Search
Close this search box.

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

สเปคเบื้องต้น

Elegoo Saturn เป็นเครื่อง Gen 2 จากทาง Elegoo ถัดจาก Mars และ Mas Pro ที่ออกมาปีที่แล้ว เปิดตัวประมาณ เดือน 6 เริ่มส่งสินค้าจริงเดือน 10 ตัวที่ได้รับมารีวิวถือว่าเป็นลอต 2 คาดว่าปัญหาหลายๆอย่างน่าจะถูกแก้ไขหมดแล้ว ฟีเจอร์ที่สำคัญคือ

  • จอ Monochrome ขนาด 8.9 นิ้ว ความละเอียด 4K หรือ 3840 x 2160 เมื่อติดตั้งกับเครื่องแล้วจะได้ความละเอียดของพิกเซลในการพิมพ์ (XY) ประมาณ 50 ไมครอน
  • พื้นที่การพิมพ์ 19x12x20 cm ตามมาตรฐานจอ 8.9 นิ้ว
  • ระบบควบคุมจาก Chitubox สนับสนุนไฟลฺ .ctb ในการปริ้น มีช่องเสียบสาย Lan มาให้แล้วในเวอร์ชั่นนี้
  • ความละเอียดแกน Z หรือ Layer Resolution ตามสเปคจะอยู่ที่  10-150 ไมครอน (0.01-0.15 mm) แต่ใช้งานจริงอยู่ที่มาตรฐาน 20-30 50 และ 100 ไมครอน
  • โครงสร้างแกน Z เป็น Linear Rail รางคู่ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ Nema 17
  • รายละเอียดเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ดูได้จากตารางด้านล่าง
รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

แกะกล่อง Elegoo Saturn

แพคเกจของกล่อง เหมือนกับรุ่นก่อนๆอย่าง Mars series คือวางนอนมา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อยู่ยี่ห้อเดียว ชาวบ้านวางตั้งกันมาหมด

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

อุปกรณ์ที่มาพร้อมเครื่อง มาครบครันมากกว่า Phrozen แบบเห็นได้ชัด มี ถ้วยตวง เกรียงเหล็ก กระดาษกรอง น๊อตสำรอง แผ่นคาริเบรตมาให้ ดังนั้นการทำงานทั้งหมดพร้อมใช้งาน ส่วนที่ต้องซื้อเพิ่มคือ อุปกรณ์การล้าง หรือ Post Processing อื่นๆ เช่น เครื่องอบ เครื่องเป่า (ดูรายละเอียดได้ที่ “10 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ควรมี สำหรับเครื่อง SLA 3D Printer“)

Elegoo Saturn unboxing

Manual ที่ให้มาตอนนี้เหมือนทุกแบรนด์จ้างผู้ผลิตทำออกมาแนวเดียวกันหมด เป็นสมุดเล่มเล็กๆใช้กระดาษอาบมัน ใช้ตัวอักษรสีตามแนวบริษัทที่จ้างผลิต เช่น Elegoo ก็สีฟ้า Phrozen สีแดงชมพู ด้านในมีการใช้งานที่ค่อนข้างละเอียด เพียงพอกับการใช้งานเบืิ้องต้น ส่วยคลิบ VDO การใช้งานส่วนใหญ่ Elegoo จะทำตามหลังมาแล้วใส่ใน Channel Youtube ของตัว ดังนั้นปัจจุบันที่รีวิวยังไม่มี

โครงสร้างเป็นไปตามสมัยนิยมของ Lineal Rail รางคู่ พร้อม Lead Screw ขนาด 8mm มีฝาปิดเป็นอะคริลิก ที่ควรจะปริ้นหูจับเพิ่มเติมมาด้วยจะได้ใช้งานสะดวกขึ้น น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 10kg 

ความเนี้ยบของงานประกอบที่ดูดีกว่า Phrozen ตัวแพงๆ เลยคือมีพวกที่ปิดกันรอยมาทุกจุด ทั้งหน้าจอ ถาดเรซิน ซึ่งต้องลอกออกก่อนการใช้งาน บางจุดที่ไม่ต้องลอกก็ระบุไว้อย่างชัดเจน (เป็นฟิล์ม Polarized ที่ให้แสงออกทางเดียว)

ด้านหลังมีพัดลมระบายอากาศเล็กๆ 2 ตัว พร้อมช่องต่อ Lan ซึ่งปัจจุบันพบรายงาน bug การอัพโหลดไฟล์ผ่านระบบ network อยู่ ดังนั้นเลี้ยงไปใช้ตัว Flashdrive ตามปกติไปก่อน 

มาถึงจุดที่ควรปรับปรุงมากที่สุดสำหรับ Elegoo Saturn ที่ทำช่อง Service มาเล็กๆ ตามภาพ ไว้เอาสายแพรจากจอออกได้ ทั้งนี้เวลาเปลี่ยนจอ จะเป็นเครื่องที่ต้องถอดชุดบนออกทั้งหมด ถึงจะเปลี่ยนได้  ส่วนทำไมทำช่องไว้แค่นี้ ก็ยังหาหาเหตุผลไม่ได้

เวลาเปลี่ยนจอก็ต้องยกออกทั้งหมดตามภาพ ซึ่งถ้าคนชำนาญก็ไม่ได้ลำบากมาก คือไขน๊อต 8 ตัว ถอดสายมอเตอร์ ลิมิต และสายแพรจอก็ยกออกได้หมด ส่วนจอที่ได้มาจะมี 2 แบบ ซึ่งเป็น Part Number เดียวกัน ใช้แทนกันได้หมด แต่สายแพรออกมาคนละแบบ เพราะยังไงเจ้าของจอก็คือ Chitubox เจ้าเดียว ส่วนเอาไปค้นหาแล้วไม่เจอผู้ผลิต

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา
รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

เครื่องในทั้งหมดมีอยู่แค่นี้ ดังนั้นราคาเครื่องไม่ว่าจะแบรนด์ไหนก็ถูกเหมือนกันหมด อาจจะต้องที่โครงสร้างภายนอก หน้าตา แต่รวมๆไส้ในเหมือนกันหมด บางเจ้าก็จะเพิ่มโมดูล Wifi เข้ามา

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

เริ่มต้นการใช้งาน Elegoo Saturn

เริ่มต้นก็คาริเบรตฐานตามปกติ ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการใช้งาน ลอกฟิล์มกันรอยออกให้เรียบร้อย ให้เครื่องพร้อมใช้งาน

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

การตั้งค่า Chitubox ที่มาพร้อมโปรแกรมค่อนข้างเร็ว เหมาะกับเรซินที่ปริ้นง่ายๆ เช่น สีใส สีขาว แต่ถ้าใช้สีทึบๆหน่อย อาจจะต้องปรับเวลาเพิ่มเติมตามในรีวิว ส่วนแต่ค่ามีความหมายอะไร สามารถดูได้จาก Manual ที่มาพร้อมเครื่อง

จะมีตัวแปรใหม่คือ Transition Layer มาคือ คำอธิบายคือลดเวลาฉายแสง จาก Bottom Layer ถึง Normal Layer ยกตัวอย่างเช่น ค่า Default ของโปรแกรมพิมพ์ 5 ชั้นแรก ด้วยเวลาฉายแสง 30 วินาที จากนั้น Layer ที่ 6-15 ใช้เวลาลดลงเรื่อยๆจนถึง 2.5 วินาที เพื่อเพิ่มการยึดเกาะให้ดีขึ้น สมควรที่จะใช้

ส่วนค่าที่ใช้ในการรีวิวกับเรซินสีส้ม เนื่องจากอยากเปรียบเทียบกับเครื่องอื่นด้วย เลยตัดตัวแปรนี้ออกไปทดสอบตั้งแต่ 2.8-3.3 วินาที โดยที่เวลา 3.3 วินาที ถึงจะผ่านการทดสอบ ที่เหลือชิ้นงานไม่สมบูรณ์ทั้งหมด โมเดลเริ่มต้นที่ใช้มาจาก Prusa (Download)

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา
ค่า Default ของโปรแกรม
รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา
ค่าที่ใช้ในการรีวิว
รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

ส่วนเครื่องที่จะเอามาเปรียบเทียบรอบนี้เป็น Elegoo Mars 2 Pro เครื่องเจน 2 ที่เป็นจอ Mono เหมือนกัน โดย Resolution จะอยู่ที่ 2K ดังนั้นขนาดพิกเซล XY จะอยู่ที่ 50 ไมครอน ใกล้เคียงกับตัว Saturn

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

ผลการพิมพ์เริ่มต้น

ผลการพิมพ์อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สังเกตว่ายังมีจุดที่ไม่เรียบเป็นส่วน บริเวณตัวเลข ปกติควรจะเป็นเส้นสม่ำเสมอมากว่านี้ อาจจะต้องปรับลดเวลาฉายแสง เพื่อหาค่าที่เหมหาะสมอีกที ทั้งนี้โดยรวมเป็นเครื่องที่ถ้าตั้งค่า หรืออะไรเหมาะสม จะพิมพ์สำเร็จค่อนข้างแน่นอน และรายละเอียดดีตามมาตรฐานเครื่อง 50 ไมครอน

ส่วนใครที่นำมาปริ้นงานจิวเวรีก็ไม่มีปัญหาด้วยความละเอียดระดับนี้ งานทั่วๆไปสามารถทำได้หมด ทดลองโดยใส่ไฟล์ทดสอบมาตรฐานของเราไปก็พิมพืสมบูรณ์ 100% ขึ้นครบ ส่วนที่เป็นรูก็เป็นรูกลวง เสียแค่ตรงที่ทาง Elegoo ไม่มี Profile สำหรับเรซินแวกซ์ตัวนิยมหลายๆตัวมาให้ (สามารถขอโปรไฟล์ B9 Wax เขียวได้ที่เรา)

รีวิว Elegoo Saturn เครื่องจอ Mono 4K 8.9 นิ้ว ราคาย่อมเยา

คุณภาพเทียบกับ Mars 2 Pro

ทั้ง Mars 2 Pro และ Saturn มีความละเอียดใกล้เคียงกันคือ 50 ไมครอน ดังนั้นตามทฤษฎีควรจะให้ความละเอียดเท่ากัน ซึ่งผลก็เป็นไปตามนั้นครับ ถึงชิ้นงานทั้ง 2 เครื่องจะดูมีตำหนิเล็กๆ หลายจุด แต่ส่วนที่ระบุถึงรายละเอียดที่ให้ได้ ถือว่าเท่ากัน (จะไม่บอกว่าด้านไหนคือเครื่องอะไร)

ความเร็วในการพิมพ์ Application ต่างๆ

จากการทดสอบหลายๆงาน ช่วงเวลาในการพิมพ์ที่เหมาะสมอยุ่ระหว่าง 3-3.3 วินาที/ชั้น ที่ความละเอียด 50 ไมครอน ซึ่งในอนาคตถ้ามีเรซินเฉพาะกลุ่ม Fast Cure (ที่ความร้อนตอนเกิดปฏิกริยาเคมีต่ำ) คาดว่าน่าจะลดลงได้อีก ในกรณีของเครื่องราคาที่สูงขึ้นแผง LED Array ด้านล่างจะมีความเข้มของแสงสูงกว่า 20-50% ดังนั้นเวลาในการฉายแสงจะเหลือราวๆ 2.0-2.5 วินาที/ชั้น ที่เงื่อนไขเดียวกัน  ทั้งนี้เมื่อประเมินจากเวลาโดยรวมถือว่าไม่ได้แตกต่างกันมากเพราะส่วนหนึ่งต้องเสียเวลาในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง หรือเวลาในการหน่วงการฉายแสงมากกว่า

งานทันตกรรม

เป็นอีก 1 ตัว ที่คุ้มค่าด้านงานทันตกรรม ในราคาระดับ 2 หมื่นกลางๆ สามารถพิมพ์งานโมเดลฟันได้ภายใน 3 ชั่วโมง (วางตั้ง) หรือภายใน 1 ชั่วโมง (วางนอน) รองรับเรซินทันตกรรมทั่วไปหมด แม้กระทั่งเรซิน DLP ที่ผลิตมาเพื่องานทันตกรรมโดยเฉพาะหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ก็สามารถใช้กับเครื่องนี้ได้

งานโมเดลแบบจำลอง

งานแบบจำลองสำหรับคนที่ต้องการเครื่องใหญ่ขึ้นมาจากตัวเริ่มต้นหน่อยอย่าง พระหรือฟิกเกอร์ที่ความสูง 19.5 cm ใช้เวลาการพิมพ์ราวๆ 13 ชั่วโมง ที่ความละเอียด 50 ไมครอน ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 cm/ชั่วโมง ถ้าเป็น 100 ไมครอนจะอยู่ที่ราวๆ 2.2 cm cm/ชั่วโมง

งานวิศวกรรม

สำหรับคนที่เอามาปริ้นชิ้นส่วนทางวิศวกรรมที่ต้องการความแม่นยำสูง ควรทดสอบการ Fitting หรือ Assembly ให้เหมาะสมก่อน โดยปกติเรซินจะมีการหดตัว 1-2% อยู่แล้ว ดังนั้นต้องเผื่อขนาดตรงจุดนี้ด้วย

การเพิ่มความเร็วในการพิมพ์

การเพิ่มความเร็วในการพิมพ์นอกเหนือจากการปรับ Layer Thickness ต้องขึ้นกับระบบระบายความร้อนของเจ้าแผง LED ด้านล่าง ยิ่งมาก สามารถปริ้นได้ไว แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นก็สูงตามมาด้วย ไม่เฉพาะที่ตัว LED ยังรวมถึงตัวจอ LCD ที่เจอความร้อนจากปฏิริยาทางเคมีของเรซินที่สูงกว่า LED ข้างล่างเสียอีก ซึ่งจะลดอายุการใช้งานจอลงไป

ดังนั้นในยุคถัดไป ต้องมีการพัฒนาควบคู่ทั้งตัวเครื่องและความทนทานของจอให้ดีขึ้น บางแบรนด์ก็ใช้จอจากคุณภาพที่ดีกว่า เช่น ผลิตจากญี่ปุ่น ไต้หวัน ก็สามารถที่จะปริ้นได้เร็วขึ้นอีก เช่น Sonic 4K สเปคในการพิมพ์อยู่ที่ 9 cm/ชั่วโมง (ปริ้นจริงน่าจะราวๆ 4.5 cm/ชั่วโมง)

สรุป

เป็นอีก 1 เครื่อง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามด้านราคาของเครื่อง 8.9″ Monochrome ที่ทำให้ราคาลดลงจาก 2000 USD เหลือในระดับ 500-700  USD แข่งขันกันหลายแบรนด์ ส่วนคุณภาพยอมรับว่าเป็นไปตามาตรฐานของจอ  เหมาะกับคนเริ่มต้นที่อยากได้พื้นที่พิมพ์งานใหญ่ขึ้นจากจอ 5.5 หรือ 6.1 นิ้ว แต่อยากได้ความละเอียดที่เท่าเดิม ไม่ลดลง elegoo saturn สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้เป็นอย่างดี ใครที่สนในสามารถเข้ามาดูตัวอย่างเครื่องและชิ้นงานจริงได้ที่บริษัท ส่วนบทความต่อไปจะเปรียบเทียบกับแบรนด์ไต้หวันอย่าง Phrozen ไม่ว่าจะเป็น Mini 4K และ Sonic XL

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก