ข่าวแนะนำเทคโนโลยี CLIP 3D Printer จาก Carbon3D
เทคโนโลยี CLIP 3D Printer หรือ Continuous Liquid Interface Production 3D จาก Carbon3D เป็นการพัฒนาต่อจากเทคโนโลยี SLA (Stereolithography) โดยไม่จำเป็นต้องให้ฐานพิมพ์ยกขึ้น-ลง อีกต่อไป โดยใช้กระจกที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถให้ออกซิเจนผ่านเข้ามาได้ (Oxygen permeable window) ซึ่งออกซิเจนตัวนี้จะทำหน้าที่ๆไม่ให้เรซินที่แข็งตัว ติดอยู่กับกระจก เรียกว่า Dead zone ดังแสดงในภาพด้านล่าง

ที่มา: www.3dprint.com
ด้วยเทคนิคดังกล่าว Clip 3D Printer สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าเครื่อง SLA ทั่วไปถึง 25-100 เท่า นอกจากนี้ หากมีระบบระบายความร้อนจากการพิมพ์ต่อเนื่องที่ดีมากขึ้น สามารถที่จะพิมพ์ได้เร็วสูงสุดตามทฤษฎี 1000 เท่า จากปกติ
ในด้านวัสดุที่รองรับ ปัจจุบันทาง Carbon 3D แบ่ง เรซินที่ใช้เป็น 7 กลุ่มได้แก่
- Rigid Polyurethane
- Flexible Polyurethane
- Elastomeric Polyurethane
- Cyanate Ester
- Epoxy
- Urethane Methacrylate (UMA)
- Dental
โดยวัสดุทั้งหมด หาได้ยากในเครื่อง SLA แบบปกติ

Rigid PU

Flex PU

Elastomeric PU

Cyanate Ester

Epoxy

UMA

Dental
ปัจจุบันทาง Carbon 3D ได้ออกเครื่อง 3D Printer จากเทคโนโลยีดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า M1 ที่มีขนาดการพิมพ์ 141mm x 79mm x 326mm และ M2 ที่มีขนาดการพิมพ์ 189mm x 118mm x326mm ซึ่งเปิดให้เช่ารายปี โดยไม่มีการขายขาดแต่อย่างใด โดยบริษัทที่ให้ความสนใจมีมากมายทั่วโลก เช่น BMW Airbus General Electric Google และ Adidas
Futurecraft 4D รองเท้าจาก Adidas โดย 3D Printer
บริษัทที่เปิดตัวเป็นพันธมิตรอย่างชัดเจนคือ Adidas ที่ตั้งเป้าผลิตรองเท้ารุ่น Futurecraft 4D จากเครื่อง 3D Printer เป็นจำนวน 100,000 คู่ภายในปี 2019 โดยส่วนของรองเท้าที่ผลิตจากเครื่อง 3D Printer ของ Carbon 3D คือส่วนของ midsole ที่ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกทั้งจากพื้นรองเท้า และจากฝ่าเท้าของผู้ส่วมใส่ โดย Adidas ออกแบบให้เป็นโครงร่างแหที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากรองเท้าในปัจจุบัน