Search
Close this search box.

คู่มือการใช้งาน Phrozen Shuffle Lite

1. ตรวจสอบอุปกรณ์

เพื่อให้เข้าใจการทำงานของเครื่องได้ดีขึ้น ควรอ่านคู่มือการใช้งานให้ละเอียดก่อนลงมือใช้งานจริง หากพบปัญหาการใช้งานกรุณาติดต่อ [email protected] เพื่อรับคำแนะนำการแก้ไขที่ถูกวิธี

Manual การใช้งานเครื่อง Phrozen Shuffle Lite

อย่างแรกคือการแกะกล่องตรวจสอบอุปกรณ์ในกล่องที่ให้มา
โดยในกล่องจะประกอบไปด้วย เครื่องพิมพ์สามมิติ และกล่องอุปกรณ์ ซึ่งมีอุปกรณ์ดังรูป

nbox phrozen shuffle lite
  • เครื่องพิมพ์ Phrozen Shuffle Lite

  • ถาดใส่เรซินพร้อมที่ปิด และฟิลม์ FEP ที่ติดตั้งมาในถาดให้แล้ว

  • กล่องอุปกรณ์

  • กรวยใช้เทเรซิน 1 ชิ้น

  • สายเชื่อมต่ออินเตอร์เนต 1 ชิ้น

  • หูจับเครื่อง และประแจหกเหลี่ยม

  • USB เสียบรับ Wifi 1 ชิ้น

  • ที่ขูดแบบพลาสติก 1 ชิ้น

  •  ที่ขูดแบบโลหะ 1 ชิ้น

  • สาย AC Power 1 เส้น

  • ถุงมือยาง 1 คู่

Table of Contents

2. ตรวจสอบการทำงาน

โดยหลัก ๆ เราจะตรวจสอบการทำงานต่าง ๆ ดังนี้

  • หน้าจอสามารถสัมผัสได้ปกติไหม

  • การฉายแสงโดยเช็คจากเมนู LCD TEST มีการฉายแสงได้ปกติ ไม่มี dead pixel (จุดที่ไม่ฉายแสง)

  • การเคลื่อนที่ขึ้นลงของฐานพิมพ์ (แกน Z) ตรวจสอบจากเมนู Z-AXIS

  • Limit switch เซนเซอร์ที่ให้ฐานพิมพ์หยุดเมื่อมาถึงจอการฉายแสง

  • พัดลมระบายความร้อนมีการทำงานปกติ เมื่อมีการฉายแสง ทดสอบจากการเปิด LCD TEST พัดลมจะต้องทำงานด้วย


***Sync Innovation ตรวจสอบเครื่องพิมพ์สามมิติทุกเครื่องก่อนถึงมือลูกค้า

2.1 ก่อนเริ่มต้นเปิดเครื่อง

  1. เสียบสาย AC Power

  2. เสียบสายเชื่อมต่ออินเตอร์เนต(LAN) หรือ USB เสียบรับ Wifi

ac power shuffle lite

2.2 เริ่มเปิดเครื่องพิมพ์

  1. กดสวิตช์ด้านหลังเครื่องเพื่อเปิดเครื่อง

  2. จอภาพจะอยู่ที่หน้ารีบูทระบบ เครื่องจะพร้อมใน 45 วินาที หรือ นานกว่านั้น รอสักครู่

phrozen reboot

เมื่อเครื่องรีบูทเสร็จแล้วจะมีหน้าจอเป็นคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้

main menu

PLATES – ใช้เลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ทั้งแบบจาก flash drive และ online

PROFILE – ใช้ปรับแต่งการตั้งค่า resin profile จากภายในเครื่อง

SETUP – ประกอบไปด้วยเมนูปิดเครื่อง รีบูทระบบ ละตรวจสอบสถานะเครื่อง

Z-AXIS – ใช้ในการปรับศูนย์ของแกน z (แกนขึ้นลง)

LCD TEST – เพื่อทดสอบว่าหน้าจอการฉายแสง uv มีการทำงานปกติหรือไม่

WIFI – ตั้งค่าการเชื่อมต่อ WIFI

2.3 การ Calibration เครื่องพิมพ์ หรือการตั้งค่าปรับศูนย์

คือการตั้งค่าฐานพิมพ์ที่เคลื่อนที่ภายในแนวแกน Z ให้เริ่มต้นพิมพ์โดยแนบสนิทพอดีกับจอฉายแสงยูวี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เช่น ชิ้นงานพิมพ์ไม่ติดฐานพิมพ์

เมื่อไรที่ควรทำ Calibration

  • ครั้งแรกที่เปิดใช้เครื่องพิมพ์

  • หลังจากเปลี่ยนหน้าจอการฉายแสงใหม่

  • เมื่อการตั้งค่าแกน Z ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้งานพิมพ์เสีย

  • หลังจากเมื่อมีการขนย้ายเครื่องระยะไกล ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนมากกับเครื่อง

วิธีการ calibration เครื่องพิมพ์

1.นำถาดใส่เรซินออก และตรวจสอบให้ดีว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมใด ๆ อยู่บนจอ จากนั้นนำกระดาษ A4 วางบนจอ LCD ดังรูป

Manual การใช้งานเครื่อง Phrozen Shuffle Lite

2. คลายสกรูทั้ง 4 ตัวที่ด้านข้างของฐานพิมพ์ ให้หลวม แต่ไม่คลายจนหลุดออกมาจากฐานพิมพ์

Manual การใช้งานเครื่อง Phrozen Shuffle Lite

ตรวจสอบโดยการดึงฐานพิมพ์เบาๆ ว่าสามารถเคลื่อนที่ลงได้ และยึดหลวม ๆ แล้ว

Manual การใช้งานเครื่อง Phrozen Shuffle Lite

3. เลือกที่เมนู Z-AXIS เพื่อเริ่มขั้นตอนการปรับศูนย์

z-axis

4. กดที่ ไอคอนรูปจุด ทางด้านขวา

calibration

5. กด NEXT จากนั้นฐานพิมพ์จะค่อยๆ เคลื่อนที่ลงมาจนถึงข้างล่าง รอจนฐานพิมพ์หยุดนิ่ง

calibration

6. ไขสกรูให้แน่นในแนวทแยงสลับซ้ายขวา โดยกดฐานพิมพ์เบาๆ เพื่อให้มั่นใจว่ฐานพิมพ์แนบสนิทกับหน้าจอฉายแสงดี (โดยมีกระดาษ A4 คั่นกลางอยู่ระหว่างที่ขันให้แน่น)

calibration

7. จากนั้นกดที่ DONE ฐานพิมพ์จะค่อยๆ เคลื่อนที่กลับไปด้านบน เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการ calibration

calibration เสร็จสิ้น

3. การใช้งาน Phrozen Shuffle Lite

3.1 การตั้งค่า Resin Profile / การเพิ่ม Resin Profile ในเครื่องพิมพ์

คือ การตั้งค่าชุดคำสั่งในการพิมพ์ เช่น เวลาการฉายแสง ความหนาชิ้นงาน และความเร็วการเคลื่อนที่ของฐานพิมพ์ เป็นต้น ให้สอดคล้องกับเรซินที่ใช้ในการพิมพ์ หรือลักษณะชิ้นงานที่ทำ โดยเราจะเพิ่ม Resin Profile ด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. เชื่อมตัวเครื่องพิมพ์กับอินเตอร์เนตผ่านสายเชื่อมต่ออินเตอร์เนต หรือที่เสียบรับ WIFI

  2. ใส่เลข IP address ที่อยู่ด้านบนของหน้าจอเครื่อง ลงไปในเว็ปบราวเซอร์

resin profile
add resin profile

3. ในเว็ปบราวเซอร์ กดเลือกที่ Profile ในแถบด้านบน

profile

4. เพิ่ม resin profile ใหม่โดยใส่ชื่อ และตั้งค่าโปรไฟล์ตามที่เราต้องการ โดยชื่อโปรไฟล์ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

add resin profile

3.2 การใช้โปรแกรม Chitubox เพื่อเตรียมไฟล์สร้างชิ้นงาน

เมื่อคุณมีไฟล์โมเดลสามมิติของคุณแล้ว (นามสกุล .stl) ก่อนจะพิมพ์ชิ้นงานออกมาได้ต้องผ่านโปแกรมสไลซ์เซอร์เพื่อให้เครื่องพิมพ์รู้ก่อนว่าจะต้องพิมพ์ชิ้นงานด้วยค่าต่าง ๆ เท่าไรซึ่งการตั้งค่าที่แตกต่างกันล้วนส่งผลต่อความละเอียดของชิ้นงานด้วย รวมทั้งการสร้าง support ให้ชิ้นงาน เพื่อให้งานของคุณออกมาสมบูรณ์ที่สุด เราจึงต้องใช้โปรแกรมสไลซ์เซอร์ในการสร้าง support และทำให้กลายเป็นไฟล์ที่เครื่องพิมพ์สามารถอ่านได้

ซึ่งโปรแกรมนี้มีให้เลือกมากมายโดยถ้าคุณใช้ Phrozen โปรแกรมที่แนะนำคือ Chitubox

เมื่อกดเข้ามาในโปรแกรม Chitubox จะมีหน้าต่างดังรูป สำหรับการใช้งานครั้งแรก เราต้องเพิ่มเครื่องพิมพ์สามมิติก่อนโดยที่นี้คือเครื่อง Phrozen Shuffle Lite ซึ่งโปรแกรมมีให้เลือกอยู่แล้ว

โดยกดที่ Settings > Add new printer > เลือก Phrozen Shuffle Lite > OK

chitubox program

เลือกเครื่องที่ท่านกำลังใช้งาน โดยเข้าไปที่ Settings > Add new Printer > Phrozen Shuffle Lite > OK

choosing printer

ในหน้าต่าง Settings แถบ Print จะมีค่าต่างๆ ดังรูป โดยโปรแกรม ChituBox ได้ให้ค่าแนะนำมาอยู่แล้ว แนะนำให้ตั้งค่าดังรูป

chitubox profile

3.3 การสร้าง support ด้วย โปรแกรม Chitubox

ต่อไปเป็นขั้นตอนในการเตรียมไฟล์เพื่อพิมพ์ ที่ต้อง”ทำทุกครั้ง”ก่อนที่จะนำไฟล์ไปไปพิมพ์ได้คือ การสร้าง Support และ slice ไฟล์ โดยเราสามารถกดสร้าง support แบบอัตโนมัติได้เลย หรือจะสร้างเองได้ตามความเหมาะสมของแต่ละชิ้นงานก็ได้

เราต้องมีไฟล์สามมิติก่อน และเมื่อเปิดไฟล์มา จากนั้นเลือกที่แถบ Support มุมขวาบนเพื่อเข้าสู่โหมดตั้งค่า Support 

    • กด +Platform เพื่อสร้าง Auto support แบบสัมผัสแค่ที่ผิวนอกชิ้นงาน

    • กด +All เพื่อสร้าง Auto support แบบสัมผัสทั้งภายนอก และภายนอกในกรณีมีส่วนของชิ้นงานลอยตัวอยู่ด้านในโพรงของชิ้นงาน

    • เราสามารถกด Add support เพื่อเพิ่มในจุดที่เห็นว่าจำเป็นต่อชิ้นงานเราได้

    • หรือ Delete support เพื่อลบก้าน support ที่ไม่จำเป็นบางก้านทิ้งได้

chitubox support

หลังจากตั้งค่า support เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการสไลซ์ไฟล์ โดยการเลือกแถบตั้งค่ามุมขวาบน แถบด้านซ้าย จากนั้นกดที่ ปุ่ม Slice โปรแกรมจะคำนวณ ปริมาณเรซิน และเวลาที่ต้องใช้ให้ รวมถึงภาพที่เครื่องจะฉายแสงแต่ละชั้นให้ดู กด SAVE และเลือกตำแหน่งที่ต้องการบันทึกไฟล์ที่สไลซ์

 

chitubox slicing
chitubox slicing

3.4 การอัพโหลดไฟล์ และพิมพ์ชิ้นงาน

มีวิธีการอัพโหลดไฟล์สองแบบคือ ผ่านทาง USB Flash Drive และ ผ่านทางอินเตอร์เนต

อัพโหลดผ่านทาง USB Flash Drive

  1. ไฟล์ที่อัพโหลดต้องเป็นนามสกุล  .zip เสียบ USB ที่ด้านหลังของเครื่อง จากนั้นเลือกที่ PLATES

Plates

2. จากนั้นเลือกที่ไอคอนรูป USB ที่มุมขวาบนของจอ เลือกไฟล์เพื่ออัพโหลดเข้าเครื่องพิมพ์ของเรา

upload file
upload file

อัพโหลดผ่านทางอินเตอร์เนต

  1. ต่อเครื่องพิมพ์สามมิติกับอินเตอร์เนตผ่านทาง สายเชื่อมต่ออินเตอร์เนต (LAN) หรือ WIFI  และนำ IP address ที่อยู่บนหน้าจอเครื่องพิมพ์ไปค้นหาในเว็ปบราวเซอร์

upload file

2. จะเข้าสู่เว็ปไซต์ดังรูป เลือกที่แถบเมนู PLATES

plates

3.เลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ (นามสกุล  .zip) และกด upload file โดยชื่อไฟล์ต้องเป็นอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้น

upload file

การสั่งพิมพ์ชิ้นงานผ่านทาง USB Flash Drive

  1. กดที่ PLATES เพื่อเลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ และกดที่ชื่อไฟล์ที่ต้องการพิมพ์

print file

        2. ตรวจสอบรายละเอียดชื่อไฟล์ที่จะพิมพ์, จำนวนเลเยอร์, โปรไฟล์ที่ต้องการพิมพ์ กดเครื่องหมายถูก เพื่อทำการพิมพ์

เราสามารถเลือกเรซินโปรไฟล์ต่าง ๆ ที่เราตั้งค่าไว้เพิ่มไว้ ได้โดยเลือกที่เครื่องหมาย + – และกดสัญลักษณ์ O เพื่อตกลงเลือกเรซินโปรไฟล์นั้น

print file

การสั่งพิมพ์ชิ้นงานผ่านทาง internet

  1. พิมพ์ IP address ลงในเว็ปบราวเซอร์ แล้วเลือกที่เมนู PLATES

print file

2.  กด select file เพื่อเลือกไฟล์และกด PRINT เพื่อเริ่มกระบวณการพิมพ์ โดยกด UPDATE เสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโปรไฟล์

print file via internet

4. ขั้นตอนหลังพิมพ์งานเสร็จ ( Post-processing )

4.1 การทำความสะอาดชิ้นงาน

  • ใช้ที่ขูดแบบโลหะในการแซะชิ้นงานออกจากฐานพิมพ์ สวมใส่ถุงมือเสมอ และระมัดระวังระหว่างขั้นตอนการแกะชิ้นงานออกด้วยที่ขูดแบบโลหะ

  • ทำความสะอาดชิ้นงานด้วยแอลกอฮอล์ IPA อาจนำไปแช่สักครู่ประมาณ 1 นาที จนไม่มีเรซินที่ยังไม่แข็งตัวเหลือติดชิ้นงาน

  • วางชิ้นงานทิ้งไว้ปล่อยให้แห้ง หรืออาจใช้เครื่องเป่าลมช่วยเพื่อให้ได้ผิวที่รายละเอียดคมชัด และไม่เป็นคราบแอลกอฮอล์หลงเหลือ

  • นำไปเข้าตู้อบยูวี ถ้าต้องการให้ชิ้นงานมีความแข็งแรงมากขึ้น รายละเอียดคมชัดขึ้น

วิดิโอแนะนำการพิมพ์แบบเรซิน และขั้นตอนการล้างชิ้นงาน

4.2 ข้อระวังเมื่อใช้งานเครื่องพิมพ์

  • สวมถุงมือ  และหน้ากากกันสารเคมีเสมอ สวมเสื้อผ้ามิดชิด ระหว่างขั้นตอนการพิมพ์

  • เรซินเป็นสารเคมี ถ้ารู้สึกแพ้หรือระคายเคืองระหว่างการใช้ หรือเผลอรับประทานควรรีบไปพบแพทย์ที่อยู่ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

  • เมื่อมีการสัมผัสโดยตรงกับเรซินโปรดล้างออกให้สะอาด ถ้าการแพ้หรือระคายเคืองควรรีบไปพบแพทย์ที่ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

  • เก็บรักษาเรซินให้ห่างจากเด็ก

  • เขย่าขวดเรซินเสมอก่อนนำมาใช้งาน

  • เทเรซินไม่ควรเกินความสูงครึ่งหนึ่งของถาดเรซิน

  • คนเรซินให้สม่ำเสมอก่อนเริ่มกระบวณการพิมพ์ทุกครั้ง

  • ดูให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมอื่น หรือเรซินที่แข็งตัวค้างอยู่ในถาดเรซินก่อนเริ่มพิมพ์

  • ให้เครื่องพิมพ์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเท อุณหภูมิไม่ควรเกิน 25-30 องศาเซลเซียส

  • ถ้าต้องการเติมเรซินระหว่างกระบวณการพิมพ์ควรเติมเมื่อแสงยูวีดับ ขณะฐานพิมพ์กำลังยกขึ้น

  • ทำความสะอาดเรซินเสมอเมื่อหกใส่ส่วนอื่นของเครื่อง โดยปิดเครื่องก่อน

warning

4.2 Maintenance ( การดูแลรักษา และป้องกันเครื่องพิมพ์สามมิติ )

  • การปิดเครื่องอย่างปลอดภัย กด Shutdown จากหน้าจอก่อนปิดสวิชต์ด้านหลังเสมอ

  • ปิดเครื่องให้เรียบร้อยก่อนทำความสะอาด ฐานพิมพ์ ถาดเรซิน เสมอเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ที่อาจจะสร้างความเสียหายกับตัวเครื่องได้

  • ทำความสะอาดฐานพิมพ์โดยนำชิ้นงานที่เสร็จแล้วออกก่อน เช็ดให้สะอาดด้วยแอลกฮอล์จนกระทั่งไม่มีเรซินเหลือ

  • เก็บเรซินในขวดทึบแสง ปิดแน่นมิดชิด ในที่มืด และเย็น เทใส่ขวดโดยใช้กรวย และกระดาษกรองช่วยในการเทกลับใส่ขวด *เก็บเรซินเหลือ กับเรซินใหม่ ให้อยู่คนละขวดกัน*

  • ทำความสะอาดถาดใส่เรซิน โดยใช้กระดาษทิชชู่ซับแอลกอฮอล์ IPA เช็ดจนกระทั่งไม่มีเรซินเหลืออยู่

  • ตั้งเครื่องพิมพ์ ให้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเท อุณหภูมิไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน

5. เรซินโปรไฟล์

สำหรับ HD Resin ของ Sync Innovation (ทุกสีใช้โปรไฟล์เดียวกัน) สามารถตั้งค่าได้ดังรูป

HD Resin (Sync Innovation)

30 micron (HD Resin) งานกลุ่มจิวเวลลี่ หรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง

HD resin 30 micron

50 micron (HD Resin)

HD resin 50 micron

100 micron (HD Resin)

HD resin 100 micron

Wax Resin

คือเรซินที่นำไปหล่อต่อได้ เช่น Phrozen Wax-Like Violet Castable Resin (สีม่วง) หรือ BlueCast Cr3a (สีฟ้าน้ำเงิน)

30 micron (Wax Resin) งานกลุ่มจิวเวลลี่ หรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง

Wax Resin 30 micron

Engineering Resin - เรซินกลุ่มวิศวกรรม

เช่น เรซิน Siraya Blu (สีฟ้า) หรือ Phrozen Rock-Black Stiff Resin (สีดำ)

50 micron (Engineering Resin)

Engineering resin 50 micron

สำหรับเรซินโปรไฟล์ของเรซินอื่นๆเพิ่มเติมสามารถดูได้ ที่นี่

6. ปัญหาที่อาจพบ

เปิดเครื่องแล้วค้างอยู่หน้าจอรีบูทระบบนาน

วิธีแก้ไข ปกติจะใช้เวลาโหลดก่อนเข้าหน้าจอการทำงานครั้งแรกเป็นปกติอยู่แล้วประมาณ 45 วินาที หรือมากกว่านั้นถึง 4-5 นาที โปรดรอสักครู่

เปิดเครื่องแล้วยังค้างอยู่หน้าจอบูทแม้รอแล้วมากกว่า 5 นาที

วิธีแก้ไข ลองปิดแล้วเปิดสวิชต์ที่ด้านหลังเครื่องใหม่อีกครั้งแล้วจะกลับมาทำงานได้ปกติ

ถ้ายังค้างที่หน้าจอรีบูทระบบแม้รอสักครู่แล้ว หรือเปิดแล้วปิดเครื่องใหม่หลายครั้ง

วิธีแก้ไข อาจจะต้องทำการ Format ระบบใหม่โดยใช้ SD card โดยมีวิธีแก้ไขอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป

ปัญหาเกี่ยวกับการพิมพ์ชิ้นงาน เช่น ชิ้นงานไม่ติดฐาน ผิวไม่เรียบเนียน ชิ้นงานเบี้ยว แตกหัก

วิธีแก้ไข สามรถดูได้ที่แถบ support ในเว็ปไซต์ syn-innovation.com และเลือก ปัญหาที่พบบ่อยของเครื่อง SLA หรือ FAQ สำหรับ Resin 3D Printer

 กระแสไฟฟ้าที่เสียบให้พลังงานกับเครื่องพิมพ์ไม่เสถียร ตกบ่อย ทำให้เครื่องรีบูทนาน ไม่เข้าหน้าจอทำงาน

วิธีแก้ไข ควรจัดหาแหล่งให้ไฟฟ้าสำรองเพื่อป้องกันไฟตก ไฟกระตุกซึ่งอาจส่งผลให้เครื่องไม่สามารถทำงานได้

พิมพ์ออกมาแล้ว ชิ้นงานยืดออกผิดสัดส่วน

วิธีแก้ไข เกิดจากเลือก ความหนาต่อชั้น ( Layer Height ) ตอนที่สไลซ์ไฟล์ กับเรซินโปรไฟล์ที่เลือกใช้ที่เครื่องไม่ตรงกัน เช่นสไลซ์ด้วย 50 ไมครอน แต่เลือกพิมพ์เรซินโปรไฟล์หน้าเครื่อง 30 ไมครอน ต้องเลือกให้ตรงกันเท่านั้น

มีปัญหาเกี่ยวกับพิมพ์ชิ้นงานสามารถดูวิธีแก้ไขได้ คลิ้กที่ปุ่มด้านล่าง

ปัญหาการ เปิด/รีบูท เครื่องไม่ติด

เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยอาการคือจะค้างอยู่ที่หน้าจอรีบูท ไม่สามารถเข้าหน้าจอเมนูหลักได้ มีวิธีแก้ปัญหาดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟว่ามีกำลังไฟเพียงพอ เนื่องจากบางแหล่งจ่ายไฟของบางท่าน ไม่เสถียร มีการการกระตุกและอาจทำให้เครื่องพิมพ์เกิดการกระชากไฟ และเกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวตามมาได้ ควรเตรียมแหล่งจ่ายไฟที่เสถียร หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์อีกทีเพื่อการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในอนาคตเมื่อเกิดไฟดับหรือกระตุก ชิ้นงานที่อยู่ระหว่างการพิมพ์จะไม่เสียหายด้วย

  • เมื่อท่านมั่นใจแล้วว่ามีแหล่งจ่ายไฟที่เสถียร แต่ยังคงมีปัญหาเกิดขึ้นคือรีบูทเครื่องไม่ติด ไม่สามารถใช้เครื่องพิมพ์ได้ อาจจะลองเปิดปิดสวิทช์ที่หลังเครื่องพิมพ์และรอรีบูทอีกครั้งเป็นเวลาสักครู่

  • เมื่อท่านได้ลองแก้ไขด้วยสองวิธีที่กล่าวมาข้างต้น แต่ยังคงไม่สามารถรีบูทเครื่องและใช้งานเครื่องได้ การลงเฟิร์มแวร์ใหม่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมาได้ โดยมีขั้นตอนแรกคือ ให้ดาวน์โหลดไฟล์ SD Image ตามรุ่นของเครื่อง Phrozen ที่ท่านใช้ได้จากลิงค์นี้ http://fs1.phrozen3d.com/?fbclid=IwAR1B3rXA-Zson7sS1ukykcR8Ht8gMWg0ZhijeMAuyrswyBCvkSW1ilvGCog  นำไฟล์ที่ได้ ทำการ format นำใส่ micro SD card เพื่อนำ micro SD cardไปเสียบที่หลังเครื่องพิมพ์ และกดสวิทช์เปิดเครื่องเพื่อรีบูทเครื่องใหม่อีกครั้ง  โดยวีธีดังกล่าวสามารถปฎิบัติได้ตามวิดิโอด้านล่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก