อุปกรณ์ที่ต้องมีติดเครื่อง SLA 3D Printer
1. ถุงมือยางชนิดทนสารเคมี
SLA 3D Printer เป็นเครื่องที่ต้องอยู่กับสารเคมีอันตรายตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ตัวเรซินเองที่บางคนก็มีอาการแพ้ ตั้งแต่โดยสารระเหยจากตัวเรซิน หรือแม้กระทั่งกลิ่น ส่วนขั้นตอนทำความสะอาดที่ใช้ ไอโซโพนพิลแอลกอฮอร์ (IPA) ก็เป็นสารตัวทำละลายเข้มข้น ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้สูง ดังนั้นสิ่งที่ควรมีอันดับแรกคือถุงมือยางที่กันสารเคมีได้ ซึ่งแนะนำว่าเป็นถุงมือไนไตรล์ที่ทนกรด ทนด่างได้ดี และมีความเหนียว ส่วนใครจะเลือกใช้แบบบาง หรือแบบหนาแล้วแต่ชอบครับ ถ้าแบบบางขายที 100 คู่ ก็เปลืองหน่อย แต่ถุงมือสะอาดทุกครั้ง ส่วนแบบหนาที่คู่ละ 1-300 บาท ก็ทนทานหน่อย แต่ต้องทำความสะอาดหลังใช้ เพื่อให้ไม่มีสารเคมีติดค้างอยู่


2. กระดาษชำระหรือทิชชู่
เป็นอีก 1 ชิ้น ที่ขาดไม่ได้เลย เนื่องจากความเลอะเทอะที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรซินหยด หก หรือกระเด็น ล้วนทำความสะอาดได้ยาก การใช้กระดาษชำระชุบ IPA เช็ดเบาๆ จะไวมากที่สุด นอกจากนี้ยังใช้ทำความสะอาดส่วนต่าง เช่น ฐานพิมพ์ เช็คที่ FEP Film ของฐานเรซิน การเลือกซื้อควรใช้ทิชชู่ที่ไม่เป็นขรุย เหนียว ถ้าในอุตสาหกรรมจะมีทิชชู่เช็ดแม่พิมพ์โดยเฉพาะ จะไม่ทำให้ผิวเป็นรอย แต่ราคาสูงมาก เหมาะใช้ในการเช็คตัว FEP Film อย่างเดียว


3. คีมตัด
สำหรับตัด Support ตกแต่งชิ้นงาน ส่วนใหญ่จะแถมมากับตัวเครื่อง ส่วนคีมราคาแพง เช่น ของ Tamiya เหมาะสำหรับคนที่พิมพ์โมเดลเล็กๆ และต้องการรอยตัดคม สวยงาม จุดนี้แล้วแต่งบประมาณแต่ละคน เพราะเราต้องใช้อุปกรณ์ชิ้นต่อไปอยู่ดี อย่างไรก็ตามการตัดชิ้นงานควรทำก่อนนำชิ้นงานเข้าเตาอบ UV พร้อมตัวงานจะแข็ง ตัดแล้วเป็นรอยไม่สวยงาม


4. กระดาษทราย
สำหรับลบรอย Support หลังการแกะ ในกรณีที่คนทำงานโมเดลขนาดเล็กอาจจะต้องไล้ขัดตั้งแต่เบอร์ 200 จนไปถึงเบอร์ 2000 เพื่อให้ผิวออกมาเรียบที่สุดก่อนการลงสี
บางคนสามารถลงทุนซื้อแบบเป็นแท่งขัดมา เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น หรือบางที่จะมีขายเป็นแท่งเล็กๆ สามารถตะไบ เก็บ ขัดงานในจุดเล็กๆเข้าถึงได้ยากสะดวกขึ้น


5. เครื่องมือเป่าทั้งหลาย
สำหรับใช้งานทั้งเป่าไล่ เรซิน เป่าล้าง IPA เป่าผงจากการขัดกระดาษทราบ รวมไปถึงเป่าสิ่งสกปรกที่ติดตามเสื้อหรือเครื่องแต่งกาย โดยอย่างน้อยควรลงทุนกับ Air Blower ตัวกลางตามภาพ เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้งานสะดวก จัดเก็บไม่ยาก ส่วนภาพแรกอาจจะใช้งานจริงไม่ได้ เนื่องจากแรงอัดอากาศน้อยไป ส่วน Air Pump สำหรับคนทั่วๆไปอาจจะลงทุนสูงไป แต่หากต้องทำสีด้วยแอร์บรัชอยู่แล้ว ก็หาหัวมาติดตั้งได้ไม่ยาก



6. บรรจุภัณฑ์ ขวดเก็บเรซิน ที่ทนสารเคมี
อุปกรณ์ที่ควรมีอีกกลุ่มคือพวกบรรจุภัณฑ์สำหรับรองเรซิน ใส่ IPA หรือใส่เรซินที่ใช้แล้ว ควรมีสำรองไว้ในการใช้งาน
- ถาดพลาสติกสำหรับรองเครื่อง หรือรองส่วนที่ไว้ล้างชิ้นงาน ทำให้ไม่เลอะพื้นด้านล่าง และทำความสะอาดได้ง่าย
- กล่องพลาสติก PP หรือ PE ใส ไว้สำหรับใส่ IPA ล้างชิ้นงานให้สะอาด โดยอาจะจะมี 2-3 กล่อง เพื่อล่างชิ้นงานเป็นขั้น จากสกปรกมากมีเรซินค้างเยอะ จนไปถึงล้างสะอาด หรือใช้สำหรับอบกับเครื่อง UV
- ขวดเปล่าสำหรับใช้เก็บเรซินที่ปริ้นเสร็จแล้ว จะได้ไม่ปนกับเรซินใหม่
- พลาสติกบางชนิดโดน IPA เป็นระยะเวลานานๆ แล้วจะเริ่มแตกร้าว ควรระมัดระวังการใช้งาน



7. หน้ากาก หรือ Mask ปิดจมูก
สำหรับการทำงานกับสารเคมีทั้งเรซินและ IPA ที่เป็นสารระเหย ควรมีหน้ากาก หรือ mask คอยกรองกลิ่นและไอระเหยที่ทำอันตรายต่อระบบทางหายใจได้ สำหรับคนที่ใช้งานเครื่องเล็กๆ อาจจะซื้อที่ปิดบางส่วน แต่หากต้องทำงานทุกๆวัน รวมถึงการทำสีต่อด้วย Full Mask ก็เป็นตัวเลือกที่ควรมี เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยอากาศค่อนข้างร้อน ดังนั้นหลายๆคนจึงไม่นิยมใส่กัน


กลุ่มอุปกรณ์ที่มีก็ดี ไม่มีก็ได้ สำหรับเครื่อง SLA 3D Printer
8. เครื่องล้างทำความสะอาด
สำหรับคนที่ทำงานความละเอียดสูง หรือซีเรียสกับความสะอาดของชิ้นงาน ที่ต้องออกมาตามแบบ 3D Model เช่น งานกลุ่มจิวเวรี งานสเกลโมเดล การทำความสะอาดตัวเรซินที่เกาะอยู่ เป็น 1 ในขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ชิ้นงานสะอาด โดยที่นิยมใช้มี 3 กลุ่ม คือ
- เครื่องเขย่าแบบ Ultrasonic สำหรับคนที่ต้องการล้างแบบสะอาดสุดๆ มีราคาสูง และต้องระวังเรื่องการลุกติดไฟ หากใช้งานกับ IPA โดยตรง (อ่านบทความการใช้เครื่องที่ถูกต้อง)
- เครื่อง Magnetic Stir อาศัยการหมุนของแม่เหล็ก ช่วยให้เกิดการหมุนวนของตัวทำละลาย ค่อนข้างปลอดภัยกว่า Ultrasonic และเป็นที่นิยมในการเอามาผลิตเป็นเครื่องล้างชิ้นงานจาก 3D Printer ที่มีแบรนด์
- เครื่องล้างแบบมียี่ห้อ ใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยเฉพาะ จะมีแท่นยึดจับขนาดเท่ากับเครื่องของแรนด์นั้นๆ หลายเครื่องประยุกต์ใช้กับฐานพิมพืยี่ห้ออื่นได้ ใช้หลักการของ Magnetic Stir ราคาสูงที่สุด



9. ตู้อบ UV หรือ UV Curing Box
สำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็วในการนำชิ้นงานไป Process ต่อ โดยหากนำชิ้นงานหลังทำความสะอาดไปตากแดดอาจะต้องใช้เวลา 30นาที – ชั่วโมง เพื่อให้เรซินเซ็ทตัวอย่างสมบูรณ์ หรือหากช่วงนี้ฝนตกอาจจะแข็งตัวไม่สมบูรณ์เลยก็เป็นไปได้ นอกจากนี้ตู้อบ UV ที่ผลิตมาโดยเฉพาะจะมีช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสมกับตัวเรซิน พอดี ทำให้ใช้เวลาฉายแสง 2-5 นาทีก็เพียงพอ หรือบางรุ่นมีระบบอุ่นร้อน (heater) ช่วยให้เรซินวิศวกรรมแข็งแรงขึ้นกว่าปกติ (ลิ้งข้อมูล)
คนที่จะสร้างตู้อบเอง หลอด UV มีให้เลือกหลากหลายทั้ง Mercury Lamp, LED UV ควรมีความเข้มไม่ต่ำกว่า 30W บางผู้ผลิตเข้มถึง 150W ซึ่งอาจจะมากเกินไป



10. เครื่องตกแต่งผิว ตัดชิ้นงาน
Option เสริมสำหรับคนที่ต้องการทำงานง่ายขึ้นคือซื้อพวกอุปกรณ์ X in 1 ทั้งหลายที่มีในท้องพลาด ที่สามารถตัดชิ้นงาน เจียรผิว ขัดละเอียด-หยาบ ช่วยลดเวลาในการทำงานได้เยอะ แต่ส่วนใหญ่ราคาจะสูงพอสมควร หากเป็นยี่ห้อจากจีนก็จะถูกลงหน่อย แต่คุณภาพและอายุการใช้งานก็ด้อยลง ที่นิยมกันในปัจจุบันจะเป็นของยี่ห้อ Dremel ซึ่งมีชื่อด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ช่างอยู่แล้ว อาจจะเริ่มที่รุ่น 3500 หรือใครมีงบมากหน่อยประมาณ 5000 บาท รุ่น 4000 ก็จะมีของหรือ tooling ให้ใช้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ยี่ห้อจากจีนจะอยู่ราวๆ 2-3 พันบาทเท่านั้น


สรุป
หลายๆคนที่เริ่มลงทุนกับเครื่อง SLA 3D Printer อาจจะยังไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ครบทั้งหมด ค่อยจัดหาตามความเหมาะสมและใช้งานจริงไป แต่ถ้ามีทั้งหมดตามที่บอก การทำงานกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบเรซินก็จะง่ายและสนุกมากขึ้น หากมีขอเสนอแนะหรือคำถามใด ติดต่อมาที่เราได้เลย