Search
Close this search box.

รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

1. วัสดุคอมโพสิตคืออะไร (Composite Materials)

ขอยกข้อมูลของบทความเก่าขึ้นมาอีกทีกับวัสดุ composite หรือภาษาวิชาการเรียกว่าวัสดุประกอบ คือวัสดุที่มีการผสมวัสดุต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิด ชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อ วัตถุประสงค์ตั้งแต่ ดต้นทุนการผลิต เพิ่มความแข็งแรง หรือเสริมสมบัติพิเศษ จะแตกต่างกับการผสมสารเคมีทั่วๆไป คือวัสดุทั้ง 2 ชนิดจะไม่รวมตัวกัน สามารถแยกได้ โดยใช้กระบวนการต่างๆได้ เช่น กระบวนการทางเคมี (ละลาย) หรือทางฟิสิกส์ (เผา) รายละเอียดอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ”Composite Materials สำหรับเครื่อง FDM 3D Printer” ในบทความนี้เน้นไปที่วัสดุคอมโพสิตเชิงวิศวกรรมทีมีวัตถุประสงค์เพื่มความแข็งแรงเป็นหลัก

2. เทคโนโลยีของ Composite 3D Printer

ปัจจุบันความต้องการนำผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นงานที่ได้จากเครื่อง 3D Printer ไปใช้งานมีมากขึ้น ทั้งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายจริง และช่วยในการผลิต ซึ่งผู้ใช้ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของวัสดุ ดังนั้นวัสดุในกลุ่มคอมโพสิตที่มีสมบัติเด่นด้านความแข็งแรง สมบัติทางกลจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น วัสดุคอมโพสิตดังกล่าวมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ นบทความนี้จะกล่าวเฉพาะคอมโพสิตสำหรับเทคโนโลยี Materials Extrusion หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า FDM

2.1 Composite Filament

เป็นรูปแบบที่เห็นมากที่สุดในปัจจุบัน โดยผสมสารเสริมแรงเช่น เส้นใยคาร์บอน (Carbon Fiber) เส้นในแก้ว (Glass Fiber) หรือเส้นใยอารามิด (Aramid Fiber) เข้ากับวัสดุหลักแล้วรีดออกมาเป็นเส้น (Filament) พร้อมใช้งาน ซึ่งสามารถใช้กับเครื่อง FDM ที่มีในท้องตลาดได้ทั้งหมด โดยปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการขับเส้น และหัวฉีดให้แข้งแรงทนทานมากขึ้น เพื่อรองรับการเสียดสีจากการฉีดพลาสติกที่ผสมเส้นใย เส้นที่พบได้ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างจากยี่ห้อ 3DXTech ที่จำหน่ายเส้นคอมโพสิตคุณภาพสูงหลายชนิด

รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

ตัวอย่างงานพิมพ์จากวัสดุในกลุ่มนี้ จุดเด่นคือรอยต่อระหว่างชั้นจะดีขึ้นแบบเห็นได้ชัด ในบางเครื่องหากใช้ความละเอียด 100-200 ไมครอน แทบจะไม่เห็นรอยต่อ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการคุณภาพของผิวที่ดีขึ้นกว่าวัสดุปกติ

carbon 3d print
PLA+CF 20%
รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน
PEEK+GF20%

เครื่องที่รองรับสามารถใช้ได้ตั้งแต่เครื่องเริ่มต้นไม่กี่พันบาท จนเป็นเครื่องระดับอุตสาหกรรมราคาแพง ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้

  • PLA ABS PETG สามารถใช้เครื่องทั่วไปในท้องตลาด โดยเปลี่ยนหัวฉีดให้ทนต่อการเสียดสี เช่น หัวไทเทเนียม หัวเคลือบโลหะแข็ง หัวรูบี้ เป็นต้น
  • PC Nylon ต้องใช้เครื่องในระดับสูงขึ้น มีมาตรฐานที่ดีขึ้น เส้นบางยี่ห้องต้องการอุณหภูมิมากกว่า 300 องศาเซลเซียสในการฉีดเส้นพลาสติก
  • PEEK และ High Performance พลาสติก ต้องใช้เครื่องเกรดอุตสาหกรรมที่พัฒนามาโดยเฉพาะ

ข้อด้อยของเทคโนโลยีนี้คือ วามยาวของเส้นใยเสริมแรงจะสั้นลงอย่างมาก รวมถึงการจัดเรียงตัวของเส้นใย (Fiber orientation) ก็เป็นแบบสุ่ม ไม่แน่นอน  จากกระบวนการผลิต และกระบวนการฉีดโดยเครื่อง 3D Printer ดังนั้นสมบัติการเสริมแรงจะเพิ่มขึ้นไม่สูงมากนัก หากเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ

2.2 Co-Extrusion

เทคนิคนี้พบได้แต่ในเครื่องระดับอุตสาหกรรมราคาแพง โดยจะมีตัวป้อน 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นวัสดุหลัก และส่วนที่เป็นเส้นใยเสริมแรง (ที่มาของภาพ:3D printing for continuous fiber reinforced thermoplastic composites: mechanism and performance) ทำให้ได้ชิ้นงานที่มีส่วนของการเสริมแรงต่อเนื่องตามแนวยาว ดังนั้นความแข็งแรงตามทิศทางของเส้นใยจะสูงขึ้นมาก แต่ในด้านตรงข้ามจะให้ผลที่น้อยกว่า หลายผู้ผลิตจะใช้คำว่า “continuous fiber reinforced” แทนคำว่า Co-Extrusion เพราะบางเครื่องช่องทางการฉีดแยกกันระหว่างวัสดุหลักและตัวเส้นใย

รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน
รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน
รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

ตัวอย่างชิ้นงานจากการพิมพ์จากเครื่อง DIY

รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน
รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

ความแข็งแรงของชิ้นงานที่ได้จากเครื่องระดับอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นสูงมากอย่างเห็นได้ชัด เน้นไปที่การใช้งานชิ้นส่วนที่ต้องการทดแทนวัสดุโลหะ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการน้ำหนักเบา แต่ความแข็งแรงสูง (ที่มา: https://markforged.com/)

รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

ตัวอย่างของเทคนิคที่มี 2 หัวฉีด โดยหัวฉีดหลักเป็นวัสดุพลาสติก และอีกหัวเป็นเส้นใยเสริมแรง กรณีนี้ตัวเ้สนใยมีโอกาสหัก เสียหายมากกว่า ขณะฉีดขึ้นรูป (ที่มา: Tensile properties and failure behavior of chopped and continuous carbon fiber composites produced by additive manufacturing)

รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

2.3 Laminated Composite

เทคโนโลยีนี้ใช้ส่วนของเส้นใยเสริมแรงที่ถักทอเป็นผืนแล้วรีดลงบนชิ้นงานเป็นแผ่นๆ ในบริเวณที่ต้องการ เหมือนเราปิดเทปกาวในจุดที่ต้องการ ดังวีดีโอของ Desktop Metal ข้อดีที่สุดคือเส้นใยที่ถักทอเป็นผืนมีความแข็งแรงมากกว่าแบบ Continuous มีสมบัติการรับแรงใกล้เคียงกันทุกทิศทาง ลดปัญหาการเกิดรูพรุน (Void) ที่เกิดจากความเข้ากันได้ระหว่างตัววัสดุหลักและเส้นใย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง void ได้ที่บทความ Voids in fiber-reinforced polymer composites: A review on their formation, characteristics, and effects on mechanical performance)

3. ข้อแนะนำด้านเครื่อง Composite 3D Printer ในปัจจุบัน

  • กลุ่มแรกคือ Composite Filament ในระดับเริ่มต้นสามารถใช้เครื่องทั่วไปได้เลย โดยเปลี่ยนหัวฉีดให้เหมาะสม
  • กลุ่มที่สองสำหรับ Composite Filament ที่ใช้วัสดุระดับสูงขึ้น เช่น PC Nylon ควรใช้เครื่องในระดับ Prosumer ที่มีการทดลองใช้งานจนได้ค่าการพิมพ์ที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการพิมพ์เสีย คุณภาพการพิมพ์ไม่ได้ตามกำหนด
  • กลุ่มที่สาม Composite Filament วัสดุระดับสูงเช่น PEEK Ultem PEI ควรใช้เครื่องที่พัฒนามารองรับวัสดุนี้โดยเฉพาะ ราคาเครื่องแบรนด์ยุโรปจะเริ่มต้นหลักล้านบาทขึ้นไป
  • กลุ่มที่สี่ สำหรับเทคนิค continuous fiber หรือ laminate fiber เลือกใช้ตามข้อมูลความต้องการทางวิศวกรรมเป็นหลัก อาจเริ่มต้นจากเครื่องในกลุ่มที่สองเพื่อทดลองใช้งานก่อน เพื่อขยับสู่เครื่องระดับสูงขึ้น
รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน
ตารางเปรียบเทียบความแข็งแรงจาก Desktop Metal

แหล่งข้อมูลจากแบรนด์ชั้นนำด้านเครื่อง Composite 3D Printer โดยเฉพาะ

Desktop-Metal-Fiber-3D-printing
Desktop Metal Fiber
รีวิวเทคโนโลยี Composite 3D Printer ในปัจจุบัน
Markforged X5

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก