Phrozen กับทิศทางจอ Mono Gen 2
- หลังจากเปิดตัวเครื่องในกลุ่มจอ Monochrome ไปตั้งแต่ปี 2018 (Sonic และ Sonic XL) มาในปีนี้ทุกแบรนด์มีเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีนี้ออกมาทั้งหมด แถมมาตรฐานของจอ 8 นิ้วขึ้นไปจะเป็น 4K ทั้งหมด
- ดังนั้น Phrozen จึงปรับตัว ออกเครื่องในกลุ่ม Budget ออกมา ได้แก่ Sonic Mini ที่ออกมาดูตลาดปีที่แล้ว และปีนี้อัพเกรดเป็น Mini 4K รุ่นที่กำลังรีวิวคือ Sonic Mighty 4K ซึ่งเปิดออเดอร์แรกในเดือน พฤศจิกายนปี 2020 กว่าจะถึงมือผู้เขียนก็เดือนเมษายนเข้าไปแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเลือกใช้ Supplier จอจากไต้หวัน (ปัจจุบันไม่ระบุชื่อโรงงานแล้ว สงสัยกลัวโดนก๊อป) น่าจะมีผลต่อการผลิตพอสมควร แตกต่างจากแบรนด์โรงงานจีน ที่มีอัตราการผลิตจอสูงกว่า
- ในส่วนของตลาดเริ่มต้นได้กล่าวไปแล้ว ตลาดระดับ Pro ของปี 2021 ก็จะเป็น Sonic 4K และ Sonic XL Pro แทน คำถามคือมีส่วนไหนที่ Phrozen ลดคุณภาพเพื่อให้สอดคล้องกับราคาบ้าง ?

- โครงสร้างภาพนอก คือส่วนที่ชัดเจนที่สุด รุ่น Pro ทั้งหลายจะใช้โครงสร้างภายนอกเป็นโลหะหุ้มทั้งหมด (ดูในรีวิว Shuffle XL ตัวเก่าจอ RGB ได้) มีฝาปิดที่ดูแข็งแรง ปลอดภัยมากกว่า ในขณะกลุ่ม Budget จะเป็นอะคริลิกบางๆ โดย Mighty ปรับปรุงให้หนา เหมือนยี่ห้ออื่นแล้ว เปรียบเทียบกับ Elegoo Saturn (3 mm) โมเดลก่อนหน้านี้อย่าง Mini 4K จะอยู่ที่ 2mm




2. โครงสร้างหลักแกน Z จะดูเบาบางกว่าตัวแพง ดูจากจำนวน๊อตที่ยึดระหว่างแขนที่ยื่นออกมา กับตัวเพลทที่ยึดกับตัวลีเนียร์ หลายๆแบรนด์ในกลุ่มราคานี้ก็จะเหมือนกันหมด


2. หน้าจอสัมผัส สำหรับดูข้อมูล สั่งงานจะเป็นขนาด 2.8 นิ้ว ในขณะที่รุ่น Pro เช่น Sonic หรือ Sonic XL 4K จะเป็น 5 นิ้ว


3. ระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้านในรุ่นใหม่ๆ จะเป็นของ Chitu system ทั้งหมดแล้ว จากแต่ก่อนที่เป็น Raspberri Pi+ NanoDLP ดังนั้นใช้งานร่วมกับ Chitubox ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจุดนี้ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย ระบบดั้งเดิมจะกึ่ง Open Source ถ้าผู้ใช้ระดับ Advance สามารถปรับแต่ง ลง OS เพื่อใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนจอเป็นของแบรนด์อื่น ย่อขยายได้ทั้งหมด ในขณะที่ Chitu System แค่ไฟล์ Slice ออกมา ก็ทำอะไรได้ยาก แม้กระทั่งระบบ Gray Scale ที่ทางระบบปิดไว้ (Firmware 4.3)
4. ระบบระบายความร้อน จะน้อยกว่ารุ่น XL (4 ตัว ความแรงสูง) แต่ด้วยจอที่เป็น Monochrome หลายๆแบรนด์ก็มีพัดลม 2-3 ตัว แต่ Mighty มีเพียง 1 ตัวเท่านั้นครับ อยู่ด้านหลัง ทำงานเงียบกว่า Mini 4K !


จากที่กล่าวมาด้านบนก็เป็นส่วนหลักๆ ที่ทำให้ราคาขายจาก Sonic XL 4K เป็น Sonic Mighty 4K เกือบ 3 เท่า ส่วนสำคัญอย่างตัวแผง ParaLED และ LCD ใช้ตัวเดียวกันทั้งรุ่นแพง รุ่นถูก โดยปกติแล้ว Phrozen จะใช้ผู้ผลิตจอจากไต้หวัน และญี่ปุ่น ซึ่งต่างจากแบรนด์อื่นๆที่มักใช้ผู้ผลิตจากจีนเป็นหลัก
แกะกล่อง Mighty 4K
อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการใช้งานเบื้องต้นมีมาให้ครบครัน ส่วนที่ต้องมีเพิ่มคือ IPA สำหรับล้างชิ้นงาน และBlower สำหรับเป่าแห้ง ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควรมีดูได้ในบทความ “10 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ควรมี สำหรับเครื่อง SLA 3D Printer“



- ด้านซ้ายมือจากตัวเครื่องมีจะช่องเสียบ USB สำหรับเสียบ Flashdrive (ไม่ใช่เสียบ”สาย” USB) และช่องระะบายอากาศ
- ด้านขวามือไม่มีช่อง หรือส่วนประกอบใดๆ ด้านหลังจะมีช่องเสียบสาย Power และพัดลมระบายอากาศ 1 ตัว



- ส่วนของโครงสร้างแกน Z ก็ตามมาตรฐานเครื่องจอ 8.9-9 นิ้วปัจจุบัน คือเป็นรางคู่ โดย Mighty ใช้แกนกับลูกบล๊อกจากไต้หวัน ใช้ lead screw เป็นตัวขับเคลื่อน จำนวนเหล็ก ก็น้อยกว่ารุ่นพี่ตัว Sonic XL 4k Mighty มีน๊อต 4 ตัว ยึดกับแกน ส่วน Sonic XL มี 8 ตัว
- พูดในส่วนที่ปรับปรุงแล้วดีขึ้นคือ ตัวฐานพิมพ์ (Buildplate) มีหูจับมาให้เหมือนเครื่องใหญ่ๆ ใช้แผ่นอลูมิเนียมทำมุมเอียง ทำให้ทำความสะอาดง่าย ส่วนตัวน๊อตที่สำหรับใช้คาริเบรตก็ใส่แหวนรองมาให้
- ส่วนกางโก่งงอ ไม่พบในรุ่นนี้



- ถาดเรซินเป็นอลูมิเนียมคอมโพสิต เบากว่ารุ่นก่อนหน้า ดูบาง ก็สะดวกในการขนย้ายดี มีน๊อตยึดกับตัวเครื่องซ้าย-ขวา
- ด้านล่างเป็นจอ Mono 4K 9.3 นิ้ว ให้พื้นที่การพิมพ์ 20×15 cm (สูง 22 cm)
- จอต้องไป track code เอาเองว่าผลิตจากที่ไหน ป้องกันการลอกเลียนแบบ




- โดยรวมก็เป็นเครื่องระดับ Budget ที่ครอบคุลมการใช้งานทั่วๆไปได้หมด
การเตรียมไฟล์สำหรับสั่งพิมพ์
ในไทยเกือบทุกแบรนด์กลุ่มนี้ใช้โปรแกรม Chitubox เป็นโปรแกรม Slice ชิ้นงาน 3D เพื่อสั่งพิมพ์เกือบทั้งหมด หรือบางแบรนด์ก็ OEM โปรแกรม เป็นทำหน้าตาเป็นของตัวเอง ซึ่งใครที่ไม่เคยใช้ Chitubox ต้องบอกว่าพัฒนาขึ้นมาเยอะมาก ใช้งานรวดเร็ว ฟังก์ชั่นครบครัน เหมาะกับมือใหม่เริ่มต้นมาก ส่วนมืออาชีพที่มีไฟล์จำนวนมาก และต้องการโปรแกรมที่ตอบสนองการจัดการส่วนนี้ได้ดี Chitubox อาจจะไม่ตอบโจทย์ อย่างไรก็ตาม งานส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนทำอยู่ เกิน 80% ไม่มีปัญหากับ Chitubox
หลังจากโหลดโปรแกรมมาแล้วก็เพิ่มตัว Mighty 4K เข้าไป มีโปรไฟล์การพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 2.2 วินาที ที่ 50 ไมครอน รีวิวนี้ปรับค่าเพิ่มเวลาเล็กน้อย เนื่องจากเป็นงานระดับยากมาก


ทดสอบการพิมพ์ Mighty 4K
งานที่นำมาทดสอบชุดแรกเป็นในกลุ่มจิวเวรี ที่ค่อนข้างยาก มีทั้งส่วนที่หนา และส่วนที่บางเป็นโครงถักตามภาพด้านล่าง ใช้ความละเอียด 50 ไมครอน เรซินเป็น Phrozen Aqua Grey 4K ใช้เวลาพิมพ์ 3 ชั่วโมง





ทดสอบการพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่ความสูง 20cm ตั้ง Support Auto ไม่มีการแก้ไข ใช้เวลาในการปริ้น15 ชั่วโมง เรซินที่ใช้เป็น Phrozen Aqua Grey 4K เหมือนเดิม


เวลาในโปรแกรม 15 ชั่วโมง ปริ้นจริง 17 ชั่วโมง ช้ากว่าที่คำนวนไว้ 13%

HD Resin สีส้มความละเอียด 50 ไมครอน เวลา 3.5 วินาที เป็นเรซินที่ปริ้นยากที่สุด ออกมามีตำหนิตรงศอกจากการสร้าง support แบบ auto
เป็นที่น่าสังเกตว่าในอนาคตจะสามารถปรับค่า LED เป็น % ได้ เหมือนหลายๆแบรนด์แล้ว เช่น Anycubic

รีวิวจากต่างประเทศ
VOG ทีเป็นรีวิวเวอร์ที่มีความรู้ด้านเคมีและประสบการณ์ในด้านการพิมพ์เรซินสูง
Uncle Jessy ที่เป็นรีวิวเวอร์ยุคใหม่ที่มีผู้ติดตามเยอะ แบรนด์ดังๆจะส่งเครื่องมาให้รีวิวเสมอ
Teaching Tech คล้ายๆ Jessy แต่จะมีรีวิวพวก CNC และ Robot เพิ่มเติมมาด้วย ไม่ได้รีวิว Mighty 4K แต่ดูของตัว Mini 4K เป็นเครื่องอ้างอิงได้
สรุป
ข้อดี
- ราคาถูกมากเมื่อดูจากคุณภาพของวัสดุที่ใช้ กับแหล่งผลิต ยกตัวอย่างคือ โน๊ตบุคจากไต้หวัน เช่น Asus MSI เกรดก็ยังดูดีกว่าแบรนด์จีน ที่สเปคเท่ากัน แถมจอยังมีคุณภาพสูง ทนทาน
- งานประกอบดี ไม่พบปัญหาจอกระพริบ ฐานเบี้ยว จอเป็นรอย
- Light Distribution หรือการกระจายของแสงสม่ำเสมอด้วย ParaLED
- ฐานพิมพ์แข็งแรง ทำความสะอาดง่ายกว่ารุ่นก่อน
- เสียงพัดลมเงียบกว่า Mini 4K
ข้อเสีย
- ระบบระบายอากาศมีพัดลมตัวเดียว ถึงแม้จะเป็นจอ Mono แต่บ้านเราอากาศร้อน ก็ควรวางในที่ระบายอากาศดีระดับหนึ่ง
- ด้วยความที่เป็นรุ่น Budget แกน Z ที่เป็นระบบบอลสกรูรางคู่ ถูกลดต้นทุนมาเป็น lead screw รางคู่แทน พร้อมแขนที่ยื่นออกมาก็ลดความแข็งแรงไป (คำนึงถึงเครื่องราคา 24,900 กับ 84,000 บาท)
- ไม่มีเรซินแถมมาให้สักทีกับแบรนด์ Phrozen
- ถาดเรซินใช้น๊อตยึด FEP คุณภาพต่ำ ตัวเล็ก มีโอกาสเกิดเกลียวหวานได้ง่าย ควรระวัง (Mini 4K ยังดีกว่า) อีกอย่างควรดีไซน์ให้วางถาดกับพื้นได้โดย FEP Film ไม่สัมผัสพื้น