Search
Close this search box.

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

Raise 3D N2 เครื่อง 3D Printer สำหรับทุกคน

ก่อนหน้าที่จะใช้แบรนด์ Raise 3D บริษัท Ideamaker ได้เคยผลิต 3D Printer ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Idea Printer F100 และ Idea Printer F100L ซึ่งมีแฝดคนละฝาคือ Wanhao รุ่น Duplicator 5 และ 5S จากนั้นจึงระดมทุนผ่านเวบ Kickstater เพื่อผลิตเครื่องตระกูล Raise 3D ได้แก่รุ่น N1 N2 และ N2 Plus เมื่อเดือนตุลาคม 2558 หลังจาก Crowdfunding ผ่านไป 1 เดือน Ideamaker ได้รับทุนสนับสนุนถึง 445,892 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15 ล้านบาท มีออเดอร์แรกเข้ามามากถึง 162 เครื่อง ปัจจุบันถ้าจะสั่งเครื่องต้องรอการผลิตนานถึง 1 เดือน เลยทีเดียว
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

Idea printer F100L และ Wanhao D5

Idea printer F100 และ Wanhao D5S

ฟีเจอร์เด่นของ Raise 3D

Raise 3D ทราบดีว่าเครื่อง 3D Printer ในช่วงนั้น เจ้าใหญ่ๆก็มีอยู่ 3 ค่าย คือ Makerbot Ultimaker และ Zotrax ที่มีจำหน่ายเฉพาะเครื่องขนาดเล็กๆ ถ้าเป็น Makerbot Z18 ราคาก็จะโดดไปไกลระดับเกิน 2 แสน เลย ดังนั้น Raise 3D เลยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งาน เพื่อนำมาพัฒนาเครื่องซึ่งมีจุดเด่นคือ

หน้าจอการทำงานแบบระบบสัมผัส (Touch screen) และระบบเชื่อมต่อ Wifi

สมัยนั้น การทำงานของเครื่องตระกูล Prusa I3 หรือเครื่องอื่นๆ เป็นหน้าจอเล็กๆ เพื่อบอกสถานะการทำงาน ซึ่งถ้าไม่สังเกตก็ไม่ทราบว่าสถานะเป็นอย่างไร ดังนั้น Raise 3D จึงนำเสนอระบบควบคุมแบบจอสัมผัส ที่ผู้ใช้ทำงานได้ง่ายขึ้น เหมือนการใช้งาน tablet ทั่วไป รวมทั้งระบบ Wifi หรือ Lan ที่เชื่อมต่อ PC หรือ Laptop กับเครื่องแล้ว สามารถที่จะ sync หน้าจอแบบเดียวกัน ควบคุมเครื่องระยะไกลได้เลย นอกจากนี้ด้วยความที่มันเป็น tablet ซึ่งมีหน่วยความจำในตัว ทำให้สามารถบันทึกงานที่พิมพ์อยู่ได้ตลอด ทำให้เวลาไฟดับ หรือปิดเครื่องขณะที่พิมพ์อยู่ พอเปิดเครื่องอีกครั้งสามารถพิมพ์งานต่อจากจุดเดิมได้เลย เรียกว่าเป็นระบบที่ควรมีกับเครื่อง 3D Printer ทุกเครื่องเลย
Camera / HEPA Air Filtration
Visual interface / Rapid reviewing / Visual print progress / Full adjustment control

ขนาดการพิมพ์ 30×30×30 (60) เซนติเมตร

มาตรฐานเครื่องในตอนนั้นอยู่ที่ 20×20×20 เซนติเมตร ใหญ่กว่านั้นก็จะเป็นเครื่องเกรดอุตสาหกรรมหรือ DIY ที่ทำขึ้นเอง ที่ผู้ใช้จ่ายเงินหลักแสนแล้วก็อยากได้เครื่องที่ดูดี มีมาตรฐาน ซึ่ง Raise 3D เข้าใจในจุดนี้ดี จึงได้ออกรุ่น N2 และ N2 Plus ที่ใหญ่มาก น้ำหนักเครื่องประมาณ 70 กิโลกรัมได้

