ที่มาของ Phrozen Transform
ก่อนหน้าจะเป็นรุ่นนี้ ทาง Phrozen ก็มีเครื่องอยู่ 4 รุ่นคือ Make Make XL Shuffle และ Shuffle XL ซึ่งหน้าจอใหญ่สุดยังแค่ 8.9 นิ้ว พื้นที่การพิมพ์ (19×12 cm) เล็กกว่าเครื่อง FDM เริ่มต้นเสียอีก (20×20 cm) ดังนั้นจึงอัพเกรดเอาจอที่ใหญ่ขึ้นมาใช้งาน โดยระบบและโครงสร้างใกล้เคียงของเดิม Phrozen Transform ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ใน Kickstarters ระดมทุนไปได้มากกว่า 15 ล้านบาท หากตัดโปรเจคในกลุ่ม Scam ออกไปแล้ว (ยกตัวอย่างเช่น Tiko Obsidian IVI The Peachy) ถือว่าติด 1 ใน 10 ความสำเร็จมากที่สุด และขณะนั้นนำเสนอเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบเรซินที่ใหญ่มาก ใช้จอ 13.3 นิ้ว มีพื้นที่การพิมพ์เพียงพอกับงานทั่วๆไป รวมถึงเป็นจอ 4K เจ้าแรก ดังนั้นถึงแม้จะเปิดมาราคาสูงกว่าเครื่องอื่นๆ แต่ก็ยังมีคนสนใจจำนวนมากครบตามกำหนดภายใน 3 นาที !
เกร็ด 3D Printer ใน Kickstarters
- แบรนด์ที่ติดตลาดใน Kickstrters กลุ่ม 3D Printer ได้แก่ Micro3D Snapmaker Kudo มีผลงานมากกว่า 1 โปรเจคที่ประสบความสำเร็จเกิน 10 เท่าจากเป้าหมายที่ตั้งไว้
- แบรนด์ที่เติบโตมากที่สุดคือ Formlabs ปัจจุบัน
- ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นแบรนด์หรือโรงงานจากจีนไประดมทุน โดยอาจจะทีมงานฝรั่งส่วนหนึ่งค่อยดูแล หรือทำการตลาด
Technical Spec
- LCD: 13.3″ LCD panel
- XY Pixels: 4K – 3840 x 2160
- XY Resolution: 76 micron
- Z Resolution: 10-100 micron
- LED Array: ParaLED
- Build volume: 29.2×16.5×400 cm
- OS: Built-In Phrozen OS
- Printing Speed: 10 mm per hour
- Slicer: Supported by Phrozen Slicer
- Printer connection: wifi lan flashdrive
- Printer Size: 38x35x61 cm
- Printer Weight: 29 Kg

Unboxing
Phrozen ทุกรุ่นจะมีกล่องอุปกรณ์แบบเดียวกันหมด ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ คือ ถุงมือ พลาสติกเกลี่ยเรซิน wifi dongle สาย Lan สายไฟ และหูจบปิด-เปิดเครื่อง ตัวเครื่องใหญ่กว่าทุกรุ่นหากเอาถาดเรซินของพวกจอ 5 นิ้วไปใส่ จะวางได้ 2.5 ถาดเลยทีเดียว


- ข้างขวามีพัดลม 2 ตัว ซ้าย 1 ตัว หลัง 1 ตัว คอยระบายความร้อนให้กับเครื่อง
- ที่ด้านหลังเป็นมาตรฐานของ Phrozen ที่จะมี USB 2 ช่อง micro sd card 1 ช่อง และสาย Lan 1 จุด เรียกว่ามีให้ครบทุกการเชื่อมต่อ



- แกะเครื่องออกมาดูด้านหน้าจะพบอร์ดที่มีช่อง HDMI 2 จุดเชื่อมต่อเพื่อใช้งานระบบ Dual Screen 5.5 นิ้ว พร้อม Paraled 2.0 เรียงกันอย่างสวยงาม เป็นตัวอย่างให้อีกหลายๆแบรนด์นำเอาไปใช้
- งานประกอบดีกว่าเครื่องจีนหลายเครื่องที่ผ่านมือมา ทั้งตัวเชื่อมต่อ คุณภาพของบอร์ด ตัวชิบในแผงวงจรต่างๆ


การเตรียมไฟล์
การเตรียมไฟล์สำหรับพิมพ์มีด้วยกัน 2 วิธี
- Slice เป็นไฟล์ .zip แล้วใช้โปรไฟล์เรซินในเครื่องในการสั่งพิมพ์ (Chitubox)
- Slice เป็นไฟล์ .phz ที่จะมีทั้งภาพและโปรไฟล์เรซินมาในตัว (PZ Slicer)
- ในรีวิวนี้ใช้ PZ Slicer ในการเตรียมไฟล์
- Import STL 3D Model
- ใช้โปรไฟล์ TR250LV 50 ไมครอน


ขั้นตอนการสร้างไฟล์ก็เหมือนเครื่อง Resin 3D Printer ทั่วไป
- สร้าง Support ให้ขนาดและปริมาณ เหมาะสม
- ตรวจสอบทีละชั้น
- เลือกโปรไฟล์เรซินให้ถูกต้อง
- ประเมินระยะเวลาและปริมาณเรซินที่ใช้ (ปัจจุบันโปรแกรมยังไม่มีระบุเวลาที่ใช้ในการปริ้น)

การสั่งปริ้น
Phrozen Transfrom และทุกรุ่นในปี 2019 เป็นต้นไปการสั่งปริ้นสามารถทำได้โดย
- เลือกไฟล์ .phz ผ่าน USB Flashdrive
- เลือกไฟล์ .phz ผ่านระบบ wifi หรือ Lan
- เลือกไฟล์ .zip ผ่าน USB Flashdrive wifi หรือ Lan แล้วเลือกโปรไฟล์เรซินจากในตัวเครื่อง
ส่วนในบทความเนื่องจากไฟล์ที่ใช้ปริ้นมีขนาดใหญ่เลยเลือกการอัพไฟล์ผ่าน USB Flashdrive ซึ่งรวดเร็วกว่ากระบวนการอื่น

ผลการพิมพ์ Phrozen Transform
ตัวเครื่องใช้จอ 4K ขนาด 13.3 นิ้ว ให้ความละเอียด XY ราวๆ 75 ไมครอน ดังนั้นงานที่ได้ก็ราวๆ Shuffle XL ซึ่งหากใครปริ้นงานใหญ่ๆ ก็ต้องไปเก็บงาน แต่งผิวต่ออยู่แล้ว ดังนั้นไม่น่ามีปัญหาเรื่องความละเอียด


งานเล็กๆระดับขนาดนิ้วก้อย ก็สามารถปริ้นได้ แต่คงต้องปรับค่าจากมาตรฐานบ้างให้สมบูรณ์มากขึ้น

ส่วนใครที่สนใจด้านงานทันตกรรมปริ้นโมเดลเกี่ยวกับฟันเยอะๆ ก็คุ้มค่าแน่นอน เนื่องจากพื้นที่การวางเหลือเฟือ ใช้เวลาปริ้นต่อครั้งไม่เกิน 2 ชั่วโมง ถ้าขนาดคนทั่วๆไปก็ได้ 10-14 ชิ้น/ครั้งการพิมพ์

สรุป
ถ้าใครคุ้นเคยกับระบบ Ecosystem ของ Phrozen ก็แทบไม่ต้องปรับตัวอะไรเลย พร้อมใช้งานทันที ทั้งตัวโปรแกรมและ workflow การทำงาน โดยปี 2020 ก็จะมีโปรแกรม slice ตัวใหม่มาแทนทีซึ่งให้ทาง Formware พัฒนาให้ในชื่อ PZ Slicer Pro ซึ่งช่วยให้การทำงานจบในตัวเดียวตั้งแต่การสร้าง support จนถึงการอัพโหลดผ่านตัวโปรแกรมโดยตรง

บทความน่าอ่านเกียวกับการพิมพ์งานใหญ่ๆ