทั้งนี้มีรีวิวเยอะพอสมควรแล้วระหว่าง Mini 8K และ Mighty 8K เลยไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกัน
- ด้วยความละเอียดที่ต่างกันเกือบ 2 เท่า (28 vs 52 ไมครอน) ส่วนที่เป็นผิวโค้งของ Mighty 4K เลยเห็นเป็นรอยต่อของชั้นที่ชัดเจนกว่า ตามภาพเปรียบเทียบด้านล่าง
28 vs 52 micron ในงาน 140 mm มองความแตกต่างด้วยตาได้ยากมาก
งานปริ้นอื่นๆ
Mighty 8K เหมาะกับใคร ?
- คนที่ใช้เครื่องความละเอียด XY เกิน 50 ไมครอน ขึ้นไป แล้วต้องการเครื่องใหม่ที่ผิวงานที่ดีขึ้นแบบเห็นได้ชัด
- คนที่ต้องการงานสูงประมาณ 20 cm แล้วมีความละเอียดดีที่สุดในปัจจุบัน
- คนในสายงานจิวเวลรี ที่ต้องการอัตราการผลิตสูงขึ้น วางงานได้มากขึ้นต่อรอบการผลิต
- คนที่ต้องการฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น กล้องติดตามการทำงาน สั่งงานผ่าน Application ซึ่งจะมาพร้อม Chitubox 2.0 เป็นต้นไป
- งานทางวิศวกรรมที่ต้องการขนาดการพิมพ์ ใหญ่อีกระดับหนึ่ง ซึ่งจากประสบการณ์ตัว Mini 8K ไม่ตอบโจทย์เรื่องพื้นที่ของงานทางวิศวกรรม
รีวิวจากต่างชาติที่น่าสนใจ
- ผลทดสอบของ Maria ZN ในกลุ่ม Phrozen Spnic Mighty 8K ที่เน้นเปรียบเทียบ Mini 8K และ Mighty 8K
- ปัจจุบันทุกแบรนด์ที่จำหน่ายเครื่องมักส่งเครื่องให้ทางยูทูปเบอร์รีวิวการแบบล่วงหน้าก่อนเครื่องออก หลายช่องรีวิวโดยบอกข้อเท็จจริง ให้เห็นผลการปริ้นแบบชัดๆ และความเห็นแบบตรงไป ตรงมา
- ทางเราเลยรวบรวมมาเป็นข้อมูลเพิ่มเติม ให้กับผู้ที่ต้องการรายละเอียดที่มากขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง