Chocolate ที่หลายคนโปรดปราน
ช็อกโกแลต (Chocolate) ที่เราใช้รับประทานกัน ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน (มีการปลูกในประเทศไทย บ้านเรา) ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ โกโก้ลิเคอร์ (cocoa liquor) น้ำตาลขาวบริสุทธิ์ (pure sugar) โกโก้บัตเตอร์ (cocoa butter) เลซิติน (lecithin) จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปให้อยู่ในรูปแบบของแท่ง หรือรูปอื่น ๆ
เวลานำมาใช้ก็ให้ความร้อนจะหลอมละลายและเทเข้าแบบตามที่ต้องการ (forming) หรือให้ความร้อนเล็กน้อย พอให้หนืดเพียงพอจนบีบ ปั้น หรือฉีดขึ้นเป็นรูปร่างได้ ปัจจุบัน 3D Print Food ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสามารถสร้างประสบการณ์ในการรับประทานได้มากกว่าอาหารทั่วๆไป ทั้งรูปร่างหน้าตา และวิธีการปรุงแต่ง ทำให้ตัวอาหารมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
การขึ้นรูปช็อกโกแลตในแบบดั้งเดิมนั้นต้องอาศัยแม่พิมพ์ (mold) เป็นหลัก โดยสร้างแบบที่เป็นรูปร่างอย่างง่ายขึ้นมา รวมกับฝีมือและความชำนาญในการสร้างศิลปะให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม ซึ่งภาพลักษณ์มีที่สวยงาม และหน้าสนใจ รวมถึง เรื่องราวหรือสตอรี่ที่มาของอาหารเป็นจุดสนใจสำหรับการเลือกซื้อ ดังนั้นการขึ้นรูปแบบเดิมๆ ไม่สามารถสร้างรูปร่างช็อกโกแลต ที่ซับซ้อนได้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่อง 3D Printer ที่ผลิตงานซับซ้อน รูปร่างเฉพาะตัวได้ดี
ตัวอย่างงานพิมพ์ Chocolate ด้วยกระบวนการทั่วไปในปัจจุบัน

(https://www.makercakehouse.com)

(http://www.atkitchenmag.com)
ตัวอย่างงานพิมพ์ Chocolate ด้วยเครื่อง 3D Printer

Source: TechCrunch / YouTube

Source: Hershey

Source: Sculpteo
Print Chocolate ด้วยการพิมพ์ 3D
เครื่องพิมพ์ช็อคโกแลต 3D ส่วนใหญ่สามารถทำงานกับไฟล์ CAD ชนิดเดียวกันกับเครื่องพิมพ์ 3D ปกติได้ แต่ส่วนใหญ่มักใช้เป็นภาพ 2D แล้วให้ขนาดความหนาเพื่อปริ้นเป็นชิ้นงานช๊อกโกแลตขึ้นมา เช่น ไฟล์ .ai จาก illustrator หรือภาพถ่ายแล้วมาแปลงเป็น .ai อีกที (กรณีนี้เรียกว่าการพิมพ์ 2.5D)
โดยทั่วไปเครื่องพิมพ์ช็อคโกแลต 3 มิติ ทำงานเหมือนกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ระบบ FDM ทั่วๆไป หัวอัดรีดจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ฐานรองรับ โดยมีชุดฉีดที่มีลักาณะคล้ายเข็มฉีดยา ซึ่งช็อกโกแลตจะถูกหลอม หรือให้ความร้อนก่อนแล้วจากนั้นก็จะเก็บช็อกโกแลตไว้ที่อุณหภูมิขณะที่พิมพ์ ขึ้นรูปทีละชั้นจนเสร็จ ซึ่งในที่สุดช็อกโกแลตจะเย็นตัวลง และแข็งสามารถคงรูปอยู่ได้
การใช้เทคโนโลยี 3D Printer ในการขึ้นรูปร่างต่างๆของช็อกแลตนั้นมีความปลอดภัย และสามารถรับประทานได้จริงๆ เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ก็คือผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบที่ใช้ในการทำช็อกโกแลตอยู่แล้ว เพียงแค่ต่างกันตรงวิธีการขึ้นรูปเท่านั้นเอง

ข้อดีของการใช้เครื่อง 3D Printer
– การปรับแต่งลวดลายอย่างอิสระ
การพิมพ์ช็อกโกแลตแบบ 3D ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งช็อกโกแลตตามกิจกรรม วันพิเศษ หรือตามอารมณ์ได้ง่ายมาก เป็นการสร้างความพิเศษให้กับคนพิเศษของคุณได้อย่างง่ายดาย
– ความคิดสร้างสรรค์
การพิมพ์แบบ 3 มิติที่กินได้ช่วยให้ผู้สนใจรักการทำช็อกโกแลตหรืออาหาร สามารถปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในครัวได้มากยิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถจินตนาการงานศิลปะและสร้างการออกแบบที่ซับซ้อนได้จริง

(https://www.aniwaa.com)
ตัวอย่างของ 3D Printer ที่ออกแบบมาเพื่อพิมพ์ Chocolate
– Choc Creator V2.0 Plus
– ZMorph VX
– Procusini 3.0
– byFlow Focus
– AIBOULLY Chocolate printer
DIY 3D Printer Chocolate
สำหรับคนที่อยากได้เครื่อง 3D Print Chocolate ไว้ใช้งานเอง แต่ไม่อยากลงทุนมาก เพราะเครื่องที่ระบุตัวเองว่า Print chocolate ได้นั้นมีราคาที่สูงมาก ดังนั้นจึงแนะนำไว้ซื้อเครื่อง 3D Printer ทั่วๆไป ที่สามารถปรับแต่ง Firmware เองได้ มาดัดแปลงชุดฉีดวัสดุเอง โดยมีตัวอย่างในอินเตอร์เน็ทจำนวนมาก ซึ่งลงทุนน้อยกว่าหลายเท่า