3D Printer แบบเส้นพลาสติก หรือ Fused Deposition Modelling (FDM)
ทุกวันนี้หากค้นหาด้วย Google เพื่อเลือกซื้อเครื่อง 3D Printer ซักเครื่องจะพบกับผู้ขายจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคน ก็จะมีวิธีการนำเสนอเครื่องของตัวเอง ด้วยวิธีและข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้ซื้อต้องหาข้อมูลเปรียบเทียบ เพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างมาก โดยบทความนี้นำเสนอแนวทางการเลือกสไตล์ Sync Innovation ที่มีประสบการณ์ตรงในด้านนี้มากกว่า 5 ปี ซึ่งได้ทดลองใช้ตั้งแต่ชุด KIT และเครื่องที่ประกอบขึ้นเอง เครื่องสำเร็จรูป (Assembled) จากจีนและตะวันตกมาพอสมควร
1. ซื้อเครื่อง 3D Printer เพื่อรองรับงานประจำหรืองานอดิเรก
สำหรับรับงานประจำหรืออุตสาหกรรม
สำหรับคนที่ต้องการเครื่องมืออาชีพ หรือระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเครื่องที่ต้องใช้ทำมาหากิน มีการทำงานต่อเนื่องทุกวัน เครื่องดังกล่าวต้องเป็นเครื่องมาตรฐานอุตสาหกรรม ทั้งงานประกอบ การสนับสนุนด้านข้อมูล และบริการหลังการขายจากผู้ขาย ซึ่งในไทยยังถือว่า ยังมีช่างผู้ชำนาญการจริงน้อยมาก ตัวเลือกจึงมีค่อนข้างน้อย โดยยี่ห้อที่เป็นผู้นำด้านนี้คือ Stratasys ซึ่งงบประมาณที่ต้องใช้เกิน 1 ล้านบาท แน่นอน หากต่ำกว่านั้นจะเป็นรุ่น Mojo หรือ uPrint ที่มีขนาดการพิมพ์เล็กเกินไป
ยี่ห้อรองลงมาตัวเลือกจะเป็น Makerbot Raise3D Ultimaker Zotrax ซึ่งเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ จัดอยู่ในเกรด Prosumer หรือผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องคุณภาพสูง ไม่ต้องมาเสียเเวลาตั้งค่า หรือเซ็ทโปรแกรมอะไรมาก เน้นใช้โปรไฟล์การพิมพ์ รวมถึงวัสดุเส้นพลาสติกจากผู้ผลิตเลย
เครื่องราคา 150,000+ บาท

Raise 3D N2+

Zortrax M300

Makerbot Z18
ในราคาระดับต่ำลงมาเล็กน้อยประมาณ 1 แสนบาท ตัวเลือกในท้องตลาดตอนนี้ ดูจะมีให้เลือกในไทยน้อยมาก ที่น่าสนใจคงเป็นแบรนด์ยุโรปอย่าง Ultimaker2+ และ BCN3D โดยตัวแรกน่าจะราคาต่ำลงมาพอสมควร เนื่องจากออก Ultimaker 3 มาแล้ว ซึ่งทางผู้ผลิตก็ยังไม่ได้ทิ้งตัวเก่า ยังคงสนับสนุนเหมือนเดิม ซึ่งให้ผู้ใช้ได้เลือกตามงบประมาณและฟังก์ชั่น ในขณะที่ BCN3D Sigma เป็นเครื่องแบบ 2 หัวฉีดอิสระ ทำให้ทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อเสียของ 2 ตัวนี้ คือใช้เส้น 2.85 mm ซึ่งเป็นตลาดเล็ก โดยเฉพาะในไทย ที่หาซื้อเส้นยี่ห้ออื่นๆได้ยาก เหมือนบังคับให้ใช้เส้นของผู้นำเข้าไปโดยอัตโนมัติ หรือถ้าจะสั่งเองจากต่างประเทศ ก็ต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากพอสมควร
เครื่องราคา 100,000 บาท

Ultimaker 2+

BCN3D Sigma
ในราคาระดับที่ต่ำกว่าหลักแสน สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด แต่อยากได้เครื่องที่มีคุณภาพสูง ทนทานต่อการใช้ แต่อาจจะตัดทอนฟังก์ชั่นการใช้งานบางอย่างไป เพื่อให้ราคาต่ำลง จะมีในส่วนของ Flashforge Creator Pro หรือ Wanhao Duplicator 6 ที่เป็นเครื่องประกอบพร้อมใช้งาน หรือหากมีเวลาประกอบ Prusa Original MK2 ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ให้ขนาดการพิมพ์ใหญ่กว่า 2 ตัวที่กล่าวมา
เครื่องราคา 40,000 บาท

Wanhao Duplicator 6

Flashforge Creator Pro

Original Prusa MK 2
สำหรับงานอดิเรก
สำหรับคนที่ต้องการใช้เครื่อง 3D Printer ทั่วๆไป ไม่ได้นำไปประกอบอาชีพหลัก นอกจากเครื่องรุ่นที่ได้กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีตัวเลือกอื่นๆ เช่น พวกเครื่องชุด KIT จากจีน ที่สมัยนี้ ใช้งานได้ดีเหมาะสมตามราคา โดยเครื่องในระดับ 2 หมื่นต้นๆ ตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับเครื่องที่มียี่ห้อ คงเป็นเครื่องจากตระกูล Up XYZ หรือ Wanhao ที่ขนาดการพิมพ์มาตรฐาน รองรับทั้งวัสดุ PLA และ ABS
เครื่องราคา 25,000 บาท

Wanhao Duplicator I3+

UP Mini 2

Flashforge Finder
นอกจากเครื่องที่ประกอบเสร็จจากที่ได้แนะนำ หากผู้ใช้ต้องการเรียนรู้ส่วนประกอบของเครื่อง ปรับแต่งเครื่องเอง รวมถึงมีเวลาลองผิดลองถูก มีชุด KIT 3D Printer จากจีนราคาไม่แพงหลายนี่ห้อ ที่ให้คุณภาพการพิมพ์ ดีอย่างไม่น่าเชื่อหากมีการปรับค่า และประกอบเครื่องให้เหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้จะมี กลุ่มแฟนเพจของเครื่องนั้นๆ ที่ให้ผู้ใช้เข้าไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมเช่น CR MicroMake Tevo Anet Troxy ซึ่งบางชุดราคาเริ่มต้นต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาทเสียอีก แต่จากประสบการณ์มีผู้ใช้หลายคน ต้องทิ้งไว้เป็นซาก เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ตามต้องการ ก็เป็นข้อด้อยที่ต้องพึงระวังหาก จะซื้อมาลองประกอบเอง โดยเฉพาะเป็นเครื่องแรกที่ใช้
เครื่องราคา 10,000 บาท

Tevo Tarantula

Micromake Rostock

Tronxy I3

Anet A8
2. ขนาดการพิมพ์ที่ต้องการ
สำหรับคนที่ขนาดของแบบ 3D Model แล้วต้องการเครื่องที่สามารถพิมพ์ขนาดที่ต้องการได้ ซึ่งเครื่อง 3D Printer ตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบการเคลื่อนแนวแกน XYZ และแบบ Delta ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป

โดยลักษณะของเครื่องประเภท Delta จะพิมพ์ได้เป็นวงกลม และเน้นไปที่ความสูง จึงเหมาะสมกับงานที่เป็นทรงสูง เช่น แบบจำลองคน หุ่นยนต์ หรือพวกแจกัน โคมไฟทรงสูง
- ขนาดที่พิมพ์ได้จริงให้ใช้เส้นผ้านศูนย์กลาง (Diameter) คูณด้วย 0.7 จะได้ขนาดกว้างxยาว เทียบกับเครื่องแบบ XY เครื่อง Delta ส่วนใหญ่มีขนาดพื้นที่การพิมพ์เส้นผ่านศูนย์กลาง 200 mm ถ้าเทียบกับเครื่องแกน XY จะมีพื้นที่เพียง 150 mm เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะไม่ได้บอก ดังนั้นผู้ใช้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเอง
- สำหรับคนที่ประกอบเครื่อง Delta เอง สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เช็คระยะการพิมพ์ให้ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่จะพิมพ์สี่เหลี่ยมไม่ได้ ต้องไปแก้ที่ระยะแขน และค่า Estep ให้ถูกต้องจึงจะแม่นยำ
- ราคาสำหรับขนาดการพิมพ์ปกติ (Φ200 สูง 300 mm) อยู่ที่ 10,000-50,000 บาท
- ราคาสำหรับขนาดการพิมพ์กลาง (Φ300 สูง 500 mm) อยู่ที่ 50,000-200,000 บาท
- ราคาสำหรับขนาดการพิมพ์ใหญ่ (สูง > 1 เมตร) 200,000+ บาท เช่น SeemeCNC Wasp Tractus3D CoLiDo


ผลงานพิมพ์เครื่อง Delta รุ่น Sync Delta 500









ในขณะที่เครื่องแบบ XY หรือภาษาวิชาการเรียกว่า Cartesian จะมีขนาดการใช้งานที่ดูง่ายกว่า ซึ่งในระดับล่างจะเป็นเครื่องตระกูล Prusa I3 ที่มีฐานเคลื่อน (แกน Y) ซึ่งมีขนาดการพิมพ์มาตรฐานอยู่ที่ 20x20x20 cm ในขณะที่เครื่องขนาดใหญ่ในราคาถูกจะเป็นชุด KIT จากจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งใหญ่สุดที่พบคือ 50x50x50 cm ซึ่งถ้าเป็นเครื่องรูปแบบอื่น หรือผลิตจากต่างประเทศราคาจะพุ่งเกินหลักแสนบาททั้งนั้น ดังนั้นจึงมีคนทำคู่มือการสร้างเครื่องแบบ DIY มากมาย ซึ่งสามารถขยายขนาดได้ตามความต้องการ
เครื่องแบบ Prusa I3 จากจีน

Duplicator I3 (20x20x18 cm)

CR 10 (50x50x50 cm)
ผลงานพิมพ์เครื่อง Duplicator I3+




3. วัสดุที่ต้องการใช้งานกับเครื่อง 3D Printer
วัสดุหลักของเครื่อง 3D Printer ทั่วไป คือพอลิแลกติกแอซิด หรือ PLA ที่ค่อนข้างปลอดภัยและพิมพ์ง่ายกว่าวัสดุอื่นๆ แต่ในภาคอุตสาหกรรมมีวัสดุอีกหลายชนิด ที่ต้องใช้เป็นชิ้นงานจริงๆ ไม่สามารถนำวัสดุอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้นหลายๆเครื่องที่ราคาแพง จึงมีการให้ข้อมูลว่าเครื่องของตัวเอง สามารถหรือเคยใช้วัสดุใดได้บ้าง โดยในเครื่องระดับ 1 แสน บาทขึ้นไปส่วนใหญ่รองรับอุณหภูมิสูงประมาณ 300 C ได้ทั้งหมด ซึ่งสอบถามได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศได้เลยครับ
วัสดุหลักของเครื่อง 3D Printer ทั่วไป คือพอลิแลกติกแอซิด หรือ PLA ที่ค่อนข้างปลอดภัยและพิมพ์ง่ายกว่าวัสดุอื่นๆ แต่ในภาคอุตสาหกรรมมีวัสดุอีกหลายชนิด ที่ต้องใช้เป็นชิ้นงานจริงๆ ไม่สามารถนำวัสดุอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้นหลายๆเครื่องที่ราคาแพง จึงมีการให้ข้อมูลว่าเครื่องของตัวเอง สามารถหรือเคยใช้วัสดุใดได้บ้าง โดยในเครื่องระดับ 1 แสน บาทขึ้นไปส่วนใหญ่รองรับอุณหภูมิสูงประมาณ 300 C ได้ทั้งหมด ซึ่งสอบถามได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศได้เลยครับ
ตัวอย่างเครื่อง 3D Printer ที่สามารถพิมพ์วัสดุแตกต่างจากทั่วๆไปได้

เครื่อง Ultimaker 3 กับวัสดุ PP (พอลิโพรพิลีน)

Markforge Mark X ที่สามารถพิมพ์วัสดุพลาสติกไนลอนผสม คาร์บอนไฟเบอร์ได้

The AONIQ 888 เครื่อง 3D Printer ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ PVC โดยเฉพาะ

Intamsys รุ่น Funmat-HT ที่สามารถพิมพ์วัสดุสุดแกร่งอย่าง PEEK ได้
Sync Innovation คาดหวังว่าบทความสั้นๆนี้ สามารถช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกเครื่อง 3D Printer ได้เหมาะสมกับความต้องการมากยิ่งขึ้น หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่ม ติดต่อได้ที่ [email protected]