1. CHITUBOX
Chitubox แรกเริ่ม เดิมทีเป็นโปรแกรมสำหรับเครื่องที่ใช้บอร์ดของ Chitu โดยเฉพาะ (Red Rabbit ในอดีต) แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาพัฒนาให้รองรับเครื่องมากยิ่งขึ้น สามารถ export file ได้หลายนามสกุล รวมถึงระบบ Plugin เสริม ที่ช่วยให้ผู้พัฒนารายอื่นสามารถเขียนโปรแกรมเสริมเข้ามาได้ (ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะบาง Plugin ไม่มีใครตรวจสอบ Bug ให้)

ข้อดี Chitubox มีหลายข้อ แต่ดีที่สุดน่าจะเป็นโปรแกรมที่ฟรี และใช้งานง่าย รวดเร็ว สามารถเข้าไป Download ได้ที่เวบของผู้พัฒนา (ลิ้ง) ฟีเจอร์เด่นๆคือ
- Automatic Support ที่พัฒนามาตลอด ปัจจุบันดีขึ้นมาก
- Edit Support ได้ทุกส่วนแล้ว
- ย่อ-ขยายงานได้ตามต้องการ (ยังไม่สามารถตัดชิ้นงานได้)
- สามารถ Hollow หรือเจาะชิ้นงานให้กลวงได้
- Slice งานได้เร็ว
- มีโปรไฟล์เครื่องที่รองรับจำนวนมาก

บทความเกี่ยวกับ Chitubox
2. Zortrax Z-Suite
พัฒนาโดย Zotrax จากโปแลนด์ มีอินเตอร์เฟสการใช้งานสวยงาม สไตล์ iOS โดยปกติใช้เครื่องตระกูล M อยู่แล้ว รองรับการสร้างโปรไฟล์เครื่อง 3D Printer รุ่นอื่นๆ
Model
ในส่วนนี้ Zotrax พยายามช่วยเหลือผู้ใช้ โดยใส่ฟังก์ชั่น หมุนชิ้นงานอัตโนมัติมาให้เลย ซึ่งให้คล้ายกับโปรแกรมจาก Formlabs ซึ่งเอาจริง ก็ยังไม่มีโปรแกรมไหนทำได้เทียบเท่า แต่สำหรับมือใหม่ ฟังก์ชั่นนี้ก็ช่วยได้พอสมควร

Print Setting
ในส่วนของ หน้าจอการจัดการโปรไฟล์การปริ้น โดยหากเป็นของ Zotrax เอง จะมีมาให้ครบครัน ฟังก์ชั่นที่ดูแล้วต่างจากรายอื่นเห็นจะเป็นในส่วนของ Additional Support Explosure time ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าทำงานอย่างไร ถ้าทำได้ถึงขนาดว่าแยกเวลาฉายแสงของชิ้นงานและ Support ออกจากกันได้ ถือว่าซับซ้อนมาก (1 Layer จะมี 2 ภาพ 2 gcode) ซึ่งจากการตรวจสอบมาแล้ว เป็นการปริ้นปกติ ไม่ได้แยก support กับชิ้นงาน

Support Setting
เป็นส่วนที่ด้อยกว่าโปรแกรมอื่นพอสมควร การปรับค่าทำได้น้อย ไม่หลากหลาย แถมไม่สามารถ Drag&Drop Support ได้เหมือนโปรแกรมอื่นๆ

สรุป
สำหรับใครที่ไม่ต้องการโปรแกรมที่ซับซ้อย Z Suite ตอบโจทย์ได้ดีเลย หน้าจอสวยงาม เข้าใจ และใช้งาง่าย ยิ่งหากใช้เครื่องเรซินของ Zotrax และ Ecosystem เดียวกันหมด น่าจะช่วยให้คุณภาพงานออกมาดีที่สุดได้ไม่ยาก
- ใช้งานง่าย โปรแกรมสวยงาม
- ฟีเจอร์ที่ขาด การเช็คไฟล์ การทำ Hollow การตัดชิ้นงาน การสร้าง support อย่างละเอียด
3. PreForm
เป็น Slicer ของเครื่องเรซิน ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คงไม่ผิด ด้วยการทำงานที่มีเครื่องมือครบครัน ตั้งแต่การตรวจสอบความเสียหายของ 3D Model ที่นำเข้ามา จนไปถึงการทำงานร่วมกับเครื่องของ Formlabs ได้อย่างไม่มีรอยต่อ มาดูฟีเจอร์ที่มือใหม่ไม่เคยใช้ หรือใช้ไม่เป็นก็ทำงานได้ ในทันทีผ่านฟังก์ชั่น Wizard โดยหลังจากเลือกคำสั่ง โปรแกรมจะคำนวนหามุมเอียงที่เหมาะสมให้ทันที

หลังจากนั้นจะสร้าง Support พร้อมจัดเรียงชิ้นงานให้เสร็จสรรพ สำหรับคนที่ต่อเครื่องของ Formlabs ไว้ตลอด โปรแกรมจะเลือกตำแหน่งที่พิมพ์งานน้อยกว่าจุดอื่นให้ด้วย เพื่อรักษาอายุการใช้งานของถาดเรซิน (VAT) ให้เท่ากัน ส่วนโมเดลของใครที่เสียหาย ก็จะซ่อมแซมให้ระดับหนึ่ง โดยใช้ Nettfabb เข้ามาช่วย หลังจากนั้นก็สั่งปริ้นผ่านระบบ Network หรือ Flash drive ได้เลย

เป็นที่น่าเสียดายว่าการจัดการไฟล์ 3D Model ทั้งเรื่องของการหมุนชิ้นงาน และสร้าง Support ไม่สามารถที่จะ Export ไปเพื่อใช้กับโปรแกรมอื่นได้เลย ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของ Formlabs เท่านั้น ดังนั้นผู้ใช้เครื่องแบรนด์อื่นๆ จึงดูได้อย่างเดียว แล้วไปหมุนชิ้นงาน สร้าง support ให้ใกล้เคียงมากที่สุด
สรุป
- เหมาะกับการใช้งานกับเครื่อง Formlabs โดยเฉพาะ
- ตรวจสอบไฟล์เสียหหายได้
- ผู้ใช้แบรนด์อื่นสามารถดูการวางชิ้นงาน ขนาดของ Support เป็นแนวของตัวเอง
4. PrusaSlicer
ปกติซอฟแวร์ตัวนี้ใช้กับเครื่อง FDM 3D Printer ของทาง Prusa อยู่แล้ว แต่พอออกรุ่นเรซิน SL1 มา เลยมีการพัฒนาโมดูลสำหรับงานเรซินโดยเฉพาะออกมาด้วย ดังนั้นภาพรวมการทำงาน หน้าจออินเตอร์เฟส จะเหมือนเดิม เป็นอีกโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ถึงอินเตอร์เฟสจะไม่สวยงามเหมือนของทาง zotrax แต่เท่าที่ผู้เขียนใช้ รวดเร็ว และปรับค่าได้เยอะ ดดยฟีเจอร์เด่นๆคือ
Free Repair 3D Model
Prusa Slicer สามารถซ่อมแซมไฟล์ 3D Model ได้ในตัว แต่ผู้ใช้ก็ไม่สามารถทราบอยู่ดีว่าไฟล์ที่ซ่อมมา สมบูรณ์หรือบางจุดซ่อมไม่ได้แต่อย่างใด แต่ถือว่าดีกว่าไม่มีอะไรเลย ซึ่งหากใช้ Netfabb ในการซ่อม น่าจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับทาง Preform ของค่าย Formlabs

Support Generation
การสร้าง Auto Support ของทาง Prusa สมบูรณ์มาก ไม่มีส่วนไหน ที่ผิดพลาดกินเนื้อชิ้นงานเลย แถมยังสามารถแก้ไข ลบ-เพิ่ม จุดที่ต้องการได้อย่างอิสระ เป็นอีกโปรแกรมที่ใช้สร้าง Support ได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามยังมีข้อด้อยตรงการแก้ไขขนาดรูปร่าง และตำแหน่งแบบละเอียด ที่ยังไม่สามารถทำได้ในตอนนี้


Resin Setting

5. Formware
เป็นผู้พัฒนาจากเนเธอแลนด์ที่ OEM ให้กับ 3D Printer หลายบริษัทในปัจจุบัน เช่น Photocentric Phrozen Sharebot เป็นต้น เป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อน ตั้งค่ามากที่สุดในปัจจุบัน ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทดลองใช้งานได้ 30 วัน ส่วนคนที่ซื้อเครื่องบางรุ่นของแบรนด์ด้านบนจะสามารถใช้งานได้ฟรี ตลอดชีพ ดังนั้นตัวโปรแกรมจึงสนับสนุนเครื่องจำนวนมาก พอๆกับทาง Chitubox ที่เพิ่มเติมคือรองรับเครื่องตระกูล Laser Base SLA เช่น Formlabs Peopoly Moai หรือแม้กระทั่งตระกูล Jetting ด้วย เรียกว่าครอบคลุมเครื่องทั้งโลกกว่าได้

Create Support
เป็นจุดเด่นมากที่สุดของโปรแกรม สามารถสร้าง Support ได้หลากหลายแบบ และสามารถปรับ แก้ไขได้ทุกจุดจริงๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องเตรียมคือคอมพิวเตอร์สเปคสูงๆหน่อย เพราะหากใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ Support จำนวนมาก ต้องใช้พลังในการคำนวนสูงมากในแต่ละครั้ง



Resin Setting
ในส่วนของการตั้งค่าการพิมพ์นั้นก็ ตั้งได้ค่อนข้างอิสระแทบจะทุกจุดของการพิมพ์ ถ้ามีการกำหนด Layer – Process ได้น่าจะดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนของ Mask Calibration สำหรับคนที่ต้องการคุณภาพขั้นสุดแถมมาให้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นสำหรับปัจจุบันแล้ว เนื่องจากปริมาณแสงของเครื่องทั่วไปแทบจะ 90% ใกล้เคียงกันทั้งหมดแล้ว แต่ถ้าใครอยากพิมพ์สวยๆเต็มถาด ลองศึกษาเพิ่มเติมได้จากในตัวโปรแกรม ละเอียดพอสมควร

Print Management
นอกจากข้อดีที่มากกว่าโปรแกรมอื่นๆแล้ว การจัดการงานก็ทำได้ง่าย ไม่ว่าจะ Save เป็นโปรเจค การวางงานจำนวนมากก็สะดวก เหมหาะสำหรับร้านรับปริ้นที่มีงานเยอะ แล้วบางครั้งลูกค้าอยากพิมพ์งานเดิม แต่เพิ่มแบบอื่นๆเข้ามาด้วย ก็แก้ไขได้ไม่ยาก

Model Check
สุดท้ายคือการตรวจสอบโมเดล 3D ก่อนปริ้น ซึ่งทำได้ละเอียมาก บอกปัญหา และแจกแจงอย่างละเอียดว่ามีส่วนไหนที่ควรแก้ไข อย่างไรก็ตาม Formware ไม่มีโมดูลซ่อมไฟล์ของตัวเอง ดังนั้นจึงต้องพึ่งโปรแกรมภายนอกเพื่อซ่อมไฟล์