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

ชิ้นส่วนและโครงสร้าง

เพื่อป้องกันปัญหาฐานพิมพ์โก่งงอ จึงได้ออกแบบแกน Z คู่กัน 2 แกน ขนาดใหญ่ถึง 16 มิลลิเมตร เพื่อความแข็งแรงและมั่นใจได้ว่าหากนำไปพิมพ์ใช้งานขนาดใหญ่ สามารถรับน้ำหนักได้แน่นอน นอกจากนี้ยังเลือกใช้บอลสกรู (Ball screw) ที่มีความละเอียดสูงกว่าสกรู (Thread screw) ทั่วๆไป อีกส่วนหนึ่งคือโครงสร้างที่ใช้ทำเครื่อง เป็นอลูมิเนียมที่ CNC มาโดยเฉพาะ งานประกอบจึงแม่นยำ แข็งแรง ทนทาน มีอะคริลิกปิดรอบ จึงควบคุมความร้อนภายในขณะพิมพ์ได้ระดับหนึ่ง ข้อเสียคือเป็นรอยได้ง่ายมาก
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

ตั้งค่าจากโรงงาน พร้อมใช้ทันที

ปกติเครื่อง 3D Printer หลายๆยี่ห้อหลังเปิดกล่อง ต้องมาตั้งค่าฐานใหม่ ซึ่งความยาก-ง่าย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของผู้ใช้ ดังนั้น Raise เลยตั้งจากโรงงานให้เสร็จสรรพ ผู้ใช้แค่โหลดเส้น ก็พร้อมพิมพ์ทันที (ในจุดนี้ถ้ามีการปรับฐานอัตโนมัติน่าจะสะดวกกว่านี้ในความเห็นของผม) นอกจากนี้ฐานพิมพ์ได้เลือกใช้กระจกติดแผ่น buildTak ซึ่งทำให้ชิ้นงานติดทนทาน รวมทั้งป้องกันอันตรายเวลากระจกแตก จะไม่กระจายโดนคนอีกด้วย
Industrial grade components

เลือกแบบ 2 หัวฉีดได้

สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้ 2 หัวฉีด ทาง Raise ก็มีออพชั่นเพิ่มเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไม่ได้ใส่ระบบช่วยพิมพ์ 2 หัวฉีด ที่ง่ายต่อผู้ใช้ ยังคงเป็น 2 หัวฉีดที่อยู่ติดกัน เหมือน Makerbot Replicator 2X ทำให้ผู้ใช้ต้องมีทักษะตั้งค่าระดับหนึ่ง รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์แต่ละหัวก็ต้องใกล้เคียงกัน

ข้อดีอีกอย่างของระบบฉีดคือซ่อมบำรุงได้ง่ายมาก แค่ขันสกรู 1 ตัว ก็ถอดหัวฉีดได้ทั้งชุด สะดวกต่อการเปลี่ยนหัวมาก

the Pro2 3D printer improves upon it’s award winning predecessor and provides the next generation of performance
Electronic Driven Dual Extrusion with Retracting Hot Ends

ราคาแบบ Competitive

ราคาสมัยเปิดตัว Kickstarter เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าตลาดอย่าง Makerbot หรือ Ultimaker ถือว่าถูกกว่ากันมาก ในขณะที่ฟีเจอร์การใช้งานมากกว่า ซึ่งปัจจุบันก็ยังถูกกว่ารุ่นใหม่ๆอยู่ดี ในขณะที่หลายๆฟีเจอร์ก็ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบพิมพ์ผ่าน wifi ระบบ 2 หัวฉีด โปรแกรมเฉพาะตัว หรือการสนับสนุนจากผู้ผลิต อย่างไรก็ตามข้อด้อยกว่าน่าจะเป็นเรื่องชุมชนคนใช้งานหรือคอมมูนิตี้ ที่ Ultimaker เป็นบริษัทที่ทำจุดนี้ได้ดีที่สุดในโลก 3D Printer ระดับ user
raise3d-price-compare
raise3d-price-compare

แกะกล่อง (Unbox)

หลังจากขายสรรพคุณมาซะเยอะ ได้เวลามาดูการใช้งานจริงครับ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพี่เอกร้าน Siamreprap

Raise 3D N2 ที่ขายในไทยก็จะมาพร้อมลังไม้ ข้างในจะมีเจ้ากล่องของเครื่องตั้งอยู่ พร้อมอุปกรณ์ทุกครบสำหรับการใช้งาน ทั้งประแจ เกรียงแซะชิ้นงาน USB ขนาด 4 gb รวมถึงเส้นพลาสติก PLA จาก Raise 3D อีก 2 กิโลกรัมไว้ทดลองพิมพ์

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
sync-innovation-raise3d-unbox
หน้าที่ของผู้ใช้คือแกะเจ้าพลาสติกเหลืองสลับดำ ที่ทำหน้าที่ล๊อกแกนเคลื่อนที่ให้อยู่นิ่ง ตรงศูนย์ขณะขนย้ายออก เครื่องก็จะพร้อมใช้งานแล้ว ซึ่งพลาสติกดังกล่าวสามารถเก็บไว้ใช้ตอนขนได้ ไม่ต้องทิ้ง
sync-innovation-raise3d-unbox
sync-innovation-raise3d-unbox
ถ้าต้องการปรับฐานพิมพ์ ด้านใต้จะมีน๊อตอยู่ทั้งหมด 9 จุด เรียกว่าปรับกันละเอียดไปเลย มองในอีกมุมกว่าจะปรับให้ได้ระนาบทั้งแผ่นก็ต้องการประสบการณ์พอสมควร อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือช่อง USB สำหรับติดตั้งกล้อง เพื่อบันทึกภาพการพิมพ์แบบ real time ผ่านโปรแกรมของตัวเครื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไม่ได้ติดตั้งมาด้วย ต้องซื้อเพิ่มเอง แถมกล้องทั่วๆไปก็ใช้ไม่ได้ด้วย ซึ่งจุดนี้น่าจะใส่เพิ่มมาให้เลย แต่ถ้าใครอยากใช้งานแก้ขัดก็ติดตั้ง ip camera แยกเองได้เลยครับ
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

เมื่อเสียบปลั๊กเปิดเครื่องด้านหลัง (ตรงจุดนี้คิดว่าควรจะย้ายมาด้านหน้าได้แล้ว เพราะเครื่องใหญ่มาก เดินอ้อมลำบาก) ที่หน้าจอสัมผัสสามารถเลือกเมนูได้แก่

♣  Home เป็นหน้าจอที่สามารถเห็นการทำงานรวมขณะพิมพ์ได้ทั้งหมด ทั้งเวลาที่ใช้ไปแล้ว เหลืออีกเท่าไหร่ มีตัวชิ้นงาน 3D ให้เห็นเลยว่าพิมพ์ไปกี่% แล้ว ก็สะดวกดีสำหรับคนใช้งานดี เวลาในการคำนวนณของเครื่องก็แม่นยำ ใช้รับงานโดยไม่ขาดทุน

♣  Tune เป็นคำสั่งปรับพวกอุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิฐาน ความเร็วในการพิมพ์ อัตราการป้อนเส้นพลาสติก ซึ่งสามารถตั้งค่าระหว่างการพิมพ์เหมือนเครื่อง 3D Printer อื่นๆ

♣  Utility เป็นหมวดสั่งเครื่องให้เคลื่อนที่แบบ manual รวมทั้งคำสั่งใส่เส้นพลาสติกก็อยู่ที่เมนูนี้

♣  Print เป็นคำสั่งพิมพ์ โดยเลือกได้ทั้งในเครื่องเอง (Local งานที่สั่งผ่าน wifi หรือ Lan ก็จะมาอยู่ในนี้) USB SD card

หน้าจอการทำงานก็คมชัด ปุ่มทัชสกรีนใช้การกดเหมือนโทรศัพท์ธรรมดา ทราบจากผู้ผลิตว่าเปลี่ยนเป็นจอ LED แล้ว แต่ผมยังไม่เห็นว่าแตกต่าง คาดว่าต้องเป็น Retina แบบมือถือสมัยนี้ก่อน ด้านขวาบนรูปเฟืองสามารถเข้าไปปรับตั้งค่าของเครื่องหรือดูรายละเอียดอื่นๆได้

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

เริ่มต้นการใช้งาน

ขั้นตอนการทำงานของเครื่องก็เหมือน 3D Printer ทั่วๆไป โดยผู้ผลิตมีโปรแกรม slicing เป็นของตัวเองที่ชื่อ ideaMaker ซึ่งสามารถโหลดเวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่ โหลดโปรแกรม ideaMaker เวอร์ชั่นล่าสุด รองรับไฟล์นามสกุล .stl และ .obj

4 ขั้นตอนการพิมพ์ 3 มิติ

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

ideaMaker โปรแกรม slicing จากผู้ผลิต

ideaMaker ก็เหมือนโปรแกรม slicing ทั่วๆไป เช่นเดียวกับ Cura Repetier หรือ Simplify 3D มีหน้าจอการใช้งานที่สะอาด ไม่มีไอคอนมากมาย เหมาะกับ user ทั่วๆไป แต่ถ้าเป็น advance user ที่ชอบตั้งค่า อาจจะเสียเวลาเล็กนน้อยเนื่องจากต้องเข้าไปหลายคลิ๊ก เมนูหลักที่ใช้งาน

