ขั้นตอนการ Calibration
Phrozen Transfrom เป็นเครื่องเรซิน 3D Printer แบบ Open Materials ดังนั้นจึงสามารถใช้วัสดุของแบรนด์ หรือชนิดอะไรก็ได้ โดยปรับเปลี่ยนค่าเวลาการฉายแสง (Exposure time) ให้เหมาะสมกับวัสดุนั้น ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถหาค่าดังกล่าวได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ในกลุ่มผู้ใช้ของ Phrozen ได้ เขียนโปรแกรมสามารถทดสอบหาเวลาได้รวดเร็วภายในครั้งเดียว โดยไม่ต้องมาเสียเวลานั่งทดสอบทีละค่า
- ข้อมูลต้นทาง “Phrozen Transform Resin Calibration“
- Download File จากลิ้งด้านบน โดยจะมีไฟล์การ Calibration แบ่งตามความละเอียดที่ต้องการ ตั้งแต่ 10-100 ไมครอน
- จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมเครื่องให้พร้อม
- Calibrate ฐานพิมพ์ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ระนาบ
- ทดสอบการฉายแสงผ่าน LCD Test


2. ทดสอบการฉายแสงก่อนพิมพ์
- อัพโหลดไฟล์ความละเอียดที่ต้องการทดสอบไปยังเครื่อง

- ทดสอบการฉายแสงก่อนพิมพ์ (ไม่ต้องติดตั้งถาดเรซินและฐานพิมพ์)
- เครื่องฉายแสงขึ้นรูปชิ้นงานทดสอบ โดยแต่ละชิ้นจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 6-20 วินาที
3. ทดสอบจริง
- ติดตั้งฐานพิมพ์ ถาดเรซิน พร้อมใส่เรซินให้เรียบร้อย จากนั้นเริ่มต้น Calibrate ชิ้นงานจริง

การวิเคราะห์หาเวลาฉายแสงที่เหมาะสม
- เนื่องจากไฟล์ทดสอบยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ดังนั้นการระบุเวลาฉายแสงแบบแน่นอน ยังทำได้ยากอยู่ เนื่องจากแยกความต่างของชิ้นงานไม่ได้ ส่วนผลที่ได้ให้พิจารณาดังนี้
- ต้องมีชิ้นงานครบทุกส่วนไม่มีส่วนไหนหาย โดยเฉพาะแท่งวงกลมเล็กๆที่มุมซ้ายล่าง
- แท่งวงกลมที่พิมพ์ขึ้น ต้องมีความแข็งแรงเพียงพอ ไม่อ่อน หรือเอน ไปทางใดทางหนึ่ง
- ในส่วนของชิ้นงานสี่เหลี่ยม ต้องมีรูปทรงได้ฉากชัดเจน ไม่มีอาการบวมที่ฐาน
- จากข้อมูลด้านบน เลือกค่าที่น้อยที่สุด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น
- หลังจากได้ค่าเวลาฉายแสงที่เหมาะสมแล้ว ในกรณีที่พิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่ พื้นที่พิมพ์เกิน 40% ทั้งหมด ควรเพิ่มเวลาฉายแสงที่ได้อีก 2-3 วินาที เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

ตัวอย่างการฉายแสงที่ 5 วินาที
ชิ้นงานขึ้นไม่ครบ ส่วนแท่งเล็ก นิ่ม ไม่สามารถคงสภาพได้

ตัวอย่างการฉายแสงที่ 10 วินาที
ชิ้นงานขึ้นครบ มีความแข็งแรง ส่วนของสี่เหลี่ยมจะดูแข็งแรงได้มุมฉากเรียบร้อย
