DIY 3D Printer ราคาเหมาะถูก เหมาะกับคนเริ่มต้นในบทความนี้ หมายถึงเครื่องที่ผู้ใช้ต้องแกะกล่องมาประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงตั้งค่าในโปรแกรม Slicer ให้เหมาะสมกับเครื่องของตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากเครื่องที่เป็นระบบ Plug & Play ที่ประกอบมาเสร็จสรรพ พร้อมใช้งานตั้งแต่แกะกล่อง ซึ่งเครื่องกลุ่มนี้จะราคาสูงกว่าในทุกระดับตั้งแต่ Entry จนไปถึงระดับ Prosumer โดยจุดสังเกตที่บทความนี้จัดให้อยู่ในกลุ่ม DIY
- ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน
- การตั้งค่าอาจต้องปรับเปลี่ยนจากค่ามาตรฐานโรงงาน
- เป็น Open Source ผู้ใช้สามารถปรับปรุง โมดิฟายได้ทั้งชิ้นส่วนเสริม และเฟิร์มแวร์
- เป็น Open Materials ใช้วัสดุจากผู้ผลิตใดก็ได้
- ยังวางจำหน่ายในวันที่เขียนบทความ
- ราคาอยู่ในระดับไม่เกิน 30,000 บาท (เข้าไทยรวมค่าจัดส่งและภาษีนำเข้าอาจจะเกิน)
DIY จากฝั่งตะวันตก
1. Original Prusa MK3S ต้นฉบับ DIY 3D Printer
Prusa เป็น 1 ในโปรเจค Reprap ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด จนถึงปัจจุบัน มียอดจำหน่ายเกิน 100,000 เครื่อง (โปรเจค Reprap คืออะไร ?) โดยรุ่น MK3S เป็น Generation ที่ 3 ซึ่งมีจุดเด่นตรงฟีเจอร์ลูกเล่นครบครันและจูนมาอย่างดี เช่น ระบบปรับตั้งฐานอัตโนมัติที่เหนือกว่าฝั่งจีน ระบบขับเส้นแบบเฟืองคู่ ระบบฐาน Flexible ที่ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ รวมไปถึงเลือกใช้ชิ้นส่วนคุณภาพดี มีการวิจัย ทดสอบมาแล้วว่าผ่านมาตรฐานการทำงาน
สำหรับคนที่จะซื้อ Prusa ต้องเตรียมตัว เตรียมเครื่องมือ และเวลาพอสมควรถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจีนปัจจุบันที่ใช้เวลาประกอบ 5-10 นาที แต่สำหรับเครื่องนี้อาจจะกินเวลา 3-8 ชั่วโมง ตามทักษะของผู้ใช้งาน รวมทั้งอะไหล่หลายตัวก็ไม่ได้มีขายทั่วๆไป นอกจากนี้ชิ้นส่วนที่มาจาก 3D Printer ก็ไม่ได้แข็งแรง ทนทาน สวมประกอบได้พอดี อาจจะต้องใช้ความพยายามมากในบางขั้นตอนการประกอบ

Key Feature
- Buid size 25 x 21 x 21 cm
- Print Speed 200 mm/s (ใช้ได้จริงและคุณภาพผิวยังดี)
- Magnetic spring steel sheet with PEI surface
- Bondtech extruder drive
- Automatic mesh bed levelling
- การทำงานเงียบจาก Trinamic drivers และ พัดลมของ Noctua
2. Folgertech FT6

Key Feature
- Buid size 72 x 35 x 40 cm
- Linear Rail แกน XY
- หน้าจอการทำงานขนาดใหญ่
- ระบบ Auto Level
- หัวฉีด 2 หัว
- Open Source ชิ้นส่วน โครงสร้าง เฟิร์มแวร์
- ชุดปรับปรุงเครื่องมากมาย
3. Matterhacker Pulse
Pulse มีโครงสร้างและหน้าตาคล้าย Prusa I3 เน้นผลิตตามสั่งคามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทั้งขนาด ระบบขับเส้น ที่สามารถปรับได้ทั้งหมด ดังนั้นราคาเริ่มต้นกับราคาสุดท้ายที่เลือกอาจจะต่างกัน 3-4เท่าเลยทีเดียว

Key Feature
- Buid size 250 x 220 x 215 mm (ใหญ่สุด)
- เลือกส่วนประกอบต่างๆได้เองทั้งหมด เช่น
- 1-2 หัวฉีด
- E3D, Ruby Nozzle
- Flexible Buildplate
- Controller 8/32 bit
- Enclosure
DIY จากฝั่งประเทศจีน
4. Creativity Ender 3 Pro
เครื่อง DIY 3D Printer เริ่มต้น ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2019 ด้วยราคาขายที่ถูกมาก ในไทยเองราคาไม่เกิน 1 หมื่นบาท พร้อมโครงสร้างอลูมิเนียมโปรไฟล์ที่ประกอบมา 80% เพียงขันน๊อตไม่กี่ตัวก็พร้อมใช้งาน พร้อมคอมมูนิตี้ และผู้ใช้จำนวนมากที่พร้อมช่วยเหลือเรื่องปัญหา การอัพเกรด อะไหล่ อย่างไรก็ตามมีรายงานจำนวนมากที่ผู้ใช้ต้องมาปรับการตั้งค่าการพิมพ์ที่แตกต่างจากค่าปกติที่ใช้งาน

Spec
- Buid size 220x220x220 mm
- หัวฉีด MK8 ที่ปรับปรุงโดย Creativity
- Power Supply Meanwell คุณภาพดี
- ใช้เวลาประกอบไม่เกิน 20 นาที
5. Anet A8
อีกยี่ห้อหนึ่งที่มีผลิตภัณฑ์ด้าน DIY หลายรุ่น โดยรุ่น A8 เป็นที่นิยมเนื่องจากใช้โครงสร้างเหมือน Prusa I3 ทำให้ระบบต่างๆ หรืออะไหล่ เหมือนกันหมด ส่วนการประกอบใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ตามทักษะแต่ละคน ทั้งนี้ควรตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วนให้ดีก่อนเริ่มนประกอบ เนื่องจากมีการรายงานปัญหาด้าน QC มากกว่าแบรนด์อื่นๆ

Spec
- Buid size 220x220x240 mm
- อัพเกรดหัวฉีดเป็น 2 หัว ได้
- ใช้เวลาประกอบ 1-2 ชั่วโมง
- เป็นชุด KIT ราคาถูกที่สุดในปัจจุบัน
6. TEVO Tarantula Pro
Tevo รุ่นธรรมดาที่ไม่ใช่ Pro เคยเป็นเครื่องที่ขายดีมากๆ เครื่องหนึ่ง พอปรับเป็นรุ่น Pro แทบจะกลายเป็นรุ่นใหม่เลย อัดฟีเจอร์มาเต็มตามสไตล์ Tevo แถมมีขนาดการพิมพ์ที่ใหญ่กว่าหลายๆรุ่น ใช้เวลาประกอบต่อให้เป็นมือใหม่ก็ไม่เกิน 20 นาที เป็นคู่แข่งกับทาง Ender 3

Spec
- Buid size 235 x 235 x 250 mm
- มีงานส่วนที่เป็น CNC อลูมิเนียมหลายชิ้น
- ระบบขับเส้น Titan extruder (clone)
- ฐานร้อนไว ต่อไฟตรง 220V
- โครงสร้างมีทั้งส่วนที่แข็งแรง และบางเกินไปโดยเฉพาะจุดเชื่อมต่อต่างๆ
7. Creativity CR10
เป็นต้นแบบของเครื่องขนาดการพิมพ์ระดับ 30 cm ให้กับเครื่องรุ่นหลังๆ ทั้งการประกอบที่แยกมาเป็นส่วนๆ ประกิบไม่ยาก คุณภาพการพิมพ์ที่ยอดเยี่ยมคุ้มค่าราคา เป็นตัวเลือกแรกๆของวเหล่า Maker

Spec
- พื้นที่การพิมพ์ 300×300×400mm
- ระบบหัวฉีดแบบ Bowden MK8
- ใช้เวลาประกอบ 20นาที
- ปัจจุบันมีแยกออกเป็นหลายรุ่น หลายไซส์ แต่รุ่นี้คือ Original
8. Wanhao Duplicator 9 MK II
แต่แบรนด์ที่เน้นโครงสร้างแข็งแรงกว่าผู้ผลิตจากจีนรายอื่นๆ เน้นใช้ของที่มีคุณภาพเป็นหลัก ฟีเจอร์นำคนอื่น เช่น All metal Hotend, Bl Touch, Smart Cable wiring, เป็นเจ้าแรกในจีนราคาถูกที่ใช้ Power Supply Mำanwell ดังนั้นจึงมีราคาสูงกว่าคู่แข่งในกลุ่มเดียวกัน ด้วยฟีเจอร์เฉพาะตัวที่กล่าวมา และตัว Firmware ที่เอามาพัฒนาต่อเองโดยเฉพาะ ปัจจุบันมี Duplicator 9 ขนาดใหญ่สุด 50x50x50 cm

Spec
- พื้นที่การพิมพ์ 30x30x40 cm
- โครงสร้างแข็งแรงที่สุดในกลุ่ม DIY
- หัวฉีดมีให้ครบทั้ง PTFE, All Metal Hotend ไซส์เล็ก-ใหญ่
- ใช้เวลาประกอบ 10-20 นาที
9. Tevo Little Monster
เป็นเครื่องสไตล์ Delta 3D Printer ที่ได้รับความนิยมสูงมากช่วง 2-3 ปี ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสมัยก่อน หากยึดตามสเปคของเครื่องนี้ ราคาน่าจะเกือบหลักแสนบาท ด้วยโครงสร้างโลหะทั้งหมด บอร์ด 32 Bit Smootieware หัวฉีด E3D Volcano และระบบปรับฐานอัตโนมัติด้วย BL-Touch เครื่องนี้คนทั่วๆไป ใช้เวลาประกอบ 2-3 ชั่วโมง (ดูรีวิวจากตา Thomas ได้) ส่วนผู้เขียนใช้เวลาไม่เกิน 25 นาที เท่านั้น พร้อมใช้งาน

Spec
- Buid size 340X500 mm
- ชิ้นส่วนอลูมิเนียมทั้งหมด
- Power Supply ที่ไม่เหมือนใคร แถมช่องชาจ USB มาให้ด้วย
- บอร์ด 32 bit Smootieware หรืออัพเกรดเป็น Duet ได้
- โครงสร้างแข็งแรง หนักมาก
- ระบบขับเส้นแบบ Bowden+Direct Drive
10. Flying Bear Ghost 4
ชุด KIT ทำออกมาดูดีเลย เนื่องจากเป็นระบบ H-Bot ที่หัวฉีดเคลื่อนที่ มีโครงสร้างเป็นสี่เหลี่ยมกระทัดรัด (อย่าไปคาดหวังว่าเหล็กจะคุณภาพดี หนา หรือทนทาน) จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคืออินเตอร์เฟสของจอ LCD ที่สีสันสวยงาม เฉพาะตัวไม่ซ้ำใคร เป็นเครื่องสำหรับที่อยากเรียนรู้การออกแบบเครื่องรูปแบบนี้ได้เลย ส่วนใครที่สั่งมาก็ตรวจสอบให้ดีว่ามีชิ้นส่วนไหนที่บิดงอ สนิมกินไปบ้างรึยัง เพื่อให้โรงงานส่งชิ้นส่วนมาเปลี่ยน

Spec
- Buid size 255 x 210 x 210 mm
- LCD สัมผัสสี 4 นิ้ว
- โครงสร้างแบบตู้ ทำประตูปิดเองไม่ยาก โรงงานเจาะรูยึดมาให้แล้ว
- ใช้เวลาประกอบ 1-2 ชั่วโมง