♣  Add สำหรับนำแบบ 3D เข้าโปรแกรม
♣  Deleted ลบแบบ 3D ที่เลือก
♣  Move เลื่อนชิ้นงานไปจุดต่างๆเพื่อจัดระเบียบเมื่อพิมพ์หลายชิ้นพร้อมกัน
♣  Scale ย่อ-ขยาย ชิ้นงาน
♣  Free-cut ตัดชิ้นงาน ในกรณีที่ใหญ่เกิน หรือจะแบ่งพิมพ์ 2 สี
♣  Support สร้างส่วนเสริมชิ้นงานที่เป็น overhang หรือส่วนที่เกิน ล้ำออกมา ซึ่งตัวโปรแกรมก็ทำได้ดี แกะไม่ยาก แนะนำให้ใช้เลยครับ

นอกจากคำสั่งพื้นฐานแล้ว ตัว ideaMaker ยังมีคำสั่ง Repair ซึ่งน่าจะยกโปรแกรมมาจาก netfabb ซึ่งสามารถซ่อมแบบ 3D ที่เสียหาย ผิวปิดไม่สนิทได้ระดับหนึ่ง สามารถเช็คได้จากจอแสดงผลหลังกด auto repair แล้ว ต้องไม่มี error orientation face อยู่

รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
การสั่ง slicing ชิ้นงานทำได้ง่าย ยิ่งถ้าใช้เส้นของ Raise 3D อยู่แล้ว สามารถใช้โปรไฟล์ได้ทันที ไปที่แถบด้านบน เลือกคำสั่ง slicing หรือกดปุ่ม P โปรแกรมจะมี profile ที่เราตั้งค่าไว้ให้เลือกเลย ซึ่งคล้ายๆกับโปรแกรมส่วนใหญ่ที่มีได้แก่ Speed (Z 240 micron) Standard (150 micron) Quality (100 micron)หลังจาก slicing เสร็จโปรแกรมก็จะบอก เวลาที่ใช้ (Estimated Print Time) จำนวนเส้น (Estimated Amount) และต้นทุนการผลิต (Price) ทำให้วางแผนในการพิมพ์และคิดเงินได้ไม่ยาก
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
ถ้าอยากตั้งค่าการพิมพ์อื่นๆสามารถเข้าไปที่ Edit-Advance จะมีคำสั่งที่ผู้ใช้งานคุ้นเคย อย่างเช่น ปรับ layer height, infill, support
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
หลังจากนี้จะสั่งพิมพ์โดยใช้ SD card หรือ USB ก็ใช้คำสั่ง export เพื่อเซฟไฟล์นามสกุล GCODE ออกมา เพื่อไปสั่งงานหน้าเครื่อง หรือถ้าเครื่องต่อระบบอินเตอร์เน็ทไว้สามารถเลือก upload เพื่อเซฟไฟล์ไปยังหน่วยความจำของเครื่องแล้วสั่งพิมพ์จาก PC ได้ทันที ไม่ต้องเดินให้เสียเวลา แต่ต้องใส่เส้นพร้อมทำงานก่อนนะครับหรือในกรณีที่อยากจะเช็คการ slicing สามารถเลือกคำสั่ง Preview เพื่อดูการขึ้นแบบทีละชั้น เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดก่อนสั่งพิมพ์ เพราะเครื่องพิมพ์งานขนาดใหญ่ คงไม่มีใครอยากผิดพลาดเสียเวลาพิมพ์อีกแน่ๆ
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

การสั่งพิมพ์และใช้งาน

การป้อนเส้นพลาสติก ทำได้โดยไปที่คำสั่ง Utility และกด “Load” รอจนอุณหภูมิที่หัวฉีดถึงตามที่ตั้ง หน้าจอจะขึ้นคำสั่งไปใส่เส้นไปที่เฟืองขับได้เลย จากนั้นกด “Load” อีกครั้งเป็นอันเสร็จตรงส่วนนี้จากอุปกรณ์ที่โรงงานให้มา ไม่ว่าจะเป็นสายยางใส่เส้น ชิ้นส่วนด้านบนหัวขับ แนะนำให้ไม่ต้องใส่เลยครับ มาแบบเปลือยๆได้ผลดีที่สุด เพราะสายที่ให้มามันสั้นเกินไป รวมถึงไม่ลื่นเหมือนท่อ PTFE จึงทำให้พบปัญหาเส้นขาดๆ หายๆ ขณะพิมพ์
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
การสั่งพิมพ์ก็จิ้มไปที่ Print เลือกไฟล์ที่ slicing ไว้เป็นอันเสร็จ เครื่องจะทำงานให้เอง ผู้ใช้ก็นั่งรออย่างเดียว ในกรณีที่ไฟดับเครื่องนี้มีระบบเก็บข้อมูลในตัวทำให้พิมพ์ต่อได้
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
ที่บริเวณหัวฉีดมีพัดลมอยู่ตัวเดียว ซึ่งเป่าทั้งซิงค์ระบายความร้อนและชิ้นงาน ถ้าเป็น PLA ก็คงไม่มีปัญหาแต่ถ้าเป็น ABS ผู้ผลิตให้พลาสติกชิ้นเล็กๆเพื่อปิดรูดังกล่าว ซึ่งตรงส่วนนี้น่าจะต้องปรับปรุงในรุ่นถัดไป ให้แยกพัดลมระบายความร้อน และพัดลมเป่าชิ้นงานออกจากกัน
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

สรุปการใช้งาน

เป็นเครื่อง 3D Printer คุณภาพ ใช้งานง่าย หน้าจอสัมผัสเห็นภาพชัดเจน เหมือนเครื่องจักรในอุตสาหกรรม ผู้ผลิตก็จัดฟีเจอร์เด่นให้เกือบครบทั้งหมดหมด คุณภาพการพิมพ์สวยงาม อัตราการพิมพ์เสียมีน้อยมาก รวมถึงราคาที่ผู้ผลิตตั้งให้ต่ำกว่าเจ้าตลาด ทำให้เป็นหนึ่งในเครื่องที่ราคาหลักแสนบาทที่คุ้มค่า ถ้าเป็นโรงงาน หรือบริษัท ที่ต้องใช้งานจริงจัง พิมพ์ต่อเนื่องหลายๆวัน ก็เหมาะสมอยู่ เพราะสามารถที่จะมอนิเตอร์การพิมพ์ผ่านระบบเน็ทเวิร์คได้ตลอด เมื่อมีอะไรผิดปกติจะได้แก้ไขให้ทัน รวมไปถึงระบบพิมพ์ต่อหลังไฟดับที่ออกมาเป็นรายแรกๆ ทำให้น่าสนใจมากขึ้น

ข้อดี

♣  ขนาดการพิมพ์ใหญ่กว่าปกติ
♣  ใช้งานง่าย เครื่องตั้งค่ามาจากโรงงานเรียบร้อย
♣  หน้าจอทัชสกรีน ใช้งานง่าย
♣  ระบบพิมพ์ต่อหลังไฟดับ อันนี้น่าจะเป็นจุดเด่นมากที่สุด ที่ได้ใช้งาน
♣  ระบบพิมพ์ผ่าน wifi Lan และ Sync กับ PC ได้
♣  ซอฟแวร์อัพเดดตลอดเวลา
♣  งานประกอบแน่นหนา แข็งแรง “แต่ยังพบอาการสั่นขณะพิมพ์” (เทียบกับ Ultimaker 2 และ Duplicator 6)
♣  เป็นระบบปิด ช่วยในการพิมพ์พวก ABS Nylon ได้ดี

ข้อเสีย

♦  ไม่มีระบบหยุดทำงานเมื่อเส้นหมด (Filament detection) ♦  ไม่มีระบบตั้งฐานอัตโนมัติ (Auto bed calibration) ♦  ตำแหน่งการวางม้วนพลาสติกไม่เหมาะสม ถึงแม้จะทำให้เครื่องดูสวย แต่ทำให้การใช้งานจริงมีปัญหา เส้นติดขัด ♦  ระบบ All Metal Hotend ที่ทำให้เส้น PLA ทั่วๆไป อุดตัน นอกจากนี้น่าเปลี่ยนหัวเป็นแสตนเลสเพื่อพิมพ์วัสดุที่หลากหลายมากขึ้น ♦  พัดลมระบายอากาศมีแค่ตัวเดียว คือเป่าทั้งซิงค์ระบายความร้อนและชิ้นงาน
รวมภาพเครื่อง Raise 3D รุ่น N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2
รีวิวการใช้งานเครื่อง 3D Printer รุ่น Raise 3D N2

ขอขอบคุณ Siamreprap และ DDD solution ที่สนับสนุนพื้นที่และเครื่องครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก