Search
Close this search box.

ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?

ความสำคัญของฟิล์มในเครื่อง Resin 3D Printer

  • หลักการทำงานของเครื่อง Resin 3D Printer ที่ใช้เทคโนโลยี LCD คือการฉายแสงยูวีตามภาพ เพื่อให้เรซินเกิดปฏิกริยาทางเคมีเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็งทีละชั้น
  • การเคลื่อนที่ของฐานพิมพ์ส่วนใหญ่เป็น ระบบ Top-Down ต้องอาศัยการดึงเรซินแข็ง (Cured Resin) ให้หลุดจากตัวฟิล์มหรือวัสดุที่แสงส่องผ่านได้บริเวณด้านล่างสุดทุกชั้นของการพิมพ์ ดังนั้นจึงมีหลายตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งฟิล์มทีติดอยู่บริเวณด้านใต้ของถาดเรซิน (Resin Tank หรือ VAT) เป็นอีกปัจจัยที่มีผลมากอีกปัจจัยหนึ่ง

ฟิล์มที่เหมาะสมควรมีสมบัติเป็นอย่างไร ?

  1. แสงส่องผ่านได้ดีมาก หลายๆยี่ห้อมักมีการการันตีว่าแสงส่องผ่านได้ในระดับ 90% ขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อใช้ไปนานๆก็จะมีความขุ่นทำให้ความสามารถในการส่องผ่านลดลงไปตามอายุการใช้งาน
  2. มีคุณสมบัติป้องกันชิ้นงานติดตัวฟิล์มได้ดี เพื่อให้ลอกงานแต่ละชั้นได้ง่าย
  3. มีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงดึงต่อเนื่องจำนวนหลายครั้งโดยไม่เสียรูป เนื่องจากต้องรับแรงดึงตลอดระยะเวลาการพิมพ์ 
  4. ทนต่ออุณหภูมิที่สูง โดยปกติเมื่อเรซินเปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นของแข็ง จะคายพลังงานความร้อนออกมาสูงมาก ซึ่งฟิล์มบางประเภทจะไม่สามารถทนได้ (สามารถทดสอบได้โดย นำเรซินเหลวไปตากแดด จะเห็นควันขึ้นเลยทีเดียว)
  5. ราคาไม่สูงจนเกินไป ด้วยการใช้งานส่วนใหญ่มักใช้กับเครื่อง LCD ที่เริ่มต้นหลักพัน จนไปถึงหลักหมื่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีงบประมาณซ่อมบำรุงและเปลี่ยนชิ้นส่วนมากเหมือนระดับเครื่องการผลิตในอุตสาหกรรม 

ACF Film คืออะไร ทำไมมีคนสนใจในปัจจุบัน

  • ประวัติของ ACF Film หรือ Anisotropic conductive film นั้นต้องย้อนไปถึงช่วงปี 1980 เป็นการพัฒนาร่วมกันของบริษัท Hitachi Chemicals และ Dexerials ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตจอ LCD ซึ่งบางการใช้งานก็มีผลิตเป็นลักษณะกาวประสานที่เรียกว่า ACP (Anisotropic Conductive Paste) ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบถูกเรียกรวมว่า ACAs (Anisotropic Conductive Adhesives) ทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้งานตามปกติในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มหน้าจอต่างๆในปัจจุบัน
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Source: Resonac
  • สำหรับ ACF Film ยังไม่มีใครอ้างถึงว่านำมาใช้กับเครื่อง 3D Printer เป็นเจ้าแรก แต่ผู้เขียนเคยเห็นเมื่อ 2 ปีก่อนในแบรนด์ EPAX ซึ่งสมัยนั้นทางต้นทางก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นวัสดุชนิดอะไร แต่มีความหนาและอ่อนนุ่มคล้าย ACF ในปัจจุบัน ยิ่งช่วงนั้นหลายแบรนด์นำเสนอในรูปแบบ nFEP หรือ Non FEP โดยที่ไม่ได้บอกอะไรด้วย ว่าวัสดุจริงๆคือวัสดุอะไร ดังนั้นก็เลยยังเป็นข้อมูลไม่เป็นทางการว่าคืออะไรกันแน่ในยุคนั้น
  • การเข้ามาที่แพร่หลายมากขึ้นของ ACF เกิดจาก Supplier ของจีนที่ชื่อ Aorita3D นำเสนอให้เหล่าผู้ผลิตเครื่อง 3D Printer ทั้งหลาย รวมถึงขายตรงสู่ user ทั่วไป จึงได้รับความนิยมมากขึ้น โดยคนใช้งานจะพบความแตกต่างการลอกงานได้ชัดเจนโดย เสียงในการลอกงานใหญ่ๆ เต็มพื้นที่พิมพ์เงียบลงมาก งานเล็กๆแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลย อัตราสำเร็จก็เพิ่มสูงขึ้น งานดึงไม่ขึ้น งานหลุดก็ต่ำลง
  • ส่วนข้อเสียของ ACF ในขณะที่เขียนบทความ น่าจะเป็นเรื่องที่หลายช่องที่รีวิวเครื่อง LCD 3D Printer 12K พบปัญหา Artifact เส้นตามผิว  ปัญหางานไม่คมชัด ลามไปถึงการปริ้นวัสดุวิศวกรรมไม่ติด (คลิก) โดยในบทความนี้จะทดสอบเปรียบเทียบให้เห็นข้อดี-ข้อเสีย ในแต่ละประเด็นให้ชัดๆ ว่า ผู้ใช้ ควรจะเลือกฟิล์มชนิดใดดี
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Source: Phrozen ACF Film
  • ผลทดสอบจาก Ameralabs แสดงถึงแรงดึงของ ACF Film สีเทา อยู่ในกลุ่มต่ำสุด
  • FEP 50  ไมครอน อาจเป็นอีกตัวเลือกที่ดี แต่จะพบปัญหาความทนทานและรั่วซึมตามได้ง่าย อีกทั้งในไทยราคาสูงมาก
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
  • ด้านราคาของตัวฟิล์มสำหรับแบรนด์ Phrozen เอง ก็ไม่ได้ต่างกันมาก แต่ด้วยความที่ แพ็คเกจของ ACF 1 เซ็ท มีถึง 3 แผ่น ทำให้ดูราคาสูงกว่าพอสมควร
Phrozen nFEP side menu
Phrozen ACF Film A4

รายละเอียดการทดสอบ

  • เครื่องที่ใช้เป็น Mini 8K S รุ่นใหม่ล่าสุดที่น่าจะเป็นตัวแทนของความละเอียดได้ดี
  • วัสดุที่ใช้ Phrozen Aqua Red Clay 8K 50 ไมครอน เป็นตัวแทนกลุ่มเรซินทั่วไป
  • วัสดุที่ใช้ Bluecast X-One 30 ไมครอนตัวแทนงานกลุ่มจิวเวลรี
  • วัสดุที่ใช้ Oynx Rigid Pro 410 50 ไมครอน กลุ่มวิศวกรรม
  • Speed Resin สำหรับทดสอบกับ Mega 8K งานใหญ่ๆ คาดว่าตัวนี้น่าจะเห็นผลไม่มาก เพราะปกติก็ดึงเร็วและไม่สูงมากอยู่แล้ว
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?

การหาค่าเวลาในการฉายแสงของ ACF Film

  • เพื่อให้ตัวแปรทั้งหมดเหมือนกันในตอนแรก จะควบคุมเวลาฉายแสงให้เท่ากันทั้ง nFEP และ ACF Film แต่ทั้งนี้ จากผลทดสอบที่ออกมา ACF ที่มีความขุ่นทำให้แสงมีความเข้มลดลง ทำให้เวลาในการฉายแสง (Explosure Time) นานยิ่งขึ้น 
  • ดังนั้นจึงทดสอบหาเวลาที่เหมาะสมกับเรซินแต่ละชนิดใหม่ โดยไม่อิงจาก nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
  • ผลทดสอบจาก Ameralabs ก็ห้ผลเช่นเดียวกัน โดยแสงส่องผ่านได้น้อยกว่า 2% โดยประมาณ
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
  • ชิ้นงานตัวอย่างที่นำมาทดสอบ ก็เหมือนๆการรีวิวเครื่องที่ผ่านมา เพื่อให้ตรวจสอบและแยกแยะความแตกต่างได้ดีที่สุด
  • สำหรับ Phrozen RP Tester ใครสนใจไปโหลดเองได้ที่ Phrozen 
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?

ผลการทดสอบ ACF Film vs nFEP Film

Mini 8K S

  • ในกรณีของ Mini 8K S พบว่า ACF Film ต้องใช้เวลาฉายแสงมากกว่าตัว nFEP 
  • เวลาที่คำนวนจาก Chitubox เมื่อใช้ nFEP และ ACF Film จะต่างกับการปริ้นจริงทั้งคู่ โดย ACF จะคลาดเคลื่อนมากกว่า จากความเป็นจริงที่ตัวเครื่องไม่สามารถเคลื่อนที่ ขึ้น – ลง ได้เร็วตามที่ตั้งไว้ (มีความหน่วง อัตราเร่งต่ำ) หรือบางแหล่งข้อมูลก็แจ้งว่ามอเตอร์ที่ใช้ไม่สามารถหมุนได้เร็วตามความเร่งที่ต้องการ
  • ความเร็วในการขึ้นลงของ ACF ตั้งไว้ 300 mm/mins (มากสุดของ Firmware ปัจจุบัน)
  • เวลาจริงรวมๆลดไป ถึง 38% ยิ่งงานใหญ่ๆ จะยิ่งเห็นผลชัดเจนขึ้น
  • ผลงานการพิมพ์สามารถดูได้จากภาพเปรียบเทียบด้านล่าง บางภาพแสงและเงาอาจจะแตกต่างกัน แต่เรื่องความละเอียดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
  • ยังอยู่ที่ Mini 8K S แต่รอบนี้เป็นผลการปริ้นจากเรซิน Bluecast X-One สำหรับคนทำงานจิวเวลรีโดยเฉพาะ
  • Profile การปริ้นใช้ของ Official Setting จากทาง Bluecast คือ 30 ไมครอน เวลาฉายแสงเท่าเวลายกเท่ากันทั้ง nFEP และ ACF 
  • ผลที่ได้แยกความแตกต่างได้ยากเช่นเดิม ยิ่งหากเอาไปหล่อต่อ ปัจจัยอื่นน่าจะมีผลต่อคุณภาพมากกว่าตัวงานพิมพ์
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF

Mighty 8K

  • ผลทดสอบ Mighty 8K  เวลาฉายแสงก็ให้ผลเช่นเดียวกัน คือหากเป็น ACF  ต้องเพิ่มเวลาเล็กน้อย
  • เวลาในการปริ้นจริงสำหรับ profile มาตรฐาน Phrozen จูนมาค่อนข้างแม่นยำไม่ต่างจากใน Chitubox ในขณะที่ความเร็วของ ACF คำนวนผิดพลาดไปครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
  • รวมเวลาจริงลดไป 25% รออัพเดด Firmware เช่นเดิม
Phrozen Sonic Mighty 8K
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
  • ตัวอย่างงานปริ้นแสดงดังภาพด้านล่าง
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
nFEP Film
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film (เห็นตำหนิจากความเร็วในการดึง)

Mega 8K

  • สำหรับ Mega 8K จับเอา Speed Resin ที่ปริ้นได้ไวอยู่แล้วมาทดสอบ เพื่อดูว่ายังสามารถไวเพิ่มขึ้นได้มาก-น้อยในระดับใด
  • โดยปรับค่าจากเดิม 2 step เป็น 300 mm/mins ในช่วงหลัง (อาจจะไม่มาก แต่เพื่อความแน่นนอนในการพิมพ์)
  • ผลที่ได้เร็วขึ้นราวๆ 17%
  • ส่วนเรซินความละเอียดสูงอย่าง Aqua 8K ที่ 50 ไมครอน ก็สามารถปริ้นงาน 30 cm นิดจบภายใน 1 วัน เรียกง่ายๆว่า เต็มความสูง 40 cm ของเครื่อง สามารถปริ้นจบได้ภายใน 1 วัน แน่นอน (ระวังเรซินหมด)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Speed Resin nFEP (7 ชั่วโมง 32 นาที)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Speed Resin ACF (6 ชั่วโมง 15 นาที)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Aqua Gray 8K (20 ชั่วโมง 44 นาที)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Speed Resin nFEP (7 ชั่วโมง 32 นาที)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Speed Resin ACF (6 ชั่วโมง 15 นาที)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
Aqua Gray 8K (20 ชั่วโมง 44 นาที)

สรุปการใช้งาน ACF Film

  • การทดลองในบทความยังไม่พบว่าคุณภาพ ความคมของงานจะลดลงเมื่อเปลี่ยนมาใช้ ACF Film
  • สามารถปรับความเร็วเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 200-300 mm/mins โดยไม่พบปัญหาใหญ่ แต่รายละเอียดเล็กๆ อาจมีโอกาสหลุดลอกได้ง่ายขึ้น
  • เวลาในการผลิตรวมๆ ลดลงประมาณ 20-40 %
  • การลอกชิ้นงานลื่นขึ้น เสียงน้อยลง แต่ยังมีอยู่สำหรับงานขนาดใหญ่ๆ
  • เครื่องของ Phrozen ยังต้องปรับ firmware ให้ค่า Acceleration สูงขึ้นในปัจจุบัน เพราะเครื่องยังไม่สามารถทำความเร็วได้ถึงที่ตั้งไว้ เช่น ตั้งไว้ 300 ความเร็วจริงอาจจะได้แค่ 150-200 เท่านั้น หรืออยู่ที่ข้อจำกัดมอเตอร์ที่ไม่สามารถหมุนได้ความเร็วรอบตามที่ต้องการ

ซื้อตัวไหนดี ?

  • ACF Film เป็นตัวเลือกแรกที่เหมาะสม จากผลที่ผ่านมา แต่ในส่วนของ Phrozen มีขายแต่แบบ 3 แผ่น/เซ็ท ทำให้ราคาสูงขึ้น 3 เท่าตัวจาก nFEP ดังนั้น อาจจะไม่เหมาะกับคนที่นานๆใช้ที
  • สายจิวเวลรี nFEP ยังเป็นตัวเลือกที่ดี ในระยะยาว เพราะคุณภาพงานที่ออกยังดี ต่อให้ฟิล์มมีอายุนาน ส่วนของ ACF หากใช้ไปนานๆ ยังไม่ได้มีการทดสอบเรื่องแสงที่ส่องผ่าน ว่าจะมีปัญหาจากความขุ่นมาก-น้อย แค่ไหน โดยเฉพาะความหนา 300 ไมครอน น่าจะมี Error มากกว่าฟิล์มที่หนา 150 ไมครอน ใสแน่นอน
  • คนที่ปริ้นงาน Production จำนวนเยอะๆ เต็มถาดตลอด ACF จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ลดแรงดึง ปริ้นได้ไวขึ้น ที่สำคัญความหนา 300 ไมครอน ช่วยลดการรั่วซึมได้มากกว่า nFEP

สั่งซื้อ ACF Film

ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF Mini (160 x 235 mm)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF จอ 8-10 นิ้ว (220 x 310 mm)
ACF Film vs nFEP Film แบบไหนดีกว่า เลือกซื้ออย่างไร ?
ACF จอ 13-15 นิ้ว (290 x 450 mm)

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก