นวัตกรรมจากเทคโนโลยี Additive Manufacturing
เทคโนโลยีใหม่การผลิตสมัยใหม่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมหาศาล โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเครื่องจักรการผลิตในต้นทุนต่ำ ไม่แพง เรียนรู้การใช้งานไม่ยาก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ หรือปรับปรุงจากเดิม รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ยากในอดีต เช่น อาวุธปืน หรืออาวุธสงคราม ซึ่งต้องใช้เครื่องจักร กระบวนการผลิต เทคโนโลยี และประสบการณ์ระดับสูง กลายเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมากขึ้น โดยประเด็นที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือ การนำเทคโนโลยี Additive Manufacturing (3D Printing) มาผลิตปืนใช้งานจริงในสหรัฐอเมริกาจนเป็นประเด็นทำให้หลายฝ่ายให้ความสนใจ และแสดงความเป็นห่วงต่ออนาคตที่ไม่ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งในอเมริกาเราจะเห็นได้ว่ามีเหตุการณ์น่าสลดใจอย่างการพกพาอาวุธและทำร้ายคนจำนวนมากในที่สาธารณะ การที่เครื่องพิมพ์นี้สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นการผลิตอาวุธได้ง่ายขึ้น ย่อมเป็นที่จับตามองของหลายฝ่ายที่มีแสดงความเป็นห่วงต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีนี้
Cody Wilson ผู้ริเริ่มการสร้างอาวุธจาก 3D Printer
Cody ได้ก่อตั้ง Defense Distributed ในปี 2013 เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ออกแบบและพัฒนาอาวุธปืนแบบ Open Source โดยใช้ชื่อช่องทางว่า “Wiki Weapons” ระดมทุนจากผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีนี้ และปล่อยไฟล์ 3D Model แบบ Open Source ออกมาให้คนได้เข้าไปดาว์นโหลด และปรับปรุง ซึ่งได้มีการนำมาทำเป็นสารคดีให้ชมกันด้วยใน Youtube
ก่อนที่จะคิดไปกันถึงเรื่องความปลอดภัย ขอสรุปข้อมูลจากตัวสารคดีก่อน
- Cody ใช้โปรแกรมเขียนแบบ 3D Model ยอดนิยมอย่าง Solidworks ในการออกแบบชิ้นส่วน
- ใช้เครื่อง FDM 3D Printer ของ Stratasys ในการทำต้นแบบ ชิ้นส่วนภายนอก ส่วนประกอบอื่นๆที่ใช้งาน ภายหลังโดนขอเครื่องคืน เนื่องจากผิดกับข้อกำหนดการใช้งาน
- ได้มีการทดลองใช้อีกหลายเทคโนโลยีเพื่อทดสอบด้านวัสดุ ผิวสัมผัส เช่น 3D System ที่เป็นเรซิน Object ที่เป็นเทคโนโลยี Polyjet
- บางส่วนเป็นเครื่องที่ซื้อมาเอง บางส่วนอาศัยบริการ 3D Printing Service
- ปืนที่ออกแบบขึ้นสามารถใช้งานจริงได้ โดยบางส่วนก็ต้องใช้เครื่อง CNC ในการผลิต เนื่องจากต้องแข็งแรง ทนต่ออุณหภูมิสูง
Liberator ปืนจาก 3D printer
ก่อนที่จะมาเป็นปืนกลที่ยิงรัวๆ แบบในคลิบสารคดีด้านบน Cody ได้ประดิษฐ์ปืนพกขึ้นมาก่อนในชื่อ “Liberator” ซึ่งผลิตจากพลาสติกทั้งหมด มีส่วนเดียวที่เป็นโลหะคือกระสุนที่ใช้เข็มเล่มเดียวในการยิง ซึ่งเจ้ารุ่นนี้ยังไม่น่ากลับเท่าไหร่ แต่นาย Cody ประกาศจะพัฒนารุ่นระดับสูง แล้วให้โหลดไปผลิตได้เองฟรีๆ จนกระทบกับหลายๆฝ่าย ต้องเข้ามาควบคุมอย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งในไทยเองก็ยังมีกฎหมายควบคุมการนำต้องจดแจ้งก่อนทุกครั้ง (อ่านวิธีการนำเข้า)

หลังจากเป็นข่าวอยู่ไม่นาน ผู้พิพากษารัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาก็ประกาศคุ้มครองชั่วคราว ห้ามเผยแพร่ข้อมูลการผลิตปืน และตามมาหลายๆรัฐก็เกิดกฎหมายห้ามขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านไปเกือบ 2 ปี หลังจากตรวจสอบทุกอย่างจนหมด Defense Distributed ก็กลับมาทำธุรกิจไม่แสวงหากำไรได้เหมือนเดิม แถมยังมีทีมงานย่อยเป็น GHOST GUNNER, LEGIO ส่วน DEFCAD ที่เป็นทีมหลักของ Cody ยังคงมีคำสั่งระงับไม่เปลี่ยนแปลง
สิ่งที่น่ากลัวกว่าปืนจาก 3D Printer
หากเจาะลึกไปถึงเทคโนโลยีการผลิตปืน ส่วนสำคัญมากที่สุด วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นโลหะ ดังนั้นเราสามารถตัดเครื่อง 3D Printer ราคาถูกๆ ไปได้เลย เครื่องพิมพ์โลหะปัจจุบันต้องมีงบประมาณระดับ 10 ล้านบาท และใช้ผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมเครื่อง ซึ่งเกินความสามารถของคนทั่วไป แต่หากมองไปที่การทำธุรกิจของทีม Ghost Gunner พบว่า เป็นการขายเครื่อง CNC ที่มีโค้ดพร้อมผลิตส่วนประกอบของปืนทันที ผู้ผลิตใช้คำว่า ” No prior CNC knowledge or experience” ซึ่งอันตรายยิ่งกว่า ส่วนคนที่มีเครื่องแล้วก็ซื้อแค่ไฟล์ไปผลิตเองได้
อย่างไรก็ตามทางบริษัทไม่มีนโยบายขายให้กับคนทั่วไปบางรัฐ และนอกประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นข้อตกลงที่ทำไว้กับรัฐบาลสหรัฐ ปัจจุบัน Cody Wilson พึ่งถูกจับไปที่ประเทศไต้หวันเมื่อเดือนกันยายน 2019 ที่ผ่านมาจากข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ และได้รับสารภาพที่ศาลกรุงวอชิงตันเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และอาจต้องติดคุกเป็นเวลา 10 ปี เป็นอันจบเส้นทางของผู้ประดิษฐ์ปืนจาก 3D Printer เป็นคนแรก
ผลกระทบในประเทศไทย
ปัจจุบันด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศไทยเองมีกฏหมายควบคุมการนำเข้าเครื่อง 3D Printer ดังนั้นบุคคลใด หรือนิติบุคคล ที่ต้องการนำเข้า ต้องไปทำเรื่องให้ถูกต้องที่กรมการค้าต่างประเทศ พร้อมทำรายงานประจำปี ส่วนตัวผู้เขียนมีความคิดว่าควรจำกัดเฉพาะเทคโนโลยีระดับสูง เช่น การพิมพ์โลหะ เซรามิกส์ ที่เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งสอดคล้องกับการนำมาใช้เป็นอาวุธมากกว่า
อ่านขั้นตอนการนำเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (คลิ๊ก)