Search
Close this search box.

Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่

Flashforge กับเครื่อง Resin 3D Printer

Flashforge เป็นแบรนด์ที่โตมากับการขยายตัวเครื่อง FDM 3D Printer เข้าสู่ตลาด Consumer ยุคแรกๆ เมื่อหลายปีก่อน โดยรุ่นที่สร้างชื่อมากที่สุดคือ Creator Pro 2  แล้วมีอีกหลายรุ่นที่ตามมา ในส่วนของเครื่องตระกูล Resin นั้น มีอออยู่เพียงรุ่นเดียวเท่านั้นที่อยู่ใน Official Website คือ Hunter ในขณะที่โมเดลอื่นๆนั้น ไม่พบอยู่หน้าเวบ จะไปเจอในอย่าง Alibaba หรือเจอใน Software Slicer ของ Flashforge เอง โดยรุ่นปัจจุบันที่มีทั้งหมดคือ

  • Flashforge Hunter DLP Full HD 3D Printer 
  • Flashforge Explorer Max 8.9 จอ RGB 2K
  • Flashforge Foto 6.0 จอ Mono 2K
  • Flashforge Foto 8.9 จอ Mono 4K
  • Flashforge Foto 13.3  จอ Mono 4K
  • Flashforge Focus 8.9   ไม่มีข้อมูลจอ
  • Flashforge Focus 13.3 ไม่มีข้อมูลจอ

ดังนั้นผู้เขียนเลยไม่มีข้อมูลรุ่นอื่นๆเลยว่าเป็นยังไง แต่ไม่น่าจะแตกต่างกับเครื่อง LCD ปัจจุบันในท้องตลาดมากนัก แต่  FF  จะมีชิ้นส่วนและงานประกอบ ดีกว่าแบรนด์จีนทั่วไประดับหนึ่งก็น่าจะไว้ใจได้ 

Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Hunter DLP
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Explorer Max
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Foto 8.9

ในส่วนของรีวิวบทความนี้เป็นรุ่น Foto 13.3 ซึ่งใช้จอ Monochrome ความละเอียด 4K เป็นแหล่งฉายภาพ ทำให้ได้ความละเอียดพิกเซล XY เป็น 76 ไมครอน ซึ่งเป็นจอความละเอียดและขนาดมาตรฐานในปัจจุบัน ที่เกือบทุกแบรนด์ใช้ตัวนี้อยู่ ข้อมูลทางเทคนิคขอยกจาก Official มาตามนี้

ข้อมูลทางเทคนิค

  • Technology ; LCD 4K Monochrome
  • Build Volume ; 292*165*400 mm
  • Print Speed ; 10-30 mm/H
  • Layer Resolution ; 0.05-0.15 mm (Adjustable)
  • XY Resolution ; 76 μm
  • Light Wavelength ; 405 nm
  • Z-axis ; Industrial grade linear rail
  • LCD Screen ; 13.3” Industrial grade 4K Monochrome
  • Build Platform ; Matte Platform With Hole
  • Tank Volume ; 1.8 L
  • Slicer Software ; FlashDLPrint
  • Connectivity ; USB/Ethernet/Wifi
  • Power ; 150 W

แกะกล่อง เช็คชิ้นส่วนของ Foto 13.3

บรรจุภัณฑ์ของ Foto 13.3 ก็เหมือนเครื่อง Phrozen Transfrom มาก อุปกรณ์ทุกอย่างให้มาพร้อมใช้งาน เหมือนกันทุกยี่ห้อในปัจจุบัน ส่วนที่ต้องซื้อเพิ่มก็คือ IPA และตัวเรซินที่ไม่ได้แถมมาด้วย ข้อดีอีกอย่างคือมี Wifi Built in มาในตัว ไม่ต้องเสียบ Dongle  ภายนอกเหมือน Transform พร้อมช่องเสียสาย Lan และ USB ที่อยู่ด้านขวามือ เมื่อมองจากหน้าเครื่อง

Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Wifi Module
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Foto กับ Transform
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Lan และ USB Port
  • ประตูด้านหน้าเปิดออกซ้าย ขาว อิสระ 180 องศา ช่วยให้การหยิบถาดเรซิน (VAT) หรือฐานพิมพ์ (Build Plate) ไม่ได้ลำบากมาก 
  • มีพัดลมระบายอากาศ 4 จุดคือ ซ้าย ขวา หลัง อย่างละ 1 ตัว และด้านล่าง 2 ตัว ขนาด 60 mm พัดลมตัวด้านล่าง ควรออกแบบการติดตั้งให้ดีกว่านี้ ถ้ามีเศษอะไรวางที่โต๊ะจะโดนใบพัดได้เลย
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
เปิดได้กว้าง 180 องศา
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
พัดลมระบายอากาศ และรายละเอียด
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
พัดลมระบายความร้อนของแผง LED
  • ส่วนของ VAT และ Resin Tank นั้น มีขนาดใหญ่ และหนัก สามารถบรรจุเรซินได้ถึง 2 ลิตร มากกว่า Transform ที่ได้ครั้งละ 1 ลิตรนิดๆ ทำให้การพิมพ์ระยะยาวสะดวกกว่า
  • การยึด VAT กับตัวโครงสร้างใช้สกรูยึดซ้าย-ขวา อย่างละ 1 ตัว มีด้ามจับช่วยในการจับถือ
  • ด้านล่างมีน๊อตยื่นออกมาเล็กน้อย ช่วยให้ FEP ไม่สัมผัสพื้นโดยตรง เมื่อวางราบกับพื้น จุดนี้ออกแบบมาดี หลายๆ แบรนด์วางถาดกับพื้นไม่ได้เลย
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
บรรจุเรซินได้ 2 ลิตร
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
มีน๊อตดันถาดให้ไม่ติดกับพื้น
  • แกน Z เป็น Ball Screw ใช้  Coupling หน้าตาแปลกๆเป็นตัวประคองให้ตรงศูนย์และส่งถ่ายกำลังขับ ซึ่งไม่ค่อยเห็นในเครื่องรุ่นอื่นๆ ที่จะเป็น jaw, oldham coupling (เหมือนจะเป็น Double Disk  Coupling เสริมยางกันสะเทือน) 
  • ตัวยึดฐานพิมพ์เป็นแกนอลูมิเนียมเหมือนยี่ห้ออื่นๆ ไม่มีอะไรพิเศษ ตัว linear เป็นของ CSK  แบรนด์ไต้หวัน ขนาด 15mm รางคู่
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
  • มาในส่วนของหน้าจอ 13.3 นิ้ว Monochrome ความละเอียด 4k กินพื้นที่ของทั้งเครื่อง เป็นของ Duobond ดังนั้นมีอะไหล่แน่นอน หากจอเสีย ราคาอยู่ราวๆ หมื่นกลาง
  • ตัวเม็ด LED ทำหน้าที่ฉายแสงมีทั้งหมด 12*7 = 84 ดวง ดวงละ 2w ทั้งหมด 168W เผื่อกำลังไฟ 90-95% ก็ตามสเปคที่ระบุไว้ 150W
  • HDMI บอร์ดก็ตามมาตรฐานของผู้ผลิตจอ ใครที่เคยใช้ก็จะคุ้นเคยกันดี
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
ขนาดหน้าจอกินพื้นที่ 90% ของเครื่อง
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
แผง LED กับเลน์ที่ติดมาด้านบน
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
HDMI Board

เริ่มต้นการใช้งาน

  • เหมือนทุกเครื่อง LCD 3D Printer ก็ต้อง Calibrate ฐานกันก่อนใช้งาน โดยในส่วนนี้คู่มือทำมาละเอียดดี มีการบอกลำดับการขันน๊อตให้ตึงตามมาตรฐาน ป้องกันด้านใด ด้านนึงไม่ได้ระนาบ
  • โดยไปที่ปุ่ม Tool >  Move > กดปุ่มรูปบ้าน (home) ตรงกลาง
  • ข้อเสียที่สุดคือ ไม่มีปุ่มเคลื่อนที่ ทีละจำนวนเยอะ หากจะให้ถาดพิมพ์เลื่อนขึ้นหลัง Calibrate เสร็จที่ 200 mm เพื่อใส่ถาดเรซินเตรียมพิมพ์ ก็ต้องกดปุ่มขึ้น (เครื่องหมายบวก) 200 ครั้ง
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
  • หลังคาริเบรตเสร็จก็ใส่ถาดเรซิน (VAT) เตรียมพร้อมสำหรับพิมพ์ได้

การ Slice ด้วย Software FlashDLPrint

  • FlashDLPrint เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดย Flashforge เพื่อสนับสนุนเครื่องของตัวเองโดยเฉพาะ ทั้งนี้เป็นโปรแกรมที่ตามหลังฟรีโปรแกรมหลายๆตัว อย่าง Chitubox หรือ Lychee ในด้านการสร้าง Support, User Interface, หรือแม้กระทั่งการรองรับไฟล์ขนาดแค่ 100 mb ก็เจอปัญหาเครื่องอืดแล้ว
  • เครื่องที่สนับสนุนก็ของ Flashforge ทั้งหมด บางรุ่นยังไม่มีข่าววางจำหน่าย
  • ในส่วนของการสร้าง Support ในโปรแกรมนี้ ใช้งานง่ายระดับหนึ่ง การสั่ง Auto Support ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานสะดวกขึ้น ซึ่งเท่าที่ลองใช้งานดู จะไม่พบปัญหาวิ่งทะลุชิ้นงาน
  • อย่างไรก็ตามข้อเสียที่สุดคือ Support ไม่สามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระเลย สิ่งที่ทำได้คือ ลบ Support ที่ไม่เหมาะสม เพิ่มขนาดแล้วกดเพิ่มแบบ Manual ในขณะที่โปรแกรมอื่นสามารถ Free Drag Support หรือเพิ่มขนาด Support ณ จุดนั้นได้เลย
  • สำหรับผู้เขียนที่มีประสบการณ์แล้ว อาจจะมีตัวเปรียบเทียบถึงการใช้งาน แต่สำหรับคนทั่วไป โปรแกรมตัวนี้ยังทำงานได้ดี ไม่มีปัญหา
  • หลังจากสร้าง Support เสร็จแล้ว สู่ขั้นตอนการตั้งค่าเรซิน ซึ่งโปรแกรมนี้น่าจะแย่สุดในปัจจุบัน เพราะปรับส่วนสำคัญอย่าง เวลาในการยกขึ้น-ลง ไม่ได้เลย หรือในส่วนของ Delay ในการพิมพ์ ซึ่งสำคัญมากสำหรับการพิมพ์งานใหญ่ และงานที่มีความซับซ้อน
  • สิ่งที่สามารถปรับเดียวกับฉายแสงได้ มีแค่ 3 ตัวแปรด้านล่าง คือเวลาฉายแสงชั้นปกติ (Base Time) เวลาฉายแสงชั้นฐาน (Attach Time) และจำนวนชั้นที่เวลาฉายแสงชั้นฐานไปสู่ชั้นปกติ
  • ส่วนที่เหลือค่าอื่นๆ เป็นการตั้งขนาดชั้นฐาน และตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเรซิน
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
การตั้งค่าเรซินมีแค่ 3 ตัวแปรเท่านั้น
  • หลังจาก Slice เสร็จ โปรแกรมจะบังคับเซฟเป็นนามสกุล .svgx ซึ่งมาถึงจุดนี้เป็นส่วนที่แย่ที่สุดของโปรแกรม ในการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในการพรีวิวดูข้อมูล ซึ่งถึงจะเพียงพอ แต่ก็ยังช้าอยู่ดี ยิ่งหากพิมพ์ไฟล์ขนาด 1 gb ขึ้น ไปจะไม่สามารถพรีวิวได้เลย เพราะกว่าจะหมุนแต่ละครั้งกินเวลาเป็น วินาที
  • ดังนั้นการตรวจสอบไฟล์จึงทำได้ยาก เข้าใจว่าส่วนนี้เอา Source Code มาจากเครื่อง FDM แถมมีโหลดไฟล์ svg เข้ามาด้วย ต่างกับ slicer ของตัวอื่น ที่จะกลายเป็น Preview PNG ซึ่งเบากว่าเยอะ

เริ่มต้นพิมพ์

  • ในส่วนนี้ให้ดูความเร็วในการทำงาน ด้วยความที่ไม่สามารถปรับความเร็วหรือการหน่วงในโปรแกรม Slicer ได้เลย แต่ค่าปกติที่ตั้งจากโรงงานก็ทำงานได้ดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว
  • ขณะทำงานสามารถดูผลความก้าวหน้าได้ที่หน้าจอ ซึ่งต้องบอกว่าทำงานได้เร็วจริงๆ ถือว่าเป็นข้อดีมากๆของเครื่องนี้
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่

การใช้งานกับ Chitubox (วันที่ 20 เมษายน 2564)

  • Chitubox ในวันที่เขียนบทความนี้คือ version 1.8.1 ยังไม่มีโปรไฟล์ของ Foto 13.3 ให้เลือกใช้งาน แถมคู่มือการตั้งค่าเอง ก็ไม่ละเอียดพอ
  • ขั้นตอนการแอดโปรไฟล์ในตอนนี้คือ แอดโปรไฟล์ของ Flashforge Explorer เข้ามาก่อน
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่
  • จากนั้นแก้ไขข้อมูลของตัวเครื่องตามภาพซึ่งเป็นสเปคของ Foto 13.3 ก็จะสามารถใช้งานโดยใช้ Chitubox ได้แล้ว โดยต้องไปตั้งค่าการใช้งานเรซินให้เหมาะสมเองอีกที แก้ปัญหาด้านซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเองไปทั้งหมด !
Review Flashforge Foto 13.3 Mono LCD ขนาดใหญ่

ผลการพิมพ์

  • หลังจากได้เครื่องทดลองพิมพ์งานไป 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นกวางที่มีไฟล์แถมมาในเครื่อง ใช้เวลาฉายไป 3 วินาที ซึ่งจะ Overexplosure ไป ทำให้รายละเอียดที่ต้องเป็นโครงถัก ปิดทับไปบางจุด (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
  • งานตัวอย่างวัวความยาว 16cm สูง 14 cm ใช้เวลาพิมพ์ 9 ชั่วโมง ที่50 ไมครอนเวลาฉายแสง 3 ชั้น/วินาที
  • ถ้าเป็น Transform RGB จะใช้เวลาราวๆ 16 ชั่วโมง ประหยัดเวลาได้พอสมควร เนื่องจาก FF ตั้งความเร็วในการยกฐานขึ้นลงสูง และเวลาหน่วงฉายแสงแทบจะไม่มีเลย
  • สำหรับคนที่พิมพ์งานใหญ่ๆ ระดับ ยาว20 cm+ อยู่แล้ว ความละเอียด 76 ไมครอนในระนาบ XY ไม่น่าเป็นปัญหาด้านรายละเอียด 
  • อีกตัวอย่างงานขนาดสูง 15 cm ใช้เวลาราวๆ 12 ชั่วโมงที่ความละเอียด 50 ไมครอน
  • การทดสอบที่เหลืออยู่คือใช้ Chitubox ในการทำงาน ซึ่งหากมีผลทดสอบเพิ่มเติม จะมาอัพเดดเพิ่มเติมในบทความนี้ครับ

สรุปข้อมูลตัว Photo 13.3

ในปัจจุบันตัวเลือกสำหรับจอ 13.3 Mono 4K มีไม่เยอะมากนัก ดังนั้นตัว Foto 13.3 เป็นตัวเลือกนึง ทั้งนี้เครื่องขนาดจอ 8.9 นิ้ว Mono 4K ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าในปัจจุบัน เพราะราคาถูกกว่ากันหลายเท่า แลกกับการที่ต้องมาตัดต่องานขนาด ใหญ่แทน ส่วนข้อสรุปของผู้เขียนคือ

ข้อดี

  1. เครื่องขนาดใหญ่ งานประกอบดี เป็นแบรนด์ระดับบนที่มียอดขาย และชื่อเสียงยาวนาน
  2. รองรับ Chitubox เหมือนเครื่องรุ่นอื่นๆ ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น เทียบกับโปรแกรมที่ผู้ผลิตพัฒนาขึ้น Phrozen เอง ยังระงับการพัฒนาโปรแกรม Slicer เอง เพราะไม่มีประโยชน์ สู้ใช้ freeware ไม่ได้
  3. จอ Mono 4K พิมพ์งานได้ไว ชั่วโมงละ 2-4 cm ตามสเปค อะไหล่จอสามารถใช้ 3rd Party ได้ (ยังไม่ได้ทดลอง)
  4. โครงสร้างแข็งแรง เป็นบอลสกรูคุณภาพดี พร้อมลีเนียร์จากไต้หวัน
  5. ระบบระบายความร้อนได้มาตรฐาน มีซิงค์ระบายความร้อนใต้แผง LED
  6. รองรับการเชื่อมต่อทั้ง Flashdrive Lan และ Wifi
  7. คุณภาพงานที่ออกมา ถึงไม่มีการปรับค่าใดๆเลย ก็ยังออกมาสวยงาม ไม่พบปัญหาใดๆเลย

ข้อด้อย

  1. support ในส่วนของเรซินโปรไฟล์น้อยมาก จนถึงไม่มี ในขณะที่แบรนด์อื่น มีข้อมูลครบครัน ทั้งตัว Official เอง และกลุ่มผู้ใช้ แถมทุก Applciation การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเรซินทันตกรรม วิศวกรรม นอกจากนี้ในส่วนของผู้พัฒนา Resin ก็ไม่มีใครใช้เจ้า Foto 13.3 เป็น Base ในการทดสอบเรซินของตัวเองเลย
  2. User expreince ในส่วนของหน้าจอการทำงาน ค่อนข้างด้อยกว่าคู่แข่ง ทั้งในส่วนการ Manual Control การ ทดสอบหน้าจอ และเครื่องระดับนี้ หน้าจอแสดงผลค่อนข้างเล็กมาก
  3. Official Software ควรปรับปรุง ทั้งการสร้าง Support และตั้งค่าการใช้งาน
  4. ไม่มีระบบกรองกลิ่นเรซิน 
  5. ค่าการกระจายแสง ซึ่งผู้เขียนไม่มีเครื่องมือในการวัด จะทำการทดสอบต่อไปหากมีเวลา แต่โดยรวมน่าจะต่ำกว่าหลายๆแบรนด์ ที่มีเลนส์ขนาดใหญ่ กระจายแสงใกล้เคียงกันทุกจุด

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก