Search
Close this search box.

10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง

ที่มาของไกด์

ราคาเครื่อง Resin 3D Printer ในปัจจุบัน เรียกว่าลงมาแข่งกับเครื่องแบบ FDM เริ่มต้นได้แล้ว แถมคุณภาพในการพิมพ์ เทคโนโลยี ก็คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นจึงมีผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นไกด์นี้จึงเขียนเพื่อแนะนำการใช้งานเครื่องสำหรับมือใหม่โดยเฉพาะ กับ 10 ขั้นตอนที่ควรทำ ก่อนจะเริ่มปริ้นงานของตัวเอง ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากไม่คุ้นเคย ในการใช้งานเครื่องแบบเรซิน ซึ่งจุกจิกกว่าแบบ FDM (อ่านอย่างละเอียดได้ที่ 10 สิ่งที่ควรรู้ เมื่อจะเปลี่ยนจาก FDM เป็น MSLA 3D Printer)

1. Get the right tools

เริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องการใช้งานให้เรียบร้อยก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องแทบจะให้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้งานมาครบทั้งหมด ผู้ใช้แทบไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่ม แต่ส่วนที่แนะนำและไม่ได้มีมาพร้อมเครื่องคือ

  • ถุงมือยางกันสารเคมีจำนวนมาก
  • IPA สำหรับล้างเรซิน
  • เครื่องล้าง หรืออุปกรณ์บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่ IPA ล้างชิ้นงาน
  • เครื่องเป่าลม Blower  (ใช้ไดร์เป่าผมได้ แต่มีปัญหาเรื่องความแรงถ้าเป็นตัวถูก)

หากมีครบดังกล่าว การทำงานกับเครื่อง Resin 3D Printer ก็จะง่ายยิ่งขึ้น

10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง
ELEGOO Mercury Plus 2 in 1 Washing and Curing Machine

2. Bed Leveling

เป็นจุดสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งสำหรับเครื่องทั่วไปที่ไม่มี Auto Leveling ให้ หรือไม่มีหน้าจอเตือนตอนเปิดเครื่องครั้งแรก โดยการตั้งฐานเครื่องในระดับเริ่มต้น ส่วนใหญ่ก็คลายน๊อตยึดแล้วทำตามขั้นตอนของแต่ละเครื่อง จุดสำคัญคือ ตอนขันน๊อตให้แน่น ควรจะมั่นใจว่าฐานพิมพ์ยังอยู่ในระนาบเดิม ไม่มีการขยับ การตั้งฐานยิ่งเครื่องใหญ่ ก็ยิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ความไม่ได้ระนาบเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลต่อการพิมพ์ชิ้นงานมากพอสมควร

3. Dry Run

Dry Run คือการทดสอบการพิมพ์ โดยยังไม่ปริ้นจริง โดยผู้ผลิตเครื่องมักมีไฟล์ทดสอบมาพร้อมเครื่องอยู่แล้ว สามารถทดลองพิมพ์ โดยยังไม่ต้องใส่ถาดเรซิน (VAT) หรือฐานพิมพ์ (Buildplate) เพื่อดูการทำงานโดยรวมของเครื่อง ก่อนปริ้นจริง สิ่งที่ควรตรวจสอบคือ

  • การฉายแสงปกติ มีภาพออกในแต่ละชั้น
  • การทำงานของ Limit Switch ปกติ
  • เสียงในการทำงาน ไม่มีจุดไหน หลวม หรือเสียงผิดปกติ
  • ระบบระบายความร้อน

4. Check Materials

ตรวจสอบวัสดุเรซินที่ใช้ว่า เป็นยี่ห้อใด ชนิดใด เพื่อให้ทราบข้อมูลในการตั้งค่าได้ถูกต้อง

10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง

5. Check Setting

ตรวจสอบการตั้งค่าเรซินในการพิมพ์ให้ ถูกต้องตามชนิดของเรซิน ส่วนใหญ่เรซินที่มาพร้อมเครื่องสามารถใช้ค่าเริ่มต้นของโปรแกรม slicer ได้เลย โดยไม่ต้องปรับค่าอะไร

  • เรซินและเครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อมีการตั้งค่าที่แตกต่างกัน ควร calibrate เพื่อหาค่าที่เหมาะสม
  • ควรมใช้ค่าที่คนขายเครื่องแนะนำมากกว่าค่าเริ่มต้นของโปรแกรม
10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง
10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง

6. Print Small

เครื่อง Resin 3D Printer ชนิด Bottom-Up หรือฐานพิมพ์ยกขึ้น มักพบปัญหาการลอกชิ้นงานออก จนติดที่ฟิล์ม ยิ่งงานใหญ่แรงดึงที่เกิดขึ้นระหว่างฟิล์มและชิ้นงานก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นมือใหม่เริ่มใช้เครื่อง ควรเริ่มต้นพิมพ์งานชิ้นเล็กๆก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าการเตรียมไฟล์ ข้อมูล และตัวเครื่องเหมาะสม ได้งานพิมพ์ที่สมบูรณ์แล้ว ก่อนขยับเข้าไปปริ้นชิ้นงานที่ใหญ่ขึ้น หรือเต็มพื้นที่การพิมพ์มากยิ่งขึ้น

10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง

7. Print Standard Object

หลังจากพิมพ์ไฟล์ตัวอย่างจากโรงงานแล้ว ควรทดสอบการทำงานของเครื่องด้วยตัวอย่างการพิมพ์งานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีประสบการณ์ในการทำ support รองชิ้นงานก็สำเร็จแน่นอน

10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง
งานพิมพ์ยากต้องตั้งค่าการพิเศษไม่เหมาะกับการเริ่มต้น
10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง
ตัวอย่างงานทดสอบอย่างง่าย เครื่องไหนก็พิมพ์ได้

8. Bottom Base Explosure

การพิมพ์งานเรซินชั้นแรกๆ (1-10 ชั้นแรก) มักต้องตั้งค่าเวลาฉายแสงมากกว่าปกติ 5-10 เท่า เพื่อให้เรซินแข็งสมบูรณ์จนบีบอัดเข้าไปที่ฐานพิมพ์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดเกาะ โดยค่าการฉายแสงนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละโปรแกรม เช่น Bottom base explosure, Base explosure, Raft explosure

  • เครื่อง LCD ปกติอยู่ 50-80 วินาที/ชั้น
  • Monochorme อยู่ที่ 20-40 วินาที/ชั้น
10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง
พื้นที่ฐานด้านล่างคือ Base Layer

9. Clean with IPA

หัลงจากได้งานพิมพ์จากเครื่องที่สมบูรณ์แล้ว ขั้นตอนการทำความสะอาด เป็นอีกขั้นตอนที่มีความสำคัญ โดยผู้ใช้อาจจะได้รับข้อมูลว่า สารเคมี A B C สามารถใช้งานได้ แต่เคมีที่ทำความสะอาดได้ดี และราคาถูกที่สุดคือ IPA (Isopropyl alcohol) และควรเตรียมไว้ 2 ชุด สำหรับล้างเริ่มต้นจะสกปรกเร็ว และอีกชุดสำหรับล้างแบบสะอาดตามภาพ

10 ขั้นตอนใช้งานเครื่อง Resin 3D Printer อย่างถูกต้อง

10. Post Processing

เป็นขั้นตอนที่หลายคนมองข้าม เพราะส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการตากแดด หรือปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งขั้นตอนจริงของการพิมพ์เรซินควรฉายแสง UV ให้คงรูปสมบูรณ์หลังทำความสะอาดด้วย IPA เรซินบางชนิดต้องฉายเป็นเวลานาน ถึงจะได้คุณสมบัติที่แท้จริงของตัวเรซิน

  • เวลาในการฉายแสงขึ้นอยู่กับชนิดเรซิน กำลังไฟ และชนิดของหลอด UV
  • เรซินบางชนิดต้องอบในพื้นที่มีความร้อนจึงจะมีความแข็งแรงตามสเปค
  • ควรล้าง IPA ให้สะอาด ก่อนอบด้วยยูวีทุกครั้ง
UV Oven

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก