รายละเอียดเบื้องต้น ของ Phrozen Sonic Mini
Sonic Mini เป็นเครื่องที่ทำตลาดสำหรับคนเริ่มต้นใช้งานเรซิน 3D Printer ที่ตอบโจทย์ 3 สิ่งคือ ราคาย่อมเยา พิมพ์ได้ไว คุณภาพงานออกมาดี ดังนั้นจึงมีการปรับลด โครงสร้าง ชิ้นส่วนลงจาก Sonic รุ่นพี่ โดยยังคงสิ่งที่เป็นจุดแข็งของรุ่นพี่คือ Monochrome LCD ที่ทำให้พิมพ์งานระดับความละเอียด 50 ไมครอน โดยใช้เวลาเพียง 1-2 วินาที (ขึ้นกับชนิดเรซิน) จากปกติเครื่องทั่วไปในท้องตลาดคือ 6-8 วินาที ดังนั้นจึงตอบโจทย์คนเริ่มต้นที่ต้องการเครื่องที่มีอัตราการผลิตสูง และเอาชิ้นงานไปตกแต่ง ทำสี เพิ่มเติม

- Buildsize: 120x68x130 mm
- LCD: Monochrome 5.5″ HD
- XY Pixels: 1920x*1080 pixels (Full HD)
- XY Resolution: 62 µm
- LED Array: ParaLED V2 Lite
- Print Speed: Upto 50mm/hour
- Ports: USB
- Printer OS: Phrozen OS
- Touchscreen: 2.8″ colour
- Slicer: Chitubox
- Z Resolution: 10 – 100 µm
- Z-axis: Single Linear Rail with Lead Screw
- Max power consumption: 40W
- Printer size: 25 x 25 x 33cm
- Printer weight: 4.5Kg
- สั่งซื้อ (คลิก)
มีอะไรต่างจาก Sonic ตัวปกติบ้าง
1. โครงสร้างภายนอกและสเปค
- Phrozen Sonic ภายนอกเป็นโลหะแผ่นดัดเข้ารูปมีความหนามากกว่า แข็งแรงมากกว่า ส่วนด้านในก็แข็งแรงกว่า ดังนั้นเมื่อเทียบน้ำหนักกันแล้วต่างกันเกือบ 2 เท่า (Sonic 7 กก. Mini 4.5 กก.)
- พัดลมตัวพี่ให้มา 2 ตัวขนาดใหญ่ ส่วน Mini ไม่มี(เมษายน 2563) ดังนั้นจากทฤษฎีของตัวพี่น่าจะใช้งานได้นานกว่า เพราะความร้อนสะสมน้อยกว่า คำแนะนำคือหาพัดลมมาคอยเป่าตัวเครื่องด้วยเพื่อยืดอายุการใช้งาน


- ถาดเรซินตัวพี่เป็นอลูมิเนียม CNC ตามมาตรฐานอย่างดี ในขณะที่ตัวน้องเป็น Plastic จากเครื่องแวคคัมซึ่งอาจจะมีปัญหาตรงพวกเกลียวยึดน๊อตที่อาจจะเสียหายง่ายกว่า หากออกแรงมากเกินไป ส่วนข้อดีก็น่าจะเป็นเรื่องน้ำหนักที่เบาลง และราคาถูกขึ้น (800 บาท/ถาด)


- Sonic ด้านบนมีฝาปิดเปิด ดูแน่นหนา ใช้งานสะดวก ส่วนตัวน้องเป็นอะคริลิกครอบ เอาเข้า-ออก ลำบากกว่าเล็กน้อย

- ฐานพิมพ์เป็นเหล็กแผ่นมาประกอบเข้าด้วยกัน ไม่เหมือนตัวพี่เป็นอลูมิเนียม CNC


- ความสูงเหลือเพียง 130mm จากเดิม 170mm
- เป็น Paraled รุ่นเก่า (น่าจะ 2.0) ในขณะที่รุ่นพี่เป็น 3.0 ใช้เลนส์ที่คุณภาพดีกว่า
2. จอควบคุมการทำงานและบอร์ดควบคุม
- หน้าจอสัมผัสเดิม 5 นิ้ว IPS ของใหม่เป็น 2.8 นิ้ว
- Controller จากเดิมเป็น Phrozen Board ผลิตขึ้นโดยเฉพาะของใหม่เป็น Chitubox ยอดนิยม ดังนั้นจึงเหมือน Elegoo Mars, Anycubic Proton หรือเครื่องตระกูล Chitu จากแบรนด์อื่นๆ


3. การติดตั้งจอ LCD
- จุดนี้เห็นความต่างมากที่สุด ของ Sonic จอถูกประกอบลงบนตัวยึดอลูมิเนียมอย่างดี ยึดเข้ากับตัวเครื่องด้วยน๊อต 4 ด้าน ดังนั้นความคลาดเคลื่อน การถอดประกอบทำได้ดี เปลี่ยนจอง่าย
- ส่วนตัว Mini จะเหมือนเครื่องราคาถูกทั่วไปคือติดกับเครื่องโดยใช้กาวด้านล่าง แปะด้วยเทปกาวดำด้านบน ดังนั้นความทนทาน การได้ระนาบของจอจะน้อยกว่า แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ จากการใช้งานหลายๆเครื่องลักษณะนี้
- ส่วนจอเท่าที่เช็คมาเป็นจอชนิดเดียวกัน ใช้ driver board ตัวเดียวกัน ดังนั้นความละเอียดเท่ากันคือ 62 ไมครอน XY


4. ระบบการเชื่อมต่อ รับ-ส่งข้อมูล
- ตัวพี่มีครบครัน USB Wifi Lan ตามาตรฐาน Raspberri Pi Board
- ตัวน้องมีแค่ USB เท่านั้น ซึ่งอนาคตอาจจะอัพเกรดได้ เนื่องจากตัว chitu board มีระบบ wifi


5. โปรแกรมที่มาพร้อมเครื่อง
- ตัวพี่มาพร้อม Phrozen 3D อย่างดีพัฒนาโดย Formware เป็น 1 ในโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับว่าใช้ดีที่สุด มีฟังก์ชั่นการสร้าง support ที่หลากหลาย
- ด้าน Mini ก็แน่นอนว่าใช้ Chitubox ยอดนิยมส่วนใครที่มี Phrozen 3D อยู่แล้วก้สามารถใช้กับ Mini ได้เช่นกัน
แกะกล่องใช้งาน
ตัวเครื่องบรรจุมาในกล่องขนาดเล็ก น้ำหนักเพียง 7 กิโลกรัมยกคนเดียวสบายๆ ภายในมีโฟมกันกระแทกตามมาตรฐานของ Phrozen ซึ่งไม่ได้ดีแบบเครื่องแบรนด์ยุโรปที่ขนาดบรรจุภัณฑ์ยังออกแบบมาให้พอดีกับตัวเครื่อง


กล่องอุปกรณ์ตามมาตรฐานเหมือนกันทุกรุ่นคือ สาย Power ถุงมือ กรวยกรอง เกรียง และคู่มือเบื้องต้นที่ปริ้นเป็น A4 มา ให้ไปโหลดฉบับเต็มกันเอง ส่วนใครอยากอ่านแบบไทยไปที่ลิ้งนี้ (คลิก)

การตั้งระนาบฐาน
การตั้งระนาบฐานก็ทำเหมือนเครื่อง LCD 3D Printer ทั่วไป คือคลายน๊อตทั้ง 4 ที่ฐานพิมพ์ จากนั้นไปที่คำสั่ง Z-axis calibrate จากนั้นขันแน่นอีกที ก็พร้อมใช้งาน (ดูรายละเอียดในคู่มือ)

การใช้งานโปรแกรม Chitubox
สำหหรับโปรแกรม Chitubox เวอร์ชั่น 1.6 เป็นต้นไปจะมีโปรไฟล์เครื่องของ Phrozen Sonic Mini อยู่แล้ว สามารถเพิ่มเติมเข้าไปได้เลย ส่วนโปรไฟล์เรซินทั่วไปต้องแก้ไขดีเลย์เหลือแค่ 1 วินาทีก็เพียงพอจากปกติ 7 วินาทีซึ่งนานเกินไป (light-off delay, Bottom light-off delay) ส่วนเทคนิคอื่นๆ ลองอ่านได้ในบทความ “8 ทริคการใช้งานโปรแกรม Chitubox อย่างมือโปร“


หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการทั่วไปคือ Add Support > Slice > เซฟลง USB Flashdrive (เป็นนามสกุล .phz)
การสั่งพิมพ์ก็เสียบ Flashdrive ด้านข้างเครื่อง จากนั้นเลือก Print ตรวจสอบภาพพรีวิว เติมเรซิน แล้วเริ่มพิมพ์ได้เลย ส่วนความเร็วจากการปริ้นจริง ดูตาม VDO ได้เลย ถือว่าความเร็ว/ราคา คุ้มค่าการการทำงาน

คุณภาพงานพิมพ์ของ Sonic Mini
สรุปสั้นๆว่าได้ตามมาตรฐานของเครื่องแบบ LCD 3D Printer ส่วนเรื่องตัวเลขแต่ละเครื่องจะเป็นเท่าไหร่ ผู้เขียนคิดว่าให้ดูผลจากการพิมพ์จะดีที่สุด โดยเปรียบเทียบกับเครื่อง 4K ให้เห็นภาพชัดๆระหว่าง 62 VS 31 ไมครอนในระนาบ XY ใช้โมเดลเดียวกัน ความละเอียดเท่ากัน










ส่วนงานจิวเวรีที่มีไฟล์มาพร้อมเครื่องความละเอียด 30 และ 50 ไมครอน ก็ทำได้ดี ตามราคา



ส่วนไฟล์ทดสอบตามมาตรฐานของผู้เขียนใช้ความละเอียด 50 ไมครอน เวลาพิมพ์ 1 ชั่วโมง 15 นาที ทำได้เหมือนเครื่องรุ่นพี่ Sonic ถ้าเทียบกับ 4K ก็จะดูด้อยกว่า เแต่ถ้าเป็นเรื่องราคาก็ห่างกัน 3 เท่า เวลาเร็วกว่ากัน 3 เท่า





สรุปการรีวิว
จากตัวอย่างการพิมพ์ ถึงแม้ Sonic Mini จะใช้จอ LCD Full HD ที่มีความละเอียดแนว XY 62 ไมครอน ก็ไม่ได้แย่กว่าเครื่อง 4K ที่มีความละเอียด 31 ไมครอนแบบเห็นได้ชัด ส่วนโครงสร้างภายนอกที่ลดสเปคจากตัวพี่ก็คงมีผลสำหรับคนที่ต้องการงานเนียบๆเนียนทุกจุด รวมไปถึงระบบระบายความร้อนที่น่าเป็นห่วงในระยะยาว
- พิมพ์ได้ไว ในราคาที่ถูกสุดในท้องตลาดปัจจุบัน
- รองรับการใช้งานเรซินเจ้าใดก็ได้ (open source)
- โครงสร้างบาง แข็งแรงน้อยกว่าตัวพี่
- ใช้โปรแกรมฟรีแวร์อย่าง Chitubox
- ใช้บอร์ดของ Chitu
- ระบบเชื่อมต่อมีเฉพาะ Flashdrive เพียงอย่างเดียว